[เล่มที่ 4] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒
พระวินัยปิฎก เล่ม ๒
มหาวิภังค์ ทุติยภาค
ปาจิตติยภัณฑ์
ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๑
มุสาวาทวรรค
มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๗
เรื่องพระอุทายี 298/186
พระบัญญัติ 187
เรื่องอุบาสิกา 299/188
พระอนุบัญญัติ 188
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 300/189
พระอนุบัญญัติ 190
สิกขาบทวิภังค์ 301/190
บทภาชนีย์ 302/191
อนาปัตติวาร 303/192
มุสาวาทวรรค ธรรมเทศนาสิกขาบทที่ ๗ 192
แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องพระอุทายี 192
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 4]
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 186
มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๗
เรื่องพระอุทายี
[๒๙๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่าน พระอุทายีเป็นพระกุลุปกะในพระนครสาวัตถี เข้าไปสู่สกุลเป็นอันมาก ครั้งหนึ่ง เวลาเช้า ท่านพระอุทายีครองอันตรวาสก แล้วถือบาตรจีวรเข้าไปสู่สกุลแห่ง หนึ่ง เวลานั้นหญิงแม่เรือนนั่งอยู่ที่ประตูเรือน หญิงสะใภ้ในเรือนนั่งอยู่ที่ประตู ห้องนอน จึงท่านพระอุทายีเดินผ่านไปทางหญิงแม่เรือน แล้วแสดงธรรม ณ ที่ใกล้หูหญิงแม่เรือน ขณะนั้น หญิงสะใภ้ในเรือนมีความสงสัยว่า พระสมณะ นั้น เป็นชายชู้ของแม่ผัว หรือพูดเกี้ยว ครั้นท่านพระอุทายีแสดงธรรม ณ ที่ ใกล้หูหญิงแม่เรือนแล้ว เดินผ่านไปทางหญิงสะใภ้ในเรือนแล้ว แสดงธรรมใน ที่ใกล้หูหญิงสะใภ้ในเรือน. ฝ่ายหญิงแม่เรือนมีความสงสัยว่า พระสมณะนั้น เป็นชายชู้ของหญิงสะใภ้ในเรือน หรือพูดเกี้ยว เมื่อท่านพระอุทายีแสดงธรรม ในที่ใกล้หูหญิงสะใภ้ในเรือนกลับไปแล้ว จึงหญิงแม่เรือนได้ถามหญิงสะใภ้ใน เรือนว่า นี่นางหนู พระสมณะนั้นได้พูดอะไรแก่เจ้า.
หญิงสะใภ้ตอบว่า ท่านแสดงธรรมแก่ดิฉัน เจ้าค่ะ แล้วถามว่า ก็ท่านได้พูดอะไรแก่คุณแม่ เจ้าค่ะ.
แม่ผัวตอบว่า แม้แก่เรา ท่านก็แสดงธรรม.
สตรีทั้งสองนั้นต่างเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระคุณเจ้าอุทายี จึงได้แสดงธรรมในที่ใกล้หูมาตุคามเล่า ธรรมดาพระธรรมกถึก ควรแสดง ธรรมด้วยเสียงชัดเจนเปิดเผย มิใช่หรือ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 187
ภิกษุทั้งหลายได้ยินสตรีทั้งสองนั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดา ที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุทายีจึงได้แสดงธรรมแก่ มาตุคามเล่า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระอุทายีว่า ดูก่อนอุทายี ข่าวว่า เธอแสดงธรรมแก่มาตุคาม จริงหรือ.
ท่านพระอุทายีรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึง ได้แสดงธรรมแก่มาตุคามเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่ เลื่อมใสแล้ว ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้
พระบัญญัติ
๕๖.๗. ก. อนึ่ง ภิกษุใดแสดงธรรมแก่มาตุคาม เป็น ปาจิตตีย์.
ก็สิกขาบทนี้ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้ว แก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องพระอุทายี จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 188
เรื่องอุบาสิกา
[๒๙๙] ก็โดยสมัยนั้นแล พวกอุบาสิกาพบภิกษุทั้งหลาย แล้วได้ กล่าวนิมนต์ว่า ข้าแด่พระคุณเจ้าทั้งหลาย ขออาราธนาพระคุณเจ้าแสดงธรรม.
ภิกษุเหล่านั้นตอบปฏิเสธว่า ดูก่อนน้องหญิง การแสดงธรรมแก่ มาตุคามไม่ควร.
พวกอุบาสิกาอ้อนวอนว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าทั้งหลาย ขออาราธนา. แสดงธรรมเพียง ๕ - ๖ คำ พวกข้าพเจ้าก็สามารถจะรู้ทั่วถึงธรรม แม้ด้วย ถ้อยคำเพียงเท่านี้.
ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า ดูก่อนน้องหญิง การแสดงธรรมแก่มาตุคาม ไม่ควร ดังนี้แล้ว รังเกียจ ไม่แสดงธรรม.
พวกอุบาสิกาต่างพากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระคุณเจ้า ทั้งหลาย อันเราอาราธนาอยู่ จึงไม่แสดงธรรมเล่า.
ภิกษุทั้งหลายได้ยินอุบาสิกาพวกนั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ จึง กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุ เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แสดงธรรมแก่มาตุคามได้เพียง ๕ - ๖ คำ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้
พระอนุบัญญัติ
๕๖. ๗. ข. อนึ่ง ภิกษุใดแสดงธรรมแก่มาตุคาม ยิ่งกว่า ๕ - ๖ คำ เป็นปาจิตตีย์.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 189
ก็สิกขาบทนี้ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติ แก่ภิกษุ- ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้
เรื่องอุบาสิกา จบ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๓๐๐] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอนุญาตให้แสดงธรรมแก่มาตุคามได้เพียง ๕ - ๖ คำ จึงให้บุรุษผู้ไม่รู้เดียงสา นั่งใกล้ๆ แล้วแสดงธรรมแก่มาตุคามเกิน ๕ - ๖ คำ บรรดาภิกษุที่มักน้อย สันโดษมีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้ให้บุรุษผู้ไม่รู้เดียงสานั่งใกล้ๆ แล้ว แสดงธรรมแก่มาตุคามเกิน ๕ - ๖ คำเล่า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มี พระภาคเจ้า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอให้บุรุษผู้ไม่รู้เดียงสานั่งใกล้ๆ แล้ว แสดงธรรมแก่มาตุคามเกิน ๕ - ๖ คำ จริงหรือ.
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้ให้บุรุษผู้ไม่รู้เดียงสานั่งใกล้ๆ แล้วแสดงธรรมแก่มาตุคามเกิน ๕ - ๖ คำเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 190
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้.
พระอนุบัญญัติ
๕๖. ๗. ค. อนึ่ง ภิกษุใดแสดงธรรมแก่มาตุคามยิ่งกว่า ๕ - ๖ คำ เว้นไว้แต่มีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่ เป็นปาจิตตย์.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๐๑] บทว่า อนึ่ง..ใด ความว่า ผู้ใด คือผู้เช่นใด.
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้
ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่หญิงมนุษย์ ไม่ใช่หญิงยักษ์ ไม่ใช่หญิงเปรต ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย เป็นผู้รู้เดียงสา สามารถทราบถ้อยคำที่เป็นสุภาษิต ทุพภาษิต ชั่วหยาบและสุภาพ.
บทว่า ยิ่งกว่า ๕ - ๖ คำ คือ เกินกว่า ๕ - ๖ คำ
ที่ชื่อว่า ธรรม ได้แก่ถ้อยคำที่เป็นพุทธภาษิต สาวกภาษิต อิสิภาษิต เทวตาภาษิต ซึ่งประกอบด้วยอรรถ ประกอบด้วยธรรม.
บทว่า แสดง คือ แสดงโดยบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ บท แสดงโดยอักขระ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ อักขระ
คำว่า เว้นไว้แต่มีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่ คือ ยกไว้แต่บุรุษผู้รู้ความ อยู่ด้วย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 191
บุรุษที่ชื่อว่า ผู้รู้เดียงสา คือเป็นผู้สามารถทราบถ้อยคำที่เป็นสุภาษิต ทุพภาษิต ชั่วหยาบและสุภาพ.
