พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 206
ข้อความบางตอนจาก..
กุรุธรรมชาดก
ก็แหละ ทูตทั้งหลายผู้อันท่านปุโรหิตกล่าวว่า แม้เมื่อเป็น
อย่างนั้น. กุรุธรรมก็ไม่ยังเราให้ยินดีพอใจได้ ก็อำมาตย์ผู้ถือเชือก
รังวัดรักษาได้ดี พวกท่านจงรับเอาในสำนักของอำมาตย์นั้น จึงพากัน
เข้าไปหาอำมาตย์แม้นั้น แล้วขอกุรุธรรม. ฝ่ายอำมาตย์ผู้รังวัดนั้น
วันหนึ่ง เมื่อจะวัดเนื้อที่นาในชนบท จึงเอาเชือกผูกที่ไม้ ให้เจ้า
ของนาจับปลายข้างหนึ่ง ตนเองจับปลายข้างหนึ่ง. ไม้ที่ผูกปลายเชือก
ซึ่งอำมาตย์ถือไปจรดตรงกลางรูปูตัวหนึ่ง อำมาตย์นั้นคิดว่า ถ้าเราจัก
ปักไม้ลงในรูปู ปูภายในรูจักฉิบหาย ก็ถ้าเราจักปักล้ำไปข้างหน้า
เนื้อที่ของหลวงก็จักขาด ถ้าเราจักปักร่นเข้ามา เนื้อที่ของกฎุมพีก็จัก
ขาด เราจะทำอย่างไรดีหนอ. ลำดับนั้น อำมาตย์ผู้นั้นได้มีความคิด
ดังนี้ว่า ปูควรจะมีในรู ถ้ามีจะต้องปรากฏ เราจะปักไม้นั้นตรงนี้
แหละ แล้วก็ปักท่อนไม้นั้นลงในรูปู ฝ่ายปูก็ส่งเสียงดังกริ๊กๆ .
ลำดับนั้น อำมาตย์นั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ท่อนไม้จักปักลงบนหลังปู
ปูก็จักตายและเราก็รักษากุรุธรรม เพราะเหตุนั้น ศีลของเราคงจะ
แตกทำลาย. อำมาตย์นั้นจึงบอกเรื่องราวนั้นแก่ทูตทั้งหลายแล้วกล่าว
ว่า เพราะเหตุการณ์ดังกล่าวมานี้ เราจึงมีความรังเกียจในกุรุธรรม
ด้วยเหตุนั้น เราจึงไม่อาจให้แก่พวกท่าน. ลำดับนั้น ทูตทั้งหลาย
จึงกล่าวกะอำมาตย์นั้นว่า ท่านไม่มีจิตคิดว่า ปูจงตาย กรรมที่ไม่มี
เจตนาความจงใจไม่ชื่อว่าเป็นกรรม ท่านกระทำความรังเกียจ แม้
ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ จักกระทำความล่วงละเมิดอะไรได้ แล้วรับ
เอาศีลในสำนักของอำมาตย์ แม้นั้นแล้วจดจารึกลงโนแผ่นสุพรรณบัฏ.
ขออนุโมทนาค่ะ