สัญญา เป็นเหตุใกล้ของสติ
โดย เมตตา  29 ต.ค. 2551
หัวข้อหมายเลข 10231

ถัาเอาคำมาจำ จะไม่เท่ากับเข้าใจ ถ้าไม่มีความเข้าใจเรื่องสภาพธรรมว่า ขณะนี้เป็นธรรม ไม่มีความเข้าใจและความจำเรื่องนี้อย่างมั่นคง เพียงว่าธรรมทุกอย่างเป็นธรรม เพียงเท่านี้ไม่เป็นปัจจัยให้สติเกิด แต่เวลาที่สติเกิด หมายความว่า ขณะนั้นไม่ได้มีแต่เพียงความเข้าใจ แต่ยังมีความจำที่ฟังแล้วฟังอีกจนเป็นสัญญาที่มั่นคง (หมายความว่าไม่ลืม) จึงมีการระลึกรู้ลักษณะสภาพที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น จะรู้ได้ว่าถ้าไม่เคยฟัง หรือถ้าฟังนิดๆ หน่อยๆ ก็ไม่พอ ขณะใดที่หลงลืมสติ ก็รู้ว่าสัญญาไม่พอที่สติจะเกิด แต่ว่าเมื่อใดที่สติเกิดขณะนั้นหมายความว่า เพราะมีความจำได้มั่นคงว่า ขณะนี้เป็นธรรม สติจึงเกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ



ความคิดเห็น 1    โดย Pararawee  วันที่ 29 ต.ค. 2551

แค่จำคำได้ก็เปรียบได้กับใบลานเปล่าหรือโมฆะบุรุษ เพราะพระสัทธรรมลึกซึ้งมากต้องอาศัยปัญญาในการเข้าใจ แต่เวลาที่สติเกิดไม่จำเป็นจะต้องไปคิดเลยว่า เอ๊ะนี่ฉันจำได้รึเปล่า แต่ว่าสัญญาเจตสิกก็เกิดกับจิตทุกขณะอยู่แล้ว ที่บอกว่าจำนู่นจำนี่ไม่ได้ แต่เป็นแค่เรื่องราวที่คิดว่าจำไม่ได้ จริงๆ สัญญาทำหน้าที่ตลอดเวลา ความเข้าใจจะมั่นคงขึ้นได้ถ้าไม่ขาดการฟังพระธรรมค่ะ

อนุโมทนา


ความคิดเห็น 2    โดย pornpaon  วันที่ 29 ต.ค. 2551

จึงต้องฟังแล้วฟังอีก ฟังบ่อยๆ เนืองๆ จนกว่าสัญญาจะจำได้มั่นคง ว่าทุกอย่างเป็นธรรมะ ไม่ใช่เรา

กราบขอบพระคุณในความเมตตาของท่านอาจารย์เป็นอย่างสูงค่ะ

ขออนุโมทนาพี่เมตตา

ขออนุโมทนาในกุศลจิตและกุศลวิริยะของทุกท่านค่ะ


ความคิดเห็น 3    โดย ปริศนา  วันที่ 29 ต.ค. 2551

เมื่อสดับฟังด้วยดี ด้วยความเคารพในพระธรรมที่ได้ฟังย่อมเป็น "เหตุ" ต่อสัญญาที่มั่นคงซึ่งต้องอาศัยการอบรม เช่นกัน


ความคิดเห็น 4    โดย JANYAPINPARD  วันที่ 30 ต.ค. 2551

สัญญาจำอะไรจึงเกิดสติระลึกสภาพธรรมตามความเป็นจริง จำด้วยความเข้าใจลักษณะสภาพที่กำลังปรากฏจนเป็นสัญญาที่มั่นคง

อนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 5    โดย suwit02  วันที่ 30 ต.ค. 2551

สาธุ


ความคิดเห็น 6    โดย ajarnkruo  วันที่ 30 ต.ค. 2551

ปกติจำด้วยอัตตสัญญา มีความเป็นเราอย่างเหนียวแน่น โลกของปรมัตถ์จึงไม่ปรากฏตามความเป็นจริง ที่สัญญาจะเป็นเหตุใกล้ให้เกิดสติได้ต้องมาจากการเพิ่มพูนอย่างมั่นคงขึ้นของอนัตตสัญญาที่มาจากการค่อยๆ อบรมเจริญความเข้าใจในความเป็นธรรมะตั้งแต่ขั้นการฟังเพื่อเข้าใจขั้นคิดพิจารณาไปจนถึงขณะที่อนัตตสัญญาตัวจริงเกิดพร้อมกับสติปัฏฐาน

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 7    โดย akrapat  วันที่ 30 ต.ค. 2551

