๔. อินทริยกถา ว่าด้วยอินทรีย์ ๕
โดย บ้านธัมมะ  25 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40953

[เล่มที่ 69] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 230

มหาวรรค

๔. อินทริยกถา

ว่าด้วยอินทรีย์ ๕

สาวัตถีนิทาน หน้า 234

สาวัตถีนิทาน ว่าด้วยประเภทของอินทรีย์ ๕ หน้า 245

อรรถกถาอินทริยกถา

อรรถกถาปฐมสุตตันตนิเทศ หน้า 277

อรรถกถาทุติยสุตตันตนิเทศ หน้า 293

- อรรถกถาอัสสาทนิเทศ หน้า 296

- อรรถกถาอาทีนวนิเทศ หน้า 297

- อรรถกถานิสสรณนิเทศ หน้า 297

อรรถกถาตติยสุตตันตนิเทศ หน้า 300

- อรรถกถาปเภทคณนนิเทศ หน้า 300

- อรรถกถาจริยาวาร หน้า 303

- อรรถกถาจารวิหารนิเทศ หน้า 303

อรรถกถาจตุตถสุตตันตนิเทศ หน้า 309

- อรรถกถาอาธิปเตยยัตถนิเทศ หน้า 310

- อรรถกถาอาทิวิโสธนัตถนิเทศ หน้า 310

- อรรถกถาอธิมัตตัตถนิเทศ หน้า 311

- อรรถกถาอธิฏฐานัตถนิเทศ หน้า 313

- อรรถกถาปริยาทานัตถปติฏฐาปกัตถนิเทศ หน้า 314

อรรถกถาอินทริยสโมธาน หน้า 315


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 69]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 230

มหาวรรค

อินทริยกถา

ว่าด้วยอินทรีย์ ๕

[๔๒๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือสัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 231

[๔๒๔] อินทรีย์ ๕ ประการนี้ย่อมหมดจดด้วยอาการเท่าไร.

อินทรีย์ ๕ ประการนี้ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๑๕ เมื่อบุคคลงดเว้นพวกบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา สมาคม คบหา นั่งใกล้พวกบุคคลผู้มีศรัทธา (และ) พิจารณาพระสูตรอันเป็นเหตุนำมาซึ่งความเลื่อมใส สัทธินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ เหล่านี้ เมื่อบุคคลงดเว้นพวกบุคคลผู้เกียจคร้าน สมาคม คบหา นั่งใกล้พวกบุคคลผู้ปรารภความเพียร (และ) พิจารณาสัมมัปปธาน วิริยินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ เหล่านี้ เมื่อบุคคลงดเว้นพวกบุคคลผู้มีสติหลงลืม สมาคม คบหา นั่งใกล้พวกบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น (และ) พิจารณาสติปัฏฐาน สตินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ เหล่านี้ เมื่อบุคคลงดเว้นพวกบุคคลผู้มีใจไม่มั่นคง สมาคม คบหา นั่งใกล้พวกบุคคลมีใจมั่นคง (และ) พิจารณาฌานและวิโมกข์ สมาธินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ เหล่านั้น เมื่อบุคคลงดเว้นพวกบุคคลทรามปัญญา สมาคม คบหา นั่งใกล้พวกบุคคลผู้มีปัญญา (และ) พิจารณาญาณจริยาอันลึกซึ้ง ปัญญินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ เหล่านี้ เมื่อบุคคลงดเว้นบุคคล ๕ จำพวก สมาคม คบหา นั่งใกล้บุคคล ๕ จำพวก (และ) พิจารณาจำนวนพระสูตร ๕ ประการดังกล่าวมานี้ อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๑๕ เหล่านี้.

[๔๒๕] บุคคลย่อมเจริญอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร การเจริญอินทรีย์ ๕ ย่อมมีด้วยอาการเท่าไร.

บุคคลย่อมเจริญอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๑๐ การเจริญอินทรีย์ ๕ ย่อมมีด้วยอาการ ๑๐ บุคคลเมื่อละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่า เจริญสัทธินทรีย์ เมื่อเจริญสัทธินทรีย์ ชื่อว่า ละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา เมื่อละความเป็นผู้เกียจคร้าน ชื่อว่า เจริญวิริยินทรีย์ เมื่อเจริญวิริยินทรีย์ ชื่อว่า ละความเป็นผู้เกียจคร้าน


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 232

เมื่อละความประมาท ชื่อว่า เจริญสตินทรีย์ เมื่อเจริญสตินทรีย์ ชื่อว่า ละความประมาท เมื่อละอุทธัจจะ ชื่อว่า เจริญสมาธินทรีย์ เมื่อเจริญสมาธินทรีย์ ชื่อว่า ละอุทธัจจะ เมื่อละอวิชชา ชื่อว่า เจริญปัญญินทรีย์ เมื่อเจริญปัญญินทรีย์ ชื่อว่า ละอวิชชา บุคคลย่อมเจริญอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๑๐ เหล่านั้น การเจริญอินทรีย์ ๕ ย่อมมีด้วยอาการ ๑๐ เหล่านี้.

[๔๒๖] อินทรีย์ ๕ เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้วด้วยอาการเท่าไร.

อินทรีย์ ๕ เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้วอบรมแล้วด้วยอาการ ๑๐ คือสัทธินทรีย์เป็นคุณชาติอันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว เพราะเป็นผู้ละแล้ว ละดีแล้วซึ่งอสัทธินทรีย์ ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นโทษชาติอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะความเป็นผู้เจริญแล้ว อบรมแล้วซึ่งสัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์เป็นคุณชาติอันเจริญแล้ว อบรมแล้ว เพราะความเป็นผู้ละแล้ว ละดีแล้ว ซึ่งความเกียจคร้าน ความเป็นผู้เกียจคร้านเป็นโทษชาติอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะความเป็นผู้เจริญแล้ว อบรมแล้วซึ่งวิริยินทรีย์ สตินทรีย์เป็นคุณชาติอันเจริญแล้ว อบรมแล้ว เพราะความเป็นผู้ละแล้ว ละดีแล้ว ซึ่งความประมาท ความประมาทเป็นโทษชาติอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะความเป็นผู้เจริญแล้ว อบรมแล้วซึ่งสตินทรีย์ สมาธินทรีย์เป็นคุณชาติอันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว เพราะความเป็นผู้ละแล้ว ละดีแล้วซึ่งอุทธัจจะ อุทธัจจะเป็นโทษชาติอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะความเป็นผู้เจริญแล้ว อบรมแล้วซึ่งสมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์เป็นคุณชาติอันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว เพราะความเป็นผู้ละแล้ว ละดีแล้วซึ่งอวิชชา อวิชชาเป็นโทษชาติอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะความเป็นผู้เจริญแล้ว อบรมแล้วซึ่งปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้วด้วยอาการ ๑๐ เหล่านี้.

[๔๒๗] บุคคลย่อมเจริญอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร อินทรีย์ ๕ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้วด้วยอาการเท่าไร.


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 233

บุคคลย่อมเจริญอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๔ อินทรีย์ ๕ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้วด้วยอาการ ๔ บุคคลย่อมเจริญอินทรีย์ ๕ ในขณะโสดาปัตติมรรค อินทรีย์ ๕ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้วในขณะโสดาปัตติผล บุคคลย่อมเจริญอินทรีย์ ๕ ในขณะสกทาคามิมรรค อินทรีย์ ๕ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้วในขณะสกทาคามิผล บุคคลย่อมเจริญอินทรีย์ ๕ ในขณะอนาคามิมรรค อินทรีย์ ๕ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้วในขณะอนาคามิผล บุคคลย่อมเจริญอินทรีย์ ๕ ในขณะอรหัตมรรค อินทรีย์ ๕ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้วในขณะอรหัตผล.

มรรควิสุทธิ ๔ ผลวิสุทธิ ๔ สมุจเฉทวิสุทธิ ๔ ปฏิปัสสัทธิวิสุทธิ ๔ ด้วยประการดังนี้ บุคคลย่อมเจริญอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๔ เหล่านี้ อินทรีย์ ๕ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้วด้วยอาการ ๔ เหล่านี้.

[๔๒๘] บุคคลเท่าไรเจริญอินทรีย์ บุคคลเท่าไรเจริญอินทรีย์แล้ว บุคคล ๘ เจริญอินทรีย์ บุคคล ๓ เจริญอินทรีย์แล้ว.

บุคคล ๘ เหล่าไหนเจริญอินทรีย์ พระเสขบุคคล ๗ กัลยาณปุถุชน ๑ บุคคล ๘ เหล่านี้เจริญอินทรีย์.

บุคคล ๓ เหล่าไหนเจริญอินทรีย์แล้ว พระขีณาสพสาวกพระตถาคต ชื่อว่า พุทโธ ด้วยสามารถความเป็นผู้เจริญอินทรีย์แล้ว ชื่อว่า เจริญอินทรีย์แล้ว พระปัจเจกพุทธะ ชื่อว่า พุทโธ ด้วยอรรถว่าตรัสรู้เอง ชื่อว่า เจริญอินทรีย์แล้ว พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่า พุทโธ ด้วยอรรถว่า มีพระคุณ


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 234

ประมาณไม่ได้ ชื่อว่า เจริญอินทรีย์แล้ว บุคคล ๓ เหล่านี้เจริญอินทรีย์แล้ว บุคคล ๘ เหล่านี้เจริญอินทรีย์ บุคคล ๓ เหล่านี้เจริญอินทรีย์แล้ว ด้วยประการดังนี้.

สาวัตถีนิทาน

[๔๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน คือสัทธินทรีย์ ฯ ปัญญินทรีย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเหตุเกิด ความดับ คุณ โทษและอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๕ เหล่านั้นตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น หาได้รับยกย่องว่า เป็นสมณะในหมู่สมณะหรือได้รับยกย่องว่า เป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ไม่ และท่านเหล่านั้นหาได้ทำให้แจ้งซึ่งสามัญผลหรือพรหมัญผล ด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งเองในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่ไม่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดซึ่งเหตุเกิด ความดับ คุณ โทษและอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๕ เหล่านี้ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นนั่นแล เป็นผู้ได้รับยกย่องว่า เป็นสมณะในหมู่สมณะ ได้รับยกย่องว่า เป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ และท่านเหล่านั้นย่อมทำให้แจ้งซึ่งสามัญผลและพรหมัญผล ด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่.

[๔๓๐] อินทรีย์ ๕ มีเหตุเกิดด้วยอาการเท่าไร บุคคลย่อมรู้เหตุเกิดแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร อินทรีย์ ๕ ย่อมดับไปด้วยอาการเท่าไร บุคคลย่อมรู้ความดับแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร อินทรีย์ ๕ มีคุณด้วยอาการเท่าไร บุคคลย่อมรู้คุณแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร อินทรีย์ ๕ มีโทษด้วยอาการเท่าไร บุคคลย่อมรู้โทษแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 235

อินทรีย์ ๕ มีอุบายเป็นเครื่องสลัดออกด้วยอาการเท่าไร บุคคลย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร.

อินทรีย์ ๕ มีเหตุเกิดด้วยอาการ ๔๐ บุคคลย่อมรู้เหตุเกิดแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๔๐ อินทรีย์ ๕ ย่อมดับไปด้วยอาการ ๔๐ บุคคลย่อมรู้ความดับแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๔๐ อินทรีย์ ๕ มีคุณด้วยอาการ ๒๕ บุคคลย่อมรู้คุณแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๕ อินทรีย์ ๕ มีโทษด้วยอาการ ๒๕ บุคคลย่อมรู้โทษแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๕ อินทรีย์ ๕ มีอุบายเป็นเครื่องสลัดออกไปด้วยอาการ ๑๘๐ บุคคลย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกไปแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๑๘๐.

[๔๓๑] อินทรีย์ ๕ มีเหตุเกิดด้วยอาการ ๔๐ เป็นไฉน บุคคลย่อมรู้เหตุเกิดแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๔๐ เป็นไฉน.

ความเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความน้อมใจเชื่อเป็นเหตุเกิดแห่งสัทธินทรีย์ ความเกิดแห่งฉันทะด้วยสามารถความน้อมใจเชื่อเป็นเหตุเกิดแห่งสัทธินทรีย์ ความเกิดแห่งมนสิการด้วยสามารถความน้อมใจเชื่อเป็นเหตุเกิดแห่งสัทธินทรีย์ ความปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถสัทธินทรีย์เป็นเหตุเกิดแห่งสัทธินทรีย์.

ความเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความประคองไว้เป็นเหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์ ความเกิดแห่งฉันทะด้วยสามารถความประคองไว้เป็นเหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์ ความเกิดแห่งมนสิการด้วยสามารถความประคองไว้เป็นเหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์ ความปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์เป็นเหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์.

ความเกิดแห่งความคํานึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความปรากฏ (* แห่งสภาพธรรมตามความเป็นจริง) เป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์ ความเกิดแห่งฉันทะด้วยสามารถความปรากฏเป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์ ความเกิดแห่ง


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 236

มนสิการด้วยสามารถความปรากฏเป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์ ความปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์เป็นเหตุแห่งสตินทรีย์.

ความเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความไม่ฟุ้งซ่านเป็นเหตุเกิดแห่งสมาธินทรีย์ ความเกิดแห่งฉันทะด้วยสามารถความไม่ฟุ้งซ่านเป็นเหตุเกิดแห่งสมาธินทรีย์ ความเกิดแห่งมนสิการด้วยสามารถความไม่ฟุ้งซ่านเป็นเหตุเกิดแห่งสมาธินทรีย์ ความปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถสมาธินทรีย์เป็นเหตุเกิดแห่งสมาธินทรีย์.

ความเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความเห็นเป็นเหตุเกิดแห่งปัญญินทรีย์ ความเกิดแห่งฉันทะด้วยสามารถความเห็นเป็นเหตุเกิดแห่งปัญญินทรีย์ ความเกิดแห่งมนสิการด้วยสามารถความเห็นเป็นเหตุเกิดแห่งปัญญินทรีย์ ความปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์เป็นเหตุเกิดแห่งปัญญินทรีย์.

ความเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความน้อมใจเชื่อเป็นเหตุเกิดแห่งสัทธินทรีย์ ความเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความประคองไว้เป็นเหตุแห่งวิริยินทรีย์ ความเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความปรากฏเป็นเหตุเกิดแห่งสตินนทรีย์ ความเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความไม่ฟุ้งซ่านเป็นเหตุเกิดแห่งสมาธินทรีย์ ความเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความเห็นเป็นเหตุเกิดแห่งปัญญินทรีย์.

ความเกิดแห่งฉันทะด้วยสามารถความน้อมใจเชื่อเป็นเหตุเกิดแห่งสัทธินทรีย์ ความเกิดแห่งฉันทะด้วยสามารถความประคองไว้เป็นเหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์ ความเกิดแห่งฉันทะด้วยสามารถความปรากฏเป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์ ความเกิดแห่งฉันทะความไม่ฟุ้งซ่านเป็นเหตุเกิดแห่งสมาธินทรีย์ ความเกิดแห่งฉันทะด้วยสามารถความเห็นเป็นเหตุเกิดแห่งปัญญินทรีย์.

ความเกิดแห่งมนสิการด้วยสามารถความน้อมใจเชื่อเป็นเหตุเกิดแห่งสัทธินทรีย์


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 237

ความเกิดแห่งมนสิการด้วยสามารถความประคองไว้เป็นเหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์ ความเกิดแห่งมนสิการด้วยสามารถความปรากฏเป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์ ความเกิดแห่งมนสิการด้วยสามารถความไม่ฟุ้งซ่านเป็นเหตุเกิดแห่งสมาธินทรีย์ ความเกิดแห่งมนสิการด้วยสามารถความเห็นเป็นเหตุเกิดแห่งปัญญินทรีย์.

ความปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถสัทธินทรีย์เป็นเหตุเกิดแห่งสัทธินทรีย์ ความปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถวิริยินทรีย์เป็นเหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์ ความปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถสตินทรีย์เป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์ ความปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถสมาธินทรีย์เป็นเหตุเกิดแห่งสมาธินทรีย์ ความปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถปัญญินทรีย์เป็นเหตุเกิดแห่งปัญญินทรีย์.

อินทรีย์ ๕ มีเหตุเกิดด้วยอาการ ๔๐ เหล่านี้ บุคคลย่อมรู้เหตุเกิดแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๔๐ เหล่านี้.

[๔๓๒] อินทรีย์ ๕ ย่อมดับไปด้วยอาการ ๔๐ เป็นไฉน บุคคลย่อมรู้ความดับแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๔๐ เป็นไฉน.

ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่การน้อมใจเชื่อเป็นความดับแห่งสัทธินทรีย์ ความดับแห่งฉันทะด้วยสามารถความน้อมใจเชื่อเป็นความดับแห่งสัทธินทรีย์ ความดับแห่งมนสิการด้วยสามารถความน้อมใจเชื่อเป็นความดับแห่งสัทธินทรีย์ ความไม่ปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์เป็นความดับแห่งสัทธินทรีย์.

ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความประคองไว้เป็นความดับแห่งวิริยินทรีย์ ความดับแห่งฉันทะด้วยสามารถความประคองไว้เป็นความดับแห่งวิริยินทรีย์ ความดับแห่งมนสิการด้วยสามารถความประคองไว้เป็นความดับแห่งวิริยินทรีย์ ความไม่ปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์เป็นความดับแห่งวิริยินทรีย์.


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 238

ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความปรากฏเป็นความดับแห่งสตินทรีย์ ความดับแห่งฉันทะด้วยสามารถแห่งความปรากฏเป็นความดับแห่งสตินทรีย์ ความดับแห่งมนสิการด้วยสามารถแห่งความปรากฏเป็นความดับแห่งสตินทรีย์ ความไม่ปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถสตินทรีย์เป็นความดับแห่งสตินทรีย์.

ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความไม่ฟุ้งซ่านเป็นความดับแห่งสมาธินทรีย์ ความดับแห่งฉันทะด้วยสามารถความไม่ฟุ้งซ่านเป็นความดับแห่งสมาธินทรีย์ ความดับแห่งมนสิการด้วยสามารถความไม่ฟุ้งซ่านเป็นความดับแห่งสมาธินทรีย์ ความไม่ปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถสมาธินทรีย์เป็นความดับแห่งสมาธินทรีย์.

ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความเห็นเป็นความดับแห่งปัญญินทรีย์ ความดับแห่งฉันทะด้วยสามารถแห่งความเห็นเป็นความดับแห่งปัญญินทรีย์ ความดับแห่งมนสิการด้วยสามารถแห่งความเห็นเป็นความดับแห่งปัญญินทรีย์ ความไม่ปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์เป็นความดับแห่งปัญญินทรีย์.

ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความน้อมใจเชื่อเป็นความดับแห่งสัทธินทรีย์ ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความประคองไว้เป็นความดับแห่งวิริยินทรีย์ ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความปรากฏเป็นความดับแห่งสตินทรีย์ ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความไม่ฟุ้งซ่านเป็นความดับแห่งสมาธินทรีย์ ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความเห็นเป็นความดับแห่งปัญญินทรีย์.

ความดับแห่งฉันทะด้วยสามารถแห่งความน้อมใจเชื่อเป็นความดับแห่งสัทธินทรีย์ ความดับแห่งฉันทะด้วยสามารถแห่งความประคองไว้เป็นความดับแห่งวิริยินทรีย์ ความดับแห่งฉันทะด้วยสามารถแห่งความปรากฏ


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 239

เป็นความดับแห่งสตินทรีย์ ความดับแห่งฉันทะด้วยสามารถแห่งความไม่ฟุ้งซ่านเป็นความดับแห่งสมาธินทรีย์ ความดับแห่งฉันทะด้วยสามารถแห่งความเห็นเป็นความดับแห่งปัญญินทรีย์.

ความดับแห่งมนสิการด้วยสามารถแห่งความน้อมใจเชื่อเป็นความดับแห่งสัทธินทรีย์ ความดับแห่งมนสิการด้วยสามารถแห่งความประคองไว้เป็นความดับแห่งวิริยินทรีย์ ความดับแห่งมนสิการด้วยสามารถแห่งความปรากฏเป็นความดับแห่งสตินทรีย์ ความดับแห่งมนสิการด้วยสามารถแห่งความไม่ฟุ้งซ่านเป็นความดับแห่งสมาธินทรีย์ ความดับแห่งมนสิการด้วยสามารถแห่งความเห็นเป็นความดับแห่งปัญญินทรีย์.

ความไม่ปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์เป็นความดับแห่งสัทธินทรีย์ ความไม่ปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์เป็นความดับแห่งวิริยินทรีย์ ความไม่ปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์เป็นความดับแห่งสตินทรีย์ ความไม่ปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์เป็นความดับแห่งสมาธินทรีย์ ความไม่ปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์เป็นความดับแห่งปัญญินทรีย์.

อินทรีย์ ๕ ย่อมดับไปด้วยอาการ ๔๐ เหล่านี้ บุคคลย่อมรู้ความดับแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๔๐ เหล่านี้.

[๔๓๓] อินทรีย์ ๕ มีคุณด้วยอาการ ๒๕ เป็นไฉน บุคคลย่อมรู้คุณแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๕ เป็นไฉน.

ความไม่ปรากฏแห่งความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นคุณแห่งสัทธินทรีย์ ความไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นคุณแห่งสัทธินทรีย์ ความแกล้วกล้าแห่งความประพฤติด้วยความน้อมใจเชื่อเป็นคุณแห่งสัทธินทรีย์ ความสงบและการบรรลุสุขวิหารธรรมเป็นคุณแห่งสัทธินทรีย์ ความสุขความโสมนัสอันอาศัยสัทธินทรีย์เกิดขึ้นเป็นคุณแห่งสัทธินทรีย์.


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 240

ความไม่ปรากฏแห่งความเป็นผู้เกียจคร้านเป็นคุณแห่งวิริยินทรีย์ ความไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะความเป็นผู้เกียจคร้านเป็นคุณแห่งวิริยินทรีย์ ความแกล้วกล้าแห่งความประพฤติด้วยความประคองไว้เป็นคุณแห่งวิริยินทรีย์ ความสงบและการบรรลุสุขวิหารธรรมเป็นคุณแห่งวิริยินทรีย์ ความสุขความโสมนัสอันอาศัยวิริยินทรีย์เกิดขึ้นเป็นคุณแห่งวิริยินทรีย์.

ความไม่ปรากฏแห่งความประมาทเป็นคุณแห่งสตินทรีย์ ความไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะความประมาทเป็นคุณแห่งสตินทรีย์ ความแกล้วกล้าแห่งความประพฤติด้วยความปรากฏเป็นคุณแห่งสตินทรีย์ ความสงบและการบรรลุสุขวิหารธรรมเป็นคุณแห่งสตินทรีย์ ความสุขความโสมนัสอันอาศัยสตินทรีย์เกิดขึ้นเป็นคุณแห่งสตินทรีย์.

ความไม่ปรากฏแห่งอุทธัจจะเป็นคุณเเห่งสมาธินทรีย์ ความไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะอุทธัจจะเป็นคุณแห่งสมาธินทรีย์ ความแกล้วกล้าแห่งความประพฤติด้วยความไม่ฟุ้งซ่านเป็นคุณแห่งสมาธินทรีย์ ความสงบและการบรรลุสุขวิหารธรรมเป็นคุณแห่งสมาธินทรีย์ ความสุขความโสมนัสอันอาศัยสมาธินทรีย์เกิดขึ้นเป็นคุณแห่งสมาธินทรีย์.

ความไม่ปรากฏแห่งอวิชชาเป็นคุณแห่งปัญญินทรีย์ ความไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะอวิชชาเป็นคุณแห่งปัญญินทรีย์ ความแกล้วกล้าแห่งความประพฤติด้วยความเห็นเป็นคุณแห่งปัญญินทรีย์ ความสงบและการบรรลุสุขวิหารธรรมเป็นคุณแห่งปัญญินทรีย์ ความสุขความโสมนัสอันอาศัยปัญญินทรีย์เกิดขึ้นเป็นคุณแห่งปัญญินทรีย์.

อินทรีย์ ๕ มีคุณด้วยอาการ ๒๕ เหล่านี้ บุคคลย่อมรู้คุณแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๕ เหล่านี้.

[๔๓๔] อินทรีย์ ๕ มีโทษด้วยอาการ ๒๕ เป็นไฉน บุคคลย่อมรู้โทษแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๕ เป็นไฉน.


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 241

ความปรากฏแห่งอสัทธินทรีย์เป็นโทษแห่งสัทธินทรีย์ ความปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะอสัทธินทรีย์เป็นโทษแห่งสัทธินทรีย์ สัทธินทรีย์มีโทษเพราะความไม่เที่ยง ฯ เป็นทุกข์ ฯ เป็นอนัตตา.

ความปรากฏแห่งความเป็นผู้เกียจคร้านเป็นโทษแห่งวิริยินทรีย์ ความปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะความเป็นผู้เกียจคร้านเป็นโทษแห่งวิริยินทรีย์ วิริยินทรีย์มีโทษเพราะความไม่เที่ยง ฯ เป็นทุกข์ ฯ เป็นอนัตตา.

