ชตุกัณณีปัญหาที่ ๑๑ ว่าด้วยธรรมเครื่องละชาติชรา
โดย บ้านธัมมะ  14 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40236

[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 938

สุตตนิบาต

ปารายนวรรคที่ ๕

ชตุกัณณีปัญหาที่ ๑๑

ว่าด้วยธรรมเครื่องละชาติชรา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 47]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 938

ชตุกัณณีปัญหาที่ ๑๑

ว่าด้วยธรรมเครื่องละชาติชรา

[๔๓๕] ชตุกัณณีมาณพทูลถามปัญหาว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียร ข้าพระองค์ได้ฟังว่าพระองค์เป็นผู้ไม่ใคร่กาม จึงมาเฝ้าเพื่อทูลถามพระองค์ผู้ล่วงห้วงน้ำคือ กิเลสเสียได้ ไม่มีกาม ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระเนตรคือพระสัพพัญญุตญาณเกิดพร้อมแล้ว ขอพระองค์ตรัสบอกทางสันติ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์จงตรัสบอกทางสันตินั้นแก่ข้าพระองค์ตามจริงเถิด.

เพราะว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีเดช ครอบงำกามทั้งหลายเสียแล้วด้วยเดช เหมือนพระอาทิตย์มีเดช คือ รัศมี ครอบงำปฐพีด้วยเดชไปอยู่ในอากาศ ฉะนั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีปัญญาดังแผ่นดิน ขอพระองค์จงตรัสบอกธรรมเครื่องละชาติและชรา ณ ที่นี้ ที่ข้าพระองค์ควรจะรู้แจ้งแก่ข้าพระองค์ผู้มีปัญญาน้อยเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 939

ดูก่อนชตุกัณณี ท่านได้เห็นซึ่งเนกขัมมะโดยความเป็นธรรมอันเกษมแล้ว จงนำความกำหนัดในกามทั้งหลายออกไปเสียให้สิ้นเถิด อนึ่ง กิเลสชาติเครื่องกังวลที่ ท่านยึดไว้แล้ว (ด้วยอำนาจตัณหาและทิฏฐิ) ซึ่งควรจะปลดเปลื้องเสีย อย่ามีแล้วแก่ท่าน.

กิเลสเครื่องกังวลใดได้มีแล้วในกาลก่อน ท่านจงทำกิเลสเครื่องกังวลนั้นให้เหือดแห้งเสียเถิด กิเลสเครื่องกังวลในภายหลัง อย่าได้มีแก่ท่าน ถ้าท่านจักไม่ถือเอา กิเลสเครื่องกังวลในท่ามกลางไซร้ ท่านจักเป็นผู้สงบเที่ยวไป.

ดูก่อนพราหมณ์ เมื่อท่านปราศจากความกำหนัดในนามและรูปแล้วโดยประการทั้งปวง อาสวะทั้งหลาย อันเป็นเหตุให้ไปสู่อำนาจแห่งมัจจุราช ก็ย่อมไม่มีแก่ท่าน.

จบชตุกัณณีมาณวกปัญหาที่ ๑๑


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 940

อรรถกถาชตุกัณณิสูตร (๑) ที่ ๑๑

ชตุกัณณิสูตร มีคำเริ่มต้นว่า สุตฺวานหํ ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สุตฺวานหํ วีรํ อกามกามึ ข้าพระองค์ได้ฟังว่าพระองค์ไม่ใคร่กาม คือ ข้าพระองค์ได้ฟังว่าพระพุทธเจ้าชื่อว่าผู้เป็นวีระ ผู้ไม่ใคร่กาม เพราะไม่ใคร่กามทั้งหลายโดยนัยมีอาทิว่า อิติปิ โส ภควา ดังนี้. บทว่า อกามมาคมํ ผู้ไม่มีกาม คือ ข้าพระองค์มาเพื่อทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ไม่มีกาม. บทว่า สหาชเนตฺต ได้แก่ ผู้มีพระเนตรคือ พระสัพพัญญุตญาณเกิดขึ้นพร้อมแล้ว. บทว่า ยถาตจฺฉํ คือตามความเป็นจริง. บทว่า พฺรูหิ เม ขอพระองค์จงบอกแก่ข้าพระองค์เถิด ชตุกัณณิมาณพ กล่าวทูลวิงวอนอีก. เพราะว่าเมื่อทูลวิงวอน ก็พึงกล่าวได้ตั้งพันครั้ง. ก็เรื่องอะไรจะกล่าวเพียงสองครั้งเล่า. บทว่า เตชี เตชสา คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระเดช ทรงครอบงำด้วยพระเดช. บทว่า ยมหํ วิชญฺํ ชาติชราย อิธ วิปฺปหานํ คือ ข้าพระองค์พึงรู้ธรรมอันเป็นเหตุละชาติชรา ณ ที่นี้.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสบอกธรรมนั้นแก่ชตุกัณณิมาณพนั้น จึงได้ตรัสคาถาสามคาถา.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เนกฺขมฺมํ ทฏฺฐุ เขมโต เห็นเนกขัมมะโดยความเป็นธรรมอันเกษม คือเห็นนิพพานและการปฏิบัติเพื่อถึงนิพพานว่าเป็นธรรมอันเกษม. บทว่า อุคฺคหึตํ ได้แก่ ยึดถือด้วยตัณหาและทิฏฐิ. บทว่า นิรตฺตํ วา ได้แก่ ควรปลดเปลื้องเสีย. บทว่า มา เต วิชฺชิตฺถ คืออย่าได้


๑. บาลีเป็น ชตุกัณณีปัญหา.


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 941

มีแก่ท่าน. บทว่า กิญฺจนํ เครื่องกังวล ได้แก่ แม้เครื่องกังวลมีราคะเป็นต้น อย่าได้มีแก่ท่าน. บทว่า ปุพฺเพ ในกาลก่อน คือกิเลสที่เกิดขึ้นปรารภสังขารในอดีต. บทว่า พฺราหฺมณ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกชตุกัณณิมาณพ. บทที่เหลือในทุกบทชัดเจนดีแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรนี้ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัตนั่นแหละ ด้วยประการฉะนี้.

เมื่อจบเทศนา ได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นในสูตรก่อนนั่นแล.

จบอรรถกถาชตุกัณณิสูตรที่ ๑๑ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา