* ความเห็นผิด คือทิฏฐิเจตสิก เป็นสภาพที่เมื่อเกิดกับจิตขณะใด ก็จะปรุงแต่งให้จิตและเจตสิกต่างๆ ที่เกิดร่วมกันในขณะนั้นเป็นไปด้วยความเห็นผิดไปจากความเป็นจริง
* ความเห็นผิดสามัญ คือเห็นผิดว่าเป็นเรา เป็นตัวตน ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ทำให้เกิดความเห็นผิด และอกุศลต่างๆ ที่มีกำลังมากขึ้น
* ความไม่รู้ (อวิชชา) คือโมหเจตสิก เป็นสภาพที่ไม่เข้าใจธรรมตามความเป็นจริง เมื่อเกิดกับจิตขณะใด ก็ปรุงแต่งให้จิตและเจตสิกที่เกิดร่วมกันในขณะนั้น มัวหมองเป็นอกุศล
* ขณะที่ความเห็นผิดเกิดขึ้น ต้องมีความติดข้อง และความไม่รู้ เป็นเหตุที่เกิดพร้อมกันในขณะนั้น
* เมื่อมีความเห็นผิดและความไม่รู้ จึงทำให้มีความประพฤติเป็นไปที่ผิดปกติต่างๆ เช่น ถ้ามีความเห็นผิดว่า การจะหมดกิเลสได้นั้น ต้องทำตนให้ลำบาก โดยประพฤติอย่างโคบ้าง ประพฤติอย่างสุนัขบ้าง นอนบนตะปูบ้าง หรือไปกำหนดจดจ้องสิ่งหนึ่งสิ่งใด ปิดวาจา ฯลฯ ซึ่งผิดไปจากชีวิตปกติทั้งสิ้น
* พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงหนทางของการอบรมเจริญปัญญา ซึ่งเป็นทางสายกลาง เพราะเป็นความเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ตามปกติ ตามความเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ใด หรือกำลังทำกิจการงานใดก็ตาม
* ดังนั้นผู้มีปัญญา จึงมีชีวิตเป็นปกติ ที่อบรมปัญญารู้สภาพธรรมที่ปรากฏ ขัดเกลา ละคลาย ดับความเห็นผิด และความไม่รู้ ได้ตามลำดับของปัญญา
โดย อ.อรรณพ หอมจันทร์
อ่านหัวข้ออื่นๆ คลิกที่นี่ ... คติธรรม
ขออนุโมทนาครับ