ความปรากฏแห่งความประมาทเป็นโทษแห่งสตินทรีย์ ความปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะควานประมาทเป็นโทษแห่งสตินทรีย์ สตินทรีย์มีโทษเพราะความไม่เที่ยง ฯ เป็นทุกข์ ฯ เป็นอนัตตา.

ความปรากฏแห่งอุทธัจจะเป็นโทษแห่งสมาธินทรีย์ ความปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะอุทธัจจะเป็นโทษแห่งสมาธินทรีย์ สมาธินทรีย์มีโทษเพราะความไม่เที่ยง ฯ เป็นทุกข์ ฯ เป็นอนัตตา.

ความปรากฏแห่งอวิชชาเป็นโทษแห่งปัญญินทรีย์ ความปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะอวิชชาเป็นโทษแห่งปัญญินทรีย์ ปัญญินทรีย์มีโทษเพราะความไม่เที่ยง ฯ เป็นทุกข์ ฯ เป็นอนัตตา.

อินทรีย์ ๕ มีโทษด้วยอาการ ๒๕ เหล่านี้ บุคคลย่อมรู้โทษแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๕ เหล่านี้.

[๔๓๕] อินทรีย์ ๕ มีอุบายเป็นเครื่องสลัดออกไปด้วยอาการ ๑๘๐ เป็นไฉน บุคคลย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกไปแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๑๘๐ เป็นไฉน.

สัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า ความน้อมใจเชื่อ สลัดออกไปจากความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ จากความเร่าร้อนเพราะความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ จากขันธ์ ๑ จากสรรพนิมิตภายนอก ๑ จากสัทธินทรีย์ซึ่งมีอยู่ก่อนแต่การได้สัทธินทรีย์ที่ประณีตกว่านั้น ๑.


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 242

วิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ สลัดออกไปจากความเป็นผู้เกียจคร้าน ๑ จากความเร่าร้อนเพราะความเป็นผู้เกียจคร้าน ๑ จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามความเป็นผู้เกียจคร้าน ๑ จากขันธ์ ๑ จากสรรพนิมิตภายนอก ๑ จากวิริยินทรีย์ซึ่งมีอยู่ก่อนแต่การได้วิริยินทรีย์ที่ประณีตกว่านั้น ๑.

สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น สลัดออกไปจากความประมาท ๑ จากความเร่าร้อนเพราะความประมาท ๑ จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามความประมาท ๑ จากขันธ์ ๑ จากสรรพนิมิตภายนอก ๑ จากสตินทรีย์ซึ่งมีอยู่ก่อนแต่การได้สตินทรีย์ที่ประณีตกว่านั้น ๑.

สมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน สลัดออกไปจากอุทธัจจะ ๑ จากความเร่าร้อนเพราะอุทธัจจะ ๑ จากขันธ์ ๑ จากสรรพนิมิตภายนอก ๑ จากสมาธินทรีย์ชึ่งมีอยู่ก่อนแต่การได้สมาธินทรีย์ที่ประณีตกว่านั้น ๑.

ปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น สลัดออกไปจากอวิชชา ๑ จากความเร่าร้อนเพราะอวิชชา ๑ จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามอวิชชา ๑ จากขันธ์ ๑ จากสรรพนิมิตภายนอก ๑ จากปัญญินทรีย์ซึ่งมีอยู่ก่อนแต่การได้ปัญญินทรีย์ที่ประณีตกว่านั้น ๑.

อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถปฐมฌาน สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในส่วนเบื้องต้น อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถทุติยฌาน สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในปฐมฌาน อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถตติยฌาน สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในทุติยฌาน อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถจตุตถฌาน สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในตติยฌาน อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งอากาสานัญจายตนสมาบัติ สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในจตุตถฌาน อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งวิญญาณัญจายตนสมาบัติ สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในอากาสานัญจายตนสมาบัติ อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในวิญญาณัญจายตนสมาบัติ อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในอากิญจัญญายตนสมาบัติ


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 243

อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งอนิจานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งทุกขานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในอนิจจานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งอนัตตานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในทุกขานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งนิพพิทานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในอนัตตานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งวิราคานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในนิพพิทานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งนิโรธานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในวิราคานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งปฏินิสสัคคานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในนิโรธานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งขยานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในปฎินิสสัคคานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งวยานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในขยานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งวิปริณามานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในวยานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งอนิมิตตานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในวิปริณามานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งอัปปณิหิตานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในอนิมิตานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งสุญญตานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในอัปปณิหิตานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งอธิปัญญาธรรมวิปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในสุญญตานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งยถาภูตญาณทัสนะ สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในอธิปัญญาธรรมวิปัสสนา อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งอาทีนวานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในยถาภูตญาณทัสนะ อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งปฏิสังขานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในอาทีนวานุปัสสนา อินทรีย์ ๕


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 244

ด้วยสามารถแห่งวิวัฏฏนานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในปฏิสังขานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งโสดาปัตติมรรค สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในวิวัฏฏนานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งโสดาปัตติผลสมาบัติ สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในโสดาปัตติมรรค อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งสกทาคามิมรรค สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในโสดาปัตติผลสมาบัติ อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งสกทาคามิผลสมาบัติ สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในสกทาคามิมรรค อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งอนาคามิมรรค สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในสกทาคามิผลสมาบัติ อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งอนาคามิผลสมาบัติ สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในอนาคามิมรรค อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งอรหัตมรรค สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในอนาคามิผลสมาบัติ อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งอรหัตผลสมาบัติสลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในอรหัตมรรค.

อินทรีย์ ๕ ในเนกขัมมะ สลัดออกไปจากกามฉันทะ อินทรีย์ ๕ ในอัพยาบาท สลัดออกไปจากพยาบาท อินทรีย์ ๕ ในอาโลกสัญญา สลัดออกไปจากถีนมิทธะ อินทรีย์ ๕ ในความไม่ฟุ้งซ่าน สลัดออกไปจากอุทธัจจะ อินทรีย์ ๕ ในธรรมววัตถาน สลัดออกไปจากวิจิกิจฉา อินทรีย์ ๕ ในญาณ สลัดออกไปจากอวิชชา อินทรีย์ ๕ ในความปราโมทย์ สลัดออกจากอรติ อินทรีย์ ๕ ในปฐมฌาน สลัดออกไปจากนิวรณ์ อินทรีย์ ๕ ในทุติยฌาน สลัดออกไปจากวิตกวิจาร อินทรีย์ ๕ ในตติยฌาน สลัดออกไปจากปีติ อินทรีย์ ๕ ในจตุตถฌาน สลัดออกไปจากสุขและทุกข์ อินทรีย์ ๕ ในอากาสานัญจายตนสมาบัติ สลัดออกไปจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา อินทรีย์ ๕ ในวิญญาณัญจายตนสมาบัติ สลัดออกไปจากอากาสานัญจายตนสัญญา อินทรีย์ ๕ ในอากิญจัญญายตนสมาบัติ สลัดออกไปจากวิญญาณัญจายตนสัญญา อินทรีย์ ๕ ในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ สลัดออกไปจากอากิญจัญญายตนสัญญา


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 245

อินทรีย์ ๕ ในอนิจจานุปัสสนา สลัดออกไปจากนิจจสัญญา อินทรีย์ ๕ ในทุกขานุปัสสนา สลัดออกไปจากสุขสัญญา อินทรีย์ ๕ ในอนัตตานุปัสสนา สลัดออกไปจากอัตตสัญญา อินทรีย์ ๕ ในนิพพิทานุปัสสนา สลัดออกไปจากความเพลิดเพลิน อินทรีย์ ๕ ในวิราคานุปัสสนา สลัดออกไปจากราคะ อินทรีย์ ๕ ในนิโรธานุปัสสนา สลัดออกไปจากสมุทัย อินทรีย์ ๕ ในปฏินิสสัคคานุปัสสนา สลัดออกไปจากความยึดมั่น อินทรีย์ ๕ ในขยานุปัสสนา สลัดออกไปจากฆนสัญญา อินทรีย์ ๕ ในวยานุปัสสนา สลัดออกไปจากการประมวลมา อินทรีย์ ๕ ในวิปริณามานุปัสสนา สลัดออกไปจากธุวสัญญา อินทรีย์ ๕ ในอนิมิตตานุปัสสนา สลัดออกไปจากนิมิต อินทรีย์ ๕ ในอัปปณิหิตานุปัสสนา สลัดออกไปจากปณิธิ อินทรีย์ ๕ ในสุญญตานุปัสสนา สลัดออกไปจากความถือมั่น อินทรีย์ ๕ ในอธิปัญญาธรรมวิปัสสนา สลัดออกไปจากความยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นแก่นสาร อินทรีย์ ๕ ในยถาภูตญาณทัสนะ สลัดออกไปจากความถือมั่นเพราะความหลง อินทรีย์ ๕ ในอาทีนวานุปัสสนา สลัดออกไปจากความถือมั่นด้วยความอาลัย อินทรีย์ ๕ ในปฏิสังขานุปัสสนา สลัดออกไปจากการไม่พิจารณาหาทาง อินทรีย์ ๕ ในวิวัฏฏนานุปัสสนา สลัดออกไปจากความถือมั่นเพราะกิเลสเครื่องประกอบ อินทรีย์ ๕ ในโสดาปัตติมรรค สลัดออกไปจากกิเลสอันตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับทิฏฐิ อินทรีย์ ๕ ในสกทาคามิมรรค สลัดออกไปจากกิเลสส่วนหยาบๆ อินทรีย์ ๕ ในอนาคามิมรรค สลัดออกไปจากกิเลสส่วนละเอียด อินทรีย์ ๕ ในอรหัตมรรค สลัดออกไปจากกิเลสทั้งปวง อินทรีย์ ๕ ในธรรมนั้นๆ เป็นคุณชาติอันพระขีณาสพทั้งปวงเทียวสลัดออกแล้ว สลัดออกดีแล้ว ระงับแล้วและระงับดีแล้ว อินทรีย์ ๕ มีอุบายเป็นเครื่องสลัดออกด้วยอาการ ๑๘๐ เหล่านี้ บุคคลย่อมรู้อุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๑๘๐ เหล่านี้.

จบภาณวาร


ความคิดเห็น 17    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 246

สาวัตถีนิทาน

ว่าด้วยประเภทของอินทรีย์ ๕

[๔๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน คือสัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นสัทธินทรีย์ในที่ไหน พึงเห็นในโสดาปัตติยังคะ (ธรรมอันเป็นองค์แห่งการบรรลุกระแสนิพพาน) ๔.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นวิริยินทรีย์ในที่ไหน พึงเห็นในสัมมัปปธาน ๔.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นสตินทรีย์ในที่ไหน พึงเห็นในสติปัฏฐาน ๔.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นสมาธินทรีย์ในที่ไหน พึงเห็นใน ฌาน ๔.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นปัญญินทรีย์ในที่ไหน พึงเห็นในอริยสัจ ๔.

[๔๓๗] ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร.


ความคิดเห็น 18    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 247

ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐.

[๔๓๘] ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน.

พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ในการน้อมใจเชื่อในโสดาปัตติยังคะ คือการคบสัตบุรุษ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่า ประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่า ปรากฏ พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่า ไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่า เห็น.

ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ในการน้อมใจเชื่อในโสดาปัตติยังคะ คือการฟังธรรมของท่าน การทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่า ประคองไว้ ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่า ปรากฏ ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่า ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่า เห็น

ด้วยด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้.

[๔๓๙] ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน.

พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ในการประคองไว้ในสัมมัปปธาน ๔ คือการไม่ยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่า ปรากฏ พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่า ไม่ฟุ้งซ่าน


ความคิดเห็น 19    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 248

พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่า เห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า น้อมใจเชื่อ.

ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ในการประคองไว้ในสัมมัปปธาน คือการละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ ในสัมมัปปธาน คือการยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ฯลฯ ในสัมมัปปธาน คือความตั้งมั่น ความไม่ฟั่นเฟือน ความเจริญยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่า ปรากฏ พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่า ไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่า เห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า น้อมใจเชื่อ.

ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้.

[๔๔๐] ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน.

พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ในความปรากฏในสติปัฏฐาน คือการพิจารณาเห็นกายในกาย พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่า ไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่า เห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า น้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่า ประคองไว้.

ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ในความปรากฏในสติปัฏฐาน คือการพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ ในสติปัฏฐาน คือการพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ ในสติปัฏฐาน คือการพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถ ไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่า เห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า น้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่า ประคองไว้.


ความคิดเห็น 20    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 249

ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้.

[๔๔๑] ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน.

พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่านในปฐมฌาน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่า เห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า น้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่า ประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่า ปรากฏ.

พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่านในทุติยฌาน ฯลฯ ในตติยฌาน ฯลฯ ในจตุตถฌาน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่า เห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า น้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่า ประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่า ปรากฏ.

ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้.

[๔๔๒] ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน.

พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ในการเห็นอริยสัจ คือทุกข์ พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า น้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่า ประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่า ปรากฏ พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่า ไม่ฟุ้งซ่าน.

ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ในความเห็นในอริยสัจ คือทุกขสมุทัย ฯลฯ ในอริยสัจ คือ


ความคิดเห็น 21    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 250

ทุกขนิโรธ ฯลฯ ในอริยสัจ คือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า น้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่า ประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่า ปรากฏ พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่า ไม่ฟุ้งซ่าน.

ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้.

[๔๔๓] ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร ฯลฯ ในสัมมัปปธาน ๔ ฯลฯ ในสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ ในฌาน ๔ ฯลฯ ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร.

ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ ฯลฯ ในสัมมัปปธาน ๔ ฯลฯ ในสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ ในฌาน ๔ ฯลฯ ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐.

[๔๔๔] ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน.

พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ในความน้อมใจเชื่อในโสดาปัตติยังคะ คือการคบหาสัปบุรุษ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่า ประคองไว้ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่า ปรากฏ พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่า ไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่า เห็น.

ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ในความน้อมใจเชื่อในโสดาปัตติยังคะ คือการฟังธรรมของท่าน ฯลฯ ในโสดาปัตติยังคะ คือ


ความคิดเห็น 22    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 251

การทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย ฯลฯ ในโสดาปัตติยังคะ คือการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่า ประคองไว้ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่า ปรากฏ พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่า ไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่า เห็น.

ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้.

[๔๔๕] ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน.

จะพึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ในความประคองไว้ในสัมมัปปธาน คือการไม่ยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่า ปรากฏ ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า น้อมใจเชื่อ.

พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ในความประคองไว้ในสัมมัปปธาน คือการละอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ ในสัมมัปปธาน คือการยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ฯลฯ ในสัมมัปปธาน คือความตั้งมั่น ความไม่ฟั่นเฟือน ความเจริญยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่า ปรากฏ ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า น้อมใจเชื่อ.

ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้.


ความคิดเห็น 23    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 252

[๔๔๖] ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน.

พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ในความปรากฏในสติปัฏฐาน คือการพิจารณาเห็นกายในกาย พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่า ไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่า เห็น พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า น้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่า ประคองไว้.

ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ในความปรากฏในสติปัฏฐาน คือการพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ ในสติปัฏฐาน คือการพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ ในสติปัฏฐาน คือการพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่า ไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่า ประคองไว้.

ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้.

[๔๔๗] ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน.

พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่านในปฐมฌาน พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่า เห็น พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า น้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่า ประคองไว้ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่า ปรากฏ.

ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่านในทุติยฌาน ฯลฯ


ความคิดเห็น 24    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 253

ในตติยฌาน ฯลฯ ในจตุตถฌาน ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่า ปรากฏ.

ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้.

[๔๔๘] ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน.

พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ในการเห็นในอริยสัจ คือทุกข์ พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า น้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่า ประคองไว้ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่า ปรากฏ พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่า ไม่ฟุ้งซ่าน.

ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ในความเห็นในอริยสัจ คือทุกขสมุทัย ฯลฯ ในอริยสัจ คือทุกขนิโรธ ฯลฯ ในอริยสัจ คือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า น้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่า ประคองไว้ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่า ปรากฏ พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่า ไม่ฟุ้งซ่าน.

ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วย อาการ ๒๐ เหล่านี้.

[๔๔๙] ความประพฤติและวิหารธรรม เป็นอันตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว เหมือนอย่างที่สพรหมจารีผู้รู้แจ้ง เชื่อมั่นบุคคลผู้ประพฤติอยู่ ผู้เป็นอยู่ในฐานะที่ลึกซึ้งว่า ท่านผู้นี้บรรลุแล้วหรือว่าจักบรรลุเป็นแน่.


ความคิดเห็น 25    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 254

จริยา (ความประพฤติ) ในคำว่า ความประพฤติ มี ๘ คืออิริยาปถจริยา ๑ อายตนจริยา ๑ สติจริยา ๑ สมาธิจริยา ๑ ญาณจริยา ๑ มรรคจริยา ๑ ปัตติจริยา ๑ โลกัตถจริยา ๑.

ความประพฤติในอิริยาบถ ๔ ชื่อว่า อิริยาปถจริยา ความประพฤติในอายตนภายในภายนอก ๖ ชื่อว่า อายตนจริยา ความประพฤติในสติปัฏฐาน ๔ ชื่อว่า สติจริยา ความประพฤติในฌาน ๔ ชื่อว่า สมาธิจริยา ความประพฤติในอริยสัจ ๔ ชื่อว่า ญาณจริยา ความประพฤติในอริยมรรค ๔ ชื่อว่า มรรคจริยา ความประพฤติในสามัญผล ๔ ชื่อว่า ปัตติจริยา ความประพฤติกิจซึ่งเป็นประโยชน์แก่โลก ของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ของพระปัจเจกพุทธเจ้าบางส่วน ของพระสาวกบางส่วน ชื่อว่า โลกัตถจริยา.

อิริยาปถจริยาเป็นของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยการตั้งใจไว้ อายตนจริยาเป็นของท่านผู้คุ้มครองอินทรีย์ สติจริยาเป็นของท่านผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท สมาธิจริยาเป็นของท่านผู้ขวนขวายในอธิจิต ญาณจริยาเป็นของท่านผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา มรรคจริยาเป็นของท่านผู้ปฏิบัติชอบ ปัตติจริยาเป็นของท่านผู้บรรลุผลแล้ว และโลกัตถจริยาเป็นของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ของพระปัจเจกพุทธเจ้าบางส่วน ของพระสาวกบางส่วน จริยา ๘ เหล่านี้.

จริยา ๘ อีกประการหนึ่ง คือบุคคลผู้น้อมใจเชื่อย่อมประพฤติด้วยศรัทธา ผู้ประคองไว้ย่อมประพฤติด้วยความเพียร ผู้ทำให้ปรากฏย่อมประพฤติด้วยสติ ผู้ทำจิตไม่ให้ฟุ้งซ่านย่อมประพฤติด้วยสมาธิ ผู้รู้ชัดย่อมประพฤติด้วยปัญญา ผู้รู้แจ้งย่อมประพฤติด้วยวิญญาณ ผู้ทราบว่าท่านปฏิบัติอย่างนี้จึงบรรลุคุณวิเศษดังนี้ย่อมประพฤติด้วยวิเสสจริยา ผู้ที่ทราบ


ความคิดเห็น 26    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 255

ว่ากุศลธรรมของท่านผู้ปฏิบัติอย่างนี้ย่อมยังอิฐผลให้ยืดยาวไปดังนี้ย่อมประพฤติด้วยอายตนจริยา จริยา ๘ เหล่านี้.

จริยา ๘ อีกประการหนึ่ง คือทัสสนจริยาแห่งสัมมาทิฏฐิ ๑ อภิโรปนจริยาแห่งสัมมาสังกับปะ ๑ ปริคคหจริยาแห่งสัมมาวาจา ๑ สมุฏฐานจริยาแห่งสัมมากัมมันตะ ๑ โวทานจริยาแห่งสัมมาอาชีวะ ๑ ปัคคหจริยาแห่งสัมมาวายามะ ๑ อุปัฏฐานจริยาแห่งสัมมาสติ ๑ อวิกเขปจริยาแห่งสัมมาสมาธิ ๑ จริยา ๘ เหล่านี้.

[๔๕๐] คำว่า วิหาโร (วิหารธรรม) ความว่า บุคคลผู้น้อมใจเชื่อย่อมอยู่ด้วยศรัทธา ผู้ประคองไว้ย่อมอยู่ด้วยความเพียร ผู้ตั้งสติมั่นย่อมอยู่ด้วยสติ ผู้ทำจิตไม่ให้ฟุ้งซ่านย่อมอยู่ด้วยสมาธิ ผู้รู้ชัดย่อมอยู่ด้วยปัญญา.

คำว่า ตรัสรู้แล้ว ความว่า ความน้อมใจเชื่อแห่งสัทธินทรีย์ ความประคองไว้แห่งวิริยินทรีย์ ความปรากฏแห่งสตินทรีย์ ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมาธินทรีย์ ความเห็นแห่งปัญญินทรีย์ เป็นอันตรัสรู้แล้ว.

คำว่า แทงตลอดแล้ว ความว่า ความน้อมใจเชื่อแห่งสัทธินทรีย์ ฯ ความเห็นแห่งปัญญินทรีย์ เป็นอันแทงตลอดแล้ว.

คำว่า ผู้ประพฤติอยู่ ความว่า ประพฤติด้วยศรัทธาอย่างนี้ ด้วยความเพียรอย่างนี้ ด้วยสติอย่างนี้ ด้วยสมาธิอย่างนี้ ด้วยปัญญาอย่างนี้.

คำว่า ผู้เป็นอยู่ ความว่า อยู่ด้วยศรัทธาอย่างนี้ ฯ ด้วยปัญญาอย่างนี้.

คำว่า วิญญู (ผู้รู้แจ้ง) คือผู้รู้แจ้ง ผู้มีปัญญาแจ่มแจ้ง ผู้มีปัญญาทำลายกิเลส ผู้เป็นบัณฑิต ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาเครื่องตรัสรู้.

คำว่า สพฺรหฺมจารี (สพรหมจารี) คือบุคคลผู้มีการงานอย่างเดียวกัน มีอุเทศอย่างเดียวกัน มีการศึกษาเสมอกัน.


ความคิดเห็น 27    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 256

ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ มรรค ผล อภิญญาและปฏิสัมภิทา ท่านกล่าวว่า เป็นฐานะอันลึก ในคำว่า คมฺภีเรสฺ าเนสุ (ในฐานะที่ลึกซึ้ง).

คำว่า โอกปฺเปยยุํ (เชื่อมั่น) ความว่า พึงเชื่อ คือพึงน้อมใจเชื่อ.

คำว่า อทฺธา (แน่แท้) นี้ เป็นคำกล่าวโดยส่วนเดียว เป็นคำกล่าวโดยไม่สงสัย เป็นคำกล่าวโดยสิ้นความเคลือบแคลง เป็นคำกล่าวไม่เป็นสอง เป็นคำกล่าวโดยธรรมเครื่องนำออก (เป็นคำกล่าวโดยกำหนดลง) เป็นคำกล่าวไม่ผิด เป็นคำกล่าวโดยหลักฐาน.

คำว่า อายสฺมา (ท่าน) นี้ เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวด้วยความเคารพ เป็นคำกล่าวมีความเคารพยำเกรง.

คำว่า บรรลุแล้ว ความว่า ถึงทับแล้ว.

คําว่า หรือว่าจักบรรลุ ความว่า จักถึงทับ.

จบนิทานบริบูรณ์

[๔๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ ๕ เป็นไฉน คือสัทธินทรีย์ ฯ ปัญญินทรีย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล.

อินทรีย์ ๕ เหล่านี้พึงเห็นด้วยอาการเท่าไร พึงเห็นด้วยอาการ ๖ พึงเห็นด้วยอรรถว่ากระไร ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ ด้วยอรรถว่า เป็นเครื่องชำระธรรมอันเป็นเบื้องต้น ด้วยอรรถว่า มีประมาณยิ่ง ด้วยอรรถว่า ตั้งมั่น ด้วยอรรถว่า ครอบงำ ด้วยอรรถว่า ให้ตั้งอยู่.

[๔๕๒] พึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ อย่างไร.

พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ในความน้อมใจเชื่อแห่งบุคคลผู้ละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่า ประคองไว้


ความคิดเห็น 28    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 257

พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่า ปรากฏ พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่า ไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่า เห็น ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์.

พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ในการประคองไว้แห่งบุคคลผู้ละความเกียจคร้าน พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่า ปรากฏ พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่า ไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่า เห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า น้อมใจเชื่อ ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์.

พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ในความปรากฏแห่งบุคคลผู้ละความประมาท พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่า ไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่า เห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า น้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่า ประคองไว้ ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์.

พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่านแห่งบุคคลผู้ละอุทธัจจะ พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่า เห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า น้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่า ประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่า ปรากฏ ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์.

พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ในการเห็นแห่งบุคคลผู้ละอวิชชา พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า น้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่า ประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่า ปรากฏ พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่า ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์.

พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ในความน้อมใจเชื่อด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะแห่งบุคคลผู้ละกามฉันทะ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่า ประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่า ปรากฏ พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่า ไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่า เห็น ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์.

พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ในความประคองไว้ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะแห่งบุคคลผู้ละกามฉันทะ พึงเห็น


ความคิดเห็น 29    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 258

สตินทรีย์ด้วยอรรถว่า ปรากฏ พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่า ไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่า เห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า น้อมใจเชื่อ ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์.

พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ในความปรากฏด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะแห่งบุคคลผู้ละกามฉันทะ พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่า ไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่า เห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า น้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่า ประคองไว้ ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์.

พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะแห่งบุคคลผู้ละกามฉันทะ พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่า เห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า น้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่า ประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่า ปรากฏ ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์.

พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ในความเห็นด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะแห่งบุคคลผู้ละกามฉันทะ พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า น้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่า ประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่า ปรากฏ พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่า ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์.

พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ในความน้อมใจเชื่อด้วยสามารถแห่งความไม่พยาบาทแห่งบุคคลผู้ละพยาบาท ฯลฯ ด้วยสามารถแห่งอาโลกสัญญา แห่งบุคคลผู้ละถีนมิทธะ ฯลฯ พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ในความน้อมใจเชื่อด้วยสามารถแห่งอรหัตมรรคแห่งบุคคลผู้ละกิเลสทั้งปวง พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่า ประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่า ปรากฏ พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่า ไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่า เห็น ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ ฯลฯ พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ในการเห็นด้วยสามารถแห่งอรหัตมรรค


ความคิดเห็น 30    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 259

แห่งบุคคลผู้ละกิเลสทั้งปวง พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า น้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่า ประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่า ปรากฏ พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่า ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ อย่างนี้.

[๔๕๓] พึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่า เป็นเครื่องชำระธรรมอันเป็นเบื้องต้น อย่างไร.

สัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า น้อมใจเชื่อ เป็นสีลวิสุทธิเพราะอรรถว่า ระวังความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา เป็นเครื่องชำระธรรมอันเป็นเบื้องต้นแห่งสัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่า ประคองไว้ เป็นสีลวิสุทธิเพราะอรรถว่า ระวังความเกียจคร้าน เป็นเครื่องชำระธรรมอันเป็นเบื้องต้นแห่งวิริยินทรีย์ สตินทรีย์ด้วยอรรถว่า ปรากฏ เป็นสีลวิสุทธิเพราะอรรถว่า ระวังความประมาท เป็นเครื่องชำระธรรมอันเป็นเบื้องต้นแห่งสตินทรีย์ สมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่า ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสีลวิสุทธิเพราะอรรถว่า ระวังอุทธัจจะ เป็นเครื่องชำระธรรมอันเป็นเบื้องต้นแห่งสมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่า เห็น เป็นสีลวิสุทธิเพราะอรรถว่า ระวังอวิชชา เป็นเครื่องชำระธรรมอันเป็นเบื้องต้นแห่งปัญญินทรีย์.

อินทรีย์ ๕ ในเนกขัมมะ เป็นสีลวิสุทธิเพราะอรรถว่า ระวังกามฉันทะ เป็นเครื่องชำระธรรมอันเป็นเบื้องต้นแห่งอินทรีย์ ๕ อินทรีย์ ๕ ในความไม่พยาบาท เป็นสีลวิสุทธิเพราะอรรถว่า ระวังพยาบาท เป็นเครื่องชำระธรรมอันเป็นเบื้องต้นแห่งอินทรีย์ ๕ ฯลฯ อินทรีย์ ๕ ในอรหัตมรรค เป็นสีลวิสุทธิเพราะอรรถว่า ระวังกิเลสทั้งปวง เป็นเครื่องชำระธรรมอันเป็นเบื้องต้นแห่งอินทรีย์ ๕ พึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่า เป็นเครื่องชำระธรรมอันเป็นเบื้องต้น อย่างนี้.

[๔๕๔] พึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่า มีประมาณยิ่ง อย่างไร.


ความคิดเห็น 31    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 260

ฉันทะเกิดขึ้นเพื่อความเจริญสัทธินทรีย์ เพื่อละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา เพื่อละความเร่าร้อนเพราะความไม่มีศรัทธา เพื่อละกิเลสอันตั้งอยู่ร่วมกันกับทิฏฐิ เพื่อละกิเลสส่วนหยาบๆ เพื่อละกิเลสส่วนละเอียดๆ เพื่อละกิเลสทั้งปวง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจฉันทะ.

ความปราโมทย์เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งฉันทะ สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจความปราโมทย์.

ปีติเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งความปราโมทย์ สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจแห่งปีติ.

ปัสสัทธิเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งปีติ สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจปัสสัทธิ.

ความสุขเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งปัสสัทธิ สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจแห่งความสุข.

โอภาสเกิดขึ้นด้วยสามารถความสุข สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วย สามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจโอภาส.

สังเวชเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งโอภาส สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจสังเวช.

จิตสังเวชแล้วย่อมตั้งมั่น สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจสมาธิ.

จิตมั่นคงอย่างนั้นแล้วย่อมประคองไว้ดี สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจการประคองไว้.

จิตประคองแล้วอย่างนั้นย่อมวางเฉยดี สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจอุเบกขา.

จิตย่อมหลุดพ้นจากกิเลสต่างๆ ด้วยสามารถแห่งอุเบกขา สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจความหลุดพ้น.

ธรรมเหล่านั้นมีกิจ (* กิจรสะ) เสมอกัน เพราะความที่จิตเป็นธรรมชาติหลุดพ้นแล้ว สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจภาวนา (อบรม) เพราะอรรถว่า เป็นธรรมมีกิจ (* กิจรสะ) เสมอกัน.

ธรรมเหล่านั้นย่อมหลีกจากธรรมนั้นสู่ธรรมที่ประณีตกว่า


ความคิดเห็น 32    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 261

เพราะเป็นธรรมที่เจริญแล้ว สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจความหลีกไป.

จิตย่อมปล่อยจากธรรมนั้น เพราะเป็นธรรมที่หลีกไปแล้ว สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจความปล่อย.

ธรรมทั้งหลายย่อมดับไปจากนั้น เพราะจิตเป็นธรรมชาติปล่อยไปแล้ว สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจความดับ.

ความปล่อยด้วยสามารถแห่งความดับ มี ๒ ประการ คือความปล่อยด้วยความสละ ๑ ความปล่อยด้วยความแล่นไป ๑ ชื่อว่า ความปล่อยด้วยความสละเพราะอรรถว่า สละกิเลสและขันธ์ ชื่อว่า ความปล่อยด้วยความแล่นไปเพราะอรรถว่า จิตแล่นไปในนิพพานธาตุอันเป็นที่ดับ ความปล่อยด้วยอำนาจความดับมี ๒ ประการนี้.

[๔๕๕] ฉันทะย่อมเกิดเพื่อความเจริญวิริยินทรีย์ เพื่อละความเกียจคร้าน เพื่อละความเร่าร้อนเพราะความเกียจคร้าน เพื่อละกิเลสอันตั้งอยู่ร่วมกันกับทิฏฐิ ฯลฯ เพื่อละกิเลสทั้งปวง.

ฉันทะย่อมเกิดเพื่อความเจริญสตินทรีย์ เพื่อละความประมาท เพื่อละความเร่าร้อนเพราะความประมาท ฯลฯ เพื่อละกิเลสทั้งปวง.

ฉันทะย่อมเกิดเพื่อความเจริญสมาธินทรีย์ เพื่อละอุทธัจจะ เพื่อละความเร่าร้อนเพราะอุทธัจจะ ฯลฯ เพื่อละกิเลสทั้งปวง.

ฉันทะย่อมเกิดเพื่อความเจริญปัญญินทรีย์ เพื่อละอวิชชา เพื่อละความเร่าร้อนเพราะอวิชชา เพื่อละกิเลสอันตั้งอยู่ร่วมกันกับทิฏฐิ เพื่อละกิเลสส่วนหยาบๆ เพื่อละกิเลสส่วนละเอียดๆ เพื่อละกิเลสทั้งปวง.

ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจฉันทะ.

ความปราโมทย์ย่อมเกิดด้วยสามารถฉันทะ ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจความปราโมทย์.

ปีติย่อมเกิดด้วยสามารถแห่งความปราโมทย์ ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจปีติ.

ปัสสัทธิย่อมเกิดด้วยสามารถแห่งปีติ


ความคิดเห็น 33    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 262

ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจปัสสัทธิ.

ความสุขย่อมเกิดด้วยสามารถแห่งปัสสัทธิ ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจความสุข.

โอภาสย่อมเกิดด้วยสามารถแห่งความสุข ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจโอภาส.

ความสังเวชย่อมเกิดด้วยสามารถแห่งโอภาส ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจความสังเวช.

จิตสังเวชแล้วย่อมตั้งมั่น ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจสมาธิจิตตั้งมั่นแล้วอย่างนั้น.

ย่อมประคองไว้ดี ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจความประคองไว้ จิตประคองไว้แล้วอย่างนั้น.

ย่อมวางเฉยด้วยดี ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจอุเบกขา.

จิตย่อมหลุดพ้นจากกิเลสต่างๆ ด้วยสามารถแห่งอุเบกขา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจความหลุดพ้น.

ธรรมเหล่านั้นย่อมมีกิจเป็นอันเดียวกัน เพราะความที่จิตเป็นธรรมชาติหลุดพ้นแล้ว ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจภาวนา เพราะอรรถว่าเป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน.

ธรรมเหล่านั้นย่อมหลีกจากธรรมนั้นไปสู่ธรรมที่ประณีตกว่า เพราะเป็นธรรมที่เจริญแล้ว ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจความหลีกไป.

จิตย่อมปล่อยจากธรรมนั้น เพราะเป็นจิตหลีกไปแล้ว ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจความปล่อย.

ธรรมทั้งหลายย่อมดับไปจากนั้น เพราะจิตเป็นธรรมชาติปล่อยแล้ว ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจความดับ.

ความปล่อยด้วยอำนาจแห่งความดับมี ๒ ประการ คือความปล่อยด้วยความสละ๑ ความปล่อยด้วยความแล่นไป ๑ ชื่อว่า ความปล่อยด้วยความสละเพราะอรรถว่า สละกิเลสและขันธ์


ความคิดเห็น 34    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 263

ชื่อว่า ความปล่อยด้วยความแล่นไปเพราะอรรถว่า จิตแล่นไปในนิพพานธาตุอันเป็นที่ดับ ความปล่อยด้วยสามารถแห่งความดับ มี ๒ ประการนี้ พึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่า มีประมาณยิ่ง อย่างนี้.

จบภาณวาร

[๔๕๖] จะพึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่า ตั้งมั่น อย่างไร.

ฉันทะย่อมเกิดเพื่อความเจริญสัทธินทรีย์ สัทธินทรีย์ย่อมตั้งมั่นด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจฉันทะ.

ความปราโมทย์ย่อมเกิดด้วยสามารถแห่งฉันทะ สัทธินทรีย์ย่อมตั้งมั่นด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจความปราโมทย์ ฯลฯ จะพึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่นอย่างนี้.

[๔๕๗] จะพึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่า ครอบงำ อย่างไร.

สัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า น้อมใจเชื่อ ย่อมครอบงำความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ย่อมครอบงำความเร่าร้อนเพราะความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา.

วิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่า ประคองไว้ ย่อมครอบงำความเป็นผู้เกียจคร้าน ย่อมครอบงำความเร่าร้อนเพราะความเกียจคร้าน.

สตินทรีย์ด้วยอรรถว่า ปรากฏ ย่อมครอบงำความประมาท ย่อมครอบงำความเร่าร้อนเพราะความประมาท.

สมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่า ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมครอบงำอุทธัจจะ ย่อมครอบงำความเร่าร้อนเพราะอุทธัจจะ.

ปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่า เห็น ย่อมครอบงำอวิชชา ย่อมครอบงำความเร่าร้อนเพราะอวิชชา.

อินทรีย์ ๕ ในเนกขัมมะ ย่อมครอบงำกามฉันทะ อินทรีย์ ๕ ในความไม่พยาบาท ย่อมครอบงำความพยาบาท อินทรีย์ ๕ ในอาโลกสัญญา ย่อมครอบงำถีนมิทธะ อินทรีย์ ๕ ในความไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมครอบงำอุทธัจจะ ฯลฯ อินทรีย์ ๕ ในอรหัตมรรค ย่อมครอบงำกิเลสทั้งปวง จะพึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่า ครอบงำ อย่างนี้.


ความคิดเห็น 35    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 264

[๔๕๘] จะพึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่า ให้ตั้งอยู่ อย่างไร.

ผู้มีศรัทธาย่อมให้สัทธินทรีย์ตั้งอยู่ในความน้อมใจเชื่อ สัทธินทรีย์ของผู้มีศรัทธา ย่อมให้ตั้งอยู่ในความน้อมใจเชื่อ.

ผู้มีความเพียรย่อมให้วิริยินทรีย์ตั้งอยู่ในความประคองไว้ วิริยินทรีย์ของผู้มีความเพียรย่อมให้ตั้งอยู่ในความประคองไว้.

ผู้มีสติย่อมให้สตินทรีย์ตั้งอยู่ในความปรากฏ สตินทรีย์ของผู้มีสติย่อมให้ตั้งอยู่ในความปรากฏ.

ผู้มีจิตตั้งมั่นย่อมให้สมาธินทรีย์ตั้งอยู่ในความไม่ฟุ้งซ่าน สมาธินทรีย์ของผู้มีจิตตั้งมั่นย่อมให้ตั้งอยู่ในความไม่ฟุ้งซ่าน.

ผู้มีปัญญาย่อมให้ปัญญินทรีย์ตั้งอยู่ในความเห็น ปัญญินทรีย์ของผู้มีปัญญาย่อมให้ตั้งอยู่ในความเห็น.

พระโยคาวจรย่อมให้อินทรีย์ ๕ ตั้งอยู่ในเนกขัมมะ อินทรีย์ ๕ ของพระโยคาวจรย่อมให้ตั้งอยู่ในเนกขัมมะ.

พระโยคาวจรย่อมให้อินทรีย์ ๕ ตั้งอยู่ในความไม่พยาบาท อินทรีย์ ๕ ของพระโยคาวจรย่อมให้ตั้งอยู่ในความไม่พยาบาท.

พระโยคาวจรย่อมให้อินทรีย์ ๕ ตั้งอยู่ในอาโลกสัญญา อินทรีย์ ๕ ของพระโยคาวจรย่อมให้ตั้งอยู่ในอาโลกสัญญา.

พระโยคาวจรย่อมให้อินทรีย์ ๕ ตั้งอยู่ในความไม่ฟุ้งซ่าน อินทรีย์ ๕ ของพระโยคาวจรย่อมให้ตั้งอยู่ในความไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ พระโยคาวจรย่อมให้อินทรีย์ ๕ ตั้งอยู่ในอรหัตมรรค อินทรีย์ ๕ ของพระโยคาวจรย่อมให้ตั้งอยู่ในอรหัตมรรค จะพึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่า ให้ตั้งอยู่ อย่างนี้.

[๔๕๙] ปุถุชนเจริญสมาธิย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ ด้วยอาการเท่าไร พระเสขะเจริญสมาธิย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ ด้วยอาการเท่าไร ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญสมาธิย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ ด้วยอาการเท่าไร.


ความคิดเห็น 36    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 265

ปุถุชนเจริญสมาธิย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ ด้วยอาการ ๗ พระเสขะเจริญสมาธิย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ ด้วยอาการ ๘ ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญสมาธิย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ ด้วยอาการ ๑๐.

[๔๖๐] ปุถุชนเจริญสมาธิย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ ด้วยอาการ ๗ เป็นไฉน.

ปุถุชนผู้มีตนอันพิจารณาแล้ว ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์ ๑ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งสมถนิมิต ๑ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งปัคคหนิมิต ๑ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความไม่ฟุ้งซ่าน ๑ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งโอภาส ๑ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความร่าเริง ๑ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอุเบกขา ๑ ปุถุชนเจริญสมาธิย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ ด้วยอาการ ๗ เหล่านี้.

พระเสขะเจริญสมาธิย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ ด้วยอาการ ๘ เป็นไฉน.

พระเสขะมีตนอันพิจารณาแล้ว ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์ ๑ ฯลฯ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอุเบกขา ๑ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความเป็นธรรมอย่างเดียว ๑ พระเสขะผู้เจริญสมาธิย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ ด้วยอาการ ๘ เหล่านี้.

ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญสมาธิย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วย อาการ ๑๐ เป็นไฉน.

ท่านผู้ปราศจากราคะมีตนอันพิจารณาแล้ว ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์ ๑ ฯลฯ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความเป็นธรรมอย่างเดียว ๑


ความคิดเห็น 37    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 266

เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ ๑ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งจิต (๑) ๑ ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญสมาธิย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ ด้วยอาการ ๑๐ เหล่านี้.

[๔๖๑] ปุถุชนเจริญวิปัสสนาย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ ด้วยอาการเท่าไร เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ ด้วยอาการเท่าไร พระเสขะเจริญวิปัสสนาย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ ด้วยอาการเท่าไร เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ ด้วยอาการเท่าไร ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญวิปัสสนาเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ ด้วยอาการเท่าไร เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ ด้วยอาการเท่าไร.

ปุถุชนเจริญวิปัสสนาย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ พระเสขะเจริญวิปัสสนาเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญวิปัสสนาเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๒ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๒.

[๔๖๒] ปุถุชนเจริญวิปัสสนาย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ เป็นไฉน เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ เป็นไฉน.

ปุถุชนเจริญวิปัสสนาย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นของไม่เที่ยง ๑ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นของเที่ยง ๑ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นทุกข์ ๑ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นสุข ๑ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นอนัตตา ๑ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นอัตตา ๑ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความสิ้นไป ๑ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นก้อน ๑ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเสื่อมไป ๑ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความประมวลมา ๑ เป็นผู้


(๑) พม่า. ยุโรป. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งวิมุตติ.


ความคิดเห็น 38    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 267

ฉลาดในความตั้งไว้โดยความแปรปรวน ๑ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดย ความยั่งยืน ๑ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพหานิมิตมิได้ ๑ เป็นผู้ ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยเป็นสภาพมีนิมิต ๑ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดย เป็นสภาพไม่มีที่ตั้ง ๑ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยเป็นสภาพมีที่ตั้ง ๑ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพสูญ ๑ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดย ความยึดมั่น ๑ ปุถุชนเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ เหล่านั้น เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ เหล่านี้.

พระเสขะเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ เป็นไฉน ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ เป็นไฉน?

พระเสขะเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็น ของไม่เที่ยง ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นของเที่ยง ฯลฯ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นสภาพสูญ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ โดยความยึดมั่น เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ ตั้งไว้ซึ่งสิ่งมิใช่ญาณ พระเสขะเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ ด้วยอาการ ๑๐ เหล่านี้ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ เหล่านี้.

ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วย อาการ ๑๒ เป็นไฉน เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๒ เป็นไฉน?

ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นของเที่ยง ฯลฯ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่งสิ่ง มิใช่ญาณ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความไม่เกี่ยวข้อง เป็นผู้ฉลาดในความ ไม่ตั้งไว้โดยความเกี่ยวข้อง เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความดับ เป็นผู้ฉลาด


ความคิดเห็น 39    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 268

ในความไม่ตั้งไว้ซึ่งสังขาร ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๒ เหล่านี้ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วย ๑๒ เหล่านี้ บุคคลผู้มีตนอันเว้นแล้ว ย่อมให้อินทรีย์ประชุม ด้วยสามารถ ความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์ รู้จักโคจร และแทงตลอดธรรม อันมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯลฯ ย่อมให้ธรรมทั้งหลายประชุมลง รู้จักโคจร และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์

[๔๖๓] คำว่า ย่อมให้อินทรีย์ประชุมลง ความว่า ย่อมให้ อินทรีย์ประชุมลงอย่างไร ย่อมให้สัทธินทรีย์ประชุมลงด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความ ตั้งไว้ซึ่งสมถนิมิต ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งปัคคหนิมิต ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถ ความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความร่าเริง ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดใน ความตั้งไว้ซึ่งอุเบกขา ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความ เป็นธรรมอย่างเดียว ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ ด้วย สามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งจิต ความสามารถความเป็นผู้ฉลาดใน ความตั้งไว้โดยความเป็นของไม่เที่ยง ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความ ไม่ตั้งไว้โดยความเป็นของเที่ยง ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ โดยความเป็นทุกข์ ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความ เป็นสุข ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นอนัตตา ด้วย สามรถความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นอัตตา ด้วยสามารถ ความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความสิ้นไป ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาด


ความคิดเห็น 40    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 269

ในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นก้อน ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้ง ไว้โดยความเสื่อมไป ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความ ประมวลมา ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ โดยความแปรปรวน ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ โดยความยั่งยืน ด้วยสามารถ ความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ โดยความเป็นสภาพที่หานิมิตมิได้ ด้วยสามารถ ความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ โดยเป็นสภาพมีนิมิต ด้วยสามารถความเป็น ผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพไม่มีที่ตั้ง ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดใน ความไม่ตั้งไว้โดยสภาพมีที่ตั้ง ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดย ความเป็นสภาพสูญ ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความยึด มั่น ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ ด้วยสามารถความเป็น ผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่งสิ่งมิใช่ญาณ ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความ ตั้งไว้ซึ่งความไม่เกี่ยวข้อง ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่ง ความไม่เกี่ยวข้อง ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความดับ ย่อมรู้จักโคจร และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์.

[๔๖๔] ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓ ด้วยอาการ ๖๔ เป็นอาสวักขยญาณ อินทรีย์ ๓ เป็นไฉน คือ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ๑ อัญญินทรีย์ ๑ อัญญาตาวินทรีย์ ๑.

อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ย่อมถึงฐานะเท่าไร อัญญินทรีย์ย่อมถึง ฐานะเท่าไร อัญญาตาวินทรีย์ย่อมถึงฐานะเท่าไร.

อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ย่อมถึงฐานะ ๑ คือ โสดาปัตติมรรค อัญญินทรีย์ย่อมถึงฐานะ ๖ คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล


ความคิดเห็น 41    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 270

อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค อัญญตาวินทรีย์ย่อมถึงฐานะ ๑ คือ อรหัตตผล.

[๔๖๕] ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมใจเชื่อเป็นบริวาร วิริยินทรีย์มีความประคองไว้เป็น บริวาร สตินทรีย์มีความตั้งมั่นเป็นบริวาร สมาธินทรีย์มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็น บริวาร ปัญญินทรีย์มีความเห็นเป็นบริวาร มนินทรีย์มีความรู้แจ้งเป็นบริวาร โสมนัสสินทรีย์มีความยินดียิ่งเป็นบริวาร ชีวิตินทรีย์มีความเป็นใหญ่ในการ สืบต่อแห่งความเป็นไปเป็นบริวารธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะโสดาปัตติมรรค เว้นรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ล้วนเป็นกุศลทั้งนั้น ล้วนไม่มีอาสวะ ล้วนเป็น ธรรมที่นำออก ล้วนเป็นเครื่องให้ถึงความไม่สั่งสม ล้วนเป็นโลกุตระ ล้วน เป็นธรรมมีนิพพานเป็นอารมณ์ ในขณะโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์มีอินทรีย์ทั้ง ๘ นี้ ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร มีธรรมอื่นเป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยเป็นบริวาร มีสัมปยุตธรรมเป็นบริวาร เป็นสหคตธรรม เป็น สหชาตธรรม เป็นธรรมเกี่ยวข้องกัน เป็นธรรมประกอบกัน ธรรมเหล่านั้น แลเป็นอาการและเป็นบริวารแห่งอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ในขณะโสดาปัตติผล ฯลฯ.

ในขณะอรหัตตผล อัญญาตาวินทรีย์ มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมใจ เชื่อเป็นบริวาร ชีวิตินทรีย์มีความเป็นใหญ่ในความสืบเนื่องแห่งความ เป็นไปเป็นบริวาร ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะอรหัตตผล เว้นรูปอันมีจิต เป็นสมุฏฐาน ล้วนเป็นอพัพยากฤตทั้งนั้น ล้วนไม่มีอาสวะ ล้วนเป็นโลกุตระ ล้วนมีนิพพานเป็นอารมณ์ ในขณะอรหัตตผล อัญญาตาวินทรีย์มีอินทรีย์ ๘ นี้ ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร ฯลฯ ธรรมเหล่านั้นแลเป็นอาการและ


ความคิดเห็น 42    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 271

เป็นบริวารแห่งอัญญาตาวินทรีย์นั้น อินทรีย์ ๘ หมวดนี้รวมเป็นอินทรีย์ ๖๔ ด้วยประการฉะนี้.

[๔๖๖] คำว่า อาสวา ความว่า อาสวะเหล่านั้นเป็นไฉน อาสวะ เหล่านั้น คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ.

อาสวะเหล่านั้นย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน ทิฏฐาสวะทั้งสิ้น กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันเป็นเหตุให้ไปสู่อบาย ย่อมสิ้นไปเพราะโสดาปัตติ- มรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะโสดาปัตติมรรคนี้ กามาสวะส่วนหยาบ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ซึ่งตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปเพราะ สกทาคามิมรรค อาสวะเหล่านั้นย่อมสิ้นไปในขณะสกทาคามิมรรคนี้ กามาสวะ ทั้งสิ้น ภวาสวะ อวิชชาสวะ ซึ่งตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไป เพราะอนาคามิมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะอนาคามิมรรคนี้ ภวาสวะ และอวิชชาทั้งสิ้น ย่อมสิ้นไปเพราะอรหัตตมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปใน ขณะอรหัตตมรรคนี้.

บทธรรมที่พระตถาคตนั้นไม่ทรงเห็น ไม่มีโนโลกนี้ อนึ่ง บทธรรม อะไรๆ ที่พระตถาคตนั้นไม่ทรงทราบแล้ว ไม่พึงทรงทราบมิได้มี พระตถาคต ทรงทราบธรรมที่ควรนำไปทั้งปวง เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่าเป็น พระสมันตจักษุ.

คำว่า สมนฺตจกฺขุ ความว่า ชื่อว่าสมันตจักษุ เพราะอรรถว่า กระไร.

พระพุทธญาณ ๑๔ คือ ญาณในทุกข์ ญาณในทุกขสมุทัย ฯลฯ สัพพัญญุตญาณ อนาวรณญาณ เป็นพระพุทธญาณ พระพุทธญาณ ๑๔ นี้


ความคิดเห็น 43    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 272

ในพระพุทธญาณ ๑๔ นี้ ญาณ ๘ ข้างต้นทั่วไปกับพระสาวก ญาณ ๖ ข้าง หลังไม่ทั่วไปกับพระสาวก.

[๔๖๗] พระตถาคตทรงทราบ สภาพแห่งทุกข์เป็นสิ่งที่ทนได้ยาก ตลอดหมด ที่ไม่ทรงทราบมิได้มี เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงทรงพระนามว่า สมันตจักษุ สมันตจักษุเป็นปัญญินทรีย์ สัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ วิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น สมาธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ สภาพแห่งทุกข์เป็นสิ่งที่ ทนได้ยาก พระตถาคตทรงเห็นแล้ว ทรงทราบแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรง ถูกต้องแล้วตลอดหมดด้วยพระปัญญา ที่ไม่ทรงถูกต้องแล้วมิได้มี เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงทรงพระนามว่า สมันตจักษุ สมันตจักษุเป็นปัญญินทรีย์ สัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ ฯลฯ สมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ ฯลฯ สภาพแห่งสมุทัยเป็นเหตุให้เกิด ฯลฯ สภาพแห่งนิโรธเป็นเหตุดับโดยไม่เหลือ ฯลฯ สภาพแห่งมรรคเป็นทางให้ถึง ฯลฯ สภาพแห่งอรรถปฏิสัมภิทาเป็นปัญญาเครื่องแตกฉานดีโดยอรรถ ฯลฯ สภาพแห่งธรรมปฏิสัมภิทา เป็นปัญญาแตกฉานดีโดยธรรม ฯลฯ สภาพแห่ง นิรุตติปฏิสัมภิทา เป็นปัญญาแตกฉานดีโดยภาษา สภาพแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทา เป็นปัญญาแตกฉานดีโดยปฏิภาณ ญาณในความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ ทั้งหลาย ญาณในฉันทะอันมานอนและกิเลสอันนอนตามของสัตว์ทั้งหลาย ญาณในยมกปาฏิหาริย์ ญาณในมหากรุณาสมาบัติ ฯลฯ อารมณ์ที่ได้เห็น ที่ได้สดับ ที่ได้ทราบ ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่เที่ยวตามหาด้วยใจ โนโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ พระตถาคตทรงทราบแล้ว ทรงเห็นแจ้งแล้ว


ความคิดเห็น 44    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 273

ทรงรู้แล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญาที่ไม่ทรงถูกต้องด้วย ปัญญาไม่มี เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงทรงพระนามว่าสมันตจักษุ สมันตจักษุ เป็นปัญญินทรีย์ สัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ ... สมาธินทรีย์ด้วยอรรถ ว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ บุคคลเมื่อเชื่อย่อมประคองไว้ เมื่อ ประคองไว้ย่อมเชื่อ เมื่อเชื่อย่อมตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่นย่อมเชื่อ เมื่อเชื่อย่อม ตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่นย่อมเชื่อ เมื่อเชื่อย่อมรู้ชัด เมื่อรู้ชัดย่อมเชื่อ เมื่อประคอง ไว้ย่อมตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่นย่อมประคองไว้ เมื่อประคองไว้ย่อมตั้งใจมั่น เมื่อ ตั้งใจมั่นย่อมประคองไว้ เมื่อประคองไว้ย่อมรู้ชัด เมื่อรู้ชัดย่อมประคองไว้ เมื่อ ประคองไว้ย่อมเชื่อ เมื่อเชื่อย่อมประคองไว้ เมื่อตั้งสติมั่นย่อมตั้งใจมั่น เมื่อตั้ง ใจมั่นย่อมตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่นย่อมรู้ชัด เมื่อรู้ชัดย่อมตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติ มั่นย่อมเชื่อ เมื่อเชื่อย่อมตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่น ย่อมประคองไว้ เมื่อประคอง ไว้ย่อมตั้งสติมั่น เมื่อตั้งใจมั่นย่อมรู้ชัด เมื่อรู้ชัดย่อมตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่น ย่อมเชื่อ เมื่อเชื่อย่อมตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่นย่อมประคองไว้ เมื่อประคองไว้ ย่อมตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่นย่อมตั่งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่นย่อมตั้งใจมั่น เมื่อรู้ชัด ย่อมเชื่อ เมื่อเชื่อย่อมรู้ชัด เมื่อรู้ชัดย่อมประคองไว้ เมื่อประคองไว้ย่อมรู้ชัด เมื่อรู้ชัดย่อมตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่นย่อมรู้ชัด เมื่อรู้ชัดย่อมตั้งใจมั่น เมื่อตั้ง ใจมั่นย่อมรู้ชัด เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงประคองไว้ เพราะความเป็นผู้ประคอง ไว้จึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่น จึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงเชื่อ เพราะ ความเป็นผู้เชื่อจึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้ประ คองไว้จึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงประคองไว้ เพราะความเป็น ผู้ประคองไว้จึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงประคองไว้ เพราะความ


ความคิดเห็น 45    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 274

เป็นผู้ประคองไว้จึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัด จึงประคองไว้ เพราะความเป็น ผู้ประคองไว้จึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงประคองไว้ เพราะความเป็นผู้ตั้ง สติมั่นจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้ง สติมั่นจึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่น จึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงประคองไว้ เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่น จึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงประคองไว้ เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงเชื่อ เพราะ ความเป็นผู้เชื่อจึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงประคองไว้ เพราะความเป็น ผู้ประคองไว้จึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้ง สติมั่นจึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่น จึงรู้ชัด พระพุทธจักษุเป็นพระพุทธญาณ พระพุทธญาณเป็นพระจักษุ อัน เป็นเครื่องให้ พระตถาคตทรงเห็นหมู่สัตว์ผู้มีกิเลสธุลีน้อย ในปัญญาจักษุก็มี มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุก็มี มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี มีอินทรีย์อ่อนก็มี มี อาการดีก็มี มีอาการชั่วก็มี ที่จะพึงฝึกให้รู้ได้โดยง่ายก็มี ที่จะพึงฝึกให้รู้ได้โดย ยากก็มี บางพวกเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บางพวกไม่เห็นปรโลก และโทษโดยความเป็นภัย.

[๔๖๘] คำว่า มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลสธุลีมาก ในปัญญาจักษุ ความว่า บุคคลผู้มีศรัทธา ชื่อว่ามีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ ผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่ามีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ ผู้ปรารภความเพียร ... ผู้มี


ความคิดเห็น 46    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 275

สติตั้งมั่น ... ผู้มีจิตตั้งมั่น ... ผู้มีปัญญา ชื่อว่าผู้มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้เกียจคร้าน ... ผู้มีสติหลงลืม ... ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ... ผู้มีปัญญาทราม ชื่อว่าผู้มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ.

คำว่า ผู้มีอินทรีย์แก่กล้า ผู้มีอินทรีย์อ่อน ความว่า บุคคลผู้มี ศรัทธา ชื่อว่าผู้มีอินทรีย์แก่กล้า ผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่าผู้มีอินทรีย์อ่อน ฯลฯ ผู้มีปัญญา ชื่อว่ามีอินทรีย์แก่กล้า ผู้มีปัญญาทราม ชื่อว่าผู้มีอินทรีย์อ่อน.

คำว่า ผู้มีอาการดี ผู้มีอาการชั่ว ความว่า บุคคลผู้มีศรัทธา ชื่อว่าผู้มีอาการดี ผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่าผู้มีอาการชั่ว ฯลฯ ผู้มีปัญญา ชื่อว่า ผู้มีอาการดี ผู้ไม่มีปัญญา ชื่อว่าผู้มีอาการชั่ว.

คำว่า จะพึงฝึกให้รู้ได้โดยง่าย จะพึงให้ฝึกให้รู้ได้โดยยาก ความว่า บุคคลผู้มีศรัทธา ชื่อว่าจะพึงฝึกให้รู้ได้โดยง่าย ผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่า จะพึงฝึกให้รู้ได้โดยยาก ฯลฯ ผู้มีปัญญา ชื่อว่าจะพึงฝึกให้รู้ได้โดยง่าย ผู้ไม่มี ปัญญา ชื่อว่าจะพึงฝึกให้รู้ได้โดยยาก.

คำว่า บางพวกเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บาง พวกไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย ความว่า บุคคลผู้มีศรัทธา ชื่อว่าเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย ผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่าไม่เห็นปรโลก และโทษโดยความเป็นภัย ฯลฯ ผู้มีปัญญา ชื่อว่าเห็นปรโลกและโทษโดยความ เป็นภัย ผู้ไม่มีปัญญา ชื่อว่าไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย.

คำว่า โลก คือ ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก วิปัตติภวโลก วิปัตติสัมภวโลก สัมปัตติภวโลก สัมปัตติสัมภวโลก โลก ๑ คือ สัตว์ทั้งปวง


ความคิดเห็น 47    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 276

ดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร โลก ๒ คือ นามและรูป โลก ๓ คือ เวทนา ๓ โลก ๔ คือ อาการ ๔ โลก ๕ คือ อุปาทานขันธ์ ๕ โลก ๖ คือ อายตนะ ภายใน ๖ โลก ๗ คือ วิญญาณฐิติ ๗ โลก ๘ คือ โลกธรรม ๘ โลก ๙ คือ สัตตาวาส ๙ โลก ๑๐ คือ อายตนะ ๑๐ โลก ๑๒ คือ อายตนะ ๑๒ โลก ๑๘ คือ ธาตุ ๑๘.

คำว่า โทษ ความว่า กิเลสทั้งปวงเป็นโทษ ทุจริตทั้งปวงเป็นโทษ อภิสังขารทั้งปวงเป็นโทษ กรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งปวงเป็นโทษ ความ สำคัญในโลกนี้และในโทษนี้ด้วยประการดังนี้ โดยความเป็นภัยอย่างแรงกล้า ปรากฏเฉพาะหน้า เปรียบเหมือนความสำคัญในเพชฌฆาต ซึ่งกำลังแกว่งดาบ เข้ามาโดยความเป็นภัย ฉะนั้น พระตถาคตย่อมทรงทราบ ทรงเห็น ทรง รู้ชัดแทงตลอด ซึ่งอินทรีย์ ๕ ประการ ด้วยอาการ ๕๐ เหล่านี้.

จบตติยภาณวาร

จบอินทริยกถา


ความคิดเห็น 48    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 277

๔. อินทริยกถา

๑. อรรถกถาปฐมสุตตันตนิเทศ

บัดนี้ ถึงคราวที่จะพรรณนาตามความที่ยังไม่เคยพรรณนาในอินทริยกถา ซึ่งกล่าวในลำดับอานาปานสติกถา.

จริงอยู่ อินทริยกถานี้ท่านกล่าวในลำดับอานาปานสติกถา เพื่อแสดง วิธีมีการชำระอินทรีย์ อันเป็นอุปการะแก่อานาปานสตินั้น เพราะไม่มี อานาปานสติภาวนา ในเพราะความไม่มีอินทรีย์ทั้งหลายอันเป็นอุปการะแก่ อานาปานสติภาวนา เพราะเหตุนั้น พระสารีบุตรเถระประสงค์จะทำอินทริยกถา ที่ควรกล่าวนั้น อันเป็นเทศนาที่มีมาในพระสูตร โดยประสงค์จะให้รู้ซึ่งตน ได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เป็นเบื้องต้นจึงกล่าวคำ เป็นอาทิว่า เอวมฺเม สุตํ ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เอวํ เป็นบทนิบาต. บททั้งหลายมีอาทิว่า เม เป็นบทนาม. บทว่า วิ ในบทว่า วิหรติ นี้ เป็นบทอุปสรรค. บทว่า หรติ เป็นบทอาขยาย. พึงทราบการจำแนกบทโดยนัยนี้ด้วยประการฉะนี้.

แต่โดยอรรถ เอวํ ศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถแห่งนิทัศนะการชี้แจง และในอรรถแห่งอวธารณะ (การรับรอง) ในการถือเอาคําอันเป็นอุปมาการอ้าง การติเตียน การสรรเสริญและอาการ. แต่ เอวํ ศัพท์ในที่นี้วิญญูชนบัญญัติ ลงในอรรถแห่งอาการและในอรรถแห่งนิทัศนะ และในอรรถแห่งอวธารณะ ก็เหมือนอย่างนั้น.


ความคิดเห็น 49    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 278

ในอรรถเหล่านั้น ท่านแสดงความนี้ด้วย เอวํ ศัพท์ อันมีอาการเป็น อรรถ แปลว่า ด้วยอาการอย่างนี้. ใครๆ สามารถจะรู้พระดำรัสของพระผู้มี พระภาคเจ้านั้น อันมีนัยต่างๆ ละเอียด มีอัธยาศัยไม่น้อยเป็นสมุฏฐาน สมบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะ มีปาฏิหาริย์หลายอย่างลึกซึ้งด้วยเหตุผลเทศนา และปฏิเวธอันมาสู่คลองโสตโดยสมควรแก่ภาษาของตนๆ แห่งสัตว์ทั้งปวงได้ โดยทุกประการ แม้ยังผู้ประสงค์จะพึงให้เกิดด้วยกำลังทั้งปวง จึงกล่าวว่า เอวํ เม สุตํ คือแม้ข้าพเจ้าก็สดับมาแล้วด้วยอาการหนึ่งดังนี้. พระสารีบุตร เถระ เมื่อจะออกตัวว่า เรามิใช่พระสยัมภู สิ่งนี้เรายังมิได้ทำให้แจ้ง ด้วย เอวํ ศัพท์อันมีนิทัศนะเป็นอรรถ จึงแสดงสูตรทั้งสิ้นที่ควรกล่าวในบัดนี้ว่า เอวํ เม สุตํ แม้เราก็สดับมาแล้วอย่างนี้ดังนี้. ด้วยมีอวธารณะเป็นอรรถ พระสารีบุตร เถระ เมื่อจะแสดงกำลังอันทรงไว้ของตน สมควรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรง สรรเสริญ โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุทั้งหลายผู้เป็น สาวกของเรา มีปัญญามาก สารีบุตรเป็นผู้เลิศ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรายัง ไม่พิจารณาเห็นบุคคลอื่นแม้สักคนเดียว ซึ่งเป็นผู้ยังธรรมจักรอันยอดเยี่ยมที่ ตถาคตประกาศไปแล้วอย่างนี้ ให้เป็นไปตามได้อย่างถูกต้องเหมือนสารีบุตร เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรยังธรรมจักรอันยอดเยี่ยมที่ตถาคตประกาศ แล้ว ให้เป็นไปตามได้อย่างถูกต้อง จึงยังความเป็นผู้ใคร่จะฟังให้เกิดแก่สัตว์ ทั้งหลายว่า เราสดับมาแล้วอย่างนี้ พระธรรมจักรนั้นแลไม่บกพร่องไม่เกิน โดยอรรถหรือโดยพยัญชนะ พึงเห็นเป็นอย่างนี้เท่านั้น ไม่พึงเห็นเป็น อย่างอื่น.

เม ศัพท์ย่อมปรากฏในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ จตุตถีวิภัตติและฉัฏฐีวิภัตติ. แต่ในที่นี้ย่อมควรในสองอรรถว่า มยา สุตํ อันเราสดับแล้ว และ


ความคิดเห็น 50    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 279

มม สุตํ สดับแล้วแก่เราดังนี้. ศัพท์ว่า สุตํ นี้เป็นทั้งอุปสรรคและมิใช่อุปสรรค ย่อมปรากฏในการฟังชัด การไป การชุ่มชื้น การสะสม การประกอบ การ รู้แจ้งทางหู และเมื่อจะรู้ ย่อมปรากฏด้วยการแล่นไปตามโสตทวาร. แต่ในที่นี้ สุตํ ศัพท์นั้นมีความว่า เข้าไปทรงไว้หรือการเข้าไปทรงไว้โดยแล่นไปตาม โสตทวาร.

เมื่อ เม ศัพท์ มีอรรถว่า มยา ย่อมควรว่า อันเราสดับแล้ว อย่างนี้ คือ เข้าไปทรงไว้โดยแล่นไปตามโสตทวาร. เมื่อมีอรรถว่า มม ย่อม ควรว่า การฟังคือการเข้าไปทรงไว้โดยตามแล่นไปทางโสตทวารของเราอย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อไม่รู้ความที่การฟังอันตนให้เกิดแล้วว่า เราสดับ มาแล้วอย่างนี้ เมื่อจะเปิดเผยการฟังอันมีมาก่อน ย่อมยังความไม่เชื่อถือใน ธรรมนี้ให้พินาศไปว่า คำนี้เรารับมาแล้วเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ผู้ทรงแกล้วกล้าด้วยเวสารัชธรรม ๔ ผู้ทรงกำลัง ๑๐ ผู้ตั้งอยู่ในฐานะ อันองอาจ ผู้บันลือสีหนาท ผู้สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งปวง ผู้เป็นอิสระในธรรม ผู้เป็นพระธรรมราชา ผู้เป็นธรรมาธิบดี ผู้เป็นธรรมประทีป ผู้เป็นธรรมสรณะ ผู้เป็นจักรพรรดิแห่งพระสัทธรรมอันประเสริฐ ผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ควรทำความเคลือบแคลงสงสัย ในอรรถ ในธรรม ในบท ในพยัญชนะ นี้เลย ยังสัทธาสัมปทาให้เกิด. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

สาวกของพระโคดมกล่าวอยู่อย่างนี้ว่า เราสดับ มาแล้วอย่างนี้ ย่อมยังผู้ไม่เชื่อให้พินาศไป ยังผู้เชื่อ ให้เจริญในพระศาสนา ดังนี้.

บทว่า เอกํ แสดงจำนวน. บทว่า สมยํ แสดงกำหนด. บทว่า เอกํ สมยํ แสดงความไม่แน่นอน. สมย ศัพท์ในบทนั้นย่อมปรากฏ


ความคิดเห็น 51    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 280

ในการประชุม ขณะ กาล หมู่ เหตุ ทิฏฐิ การได้ การละ และการแทงตลอด.

แต่ในที่นี้ สมย ศัพท์ เอาความว่า กาล. ด้วยเหตุนั้นท่านแสดงว่า เอกํ สมยํ โนสมัยหนึ่ง บรรดาสมัยทั้งหลาย้อนเป็นประเภทแห่งกาล มีปี ฤดู เดือน กึ่งเดือน คืน วัน เช้า เที่ยง เย็น ยามต้น ยามกลาง ยามสุด และครู่ เป็นต้น.

ในกาลทั้งหลายมีปีเป็นต้นเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระสูตร ใดๆ ในปี ฤดู เดือน ปักษ์ กลางคืนหรือกลางวันใดๆ พระสูตรนั้น ทั้งหมด พระเถระรู้แล้วเป็นอย่างดี กำหนดแล้วเป็นอย่างดีด้วยปัญญาโดยแท้. แต่เพราะเมื่อกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าสดับมาแล้วอย่างนี้ ในปีโน้น ฤดูโน้น เดือนโน้น ปักษ์โน้น กลางคืนวันโน้น หรือกลางวันวันโน้น ไม่สามารถ จะทรงจำได้ จะยกขึ้นแสดงได้ หรือให้ยกขึ้นแสดงได้โดยง่าย ควรจะกล่าว ให้มาก ฉะนั้น พระสารีบุตรเถระประมวลความนั้นลงด้วยบทเดียวเท่านั้นแล้ว กล่าวว่า เอกํ สมยํ.

ในบรรดาสมัยอันมีประเภทมากมาย ตามประกาศไว้ในเทวดาและ มนุษย์ทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีอาทิอย่างนี้ คือ สมัยลงสู่พระครรภ์ สมัยประสูติ สมัยเกิดสังเวช สมัยเสด็จทรงผนวช สมัยทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา สมัยชนะมาร สมัยตรัสรู้ สมัยเสวยสุขในทิฏฐิธรรม สมัยเทศนา สมัยปรินิพพาน แสดงถึงสมัยหนึ่ง คือ สมัยเทศนา. ท่านกล่าวว่า เอกํ สมยํ หมายถึง สมัยใดสมัยหนึ่ง ในบรรดาสมัยอันเป็นสมัยทรงบำเพ็ญกิจด้วยพระกรุณาใน สมัยทรงบำเพ็ญพระญาณกรุณา อันเป็นสมัยทรงปฏิบัติประโยชน์ เพื่อผู้อื่น ในสมัยที่ทรงปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนและประโยชน์เพื่อผู้อื่น อันเป็นสมัยแสดง


ความคิดเห็น 52    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 281

ธรรมิกถาในสมัยที่ทรงกระทำกิจแก่ผู้มาประชุมกัน อันเป็นสมัยทรงประกาศ พระศาสนา.

อนึ่ง เพราะบทว่า เอกํ สมยํ เป็นอัจจันตสังโยคะ คือ เป็นทุติยาวิภัตติลงในอรรถว่า สิ้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรนี้หรือพระสูตร อื่นสิ้นสมัยใด ทรงอยู่ด้วยพระกรุณาวิหาร สิ้นสมัยนั้นตลอดกาล ฉะนั้น เพื่อส่องความนั้น ท่านจึงทำให้เป็นทุติยาวิภัตติ ดังที่ท่านกล่าวว่า

ท่านเพ่งถึงอรรถนั้นๆ แล้วจึงกล่าว สมย ศัพท์ ในที่อื่นด้วยสัตตมีวิภัตติ และตติยาวิภัตติ ในที่นี้กล่าว ด้วยทุติยาวิภัตติ.

ส่วนพระโบราณาจารย์ทั้งหลายพรรณนาว่า สมย ศัพท์นี้มีความ ต่างกันเพียงคำพูดว่า ตสฺมึ สมเย ในสมัยนั้น เตน สมเยน ด้วยสมัย นั้น หรือ ตํ สมยํ สินสมัยนั้น ในที่ทั้งปวงมีความเป็นสัตตมีวิภัตติทั้งนั้น. เพราะฉะนั้น แม้เมื่อกล่าวว่า เอกํ สมยํ ก็พึงทราบความว่า เอกสฺมึ สมเย ในสมัยหนึ่ง.

บทว่า ภควา คือครู. เพราะชนทั้งหลายในโลกเรียกครูว่า ภควา อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้านี้เป็นครูของสรรพสัตว์ เพราะเป็นผู้ประเสริฐด้วย คุณทั้งปวง เพราะฉะนั้น พึงทราบบทว่า ภควา ต่อไป. แม้พระโบราณาจารย์ ทั้งหลายก็ยังกล่าวไว้ว่า

คำว่า ภควา เป็นคำประเสริฐที่สุด คำว่า ภควา เป็นคำสูงที่สุด พระตถาคตนั้นทรงเป็นผู้ควรแก่ความ เคารพ คารวะ ด้วยเหตุนั้นจึงขนานพระนามว่า ภควา. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบความโดยพิสดารแห่งบทนั้นด้วยคาถานี้ว่า


ความคิดเห็น 53    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 282

เพราะเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงมีภาคยธรรม ๑ ทรงมีภัคคธรรม ๑ ทรงประกอบด้วยภคธรรม ๑ ทรง จำแนกธรรม ๑ ทรงมีผู้ภักดี ๑ ทรงคายการไปในภพ ทั้งหลาย ๑ ฉะนั้น จึงได้รับการขนานพระนามว่า ภควา.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ท่านกล่าวไว้ในพุทธานุสติ นิเทศ ในวิสุทธิมรรคแล้ว.

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ในนิเทศนี้ท่านแสดงเทศนาสมบัติด้วยคำว่า เอวํ แสดงสาวกสมบัติ ด้วยบทว่า เม สุตํ แสดงกาลสมบัติว่า เอกํ สมยํ แสดงเทศกสมบัติด้วยบทว่า ภควา.

อนึ่ง ในบทว่า สาวตฺถิยํ นี้ ชื่อว่า สาวตฺถี เป็นนครอันเป็นที่อยู่ ของฤษีชื่อว่า สวัตถะ. นักอักษรศาสตร์กล่าวไว้อย่างนี้ว่า เหมือนนครกากันที มากันที. แต่พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ชื่อว่า สาวตฺถี เพราะมนุษย์ ทั้งหลายมีเครื่องอุปโภคบริโภคอย่างโดอย่างหนึ่งทั้งหมด. อนึ่ง เมื่อพวกกองเกวียนถามว่า มีสินค้าอะไร ชาวกรุงสาวัตถีตอบว่า มีทุกอย่าง.

เครื่องอุปกรณ์ทุกชนิด รวมอยู่ในกรุงสาวัตถี ตลอดทุกกาล เพราะฉะนั้น อาศัยเครื่องอุปกรณ์ ทั้งหมด จึงเรียกว่า สาวัตถี.

ใกล้กรุงสาวัตถีนั้น. บทว่า สาวตฺถิยํ เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถว่า ใกล้. บทว่า วิหรติ นี้แสดงการพร้อมด้วยการอยู่อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดา การอยู่ด้วยอิริยาบถ และการอยู่อันเป็นของทิพย์ ของพรหม ของพระอริยะ โดยไม่พิเศษ. แต่ในที่นี้แสดงถึงการประกอบด้วยอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่งใน บรรดาอิริยาบถทั้งหลาย อันมีประเภทเช่นยืน เดิน นั่งและนอน. ด้วยเหตุนั้น


ความคิดเห็น 54    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 283

พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ประทับยืน แม้ทรงดำเนิน แม้ประทับนั่ง แม้บรรทม ก็พึงทราบว่า วิหรติ ประทับอยู่นั่นแล.

ในบทว่า เชตวเน นี้ ชื่อ เชตะ เพราะทรงชนะชนผู้เป็นศัตรู ของพระองค์ หรือชื่อ เชตะ เพราะเกิดเมื่อชนะชนผู้เป็นศัตรูของพระราชา ของตน หรือชื่อ เชตะ เพราะตั้งชื่ออย่างนี้แก่พระกุมาร เพราะทำให้เป็น มงคล. ชื่อว่า วน เพราะปรารถนา ความว่า เพราะทำความยินดีแก่สัตว์ ทั้งหลาย เพื่ออัตตสมบัติ เพราะยังความสิเนหาให้เกิดในตน. หรือชื่อว่า วน เพราะเชิญชวน ความว่า ดุจขอร้องสัตว์ทั้งหลายว่า จงมาใช้สอยกะ เราเถิด มีทั้งลมไหวอ่อนๆ ต้นไม้ กิ่งไม้ คบไม้ หน่อไม้ ใบไม้ ซึ่งทำ ให้เกิดความเพลิดเพลินด้วยความหอมของดอกไม้นานาชนิด และเป็นที่ยินดี ของวิหคมีนกดุเหว่าเป็นต้น.

สวนของเจ้าเชต ชื่อว่า เชตวัน เพราะสวนนั้น พระราชกุมารพระนามว่า เชตะ ทรงปลูก ทำให้งอกงาม ทรงดูแลรักษาอย่างดี. อนึ่ง เจ้าเชต นั้นเป็นเจ้าของสวนนั้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า เชตวนํ สวนของเจ้าเชต. ในเชตวันนั้น ชื่อว่า วน มีสองอย่าง คือ สวนปลูกและเกิดเอง. เชตวันนี้ และเวฬุวันเป็นต้นเป็นสวนปลูก. อันธวัน มหาวันเป็นต้นเกิดเอง.

บทว่า อนาถปณฺฑิกสฺส อาราเม อารามของอนาถปิณฑิกเศรษฐี มารดาบิดาตั้งชื่อว่า สุทัตตคหบดี. อนึ่ง เพราะเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยความประสงค์ ทุกประการ เพราะปราศจากความตระหนี่และเพราะเพียบพร้อมด้วยคุณมีกรุณา เป็นต้น ได้บริจาคก้อนข้าวแก่คนอนาถาตลอดกาล ด้วยเหตุนั้นจึงชื่อว่า อนาถบิณฑิกะ ชื่อว่า อาราม เพราะเป็นที่มายินดีของสัตว์หรือโดยเฉพาะ บรรพชิต. บรรพชิตทั้งหลายมาจากที่นั้นๆ ย่อมยินดี ย่อมยินดียิ่ง เพราะ


ความคิดเห็น 55    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 284

อารามนั้นงามด้วยดอกไม้และผลไม้เป็นต้น และเพราะถึงพร้อมด้วยองค์แห่ง เสนาสนะ ๕ อย่างมีไม่ไกลเกินไป ไม่ใกล้เกินไปเป็นต้น ความว่า เป็นผู้ไม่ รำคาญอาศัยอยู่. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อาราม เพราะแม้เมื่อชนไปในที่นั้นๆ มาในระหว่างของตนแล้วให้ยินดีด้วยสมาบัติ มีประการดังกล่าวแล้ว เพราะ อารามนั้น อนาถบิณฑิกคหบดี ซื้อด้วยเงิน ๑๘ โกฏิ จากพระหัตถ์ของ พระราชกุมารเชตะเพื่อเกลี่ยพื้นที่ แล้วให้สร้างเสนาสนะด้วยเงิน ๑๘ โกฏิ สร้างทางไปสู่วิหารด้วยเงิน ๑๘ โกฏิแล้วมอบถวายแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า เป็นประมุขด้วยบริจาคเงิน ๕๔ โกฏิด้วยประการฉะนี้ ฉะนั้นจึงเรียกว่าอาราม ของอนาถปิณฑิกะ. อารามของอนาถปิณฑิกะนั้น.

อนึ่ง คำว่า เชตวเน ประกาศเจ้าของเดิม. คำว่า อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม ประกาศเจ้าของหลัง. ประโยชน์อะไรในการประกาศชนเหล่านั้น. เป็นการนึกถึงทิฏฐานุคติของผู้ประสงค์บุญทั้งหลาย. เจ้าเชตทรงบริจาคเงิน ๑๘ โกฏิ ที่ได้จากการขายพื้นที่ในสร้างซุ้มประตูและปราสาท และต้นไม้ มีค่าหลายโกฏิ อนาถปิณฑิกบริจาค ๕๔ โกฏิ ด้วยประการฉะนี้ ด้วยการ ประกาศชื่อชนเหล่านั้น ท่านพระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงว่า ผู้ใคร่บุญ ทั้งหลายย่อมทำบุญอย่างนี้ ย่อมชักชวนผู้ใคร่บุญแม้เหล่าอื่น ในการนึกถึง ทิฏฐานุคติของท่านเหล่านั้น.

ในข้อนั้นจะพึงมีผู้พูดว่า หากพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุง สาวัตถี ก็ไม่ควรกล่าวว่า เชตวเน อนาถปิณฺทิกสฺส อาราเม ณ พระวิหาร เชตวัน อารามของอนาถปิณฑิกเศรษฐี ครั้นประทับอยู่ ณ ที่นั้นแล้ว ก็ไม่ ควรกล่าวว่า สาวัตฺถิยํ ใกล้กรุงสาวัตถี เพราะสมัยเดียวไม่สามารถจะประทับ อยู่ในที่สองแห่งได้. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น เราได้กล่าวไว้แล้วมิใช่หรือว่า บทว่า สาวตฺถิยํ เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถว่าใกล้ คือ ใกล้กรุงสาวัตถี.


ความคิดเห็น 56    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 285

เพราะฉะนั้น เหมือนฝูงโคทั้งหลายเที่ยวไปใกล้แม่น้ำคงคาและยมุนา เป็นต้น ก็เรียกว่า ฝูงโคเที่ยวไปใกล้แม่น้ำคงคา เที่ยวไปใกล้แม่น้ำยมุนา ฉันใด แม้ในข้อนี้ก็ฉันนั้น เชตวันอารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้กรุง สาวัตถี เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ ณ ที่นั้นก็กล่าวว่า ประทับอยู่ ณ พระวิหาร เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐีใกล้กรุงสาวัตถี เพราะคำว่า กรุงสาวัตถี ของบทนั้นเพื่อแสดงถึงโคจรคาม คำที่เหลือเพื่อแสดงถึงที่อยู่อันสมควรแก่ บรรพชิต.

ในบทเหล่านั้น ท่านพระสารีบุตรแสดงถึงการทำความอนุเคราะห์ คฤหัสถ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยประกาศชื่อกรุงสาวัตถี แสดงถึงการทำ ความอนุเคราะห์บรรพชิต ด้วยประการชื่อเชตวัน เป็นต้น อนึ่ง ด้วยบทต้น แสดงถึงการเว้นการประกอบอัตตกิลมถานุโยค เพราะได้รับปัจจัย ด้วยบท หลังแสดงถึงอุบายเป็นเครื่องเว้นการประกอบกามสุขัลลิกานุโยค เพราะละ วัตถุกาม.

อีกอย่างหนึ่ง ด้วยบทก่อนแสดงถึงการประกอบธรรมเทศนา ด้วย บทหลังแสดงถึงการน้อมไปเพื่อวิเวก. ด้วยบทก่อนแสดงถึงการเข้าถึงด้วย พระกรุณา ด้วยบทหลังแสดงถึงการเข้าถึงด้วยปัญญา. ด้วยบทต้นแสดงถึง ความเป็นผู้น้อมไปเพื่อยังประโยชน์สุขให้สำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลาย ด้วยบทหลัง แสดงถึงความไม่เข้าไปติดในการทำประโยชน์สุขเพื่อผู้อื่น. ด้วยบทต้นแสดง ถึงการอยู่ผาสุก มีการไม่สละสุขอันประกอบด้วยธรรมเป็นนิมิต ด้วยบทหลัง แสดงถึงการอยู่ผาสุก มีการประกอบธรรมอันยอดเยี่ยมของมนุษย์. ด้วยบทต้น แสดงถึงความเป็นผู้มากด้วยอุปการะแก่มนุษย์ทั้งหลาย ด้วยบทหลังแสดงถึง ความเป็นผู้มากด้วยอุปการะแก่ทวยเทพ. ด้วยบทต้นแสดงถึงความที่พระองค์


ความคิดเห็น 57    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 286

อุบัติขึ้นในโลกเป็นผู้เจริญในโลก ด้วยบทหลังแสดงถึงความเป็นผู้ไม่ถูกโลก ฉาบทา. ด้วยบทต้นแสดงการชี้แจงถึงประโยชน์ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าอุบัติ ขึ้นแล้ว เพราะพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลหนึ่งเมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ชนเกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อ อนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย บุคคลหนึ่งคือใคร คือพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยบทหลังแสดงถึงการอยู่อันสมควรในที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอุบัติแล้ว.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอุบัติในสวนทั้งนั้น ทั้งโลกิยอุบัติ และโลกุตรอุบัติ คือ ครั้งแรกทรงอุบัติ ณ ลุมพินีวัน ครั้งที่สองทรงอุบัติ ณ โพธิมณฑล ด้วยเหตุนั้นพึงทราบการประกอบความในบทนี้ โดยนัยมี อาทิอย่างนี้ว่า พระสารีบุตรเถระย่อมแสดงถึงการประทับอยู่ของพระผู้มีพระภาคเจ้าในสวนทั้งนั้น.

บทว่า ตตฺร ณ ที่นั้น เป็นบทแสดงถึงเทศะและกาละ. ท่านแสดงว่า ในสมัยที่ประทับอยู่ และในพระวิหารเชตวันที่ประทับอยู่ หรือแสดงถึงเทศะ และกาละอันควรกล่าว. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมไม่ทรงแสดงธรรม ในเทศะหรือกาละอันไม่สมควร ดังตัวอย่างในข้อนี้ว่า ดูก่อนพาหิยะ ยังไม่ ถึงเวลาก่อน.

บทว่า โข เป็นนิบาตลงในอรรถแห่งอวธารณะ เพียงทำบทให้เต็ม หรือในอรรถแห่งกาลต้น. บทว่า ภควา คือแสดงถึงความเป็นผู้เคารพของ โลก. บทว่า ภิกฺขุ เป็นคำกล่าวถึงบุคคลที่ควรฟังพระดำรัส. อีกอย่างหนึ่ง ในบทว่า ภิกฺขุ นี้ พึงทราบอรรถแห่งคำโดยนัยมีอาทิว่า ชื่อว่า ภิกฺขุ เพราะ เป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกฺขุ เพราะเป็นผู้ออกเที่ยวเพื่อขอ. บทว่า อามนฺเตสิ


ความคิดเห็น 58    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 287

คือตรัสเรียก ได้ตรัสให้รู้ นี้เป็นความในบทว่า อามนฺเตสิ นี้ แต่ในที่อื่น เป็นไปในความให้รู้บ้าง ในการเรียกบ้าง. บทว่า ภิกฺขโว แสดงอาการเรียก. ด้วยบทนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงประกาศถึงความประพฤติที่คบคน เลวและคนดี ด้วยพระดำรัสอันสำเร็จด้วยการประกอบคุณ มีความเป็นผู้ขอ เป็นปกติ ความเป็นผู้ขอเป็นธรรมดา และความเป็นผู้ทำความดีในการขอ เป็นต้นของภิกษุเหล่านั้น จึงทรงกระทำการข่มความเป็นผู้ฟุ้งซ่าน และความ หดหู่. อนึ่ง ด้วยบทว่า ภิกฺขโว นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำภิกษุเหล่านั้น ให้หันหน้าเฉพาะพระพักตร์ของพระองค์ ด้วยพระดำรัสอันเปี่ยมไปด้วยพระกรุณาอย่างกว้างขวาง พระหฤทัยและพระเนตรสุภาพ ทรงยังภิกษุเหล่านั้น ให้ เกิดความสนใจเพื่อจะฟังด้วยพระดำรัส แสดงความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะกล่าว นั้นนั่นเอง.

อนึ่ง ด้วยบทว่า ภิกฺขโว นั้นทรงชักชวนภิกษุเหล่านั้น แม้ ตั้งใจฟังด้วยดี ด้วยพระดำรัสอันเป็นประโยชน์ในการตรัสรู้. จริงอยู่ ความ เป็นผู้ตั้งใจฟังด้วยดีเป็นสมบัติของพระศาสนา. หากมีคำถามว่า เมื่อมีเทวดา และมนุษย์เหล่าอื่นอยู่ด้วย เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียก เฉพาะภิกษุทั้งหลายเท่านั้นเล่า. ตอบว่า เพราะภิกษุทั้งหลายเป็นผู้เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุด เป็นผู้นั่งใกล้ เป็นผู้เตรียมแล้วทุกเมื่อ และเป็นดุจภาชนะ อันที่จริง พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั่วไปแก่บริษัททั้งปวง. อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นผู้เจริญที่สุดในบริษัทเพราะเข้าไปถึงก่อน ชื่อว่าเป็น ผู้ประเสริฐที่สุด เพราะเป็นผู้ดำเนินตามพระจริยาของพระศาสดา ตั้งแต่ความ เป็นผู้ไม่ครองเรือนเป็นต้น และเพราะเป็นผู้รับคำสอนไว้ทั้งสิ้น ชื่อว่าเป็น ผู้ใกล้ เพราะเมื่อนั่ง ณ ที่นั้น ก็นั่งใกล้พระศาสดา ชื่อว่าเป็นผู้เตรียมไว้ ทุกเมื่อ เพราะเป็นผู้ท่องเที่ยวไปในสำนักของพระศาสดา และชื่อว่าเป็นดุจ ภาชนะของพระธรรมเทศนา เพราะเป็นผู้พร้อมที่จะปฏิบัติตามคำสั่งสอน.


ความคิดเห็น 59    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 288

ในข้อนั้นจะพึงมีผู้พูดว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงธรรม ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายก่อน ไม่ทรงแสดงธรรมไปเลยเพื่ออะไร. เพื่อให้ตั้งสติ เพราะภิกษุทั้งหลายในที่ประชุมนั่งคิดอย่างอื่นบ้าง จิตฟุ้งซ่านบ้าง พิจารณา ธรรมบ้าง มนสิการกรรมฐานบ้าง ภิกษุเหล่านั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ ตรัสเรียก แล้วทรงแสดงธรรมไปเลย ก็ไม่สามารถจะกำหนดได้ว่า เทศนานี้ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นปัจจัย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยมีเรื่อง เกิดขึ้นอย่างไรพึงถึงความฟุ้งซ่าน หรือพึงถือเอาผิดๆ ด้วยเหตุนั้น เพื่อให้ ภิกษุเหล่านั้นตั้งสติ จึงตรัสเรียกก่อนแล้วทรงแสดงธรรมในภายหลัง.

บทว่า ภทนฺเต นี้เป็นคำแสดงความเคารพ หรือเป็นการให้คำรับ ต่อพระศาสดา. อีกอย่างหนึ่ง ในบทว่า ภทนฺเต นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อ ตรัสว่า ภิกฺขโว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น. ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ภทนฺเต ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้า. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกฺขโว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า ภทนฺเต. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้ภิกษุทั้งหลายให้ คำรับว่า ภิกฺขโว. ภิกษุทั้งหลายทูลให้คำรับว่า ภทนฺเต. บทว่า เต ภิกฺขู พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสเรียก. บทว่า ภควโต ปจฺจสฺโสสุํ คือภิกษุ ทั้งหลายทูลรับการตรัสเรียกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ความว่า ภิกษุทั้งหลาย หันหน้า ฟัง รับ ถือเอา. บทว่า ภควา เอตทโวจ คือพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระสูตรทั้งสิ้นนั้นที่ควรตรัสในบัดนี้.

อนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ท่านพระสารีบุตรเถระจึงกล่าวถึงนิทานใด อันประดับด้วยการอ้างถึงกาละ เทศะ ผู้แสดง และบริษัท เพื่อความสะดวก แห่งพระสูตรนี้ อันส่องถึงความลึกซึ้งของเทศนาและญาณ ของพระพุทธเจ้า ทั้งหลาย อันสมบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะ ดุจท่าน้ำอันเป็นภูมิภาคที่สะอาด


ความคิดเห็น 60    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 289

เกลื่อนกลาดด้วยทรายเช่นกับลาดไว้ด้วยตาข่ายแก้วมุกดา มีบันไดแก้ววิลาส โสภิตขจิตด้วยพื้นศิลาราบรื่น เพื่อข้ามไปได้สะดวก ณ สระโบกขรณี มีน้ำ รสอร่อยใสสะอาดดาดาษไปด้วยดอกบัวและกอบัว ดุจบันไดงดงามรุ่งเรือง ผุดขึ้นด้วยแสงสว่างแห่งมวลแก้วมณี อันผูกติดไว้กับแผ่นกระดานอันละเอียดอ่อนทำด้วยงาและลดาทอง เพื่อขึ้นสะดวกยังปราสาทอันประเสริฐ ตกแต่ง ไว้อย่างรุ่งโรจน์ ล้อมด้วยฝาที่จัดไว้เป็นอย่างดี และเวทีอันวิจิตร ดุจเพราะ ใคร่จะสัมผัสทางแห่งนักษัตร ดุจมหาทวารอันมีประตูและหน้าต่างไพศาล รุ่งโรจน์ โชติช่วง บริสุทธิ์ด้วยทอง เงิน แก้วมณี แก้วมุกดา และแก้ว ประพาฬเป็นต้น เพื่อเข้าไปสะดวกยังเรือนใหญ่ อันงดงามด้วยอิสริยสมบัติ อันโอฬาร อันเป็นหลักการประพฤติของชน ในเรือนซึ่งมีเสียงไพเราะด้วย การพูด การหัวเราะเจือไปด้วยเสียงกระทบ มีกำไรมือและกำไรเท้าทองคำ เป็นต้น การพรรณนาความแห่งนิทานนั้นสมบูรณ์แล้ว.

บทว่า ปญฺจ ในพระสูตรเป็นการกำหนดจำนวน. บทว่า อิมานิ อินฺทริยานิ อินทรีย์เหล่านี้ เป็นบทชี้แจงธรรมที่กำหนดไว้แล้ว. อรรถแห่ง อินทรีย์ ท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลัง.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงพระสูตรนี้แล้ว มีพระประสงค์ จะแสดงวิธีเจริญความบริสุทธิ์แห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ที่ได้ตรัสไว้ในพระสูตรนี้ และความระงับอินทรีย์ที่เจริญแล้ว จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า อิมานิ ปญฺจินฺ- ทฺริยานิ อินทรีย์ ๕ เหล่านี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า วิสุชฺฌนฺติ คือย่อมถึงความหมดจด. บทว่า อสฺสทฺเธ ผู้ไม่มีศรัทธา คือ ผู้ปราศจากความเชื่อในพระรัตนตรัย. บทว่า สทฺเธ ผู้มีศรัทธา คือ ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธาในพระรัตนตรัย. บทว่า เสวโต


ความคิดเห็น 61    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 290

สมาคม คือ เสพด้วยจิต. บทว่า ภชโต คบหา คือ เข้าไปนั่งใกล้. บทว่า ปยิรุปาสโต นั่งใกล้ คือ เข้าไปนั่งด้วยความเคารพ. บทว่า ปาสาทนีเย สุตตนฺเต พระสูตรอันนำมาซึ่งความเลื่อมใส คือ พระสูตรปฏิสังยุตด้วยพระ รัตนตรัยอันให้เกิดความเลื่อมใส. บทว่า กุสีเต ผู้เกียจคร้าน ชื่อว่า กุสีทา เพราะจมลงด้วยอาการเกียจคร้าน. กุสีทา นั่นแล คือ ผู้เกียจคร้าน. บุคคล ผู้เกียจคร้านเหล่านั้น. บทว่า สมฺมปฺปธาเน ความเพียรชอบ คือ พระสูตร ปฏิสังยุคด้วยความเพียรชอบอันให้สำเร็จกิจ ๔ อย่าง. บทว่า มุฏฺสฺสติ ผู้มีสติหลงลืม คือ ผู้มีสติหายไป. บทว่า สติปฏฺาเน สติปัฏฐาน คือ พระสูตรอันทำให้ยิ่งด้วยสติปัฏฐาน. บทว่า ฌานวิโมกฺเข ฌานและวิโมกข์ คือ พระสูตรอันทำให้ยิ่งด้วย จตุตถฌาน วิโมกข์ ๘ และวิโมกข์ ๓ อย่าง. บท ว่า ทุปฺปญฺเ บุคคลปัญญาทราม คือไม่มีปัญญา หรือชื่อว่า ทุปฺปญฺา เพราะเป็นผู้มีปัญญาทรามเพราะไม่มีปัญญา ซึ่งบุคคลผู้มีปัญญาทรามเหล่านั้น. บทว่า คมฺภีราณจริยํ ญาณจริยาอันลึกซึ้ง คือ พระสูตรปฏิสังยุตด้วย อริยสัจ ๔ และปฏิจจสมุปบาทเป็นต้น หรือ เช่นกับญาณกถา. บทว่า สุตฺตนฺตกฺขนฺเธ จำนวนพระสูตร คือ ส่วนแห่งพระสูตร.

บทว่า อสฺสทฺธิยํ ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ในบทมีอาทิว่า อสฺสทฺธิยํ คือ ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา บุคคลเห็นโทษในความไม่มีศรัทธา ละ ความไม่มีศรัทธา ย่อมเจริญสัทธินทรีย์ บุคคลเห็นอานิสงส์ในสัทธินทรีย์ เจริญสัทธินทรีย์ ย่อมละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา. ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้.

บทว่า โกสชฺชํ คือความเป็นผู้เกียจคร้าน. บทว่า ปมาทํ คือ การอยู่ปราศจากสติ. บทว่า อุทฺธจฺจํ คือความเป็นผู้ฟุ้งซ่าน ได้แก่ ซัด จิตไป.


ความคิดเห็น 62    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 291

บทว่า ปหีนตฺตา เพราะเป็นผู้ละแล้ว คือเพราะเป็นผู้ละการบำเพ็ญ ฌานด้วยสามารถแห่งอัปปนา. บทว่า สุปฺปหีนตฺตา เพราะความเป็นผู้ละ ดีแล้ว คือเพราะความเป็นผู้ละแล้วด้วยดี ด้วยการบำเพ็ญวิปัสสนา ด้วย สามารถแห่งวุฏฐานคามินี. บทว่า ภาวิตํ โหติ สุภาวิตํ อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมดีแล้ว พึงประกอบตามลำดับดังที่กล่าวแล้วนั่นแล. จริงอยู่ เพราะละ ด้วยสามารถตรงกันข้ามกับวิปัสสนา จึงควรกล่าวว่า สุปฺปหีนตฺตา เพราะ ฉะนั้น จึงควรกล่าวว่า สุภาวิตํ ไม่ใช่ด้วยฌาน. อนึ่ง เพราะการสำเร็จ ภาวนาด้วยการละสิ่งที่ควรละ เป็นอันสำเร็จการละสิ่งที่ควรละด้วยความสำเร็จ แห่งภาวนา ฉะนั้นท่านแสดงทำเป็นคู่กัน.

พึงทราบวินิจฉัยในปฏิปัสสัทธิวารดังต่อไปนี้ บทว่า ภาวิตานิเจว โหนฺติ สุภาวิตานิจ เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว เพราะ อินทรีย์ที่บุคคลเจริญแล้วนั่นแล เป็นอินทรีย์ที่อบรมดีแล้ว. บทว่า ปฏิปฺปสฺสทธานิจ สุปฺปฏิปสฺสทฺธานิจ ระงับแล้วระงับดีแล้ว ท่าน กล่าวถึงความที่อินทรีย์ระงับแล้วนั่นแล เป็นอินทรีย์ระงับดีแล้ว. พึงทราบ ความที่อินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้วและระงับแล้ว ด้วยสามารถแห่งการเกิดกิจ ของมรรคในขณะแห่งผล. บทว่า สมุจเฉทวิสุทฺธิโย สมุจเฉทวิสุทธิ ได้แก่ มรรควิสุทธินั่นเอง. บทว่า ปฏิปฺปสฺสทธิวิสุทฺธิโย ปฏิปัสสัทธิวิสุทธิ ได้แก่ ผลวิสุทธินั่นเอง.