สัญญาที่เป็นเหตุใกล้ให้เกิดสติ คือถิรสัญญา จิตจำสภาวธรรมได้ ไม่ได้จำชื่อ รู้ความหมายแล้วเข้าใจด้วยการคิด สภาวธรรมใดที่เกิดขึ้นบ่อยจิตจะจำไว้ได้ เช่น โกรธ มีลักษณะหรือสภาวะอย่างหนึ่ง โลภะมีสภาวะอีกอย่างหนึ่ง คือติดข้อง เมื่อโลภะหรือโทสะเกิดขึ้น ถ้าจิตจำสภาวะได้ก็จะเป็นเหตุให้สติระลึก ถ้าเป็นสติปัฏฐานแล้ว จิตที่มีโทสะหรือโลภะก็จะดับลงทันที เพราะจิตเกิดดับทีละขณะ และจิตที่เป็นกุศลจะไม่เกิดร่วมกับจิตที่เป็นอกุศล บางคนอาจจะถามว่าบางทีขณะที่โกรธก็รู้ตัวว่าโกรธ แต่ความโกรธไม่หาย นั่นแสดงว่ายังไม่ใช่สติปัฏฐานหรือยังไม่มีสัมปชัญญะความตั้งมั่นชั่วขณะ หรือถ้ากำลังคิดอะไรเพลินๆ สติระลึกขึ้นมา โดยไม่ได้ตั้งใจ ความคิดก็จะดับลงอีก เมื่อจิตจำสภาวธรรมได้บ่อยๆ เช่น ดีใจ เสียใจ ตื่นเต้น สติก็จะเกิดบ่อยๆ ทุกครั้งที่สติเกิด จะรู้สึกว่า จิตที่โทสะหรือโลภะก่อนหน้านั้นไม่ใช่เรา รู้สึกจริงนะครับ ไม่ใช่คิดเอา จนกระทั่งสติเกิดบ่อยๆ ปัญญาเจริญขึ้นเป็นลำดับ จนท้ายสุดก็จะเห็นว่าแม้กระทั่ง จิตที่มีสติก็ไม่ใช่เรา เมื่อสติปัฏฐานเกิดแล้วก็ใช่ว่าจะมั่นคงนะครับ ถ้ายังละความเห็นผิดว่า ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา ไม่ได้

กระผมขออธิบายเท่าที่สติปัญญาอันเล็กน้อยของผมจะระลึกได้ ถูกผิดประการใดขออโหสิกรรมด้วยนะครับ


ความคิดเห็น 8    โดย wannee.s  วันที่ 30 ต.ค. 2551

กว่าจะเป็นสัญญาที่มั่นคง ก็ต้องมาจากการฟังธรรมจนเป็นความเข้าใจที่มั่นคงค่ะ


ความคิดเห็น 9    โดย opanayigo  วันที่ 2 พ.ย. 2551

"จนกว่าจะเป็นความเข้าใจที่มั่นคง"

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 10    โดย paderm  วันที่ 2 พ.ย. 2551

เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ครับ ...

สติปัฏฐาน และ สัญญาที่มั่นคง


ความคิดเห็น 11    โดย choonj  วันที่ 4 พ.ย. 2551

ผมก็ศึกษาธรรมมานานพอสมควร แต่ก็รู้สึกว่าเพิ่งเริ่มต้นทุกที เพราะสัญญาที่เกิดบ่อยๆ นั้นไม่มั่นคง ยังเป็นสัตว์ ตัวตน บุคคลทุกที เมื่อไรหนอจะไม่มีเรา ไม่ใช่เรา เมื่อไรก็เมื่อนั้น จะขอฟังบ่อยๆ เนืองๆ ต่อไปจนกว่าจะเข้าใจ ครับ


ความคิดเห็น 12    โดย Sam  วันที่ 4 พ.ย. 2551

อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ 8

กว่าจะเป็นสัญญาที่มั่นคง ก็ต้องมาจากการฟังธรรมจนเป็นความเข้าใจที่มั่นคงค่ะ

ขออนุโมทนาครับ

ความเข้าใจ คือปัญญาเจตสิกเป็นสังขารขันธ์ปรุงแต่งให้สัญญาขันธ์ (สภาพที่จำ) ค่อยๆ มั่นคงในพระธรรมมากขึ้นจนสติปัฏฐานเกิดขึ้นระลึกรู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ


ความคิดเห็น 13    โดย orawan.c  วันที่ 7 พ.ย. 2551

ฟังให้เข้าใจบ่อยๆ เนืองๆ จนกว่าสัญญาจะมั่นคงในลักษณะของสภาพธรรมะ เพื่อเป็น เหตุปัจจัยให้สติระลึก

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 14    โดย เมตตา  วันที่ 7 พ.ย. 2551

จากความคิดเห็นที่ 12

ความเข้าใจคือปัญญาเจตสิกเป็นสังขารขันธ์ปรุงแต่งให้สัญญาขันธ์ (สภาพที่จำ) ค่อยๆ มั่นคงในพระธรรมมากขึ้น จนสติปัฏฐานเกิดขึ้นระลึกรู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ

ขออนุโมทนาค่ะ

และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ


ความคิดเห็น 15    โดย orawan.c  วันที่ 7 ก.พ. 2552

อ้างอิงความเห็นที่ 7

จิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์เท่านั้น จิตไม่จำ ไม่โกรธ ไม่ติดข้อง ไม่ระลึก ฯลฯ ซึ่งหน้าที่เหล่านี้เป็นหน้าที่ของเจตสิกที่เกิดพร้อมจิต รู้อารมณ์เดียวกับจิต อาศัยวัตถุที่เกิดเดียวกัน และดับพร้อมกัน เช่น สัญญาเจตสิก รู้อารมณ์โดยจำ หมายอารมณ์ที่จิตรู้ เป็นต้น


ความคิดเห็น 16    โดย Komsan  วันที่ 9 ก.พ. 2552
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ

ความคิดเห็น 17    โดย aiatien  วันที่ 8 มี.ค. 2552
ขออนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 18    โดย ING  วันที่ 15 มี.ค. 2552
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

ความคิดเห็น 19    โดย peem  วันที่ 22 ม.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