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระ เพื่อแสดงประกอบอินทรีย์มีวิธีดังกล่าวแล้ว อย่างนั้น ด้วยสามารถแห่งการกบุคคล จึงกล่าวคำมีอาทิว่า กตีนํ ปุคฺคลานํ บุคคลเท่าไร. ในบทเหล่านั้น บทว่า ภาวิตินฺทฺริยวเสน พุทฺโธ ชื่อว่า พุทฺโธ ด้วยสามารถความเป็นผู้เจริญอินทรีย์แล้ว ความว่า ผู้ตรัสรู้ ผู้รู้อริยสัจ


ความคิดเห็น 63    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 292

๔ ด้วยการฟังธรรมกถาจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า. นี้เป็นคำพูดถึงเหตุแห่ง ความเป็นผู้เจริญอินทรีย์แล้ว เพราะว่า ผู้เจริญอินทรีย์แล้วในขณะแห่งผล เพราะเป็นผู้ตรัสรู้มรรคด้วยสามารถบรรลุภาวนา. พระสารีบุตรเถระ เมื่อจะ แสดงถึงผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผลเท่านั้นให้วิเศษออกไป เพราะพระอริยบุคคล ทั้งหลายแม้ ๘ ก็เป็นพระสาวกของพระตถาคต จึงกล่าวว่า ขีณาสโว พระขีณาสพ เพราะพระขีณาสพเท่านั้น ท่านกล่าวว่า ภาวิตินฺทฺริโย ผู้เจริญ อินทรีย์แล้ว ด้วยการสำเร็จกิจทั้งปวง. ส่วนพระอริยบุคคลแม้นอกนั้นก็เป็น ผู้เจริญอินทรีย์แล้วเหมือนกัน โดยปริยาย เพราะสำเร็จกิจด้วยมรรคนั้นๆ เพราะฉะนั้น ในขณะแห่งผล ๔ ท่านจึงกล่าวว่า อินทรีย์ ๕ เป็นอินทรีย์อัน บุคคลเจริญแล้วอบรมดีแล้ว. อนึ่ง เพราะอินทรีย์ภาวนายังมีอยู่นั่นเอง แก่พระอริยบุคคลเหล่านั้น เพื่อประโยชน์แก่อุปริมรรค ฉะนั้น พระอริยบุคคล เหล่านั้น จึงไม่ชื่อว่า เป็นผู้เจริญอินทรีย์แล้วโดยตรง. บทว่า สยมภูตฏฺเน ด้วยอรรถว่าตรัสรู้เอง คือเป็นผู้ไม่มีอาจารย์ เป็น ภควา ด้วยอรรถเป็นแล้ว เกิดแล้วในชาติอันเป็นอริยะเอง. จริงอยู่ แม้พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ก็เป็นพระสยัมภูในขณะผลด้วยอำนาจแห่งความสำเร็จภาวนา. ชื่อว่า ภาวิตินฺทฺริโย ด้วย อรรถว่าเป็นผู้รู้เองในขณะแห่งผลด้วยประการฉะนี้. บทว่า อปฺปเมยฺยฏฺเน ด้วยอรรถว่า มีพระคุณประมาณไม่ได้ คือ ด้วยอรรถว่า ไม่สามารถประมาณได้ เพราะทรงประกอบด้วยอนันตคุณ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า มีพระคุณประมาณ ไม่ได้ เพราะสำเร็จด้วยภาวนาในขณะผล เพราะฉะนั้นแล จึงเป็นผู้เจริญ อินทรีย์แล้ว.

จบอรรถกถาปฐมสุตตันตนิเทศ


ความคิดเห็น 64    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 293

๒. อรรถกถาทุติยสุตตันตนิเทศ

พระสารีบุตรเถระประสงค์จะตั้งสูตรอื่นอีกแล้วชี้แจงถึงแบบอย่างแห่ง อินทรีย์ทั้งหลาย จึงแสดงพระสูตรมีอาทิว่า ปญฺจิมานิ ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า เย หิ เกจิ สมณะหรือ พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นบทถือเอาโดยไม่มีเหลือ. หิ อักษรเป็นนิบาต ลงในอรรถเพียงให้เต็มบท (บทสมบูรณ์). บทว่า สมณา วา พฺราหฺมณา วา ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งโวหารของโลก. บทว่า สมุทยํ เหตุเกิดคือปัจจัย. บทว่า อตฺถงฺคมํ ความดับคือถึงความไม่มีแห่งอินทรีย์ที่เกิดแล้ว หรือความ ไม่เกิดแห่งอินทรีย์ที่ยังไม่เกิด. บทว่า อสฺสาทํ คืออานิสงส์. บทว่า อาทีนวํ คือโทษ. บทว่า นิสฺสรณํ อุบายเครื่องสลัดออก คือ ออกไป. บทว่า ยถาภูตํ คือตามความเป็นจริง. บทว่า สมเณสุ คือผู้สงบบาป. บทว่า สมณสมฺมตา ได้รับยกย่องว่าเป็นสมณะ คือ เราไม่ได้รับยกย่องว่าเป็น สมณะ. เมื่อกล่าวว่า สมฺมตา ด้วยอำนาจแห่งปัจจุบันกาล เป็นอันกล่าว ฉัฏฐีวิภัตติในบทว่า เม นี้ ด้วยอำนาจแห่งลักษณะของศัพท์.

บทว่า พฺราหฺมเณสุ คือผู้ลอยบาป บทว่า สามญฺตฺถํ สามัญ ผล คือประโยชน์ของความเป็นสมณะ. บทว่า พฺรหฺมญฺตฺถํ พรหมัญผล คือ โยชน์ความเป็นพราหมณ์ แม้ด้วยบททั้งสอง ก็เป็นอันท่านกล่าวถึง อรหัตตผลนั่นเอง.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สามญฺตฺถํ ได้แก่ ผล ๓ เบื้องต่ำ. บทว่า พฺรหฺมญฺตฺถํ ได้แก่ อรหัตตผล. เพราะทั้งสามัญผลและพรหมัญผลก็คือ


ความคิดเห็น 65    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 294

อริยมรรคนั่นเอง. บทว่า ทิฏฺเว ธมฺเม คือ ในอัตภาพที่ประจักษ์อยู่นี่แล. บทว่า สยํ อภิญฺา สจฺฉิกตฺวา ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งเอง คือ ทำไห้ประจักษ์ด้วยญาณอันยิ่งด้วยตนเอง. บทว่า อุปสมฺปชฺช เข้าถึง คือ ถึงแล้ว หรือให้สำเร็จแล้ว.

พึงทราบวินิจฉัยในสุตตันตนิเทศดังต่อไปนี้. พระสารีบุตรเถระถามถึง จำนวนประเภทของเหตุเกิดแห่งอินทรีย์เป็นต้นก่อนแล้วแก้จำนวนของประเภท ต่อไป. ในบทเหล่านั้น บทว่า อสีติสตํ ๑๘๐ คือ ๑๐๐ ยิ่งด้วย ๘๐. โยชนาแก้ว่าด้วยอาการอันบัณฑิตกล่าวว่า ๑๘๐.

พึงทราบวินิจฉัยในคณนานิเทศ อันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งการถาม จำนวนประเภท อีกดังต่อไปนี้. บทว่า อธิโมกฺขตฺถาย เพื่อประโยชน์แก่ การน้อมใจเชื่อ คือ เพื่อน้อมใจเชื่อ เพื่อประโยชน์แก่การเชื่อ. บทว่า อาวชฺชนาย สมุทโย เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึง คือ ปัจจัยแห่งสัทธินทรีย์ การคำนึงถึงส่วนเบื้องต้นว่า เราจักยังศรัทธาให้เกิดเป็นอุปนิสสยปัจจัยแห่ง สัทธินทรีย์ การคำนึงถึงการแล่นไปแห่งสัทธินทรีย์ เป็นอนันตรปัจจัยแห่ง ชวนจิตดวงแรก เป็นอุปนิสสยปัจจัยแห่งชวนจิตดวงที่ ๒ เป็นต้น. บทว่า อธิโมกฺขวเสน ด้วยสามารถความน้อมใจเชื่อ คือ ด้วยสามารถความน้อมใจ เชื่อสัมปยุตด้วยฉันทะ. บทว่า ฉนฺทสฺส สมุทโย เหตุเกิดแห่งฉันทะ คือ เหตุเกิดแห่งธรรมฉันทะเป็นเยวาปนกธรรม สัมปยุตด้วยอธิโมกข์อันเกิดขึ้น เพราะการคำนึงถึงส่วนเบื้องต้นเป็นปัจจัย. อนึ่ง เหตุเกิดนั้นเป็นปัจจัยแห่ง สัทธินทรีย์ด้วยสามารถแห่งสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัยและอวิคตปัจจัย และเป็นอธิปติปัจจัยในกาลที่มีฉันทะ เป็นใหญ่ เหตุเกิดนั้นเป็นปัจจัยแห่งอินทรีย์ที่ ๒ ด้วยสามารถแห่งอนันตรปัจจัย


ความคิดเห็น 66    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 295

สมนันตรปัจจัย อนันตรูปนิสสยปัจจัย อาเสวนปัจจัย นัตถิปัจจัยและวิคตปัจจัย. โดยนัยนี้แลพึงทำการประกอบแม้มนสิการ.

อันที่จริง ในบทว่า มนสิกาโร นี้ก็อย่างเดียวกัน คือ มีมนสิการ เป็นเช่นเดียวกัน อันมีการแล่นไปเป็นลักษณะ.. มนสิการนั้นไม่เป็นอธิปติ- ปัจจัยในสัมปยุตธรรมทั้งหลาย พึงทราบว่าการถือเอาเหตุเกิดทั้งสองเหล่านี้ว่า เพราะเป็นพลวปัจจัย (ปัจจัยที่มีกำลัง). บทว่า สทฺธินฺทฺริยสฺส วเสน ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ คือ ด้วยอำนาจสัทธินทรีย์อันถึงความเป็นอินทรีย์ เพราะความเจริญยิ่งแห่งภาวนา. บทว่า เอกตฺตุปฏฺานํ ความปรากฏเป็น ธรรมอย่างเดียว คือ ฐานะอันยิ่งใหญ่ เพราะไม่หวั่นไหวในอารมณ์เดียว ย่อมเป็นปัจจัยแห่งสัทธินทรีย์สูงขึ้นไป. พึงทราบแม้อินทรีย์ที่เหลือโดยนัย ดังกล่าวแล้วในสัทธินทรีย์นั่นแล. อินทรีย์หนึ่งๆ มีเหตุเกิดอย่างละ ๔ เพราะ เหตุนั้น อินทรีย์ ๕ จึงมีเหตุเกิด ๒๐ ในเหตุเกิดหนึ่งๆ ของเหตุเกิด ๔ ท่านประกอบเข้ากับอินทรีย์ ๕ แล้วกล่าวเหตุเกิด ๒๐.

อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า พึงเห็น ๒๐ ที่ ๑ ด้วยสามารถแห่งมรรคต่างๆ ๒๐ ที่ ๒ ด้วยสามารถแห่งมรรค รวมเป็นอาการ ๔๐ ด้วยประการฉะนี้.

แม้อัตถังคมวาร (ความดับ) ก็พึงทราบโดยนัยนี้แล. อนึ่ง การดับ นั้น การไม่ได้ของผู้ไม่ขวนขวายการเจริญอินทรีย์ ชื่อว่า ดับการได้. การเสื่อม จากการได้ของผู้เสื่อมจากการเจริญอินทรีย์ ชื่อว่า ดับ. การระงับของผู้บรรลุ ผล ชื่อว่า ดับ. บทว่า เอกตฺตํ อนุปฏฺานํ ความไม่ปรากฏเป็นธรรม อย่างเดียว คือ ความไม่ปรากฏในธรรมอย่างเดียว.


ความคิดเห็น 67    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 296

อรรถกถาอัสสาทนิเทศ

พึงทราบวินิจฉัยในอัสสาทนิเทศดังต่อไปนี้. บทว่า อสฺสทฺธิยสฺส อนุปฏฺานํ ความไม่ปรากฏแห่งความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา คือ เว้นบุคคลผู้ไม่มี ศรัทธา คบบุคคลผู้มีศรัทธา พิจารณาปสาทนียสูตรและทำโยนิโสมนสิการใน สูตรให้มาก ชื่อว่า ความไม่ปรากฏแห่งความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา. ในบทว่า อสฺสทฺธิยปริฬาหสฺส อนุปฏฺานํ ความไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะ ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธานี้ เมื่อพูดถึงศรัทธาเป็นไปแก่คนไม่มีศรัทธา ความ ทุกข์ โทมนัส ย่อมเกิด นี้ชื่อว่าความเร่าร้อน เพราะความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา. บทว่า อธิโมกฺขจริยาย เวสารชฺชํ ความแกล้วกล้าแห่งความประพฤติด้วย ความน้อมใจเชื่อ คือ ความเป็นผู้แกล้วกล้าด้วยความเป็นไปแห่งศรัทธาของ ผู้ถึงความชำนาญด้วยสามารถแห่งวัตถุอันเป็นศรัทธา หรือด้วยภาวนา. บทว่า สนฺโต จ วิหาราธิคโม ความสงบและการบรรลุสุขวิหารธรรม คือ การได้ สมถะหรือวิปัสสนา. คำว่า โสมนัส ในบทว่า สุขํ โสมนสฺสํ นี้ เพื่อ แสดงถึงความสุขทางใจ แม้ความสุขทางกายก็ย่อมได้แก่กายอันสัมผัสด้วยรูป ประณีต เกิดขึ้นเพราะสัทธินทรีย์ เพราะความสุขโสมนัสเป็นประธานและ เป็นคุณ ท่านจึงกล่าวให้พิเศษว่า สุขและโสมนัสนี้เป็นคุณแห่งสัทธินทรีย์ โดยนัยนี้พึงทราบประกอบแม้คุณแห่งอินทรีย์ที่เหลือ.

จบอรรถกถาอัสสาทนิเทส


ความคิดเห็น 68    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 297

อรรถกถาอาทีนวนิเทศ

พึงทราบวินิจฉัยในอาทีนวนิเทศดังต่อไปนี้. บทว่า อนิจฺจฏฺเน เพราะอรรถว่าไม่เที่ยง คือ เพราะอรรถว่า สัทธินทรีย์ไม่เที่ยง ท่านกล่าวว่า สัทธินทรีย์นั้นมีอรรถว่าไม่เที่ยง เป็นโทษของสัทธินทรีย์. แม้ในสองบท นอกนี้ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. พึงทราบว่าโทษเหล่านี้เป็นโทษของคุณของเหตุเกิด และความดับของอินทรีย์อันเป็นโลกิยะนั่นเอง.

จบอรรถกถาอาทีนวนิเทศ

อรรถกถานิสสรณนิเทศ

พึงทราบวินิจฉัยในนิสสรณนิเทศดังต่อไปนี้.ในบทว่า อธิโมกฺขฏฺเน ด้วยอรรถว่า ความน้อมใจเชื่อเป็นอาทิ ท่านทำอย่างละ ๕ ในอินทรีย์หนึ่งๆ แล้วแสดงอินทรีย์ ๕ มีอุบายเป็นเครื่องสลัดออก ๒๕ ด้วยสามารถมรรคแห่งผล. ในบทเหล่านั้น บทว่า ตโต ปณีตตรสทฺธินฺทฺริยสฺส ปฏิลาภา แต่ การได้สัทธินทรีย์ที่ประณีตกว่านั้น คือ ด้วยสามารถการได้สัทธินทรีย์ที่ประณีต กว่าในขณะแห่งมรรค จากสัทธินทรีย์ที่เป็นไปแล้วในขณะแห่งวิปัสสนานั้น. บทว่า ปุริมตรสทฺธินฺทฺริยา นิสฺสฏํ โหติ สลัดออกไปจากสัทธินทรีย์ที่มี อยู่ก่อน คือ สัทธินทรีย์ในขณะแห่งมรรคนั้นออกไปแล้วจากสัทธินทรีย์ที่เป็น ไปแล้วในขณะแห่งวิปัสสนาที่มีอยู่ก่อน. โดยนัยนี้แหละพึงประกอบแม้สัทธินทรีย์ในขณะแห่งผล แม้อินทรีย์ที่เหลือในขณะทั้งสองนั้น.


ความคิดเห็น 69    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 298

บทว่า ปพฺพภาเค ปฺจหิ อินฺทฺริเยหิ ด้วยอินทรีย์ ๕ ในส่วน เบื้องต้น คือ เครื่องสลัดออกไป ๘ ด้วยสามารถแห่งสมาบัติ ๘ มีปฐมฌาน เป็นต้น ด้วยอินทรีย์ ๕ ในอุปจารแห่งปฐมฌาน เครื่องสลัดออกไป ๑๘ ด้วยสามารถแห่งมหาวิปัสสนา ๑๘ มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น เครื่องสลัด ออกไปเป็นโลกุตระ ๘ ด้วยสามารถโสดาปัตติมรรคเป็นต้น. ท่านแสดงนิสสรณะ (เครื่องสลัดออกไป) ๓๔ ด้วยสามารถแห่งฌาน สมาบัติมหาวิปัสสนา มรรคและผล โดยการก้าวล่วงไปแห่งอินทรีย์ก่อนๆ. อนึ่ง บทว่า เนกฺขมฺเม ปญฺจินฺทฺริยานิ อินทรีย์ ๕ ในเนกขัมมะ ท่านแสดง นิสสรณะ ๓๗ โดยเป็นปฏิปักษ์ด้วยสามารถการละสิ่งเป็นปฏิปักษ์. ในบทนั้น ท่านกล่าว นิสสรณะ ๗ ในนิสสรณะ ๗ มีเนกขัมมะเป็นต้นด้วยสามารถแห่ง อุปจารภูมิ แต่ท่านมิได้กล่าวถึงผล เพราะไม่มีการละธรรมที่เป็นปฏิปักษ์. บทว่า ทิฏฺเกฺฏเหิ กิเลสอยู่ในที่เดียวกันกับทิฏฐิ กิเลสชื่อว่า ทิฏเกฏฺา เพราะตั้งอยู่ในบุคคลเดียวพร้อมกับทิฏฐิ ตลอดถึงโสดาปัตติมรรค จากกิเลส ซึ่งอยู่ในที่เดียวกันกับทิฏฐิเหล่านั้น. บทว่า โอฬาริเกหิ จากกิเลสส่วนหยาบๆ คือ จากกามราคะและพยาบาทอันหยาบ. บทว่า อณุสหคเตหิ จากกิเลส ส่วนละเอียด คือ จากกามราคะและพยาบาทนั้นแหละอันเป็นส่วนละเอียด. บทว่า สพฺพกิเลเสหิ จากกิเลสทั้งปวง คือ จากกิเลสมีรูปราคะเป็นต้น. เพราะเมื่อละกิเลสเหล่านั้น ได้ก็เป็นอันละกิเลสทั้งปวงได้ เพราะฉะนั้นท่านจึง กล่าวว่า สพฺพกิเลเสหิ. แต่ในนิเทศนี้ บททั้งหลายที่มีความยังมิได้กล่าวไว้ ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง.

บทว่า สพฺเพสฺเว ขีณาสวานํ ตตฺถ ตตฺถ ปญฺจินฺทฺริยานิ อินทรีย์ ๕ ในธรรมนั้นๆ อันพระขีณาสพทั้งปวงสลัดออกแล้ว คือ อินทรีย์ ๕ ในฐานะนั้นๆ ในบรรดาฐานะทั้งหลายที่กล่าวไว้แล้วในก่อน มีอาทิว่า


ความคิดเห็น 70    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 299

อธิโมกฺขฏฺเน อันพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกทั้งหลาย ผู้เป็นพระขีณาสพสลัดออกแล้วจากฐานะนั้นๆ ตามที่ประกอบไว้. ในวาระนี้ ท่านกล่าวถึงนัยที่ได้กล่าวแล้วครั้งแรก ด้วยสามารถแห่งพระขีณาสพตามที่ ประกอบไว้.

ก็นิสสรณะเหล่านี้มี ๑๘๐ เป็นอย่างไร. ท่านอธิบายไว้ดังนี้ ใน ปฐมวารมีนิสสรณะทั้งหมด ๙๖ คือ ท่านกล่าวไว้ด้วยสามารถแห่งมรรคและผล ๒๕ ด้วยการก้าวล่วงไป ๓๔ ด้วยการเป็นปฏิปักษ์ ๓๗. ในทุติยวารเมื่อนำ นิสสรณะออกเสีย ๑๒ ด้วยอำนาจแห่งพระขีณาสพทั้งหลาย นิสสรณะเหล่านี้ ก็เป็น ๘๔ ด้วยประการฉะนี้ นิสสรณะก่อน ๙๖ และนิสสรณะเหล่านั้น ๘๔ จึงรวมเป็นนิสสรณะ ๑๘๐.

ก็นิสสรณะ ๑๒ อันพระขีณาสพพึงนำออกเป็นไฉน. นิสสรณะที่ พระขีณาสพพึงนำออก ๑๒ เหล่านี้ คือ บรรดานิสสรณะที่กล่าวแล้วโดยการ ก้าวล่วง นิสสรณะ ๘ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งมรรคและผล บรรดานิสสรณะ ที่กล่าวแล้วโดยเป็นปฏิปักษ์ นิสสรณะ ๔ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งมรรค.

หากถามว่า เพราะเหตุไร พระขีณาสพพึงนำนิสสรณะที่กล่าวแล้วด้วย สามารถแห่งอรหัตตผลออก. ตอบว่า เพราะได้นิสสรณะ ๒๕ ที่กล่าวไว้ก่อน ทั้งหมดด้วยสามารถแห่งอรหัตตผล จึงเป็นอันท่านกล่าวนิสสรณะด้วยสามารถ แห่งอรหัตตผลนั่นเอง. ผลสมาบัติเบื้องบนๆ ยังไม่เข้าถึงผลสมาบัติเบื้องล่างๆ เพราะฉะนั้น จึงมิได้ผลแม้ ๓ ในเบื้องล่าง. อนึ่ง ฌาน สมาบัติ วิปัสสนา และเนกขัมมะเป็นต้น ย่อมได้ด้วยสามารถแห่งกิริยา. อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ สลัดออกไปจากธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ เพราะธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ทั้งหลายสงบ ก่อนด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถานิสสรณนิเทศ

จบอรรถกถาทุติยสุตตันตนิเทศ


ความคิดเห็น 71    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 300

๓. อรรถกถาตติยสุตตันตนิเทศ

พระสารีบุตรเถระประสงค์จะตั้งพระสูตรอื่นอีก แล้วชี้แจงถึงแบบอย่าง ของอินทรีย์ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปญฺจิมานิ ภิกฺขเว ดังนี้.

อริยมรรคมีองค์ ๘ ชื่อว่า โสต ในบทนี้ว่า โสตาปตฺติยงเคสุ. การถึงการบรรลุอย่างสมบูรณ์ ชื่อว่า โสตาปตฺติ (การแรกถึงกระแสธรรม). องค์คือสัมภาระแห่ง โสตาปตฺติ ชื่อว่า โสตาปตฺติยังฺคานิ (องค์แห่งการแรก ถึงกระแสธรรม). โสดาปัตติยังคะ ๔ อย่างเหล่านี้ คือ การคบสัตบุรุษเป็น โสดาปัตติยังคะ ๑ การฟังสัทธรรม เป็นโสดาปัตติยังคะ ๑ โยนิโสมนสิการ เป็น โสดาปัตติยังคะ ๑ การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เป็นโสดาปัตติยังคะ ๑ เป็นองค์แห่งการได้ส่วนเบื้องต้น เพราะความเป็นพระโสดาบัน. อาการที่เหลือ กล่าวไว้แล้วในหนหลัง.

อนึ่ง บทนี้ท่านกล่าวเพื่อให้เห็นว่า อินทรีย์เหล่านี้เป็นใหญ่ในวิสัย ของตน. เปรียบเหมือนเศรษฐีบุตร ๔ คน เมื่อสหายมีพระราชาผู้ยิ่งใหญ่ เป็นที่ ๕ เดินไปตามถนนด้วยคิดว่า จักเล่นนักษัตร ครั้นไปถึงเรือนของ เศรษฐีบุตรคนที่ ๑ อีก ๔ คนนอกนั้นนั่งเฉย. ผู้เป็นเจ้าของเรือนเท่านั้น สั่งว่า พวกเจ้าจงให้ขาทนียะ โภชยะแก่สหายเหล่านี้ พวกเจ้าจงให้ของหอม ดอกไม้ และเครื่องประดับเป็นต้นแก่สหายเหล่านี้. แล้วเดินตรวจตราในเรือน ครั้นไปถึงเรือนคนที่ ๒ - ๓ - ๔ อีก ๔ คนนอกนั้นนั่งเฉย. ผู้เป็นเจ้าของเรือน เท่านั้น สั่งว่า พวกเจ้าจงให้ขาทนียะ โภชนียะแก่สหายเหล่านี้ พวกเจ้าจงให้ ของหอม ดอกไม้ และเครื่องประดับเป็นต้นแก่สหาย แล้วเดินตรวจตราใน


ความคิดเห็น 72    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 301

เรือน. ครั้นไปถึงพระราชมณเฑียรของพระราชาภายหลังทั้งหมด พระราชา แม้จะเป็นใหญ่ในที่ทั้งปวงก็จริง ถึงดังนั้นในกาลนี้ก็ยังรับสั่งว่า พวกเจ้าจงให้ ขาทนียะ โภชนียะแก่สหายเหล่านี้ จงให้ของหอม ดอกไม้ และเครื่องประดับ แก่สหายเหล่านั้น แล้วทรงดำเนินตรวจตราพระราชมณเฑียรของพระองค์ ฉันใด เมื่ออินทรีย์มีหมวด ๕ ทั้งศรัทธาก็ฉันนั้น เหมือนกัน แม้เกิดในอารมณ์เดียวกัน ก็เป็นดุจเมื่อสหายเหล่านั้นเดินไปตามถนนร่วมกัน. ครั้นถึงเรือนคนที่ ๑ อีก ๔ คนนั่งนิ่ง เจ้าของเรือนเท่านั้นเดินตรวจตรา ฉันใด สัทธินทรีย์มีลักษณะ น้อมใจเชื่อ เพราะบรรลุโสดาปัตติยังคะ เป็นใหญ่ เป็นหัวหน้า ฉันนั้น. อินทรีย์ที่เหลือตามสัทธินทรีย์ไป.

ครั้นถึงเรือนคนที่ ๒ อีก คนนอกนั้นนั่งนิ่ง. เจ้าของเรือนเท่านั้น เดินตรวจตรา ฉันใด วีริยินทรีย์เท่านั้น มีลักษณะประคองไว้ เพราะบรรลุ สัมมัปปธาน เป็นใหญ่ เป็นหัวหน้าฉันนั้น. อินทรีย์ที่เหลือตามวิริยินทรีย์ไป.

ครั้นถึงเรือนคนที่ ๓ อีก ๔ คนนอกนั้นนั่งนิ่ง เจ้าของเรือนเท่านั้น เดินตรวจตรา ฉันใดสตินทรีย์เท่านั้นมีลักษณะตั้งมั่น เพราะบรรลุสติปัฏฐาน เป็นใหญ่ เป็นหัวหน้า ฉันนั้น. อินทรีย์ที่เหลือตามสตินทรีย์ไป.

ครั้นถึงเรือนคนที่ ๔ อีก ๔ คนนอกนี้นั่งเฉย เจ้าของเรือนเท่านั้น เดินตรวจตรา ฉันใด สมาธินทรีย์เท่านั้น มีลักษณะไม่ฟุ้งซ่าน เพราะบรรลุ ฌานเป็นใหญ่ เป็นหัวหน้า ฉันนั้น. อินทรีย์ที่เหลือตามสมาธินทรีย์ไป.

แต่ครั้นไปถึงพระราชมณเฑียรของพระราชาภายหลังทั้งหมด อีก ๔ คน นั่งเฉย พระราชาเท่านั้นทรงดำเนินตรวจตรา ฉันใด ปัญญินทรีย์เท่านั้น มีลักษณะรู้ทั่ว เพราะบรรลุอริยสัจ เป็นใหญ่เป็นหัวหน้า ฉันนั้น. อินทรีย์ ที่เหลือตามปัญญินทรีย์ไป ด้วยประการฉะนี้.


ความคิดเห็น 73    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 302

อรรถกถาปเภทคณนนิเทศ

พึงทราบวินิจฉัยในปเภทคณนนิเทศ อันเป็นเบื้องต้นแห่งคำถาม จำนวนประเภทแห่งพระสูตร. บทว่า สปฺปุริสสํเสเว คือการคบสัตบุรุษ ได้แก่ ในการคบคนดีโดยชอบ. บทว่า อธิโมกฺขาธิปเตยฺยฏฺเน ด้วย อรรถว่าเป็นใหญ่ในการน้อมใจเชื่อ คือ ด้วยอรรถว่าความเป็นใหญ่ในอินทรีย์ ที่เหลือกล่าวคือน้อมใจเชื่อ อธิบายว่าด้วยอรรถ คือเป็นหัวหน้าอินทรีย์ที่เหลือ. บทว่า สทฺธมฺมสฺสวเน คือการฟังสัทธรรม ได้แก่ ธรรมของสัตบุรุษ หรือชื่อว่า สทฺธมฺม เพราะเป็นธรรมงาม ในการฟังสัทธรรมนั้น. บทว่า โยนิโสมนสิกาเร คือการทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย. ในบทว่า ธมฺมานุ ธมฺมปฏิปตฺติยา การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมนี้ พึงทราบความดังนี้ ธรรมที่เข้าถึงโลกุตรธรรม ๙ ชื่อว่า ธมฺมานุธมฺม. การปฏิบัติการถึง ธรรมานุธรรมอันได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ชื่อว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปตฺติ. แม้ใน สัมมัปปธาน เป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

จบอรรถกถาปเภทคณนนิเทศ


ความคิดเห็น 74    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 303

อรรถกถาจริยาวาร

แม้ในจริยาวารก็พึงทราบความโดยนัยนี้เหมือนกัน. ท่านกล่าวปฐมวาร ด้วยสามารถแห่งการให้อินทรีย์เกิดอย่างเดียว. ท่านกล่าวจริยาวาร ด้วยสามารถ แห่งการเสพ และกาลแห่งการทำให้บริบูรณ์ ซึ่งอินทรีย์ทั้งหลายที่เกิดแล้ว จริงอยู่ คำว่า จริยา ปกติ อุสฺสนฺนตา จริยา ปกติ ความมากขึ้น โดย ความเป็นอันเดียวกัน.

จบอรรถกถาจริยาวาร

อรรถกถาจารวิหารนิเทศ

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระประสงค์จะชี้แจงแบบอย่างของอินทรีย์ โดย ปริยายอื่นอีก ด้วยสามารถแห่งการชี้แจงความประพฤติและวิหารธรรม อัน สัมพันธ์กับจริยาจึงยกหัวข้อว่า จาโร จ วิหาโร จ เป็นอาทิแล้วกล่าวชี้แจง หัวข้อนั้น. ในหัวข้อนั้นพึงทราบความสัมพันธ์ของหัวข้อว่าเหมือนอย่างว่า สพรหมจารีผู้รู้แจ้ง พึงกำหนดไว้ในฐานะที่ลึกตามที่ประพฤติ ตามที่อยู่ว่า ท่านผู้นี้บรรลุแล้ว หรือว่าจักบรรลุเป็นแน่ ฉันใด ความประพฤติ และ วิหารธรรมของผู้ถึงพร้อมด้วยอินทรีย์ก็ฉันนั้น อันสพรหมจารีผู้รู้แจ้ง ตรัสรู้ แล้ว แทงตลอดแล้ว.

พึงทราบวินิจฉัยในอุเทศนิเทศดังต่อไปนี้. ความประพฤตินั่นแหละ คือ จริยา. เพราะคำว่า จาโร จริยา โดยอรรถเป็นอย่างเดียวกัน. เพราะฉะนั้น


ความคิดเห็น 75    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 304

ในนิเทศแห่งบทว่า จาโร ท่านจึงกล่าวว่า จริยา. บทว่า อิริยาปถจริยา คือความประพฤติของอิริยาบถ ได้แก่ความเป็นไป. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้ เหมือนกัน ส่วน อายตนจริยา ความประพฤติในอายตนะ คือความประพฤติ แห่งสติสัมปชัญญะในอายตนะทั้งหลาย. บทว่า ปตฺติ คือผล. ท่านกล่าวว่า ปตฺติ เพราะถึงผลเหล่านั้น เป็นประโยชน์ในปัจจุบันและภพหน้าของสัตโวลก นี้เป็นความพิเศษของบทว่า โลกตฺถ เป็นประโยชน์แก่โลก.

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงภูมิของจริยาเหล่านั้น จึงกล่าว คำมีอาทิว่า จตูสุ อิริยาปเถสุ ในอิริยาบถทั้งหลาย. บทว่า สติปฏฺาเนสุ คืออารมณ์อันเป็นสติปัฏฐาน. แม้เมื่อกล่าวถึงสติปัฏฐาน ท่านก็กล่าวทำไม่เป็น อย่างอื่นจากสติ ดุจเป็นอย่างอื่นด้วยสามารถแห่งโวหาร. บทว่า อริยสจฺเจสุ ในอริยสัจทั้งหลาย ท่านกล่าวด้วยสามารถการกำหนดคือเอาสัจจะไว้ต่างหาก โลกิยสัจจญาณอันเป็นส่วนเบื้องต้น. บทว่า อริมคฺเคสุ สามญฺผเลสุ จ ในอริยมรรคและสามัญผล ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งโวหารเท่านั้น. บทว่า ปเทเส บางส่วน คือเป็นเอกเทศในการประพฤติกิจซึ่งเป็นประโยชน์แก่โลก. จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายอย่อมทรงกระทำโลกัตถจริยา โดยไม่มีบางส่วน. พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงจริยาเหล่านั้นอีก ด้วยสามารถแห่งการกบุคคล จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปณิสมฺปนฺนานํ ของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยการตั้งใจไว้ ในบทนั้นท่านผู้มีอิริยาบถไม่กำเริบถึงพร้อมด้วยการคุ้มครองอิริยาบถ เพราะ อิริยาบถสงบ คือ ถึงพร้อมด้วยอิริยาบถอันสงบสมควรแก่ความเป็นภิกษุ ชื่อว่า ปณิธิสมฺปนฺนา ผู้ถึงพร้อมด้วยการตั้งใจไว้. บทว่า อินฺทฺริเยสุ คุตฺตทฺวารานํ ผู้มีทวารคุ้มครองอินทรีย์ คือ ชื่อว่า คุตฺตทฺวารา เพราะมีทวาร คุ้มครองแล้ว ในอินทรีย์ ๖ มีจักขุนทรีย์เป็นต้นอันเป็นไปแล้วในวิสัย ด้วย


ความคิดเห็น 76    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 305

สามารถแห่งทวารหนึ่งๆ ของท่านผู้มีทวารคุ้มครองแล้วเหล่านั้น. อนึ่ง ในบทว่า ทฺวารํ นี้ คือ จักขุทวารเป็นต้น ด้วยสามารถแห่งทวารที่เกิดขึ้น. บทว่า อปฺปมาทวิหารีนํ ของท่านผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท คือ ผู้อยู่ด้วย ความไม่ประมาทในศีลเป็นต้น. บทว่า อธิจิตฺตมนุยุตฺตานํ ของท่านผู้ ขวนขวายในอธิจิต คือ ผู้ขวนขวายสมาธิอันได้แก่อธิจิต ด้วยความที่วิปัสสนา เป็นบาท. บทว่า พุทฺธิสมฺปนฺนานํ ของท่านผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยปัญญา คือ ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยญาณ อันเป็นไปแล้วตั้งแต่กำหนดนามรูปจนถึงโคตรภู. บทว่า สมฺมาปฏิปนฺนานํ ของท่านผู้ปฏิบัติชอบ คือ ในขณะแห่งมรรค ๔. บทว่า อธิคตผลานํ ของท่านผู้บรรลุผล คือในขณะแห่งผล ๔. บทว่า อธิมุจฺจนฺโต ผู้น้อมใจเชื่อ คือผู้ทำการน้อมใจเชื่อ. บทว่า สทฺธาย จรติ ย่อมประพฤติด้วยศรัทธา คือเป็นไปด้วยสามารถแห่งศรัทธา. บทว่า ปคฺคณฺ- หนฺโต ผู้ประคองไว้ คือ ตั้งไว้ด้วยความเพียร คือสัมมัปปธาน ๔. บทว่า อุฏฺาเปนฺโต ผู้เข้าไปตั้งไว้มั่น คือ เข้าไปตั้งอารมณ์ไว้ด้วยสติ. บทว่า อวิกฺเขปํ กโรนฺโต ผู้ทำจิตไม่ไห้ฟุ้งซ่าน คือไม่ทำความฟุ้งซ่านด้วยสามารถ แห่งสมาธิ. บทว่า ปชานนฺโต ผู้รู้ชัด คือรู้ชัดด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้อริสัจ ๔. บทว่า วิชานนฺโต ผู้รู้แจ้ง คือรู้แจ้งอารมณ์ด้วยวิญญาณคือการพิจารณา อันเป็นหัวหน้าแห่งชวนจิตสัมปยุตด้วยอินทรีย์. บทว่า วิญฺาณจริยาย ด้วย วิญญาณจริยา คือ ด้วยสามารถแห่งความประพฤติ ด้วยวิญญาณคือการพิจารณา. บทว่า เอวํ ปฏิปนฺนสฺส ของท่านผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ปฏิบัติด้วยอินทรียจริยา พร้อมกับชวนจิต. บทว่า กุสลา ธมฺมา อายาเปนฺติ กุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมยังอิฐผลให้ยืดยาวไป คือ กุศลธรรมทั้งหลายเป็นไปแล้วด้วยสามารถแห่ง สมถะและวิปัสสนา ย่อมยังความรุ่งเรืองให้เป็นไป ความว่า ย่อมเป็นไป.


ความคิดเห็น 77    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 306

บทว่า อายตนจริยาย ด้วยอายตนจริยา คือ ประพฤติด้วยความพยายาม ยอดยิ่งแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย. ท่านอธิบายว่า ประพฤติด้วยความบากบั่น ด้วยความให้เป็นไป. บทว่า วิเสสมธิคจฺฉติ ย่อมบรรลุธรรมวิเศษ คือ บรรลุธรรมวิเศษด้วยอำนาจแห่งวิกขัมภนะ ตทังคะ สมุจเฉทะ และปฏิ- ปัสสัทธิ. บทว่า ทสฺสนจริยา เป็นต้น มีความดังได้กล่าวแล้วนั่นแล.

ในบทมีอาทิว่า สทฺธาย วิหรติ ย่อมอยู่ด้วยศรัทธา มีวินิจฉัยดัง ต่อไปนี้. พึงเห็นการอยู่ด้วยอิริยาบถของผู้เพียบพร้อมด้วยศรัทธาเป็นต้น. บทว่า อนุพุทฺโธ รู้ตาม คือด้วยปัญญาพิสูจน์ความจริงแล้ว. บทว่า ปฏิวิทฺโธ แทงตลอดแล้ว คือด้วยปัญญารู้ประจักษ์ชัด. เพราะเมื่อผู้ตั้งอยู่ในอธิโมกข์เป็น ต้นรู้ตามแล้วแทงตลอดแล้ว ความประพฤติและวิหารธรรมเป็นอันตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว ฉะนั้นท่านจึงแสดงถึงผู้ตั้งอยู่ในอธิโมกข์เป็นต้นต้น แม้ในการรู้ ตามและแทงตลอด. บทว่า เอวํ ในบทมีอาทิว่า เอวํ สทฺธาย จรนฺตํ ประพฤติด้วยศรัทธาอย่างนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะชี้แจงถึงประการดังกล่าว แล้วจึงชี้แจงถึงอรรถแห่ง ยถาศัพท์. แม้ในบทมีอาทิว่า วิญฺญู พึงทราบ ความดังนี้. ชื่อว่า วิญฺญู เพราะรู้ตามสภาพ. ชื่อว่า วิภาวี เพราะยังสภาพ ที่รู้แล้วให้แจ่มแจ้ง คือ ทำให้ปรากฏ. ชื่อว่า เมธา เพราะทำลายกิเลสดุจสาย ฟ้าทำลายหินที่ก่อไว้ หรือชื่อว่า เมธา เพราะอรรถว่าเรียนทรงจำได้เร็ว. ชื่อว่า เมธาวี เพราะเป็นผู้มีปัญญา. ชื่อว่า ปณฺฑิตา เพราะถึงคือเป็นไป ด้วยญาณคติ. ชื่อว่า พุทฺธิสมฺปนฺนา เพราะเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยพุทธิสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยปัญญา. ชื่อว่า สพฺรหฺมจาริโน เพราะประพฤติปฏิปทา อันสูงสุดอันเป็นพรหมจริยา. ชื่อว่า มีกรรมอย่างเดียวกันด้วยสามารถแห่ง การกระทำกรรม ๔ อย่างมี อปโลกนกรรม (ความยินยอม) เป็นต้นร่วมกัน.


ความคิดเห็น 78    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 307

ชื่อว่า มีอุเทศอย่างเดียวกัน คือมีการสวดปาฏิโมกข์ ๕ อย่างเหมือนกัน. ชื่อ ว่า สมสิกฺขา เพราะมีการศึกษาเสมอกัน ความเป็นผู้มีการศึกษาเสมอกัน ชื่อว่า สมสิกฺขตา อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สมสิกฺขาตา บ้าง แปลว่า มี การศึกษาเสมอกัน. ท่านอธิบายว่า ผู้มีกรรมอย่างเดียวกัน มีการศึกษาเสมอ กัน ชื่อว่า สพฺรหฺมจารี. เมื่อควรกล่าวว่า ฌานานิ ท่านทำลิงค์คลาด เคลื่อนเป็น ฌานา. บทว่า วิโมกฺขา ได้แก่ วิโมกข์ ๓ หรือ ๘. บทว่า สมาธิ ได้แก่ สมาธิ ๓ มีวิตกมีวิจาร ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ไม่มีวิตกไม่มี วิจาร. บทว่า สมาปตฺติโย สมาบัติ คือไม่ตั้งอยู่ใน สุญญตานิมิต (ไม่ มีนิมิตว่าสูญ). บทว่า อภิญฺาโย คือ อภิญญา ๖. ชื่อว่า เอกํโส เพราะ เป็นส่วนเดียว มิได้เป็น ๒ ส่วน. ชื่อว่า เอกํสวจนํ เพราะกล่าวถึงประโยชน์ ส่วนเดียว. แม้ในบทที่เหลือก็พึงทำการประกอบอย่างนี้. แต่โดยพิเศษ ชื่อว่า สํสโย เพราะนอนเนื่องคือเป็นไปเสมอหรือโดยรอบ. ชื่อว่า นิสฺ สํสโย เพราะไม่มีความสงสัย. ชื่อว่า กงฺขา เพราะความเป็นผู้ตัดสินไม่ได้ในเรื่อง เดียวเท่านั้น แม้อย่างอื่นก็ยังเคลือบแคลง. ชื่อว่า นิกฺกงฺโข เพราะไม่มี ความเคลือบแคลง. ความเป็นส่วนสอง ชื่อว่า เทฺววชฺฌํ ความไม่มีเป็นสอง ชื่อว่า อเทฺววชฺโฌ. ชื่อว่า เทฺวฬฺหกํ เพราะเคลื่อนไหว หวั่นไหวโดย สองส่วน. ชื่อว่า อเทฺวฬฺหโก เพราะไม่มีความหวั่นไหวเป็นสองส่วน (พูด ไม่เป็นสอง) การกล่าวโดยธรรมเครื่องนำออกชื่อว่า นิยฺยานิกวจนํ อาจารย์ บางพวกกล่าวว่า นิยฺโยควจนํ บ้าง แปลว่า กล่าวนำออก คำทั้งหมดนั้น เป็นไวพจน์ของความเป็นวิจิกิจฉา. ชื่อว่า ปิยวจนํ เพราะเป็นคำกล่าวน่ารัก โดยมีประโยชน์น่ารัก. อนึ่ง ครุวจนํ คำกล่าวด้วยความเคารพ ชื่อว่า สคารวํ เพราะมีความเคารพพร้อมด้วยคารวะ ความยำเกรง ชื่อว่า ปติสฺสโย ความ


ความคิดเห็น 79    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 308

ว่า ไม่นอนไม่นั่งเพราะทำความเคารพผู้อื่น อีกอย่างหนึ่ง การรับคำ ชื่อว่า ปติสฺสโว ความว่า ฟังคำผู้อื่นเพราะประพฤติถ่อมตน. แม้ในสองบทนี้ เป็น ชื่อของความที่ผู้อื่นเป็นผู้ใหญ่ ชื่อ สคารวํ เพราะเป็นไปกับด้วยความเคารพ ชื่อว่า สปฺปติสฺสยํ เพราะเป็นไปกับด้วยความยำเกรงหรือการรับคำ. อีก อย่างหนึ่ง เมื่อควรจะกล่าวว่า สปฺปติสฺสวํ ท่านกล่าวว่า สปฺปติสฺสํ เพราะ ลบ อักษร หรือ อักษร. คำที่สละสลวยอย่างยิ่งชื่อว่า อธิวจนํ. ชื่อว่า สคารวสปฺปติสฺสํ เพราะมีความเคารพและความยำเกรง. คำกล่าวมีความ เคารพยำเกรง ชื่อว่า สคารวสปฺปติสฺสาธิวจนํ แม้ในบททั้งสองนี้ท่านกล่าว ว่า เอตํ บ่อยๆ ด้วยสามารถความต่างกันด้วยการกำหนดไวพจน์. บทว่า ปตฺโต วา ปาปุณิสฺสติ วา บรรลุแล้วหรือจักบรรลุ ได้แก่ ฌานเป็นต้น นั่นเอง.

จบอรรถกถาจารวิหารนิเทศ

จบอรรถกถาตติยสุตตันตนิเทศ


ความคิดเห็น 80    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 309

๔. อรรถกถาจตุตถสุตตันตนิเทศ

พระสารีบุตรเถระตั้งสูตรที่ ๑ อีก แล้วชี้แจงอินทรีย์ทั้งหลายโดยอาการ อย่างอื่นอีก. ในบทเหล่านั้น บทว่า กตีหากาเรหิ เกนฏฺเน ทฏฺพฺพานิ อินทรีย์ ๕ เหล่านั้น พึงเห็นด้วยอาการเท่าไร ด้วยอรรถว่ากระไร คือ พึงเห็น ด้วยอาการเท่าไร. บทว่า เกนฏฺเน ทฏฺพฺพานิ พึงเห็นด้วยอรรถว่า กระไร พระสารีบุตรเถระถามถึงอาการที่พึงเห็นและอรรถที่พึงเห็น. บทว่า ฉหากาเรหิ เกนฏฺเน ทฏฺพฺพานิ คือพึงเห็นด้วยอาการ ๖ พึงเห็นด้วย อรรถกล่าวคืออาการ ๖ นั้นนั่นเอง. บทว่า อาธิปเตยฺยฏฺเน คือด้วยอรรถว่า ความเป็นใหญ่. บทว่า อาทิวิโสธนฏฺเน เป็นเครื่องชำระในเบื้องต้น คือ ด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องชำระศีลอันเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย. บทว่า อธิมตฺตฏฺเน ด้วยอรรถว่ามีประมาณยิ่ง ท่านกล่าวว่า อธิมตฺตํ เพราะ มีกำลังมีประมาณยิ่ง. บทว่า อธิฏฺานฺตเถน คือด้วยอรรถว่าตั้งมั่น. บทว่า ปริยาทานฏฺเน ด้วยอรรถว่าครอบงำ คือด้วยอรรถว่าสิ้นไป. บทว่า ปติฏฺาปกฏฺเน คือด้วยอรรถว่าให้ตั้งอยู่.


ความคิดเห็น 81    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 310

อรรถกถาอธิปไตยัตถนิเทศ

พึงทราบวินิจฉัยในอาธิปไตยัตถนิเทศดังต่อไปนี้. บทมีอาทิว่า อสฺ- สทฺธยํ ปชหโต แห่งบุคคลผู้สะความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นคำกล่าวถึงการละ ธรรมเป็นปฏิปักษ์แห่งอินทรีย์อยู่หนึ่งๆ ท่านกล่าวเพื่อความสำเร็จแห่งความ เป็นใหญ่ในการสำเร็จกิจของการละธรรมเป็นปฏิปักษ์ของตนๆ แม้ในขณะหนึ่ง.

ท่านกล่าวถึงอินทรีย์ ๔ ทีเหลือสัมปยุตด้วยลัทธินทรีย์นั้น. พึงทราบ แม้ท่านกล่าวทำอินทรีย์หนึ่งๆ ให้เป็นหน้าที่ในขณะต่างๆ กัน แล้วทำอินทรีย์ นั้นๆ ให้เป็นใหญ่กว่าอินทรีย์ที่เป็นปฏิปักษ์นั้นๆ แล้วนำอินทรีย์นั้นไป. ส่วน บทว่า กามจฺฉนฺทํ ปชหโต ของบุคคลผู้ละกามฉันทะเป็นอาทิท่านกล่าวด้วย สามารถแห่งขณะเดียวกันนั้นเอง.

จบอรรถกถาอธิปไตยัตถนิเทศ

อรรถกถาอาทิวิโสธนัตถนิเทศ

พึงทราบวินิจฉัยในอาทิวิโสธนัตถนิเทศดังต่อไปนี้. บทว่า อสฺสทฺธิยสํวรฏฺเน สีลวิสุทฺธิ เป็นศีลวิสุทธิ เพราะอรรถว่าระวังความเป็นผู้ไม่มี ศรัทธา คือ ชื่อว่า ศีลวิสุทธิเพราะอรรถว่าห้ามความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาโดย การชำระมลทินของศีลโดยอรรถว่าเว้น.

บทว่า สทฺธินฺทฺริยสฺส อาทิวิโสธนา เป็นเครื่องชำระในเบื้องต้น แห่งสัทธินทรีย์ คือชำระศีลอันเป็นเบื้องต้นด้วยสามารถเป็นอุปนิสัยแห่ง สัทธินทรีย์. โดยนัยนี้แล พึงทราบอินทรีย์แม้ที่เหลือและอินทรีย์อันเป็นเหตุ

แห่งการสำรวมกามฉันทะเป็นต้น.

จบอรรถกถาอาทิวิโสธนัตถนิเทศ


ความคิดเห็น 82    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 311

อรรถกถาอธิมัตตัตถนิเทศ

พึงทราบวินิจฉัยในอธิมัตตัตถนิเทศดังต่อไปนี้. บทว่า สทฺธินฺทฺริยสฺส ภาวนาย ฉนฺโท อุปฺปชฺชติ ฉันทะเกิดขึ้นเพื่อความเจริญแห่ง สัทธินทรีย์ คือ ฉันทะในธรรมอันฉลาดย่อมเกิดขึ้นในสัทธินทรีย์ เพราะฟัง ธรรมปฏิสังยุตด้วยศรัทธาของบุคคลผู้มีศรัทธา หรือเพราะเห็นคุณของการ เจริญสัทธินทรีย์. บทว่า ปามุชฺชํ อุปฺปชฺชติ ความปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น คือความปราโมทย์ย่อมเกิด เพราะฉันทะเกิด. บทว่า ปีติ อุปฺปชฺชติ ปีติ ย่อมเกิดขึ้น คือ ปีติมีกำลังย่อมเกิดเพราะความปราโมทย์. บทว่า ปสฺสทฺธิ อุปฺปชฺชติ ปัสสัทธิย่อมเกิด คือ กายปัสสัทธิและจิตปัสสัทธิย่อมเกิด เพราะ ความเอิบอิ่มแห่งปีติ. บทว่า สุขํ อุปฺปชฺชติ ความสุขย่อมเกิดขึ้น คือ เจตสิกสุขย่อมเกิดขึ้นเพราะกายและจิตสงบ. บทว่า โอภาโส อุปฺปชฺชต แสงสว่างย่อมเกิดขึ้น คือ แสงสว่าง คือสติย่อมเกิดขึ้น เพราะจมอยู่ ด้วยความสุข. บทว่า สํเวโค อุปฺปชฺชติ ความสังเวชย่อมเกิดขึ้น คือ ความสังเวชในเพราะความปรวนแปรของสังขารย่อมเกิดขึ้นเพราะรู้แจ้ง โทษของสังขารด้วยแสงสว่าง คือญาณ. บทว่า สํเวเชตฺวา จิตฺตํ สมาทิยติ จิตสังเวชแล้วย่อมตั้งมั่น คือ จิตยังความสังเวชให้เกิดแล้ว ย่อมตั้งมั่นด้วยความสังเวชนั่นนั้นเอง. บทว่า สาธุกํ ปคฺคณฺหาติ ย่อม ประคองไว้ดี คือ ปลดเปลื้องความหดหู่และความฟุ้งซ่านเสียได้แล้วย่อมประคอง ไว้ด้วยดี. บทว่า สาธุกํ อชฺฌุเปกฺขติ ย่อมวางเฉยด้วยดี คือ เพราะความ เพียรเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ ไม่ทำความขวนขวายในการประกอบความเพียร สม่ำเสมออีก ชื่อว่าย่อมวางเฉยด้วยดี ด้วยสามารถแห่งความวางเฉย ด้วยวาง


ความคิดเห็น 83    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 312

ตนเป็นกลางในความเพียรนั้น. บทว่า อุเปกฺขาวเสน ด้วยสามารถแห่ง อุเบกขา คือ ด้วยสามารถแห่งความวางเฉยด้วยวางตนเป็นกลางในความเพียร นั้น เพราะมีลักษณะนำไปเสมอ. บทว่า นานตฺตกิเลเสหิ จากกิเลสต่างๆ คือ จากกิเลสอันมีสภาพต่างกันอันเป็นปฏิปักษ์ แห่งวิปัสสนา. บทว่า วิโมกฺขวเสน ด้วยสามารถแห่งวิโมกข์ คือ ด้วยสามารถแห่งความหลุดพ้นจากกิเลส ต่างๆ ตั้งแต่ภังคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความดับแห่งสังขาร). บทว่า วิมุตฺตตฺตา เพราะความที่จิตเป็นธรรมชาติหลุดพ้น คือ หลุดพ้นจากกิเลส ต่างๆ. บทว่า เต ธมฺมา ได้แก่ ธรรมทั้งหลายมีฉันทะเป็นต้น บทว่า เอกรสา โหนฺติ มีรสเป็นอันเดียวกัน คือ มีรสเป็นอันเดียวกันด้วยสามารถ แห่งวิมุตติ. บทว่า ภาวนาวเสน ด้วยอำนาจแห่งภาวนา คือ ด้วยอำนาจ แห่งภาวนามีรสเป็นอันเดียวกัน. บทว่า ตโต ปณีตตเร วิวฏฺฏนฺติ ธรรม เหล่านั้นย่อมหลีกจากธรรมนั้นไปสู่ธรรมที่ประณีตกว่า คือ ธรรมทั้งหลายมี ฉันทะเป็นต้น ย่อมหลีกจากอารมณ์ คือ วิปัสสนาด้วยเหตุนั้นไปสู่อารมณ์ คือ นิพพานอันประณีตกว่าด้วยโคตรภูญาณ กล่าวคือ วิวัฏฏนานุปัสสนา (การ พิจารณาเห็นความหลีกไป) ความว่า ธรรมทั้งหลายหลีกออกจากอารมณ์ คือ สังขารแล้วเป็นไปในอารมณ์ คือ นิพพาน. บทว่า วิวฏฏนาวเสน ด้วย อำนาจแห่งความหลีกไป คือ ด้วยอำนาจแห่งความหลีกไปจากสังขารในขณะ โคตรภู โดยอารมณ์ คือ สังขาร. บทว่า วิวฏฺฏิตตฺตา ตโต โวสฺสชฺชติ จิตย่อมปล่อยจากธรรมนั้นเพราะเป็นจิตหลีกไปแล้ว คือ บุคคลผู้เพียบพร้อม ด้วยมรรค ย่อมปล่อยกิเลสและขันธ์ด้วยเหตุนั้นนั่นแล เพราะจิตหลีกไปแล้ว ด้วยอำนาจแห่งการปรากฏสองข้างในขณะมรรคเกิดนั่นเอง. บทว่า โวสฺสชฺ- ชิตตฺตา ตโต นิรุชฺฌนฺติ ธรรมทั้งหลายย่อมดับไปจากนั้นเพราะจิตเป็น


ความคิดเห็น 84    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 313

ธรรมชาติปล่อยแล้ว คือ กิเลสและขันธ์ย่อมดับไปด้วยอำนาจแห่งการดับความ ไม่เกิด ด้วยเหตุนั้น เพราะจิตเป็นธรรมชาติปล่อยกิเลสและขันธ์ ในขณะ มรรคเกิดนั้นเอง. อนึ่ง บทว่า โวสฺสชฺชิตตฺตา ท่านทำให้เป็นคำกล่าวตาม เหตุผลที่เป็นจริงในความปรารถนา. เมื่อมีการดับกิเลส ท่านก็กล่าวถึงการดับ ขันธ์เพราะความปรากฏแห่งความดับขันธ์. บทว่า นิโรธวเสน ด้วยอำนาจ ความดับ คือ ด้วยอำนาจความดับตามที่กล่าวแล้ว. พระสารีบุตรเถระประสงค์ จะแสดงถึงความปล่อย ๒ ประการ ในขณะที่มรรคนั้นเกิด จึงกล่าวบทมีอาทิว่า นิโรธวเสน เทฺว โวสฺสคฺคา ความปล่อยด้วยอำนาจแห่งความดับมี ๒ ประการ. ความปล่อยแม้ ๒ ประการ ก็มีอรรถดังกล่าวแล้วในหนหลัง.

แม้ในบทมีอาทิว่า อสฺสทฺธิยสฺส ปหานาย ฉนฺ โท อุปฺปชฺชติ ฉันทะย่อมเกิดเพื่อละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา พึงทราบความโดยพิสดารโดยนัย นี้แล. แม้ในวาระอันมีวิริยินทรีย์เป็นต้นเป็นมูลเหตุ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

จบอรรถกถาอธิมัตตัตถนิเทศ

อรรถกถาอธิษฐานนัตถนิเทศ

แม้อธิษฐานัตถนิเทศ พึงทราบโดยพิสดารโดยนัยนี้. มีความแตกต่าง กันอยู่อย่างเดียวในบทนี้ว่า อธิฏฺาติ ย่อมตั้งมั่น ความว่า ย่อมดำรงอยู่.

จบอรรถกถาอธิษฐานัตถนิเทศ


ความคิดเห็น 85    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 314

อรรถกถาปริยาทานัตถปติฏฐาปกัตถนิเทศ

พึงทราบวินิจฉัยในปริยาทานัตถนิเทศดังต่อไปนี้. บทว่า ปริยาทียติ ย่อมครอบงำ คือ ย่อมให้สิ้นไป.

พึงทราบวินิจฉัยในปติฏฐาปกัตถนิเทศ ดังต่อไปนี้. บทว่า สทฺโธ สทฺธินทฺริยํ อธิโมกฺเข ปติฏฺาเปติ ผู้มีศรัทธาย่อมให้สัทธินทรีย์ตั้งอยู่ ในความน้อมใจเชื่อ คือ ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธาน้อมใจเชื่อว่า สังขารทั้งหลาย ทั้งปวง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ย่อมให้สัทธินทรีย์ตั้งอยู่ในความ น้อมใจเชื่อ ด้วยบทนี้ท่านชี้แจงความพิเศษของการเจริญอินทรีย์ ด้วยความ พิเศษของบุคคล.

บทว่า สทฺธสฺส สทฺธินฺทฺริยํ อธิโมกเข ปติฏฺาเปติ สัทธินทรีย์ ของผู้มีศรัทธาย่อมให้ตั้งอยู่ในความน้อมใจเชื่อ คือ สัทธินทรีย์ของบุคคลผู้ ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ย่อมยังศรัทธานั้นให้ตั้งอยู่. อนึ่ง ย่อมยังบุคคลผู้น้อมใจ เชื่อให้ตั้งอยู่ในความน้อมใจเชื่อ. ด้วยบทนี้ ท่านชี้แจงความพิเศษของบุคคล ด้วยความพิเศษของการเจริญอินทรีย์. เมื่อประคองจิตอยู่อย่างนี้ ย่อมให้ วิริยินทรีย์ตั้งอยู่ในความประคอง เมื่อตั้งสติไว้ย่อมให้สตินทรีย์ตั้งอยู่ในความ ตั้งมั่น เมื่อตั้งจิตไว้มั่น ย่อมให้สมาธินทรีย์ตั้งอยู่ในความไม่ฟุ้งซ่าน เมื่อเห็น อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ย่อมให้ปัญญินทรีย์ตั้งอยู่ในทัสสนะ เพราะเหตุนั้น พึงทราบการประกอบแม้ในบทที่เหลือ.

บทว่า โยคาวจโร ชื่อว่า โยคาวจโร เพราะท่องเที่ยวไปใน สมถโยคะ (การประกอบสมถะ) หรือในวิปัสสนาโยคะ (การประกอบวิปัสสนา). บทว่า อวจรติ คือ ท่องเที่ยวไป.

จบอรรถกถาปริยาทานัตถปติฏฐาปกัตถนิเทศ

จบอรรถกาจตุตถสุตตันตนิเทศ


ความคิดเห็น 86    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 315

อรรถกถาอินทริยสโมธาน

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระประสงค์จะแสดงถึงการรวมอินทรีย์ของผู้เจริญ สมาธิและของผู้เจริญวิปัสสนา เมื่อชี้แจงประเภทแห่งความเป็นผู้ฉลาดในความ ตั้งไว้ เป็นอันดับแรกก่อน จึงกล่าวคำมี อาทิว่า สมาธึ ภาเวนฺโต เจริญสมาธิ ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปุถุชฺชโน สมาธึ ภาวนฺโต คือปุถุชน เจริญสมาธิอันเป็นฝ่ายแห่งการแทงตลอด. ส่วนแม้โลกุตรสมาธิก็ย่อมได้ แก่ พระเสกขะและแก่ผู้ปราศจากราคะ บทว่า อาวชฺชิตตฺตา ผู้มีตนพิจารณา แล้ว คือ มีตนพิจารณานิมิตมีกสิณเป็นต้นแล้ว. ท่านอธิบายว่า เพราะกระทำ บริกรรมมีกสิณเป็นต้นแล้วมีตนเป็นนิมิตให้เกิดในบริกรรมนั้น. บทว่า อารมฺมณูปฏฺานกุสโล เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์ คือ เป็นผู้ฉลาด ในความตั้งไว้ซึ่งนิมิตอันให้เกิดนั้นนั่นเอง. บทว่า สมถนิมิตฺตูปฏฺานกุสโล เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งสมถนิมิต คือ เมื่อจิตฟุ้งซ่านด้วยความเป็นผู้เริ่ม ทำความเพียรเกินไป เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์ คือ ความสงบจิต ด้วยอำนาจแห่งการเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์และอุเบกขาสัมโพชฌงค์.

บทว่า ปคฺคหนิมิตฺตูปฏฺานกุสโล เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่ง ปัคคหนิมิต คือ เมื่อจิตหดหู่ด้วยความเป็นผู้มีความเพียรย่อหย่อนเกินไป เป็น ผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งนิมิต คือการประคองจิตด้วยอำนาจแห่งการเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ วีริยสัมโพชฌงค์และปีติสัมโพชฌงค์. บทว่า อวิกฺเขปูปฏ- านกุสโล เป็นผู้ฉลาดในการตั้งไว้ซึ่งความไม่ฟุ้งซ่าน คือ เป็นผู้ฉลาดใน การตั้งไว้ซึ่งสมาธิอันสัมปยุตด้วยจิตไม่ฟุ้งซ่านและไม่หดหู่. บทว่า โอภาสุ- ปฏฺานกุสโล เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งโอภาส คือ เมื่อจิตไม่ยินดีเพราะ ความเป็นผู้ด้อยในการใช้ปัญญา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่ง ญาโณภาส


ความคิดเห็น 87    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 316

เพราะยังจิตให้สังเวชด้วยการพิจารณาสังเวควัตถุ ๘. สังเวควัตถุ ๘ คือ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ๔ อบายทุกข์เป็นที่ ๕ วัฏฏมูลกทุกข์ในอดีต ๑ วัฏฏ- มูลกทุกข์ในอนาคต ๑ อาหารปริเยฏฐิกทุกข์ (ทุกข์จากการแสวงหาอาหาร) ๑.

บทว่า สมฺปหํสนูปฏฺานกุสโล เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความ ร่าเริง คือ เมื่อจิตไม่ยินดี เพราะยังไม่บรรลุสุข คือ ความสงบ ทำจิตให้ เลื่อมใสด้วยการระลึกพุทธคุณธรรมคุณและสังฆคุณ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ ซึ่งความร่าเริง. บทว่า อุเปกฺขูปฏฺานกุสโล เป็นผู้ฉลาดในการตั้งไว้ซึ่ง อุเบกขา คือ เมื่อจิตปราศจากโทษมีความฟุ้งซ่านเป็นต้น เป็นผู้ฉลาดในความ ตั้งไว้ซึ่งอุเบกขาด้วยการกระทำความไม่ขวนขวาย ในการข่มและการยกย่อง เป็นต้น.

บทว่า เสกฺโข ชื่อว่า เสกฺโข เพราะศึกษาไตรสิกขา. บทว่า เอกตฺตูปฏฺานกุสโล เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความเป็นธรรมอย่างเดียว คือ เมื่อจิตออกจากกามเป็นต้น เพราะละสักกายทิฏฐิเป็นต้นได้แล้ว. บทว่า วีตราโค มีราคะไปปราศแล้ว คือ ปราศจากราคะสิ้นอาสวะแล้ว เพราะละ ราคะได้แล้วโดยประการทั้งปวง. บทว่า าณูปฏฺานกุสโล เป็นผู้ฉลาด ในการตั้งไว้ซึ่งญาณ คือ ความเป็นผู้ฉลาดในอสัมโมหญาณในที่นั้นๆ เพราะ ในธรรมของพระอรหันต์เป็นธรรมปราศจากความหลงใหล. บทว่า วิมุตฺตู- ปฏฺานกุสโล เป็นผู้ฉลาดในการตั้งไว้ซึ่งญาณ คือ เป็นผู้ฉลาดในความตั้ง ไว้ซึ่งอรหัตตผลวิมุตติ.จริงอยู่ บทว่า วิมุตฺติ. ท่าน ประสงค์เอาอรหัตตผลวิมุตต เพราะพ้นจากกิเลสทั้งปวง.

พึงทราบบทมีอาทิว่า อนิจฺจโต และบทมีอาทิว่า นิจฺจโต ใน ความตั้งไว้และความไม่ตั้งไว้ซึ่งวิปัสสนาภาวนาโดยนัยดังกล่าวแล้วในศีลกถา นั่นแล. แต่โดยปาฐะท่านตัดบทสมาสด้วยฉัฏฐีวิภัตติในบทเหล่านั้นคือ เป็นผู้


ความคิดเห็น 88    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 317

ฉลาดในความตั้งไว้โดยความประมวลมา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความ แปรปรวน เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพหานิมิตมิได้ เป็นผู้ ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพมีนิมิต เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดย เป็นสภาพไม่มีที่ตั้ง เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยเป็นสภาพมีที่ตั้ง เป็น ผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความยึดมั่น. อนึ่ง ในบทว่า สุญฺตูปฏฺานกุสโล เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นของสูญนี้ท่านตัดบทว่า สุญฺโต อุปฏฺานกุสโล เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นของสูญ หรือ สุญฺโต อุปฏฺานกุสโล เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้เพราะ ความเป็นของสูญ. อนึ่ง เพราะมหาวิปัสสนา ๘ เหล่านี้ คือ นิพพิทานุ- ปัสสนา ๑ วิราคานุปัสสนา ๑ นิโรธานุปัสสนา ๑ ปฏินิสสัคคานุปัสสนา ๑ อธิปัญญาธรรมวิปัสสนา ๑ ยถาภูตญาณทัสสนะ ๑ ปฏิสังขานุปัสสนา ๑ วิวัฏฏนานุปัสสนา ๑ เป็นมหาวิปัสสนาพิเศษโดยความพิเศษตามสภาวะของตน มิใช่พิเศษโดยความพิเศษแห่งอารมณ์ ฉะนั้นคำมีอาทิว่า เป็นผู้ฉลาดในความ ตั้งไว้โดยความเป็นของน่าเบื่อหน่าย จึงไม่ควรแก่มหาวิปัสสนา ๘ เหล่านั้น ดุจคำมีอาทิว่า เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นของไม่เที่ยง เพราะ ฉะนั้น ท่านจึงไม่ประกอบมหาวิปัสสนา ๘ เหล่านี้ไว้.

ส่วนอาทีนวานุปัสสนา เป็นอันท่านประกอบว่า เป็นผู้ฉลาดในความ ตั้งไว้โดยความเป็นโทษ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความยึดมั่นด้วยความ อาลัย โดยอรรถด้วยคำคู่นี้เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพสูญ เป็น ผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความยึดมั่น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงไม่ประกอบไว้ โดยสรุป.

ในมหาวิปัสสนา ๑๘ พึงทราบว่าท่านไม่ประกอบมหาวิปัสสนา ๙ เหล่านี้ คือ มหาวิปัสสนาข้างต้น ๘ และอาทีนวานุปัสสนา ๑ ไว้แล้วประกอบ มหาวิปัสสนาอีก ๙ นอกนี้ไว้.


ความคิดเห็น 89    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 318

บทว่า าณูปฏฺานกุสโล เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ คือ พระเสกขะเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณด้วยการเจริญวิปัสสนา เพราะไม่มี วิปัสสนูปกิเลส แต่ท่านมิได้กล่าวว่า เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณเพราะ ความปรากฏแห่งความใคร่ด้วยการเจริญสมาธิ. บทว่า วิสญฺโคูปฏฺานกุสโล เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยไม่เกี่ยวข้อง คือ เป็นผู้ฉลาดในความ ตั้งไว้ซึ่งความไม่เกี่ยวข้องดังที่ท่านกล่าวไว้ ๔ อย่าง คือ กามโยควิสัญโญคะ (ความไม่เกี่ยวข้องด้วยกามโยคะ.) ๑ ภวโยควิสัญโญคะ (ความไม่เกี่ยวข้อง ด้วยภวโยคะ) ๑ ทิฏฐิโยควิสัญโญคะ (ความไม่เกี่ยวข้องด้วยทิฏฐิโยคะ) ๑. อวิชชาโยควิสัญโญคะ (ความไม่เกี่ยวข้องด้วยอวิชชาโยคะ) ๑.

บทว่า สญฺโคานุปฏฺานกุสโล เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ โดยความเกี่ยวข้อง คือ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่งความเกี่ยวข้อง ที่ท่าน กล่าวไว้ ๔ อย่าง คือ กามโยคะ ๑ ภวโยคะ ๑ ทิฏฐิโยคะ ๑ อวิชชาโยคะ ๑. บทว่า นิโรธูปฏฺานกุสโล เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความดับ คือ ท่านผู้ชื่อว่าเป็นขีณาสพ เพราะมีจิตน้อมไปสู่นิพพาน ด้วยอำนาจแห่งกำลังของ ท่านผู้สิ้นอาสวะแล้ว ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก จิตของภิกษุผู้เป็นขีณาสพน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดังอยู่ในวิเวก ยินดียิ่งในเนกขัมมะ ทำให้สูญสิ้นไปจากธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่ง นิพพาน กล่าวคือความดับ.

บทว่า กุสลํ ในบทมีอาทิว่า อารมฺมณูปฏฺานกุสลวเสน ด้วย สามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์ ได้แก่ ญาณ. จริงอยู่ แม้ญาณก็ชื่อว่า กุสล เพราะประกอบด้วยบุคคลผู้ฉลาด เหมือนบทว่า ปณฺฑิตา ธมฺมา บัณฑิตธรรมทั้งหลาย เพราะประกอบด้วยบุคคลผู้เป็นบัณฑิต เพราะฉะนั้น จึงมีความว่า ด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้ฉลาด.


ความคิดเห็น 90    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 319

บัดนี้ แม้ท่านกล่าวไว้แล้วในญาณกถามีอาทิว่า จตุสฏฺิยา อากาเรหิ ด้วยอาการ ๖๔ ท่านก็ยังนำมากล่าวไว้ในที่นี้ ด้วยเชื่อมกับอินทริยกถา. พึง ทราบบทนั้นโดยนัย ที่ท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล.

พระสารีบุตรเถระประสงค์จะกล่าวแบบแผนของอินทรีย์ โดยเชื่อม ด้วยสมันตจักษุอีก จึงกล่าวบทมีอาทิว่า น ตสฺส อทฺทิฏฺมิธตฺถิ กิจิ บทธรรมไรๆ ที่พระตถาคตนั้นไม่ทรงเห็นไม่มีในโลกนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า สมนฺตจกฺขุ ได้แก่ พระสัพพัญญุตญาณ. ท่านแสดงความที่อินทรีย์ ทั้งหลาย ๕ ไม่พรากกันด้วยบทมีอาทิว่า ปญฺินทฺริยสฺส วเสน ด้วยสามารถ แห่งปัญญินทรีย์. ท่านแสดงความที่อินทรีย์ ๕ มีรสอย่างเดียวกัน และเป็น ปัจจัยของกันและกัน ในเวลาประกอบการน้อมไป หรือในขณะแห่งมรรค ด้วยจตุกกะ ๕ มีอินทรีย์หนึ่งๆ เป็นมูล มีอาทิว่า สทฺทหนฺโต ปคฺคณฺหาติ เมื่อเชื่อมย่อมประคับประคอง.

ท่านแสดงความที่อินทรีย์ ๕ มีรสอย่างเดียวกัน และเป็นปัจจัยของกัน และกัน ในเวลาประกอบการน้อมไป หรือในขณะแห่งมรรค ด้วยจตุกกะ ๕ อันมีอินทรีย์หนึ่งๆ เป็นมูล มีอาทิว่า สทฺทหิตตฺตา ปคฺคหิตํ เพราะความ เป็นผู้เชื่อจึงประคองไว้. พระสารีบุตรเถระประสงค์จะกล่าวแบบแผนของ อินทรีย์ โดยเชื่อมด้วยพุทธจักษุ จึงกล่าวบทมีอาทิว่า ยํ พุทฺธจกฺขํ พระพุทธญาณเป็นพุทธจักษุ. ในบทเหล่านั้น บทว่า พุทฺธจกฺขุํ ได้แก่ อินทริยปโรปริยัตญาณ (ปรีชากำหนดรู้ความหย่อนและยิ่ง แห่งอินทรีย์ของสัตว์ ทั้งหลาย) และอาสยานุสยญาณ (ปรีชากำหนดรู้อัธยาศัยและอนุสัยของสัตว์ ทั้งหลาย). อนึ่ง บทว่า พุทฺธาณํ นี้ ก็ได้แก่ญาณทั้งสองนั้นเหมือนกัน. บทที่เหลือมีความดังได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาอินทริยสโมธาน

จบอรรถกถาอินทริยกถา