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๓๐๒] มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่ามาตุคาม แสดงธรรมยิ่งกว่า ๕ - ๖ คำ เว้นไว้แต่มีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
มาตุคาม ภิกษุสงสัย แสดงธรรมยิ่งกว่า ๕ - ๖ คำ เว้นไว้แต่มีบุรุษ ผู้รู้เดียงสาอยู่ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่า มิใช่มาตุคาม แสดงธรรมยิ่งกว่า ๕ - ๖ คำ เว้น ไว้แต่มีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ติกทุกกฏ
ภิกษุแสดงธรรมแก่หญิงยักษ์ หญิงเปรต บัณเฑาะก์หรือสัตว์ดิรัจฉาน ตัวเมีย มีกายคล้ายมนุษย์ ยิ่งกว่า ๕ - ๖ คำ เว้น ไว้แต่มีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ.
มิใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่า มาตุคาม ... ต้องอาบัติทุกกฏ. มิใช่มาตุคาม ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
มิใช่มาตุคาม ภิกษุ สำคัญว่ามิใช่มาตุคาม ... ไม่ต้องอาบัติ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 192
อนาปัตติวาร
[๓๐๓] มีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่ด้วย ๑ ภิกษุแสดงธรรมเพียง ๕ - ๖ คำ ๑ ภิกษุแสดงธรรมหย่อนกว่า ๕ - ๖ คำ ๑ ภิกษุลุกขึ้นแล้วนั่งแสดงธรรมต่อไป ๑ มาตุคามลุกขึ้นแล้วนั่งลงอีก ภิกษุแสดงแก่มาตุคามนั้น ๑ ภิกษุแสดงแก่ มาตุคามอื่น ๑ มาตุคามถามปัญหา ภิกษุถูกถามปัญหาแล้วกล่าวแก้ ๑ ภิกษุ แสดงธรรมเพื่อประโยชน์แก่คนอื่นอยู่ มาตุคามฟังอยู่ด้วย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ
มุสาวาทวรรค ธรรมเทศนาสิกขาบทที่ ๗
พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๗ ดังต่อไปนี้
[แก้อรรถปฐมบัญญัตติ เรื่องพระอุทายี]
หญิงแม่เจ้าเรือน ชื่อว่า ฆรณี
บทว่า นิเวสทฺวาเร ได้แก่ ที่ประตูใหญ่แห่งนิเวศน์ (เรือน). หญิงสะใภ้ในเรือนนั้น ชื่อว่า ฆรสุณหา.
บทว่า อาวสถทฺวาเร ได้แก่ ที่ประตูห้องนอน.
บทว่า วิสฏฺเน ได้แก่ ด้วยเสียงชัดเจนดี.
บทว่า วิวเฏน ได้แก่ เปิดเผย คือ ไม่คลุมเคลือ.
สองบทว่า ธมฺโม เทเสตพฺโพ มีความว่า พระธรรมกถึกควร แสดงธรรม อันต่างโดยสรณะและศีล เป็นต้นนี้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 193
บทว่า อญฺาตุํ คือ (สามารถ) จะรู้ทั่วถึงได้
สองบทว่า วิญฺญุนา ปุริสวิคฺคเหน มีความว่า (เว้น) จากบุรุษ ผู้รู้เดียงสา (ผู้รู้ความหมาย) ไม่ใช่ยักษ์ ไม่ใช่เปรต ไม่ใช่ดิรัจฉาน แม้ผู้ แปลงเพศเป็นบุรุษ.
หลายบทว่า อนาปตฺติ วิญฺญุนา ปุริสวิคฺคเหน มีความว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้แสดงธรรมแม้มากแก่หญิงผู้ยืนอยู่กับบุรุษผู้รู้เดียงสา.
บทว่า ฉปฺปญฺจวาจาหิ มีความว่า ไม่เป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุผู้แสดง (ธรรม) ด้วยวาจา ๕ - ๖ คำ. ในคำว่า ฉปฺปญฺจวาจาหิ นั้น บัณฑิตพึง ทราบประมาณแห่งวาจาโนธรรมทั้งปวงอย่างนั้น คือ คาถาบทหนึ่ง ชื่อว่า วาจา คำหนึ่ง. หากว่า ภิกษุเป็นผู้ประสงค์ จะกล่าวอรรถกถา หรือว่า เรื่องมี เรื่องธรรมบทและชาดกเป็นต้น จะกล่าวเพียง ๕ - ๖ บทเท่านั้น ควรอยู่. เมื่อจะกล่าวพร้อมด้วยบาลี พึงกล่าวธรรมอย่าให้เกิน ๖ บท อย่างนี้ คือ จากพระบาลีบทหนึ่ง จากอรรถกถา ๕ บท. จริงอยู่ ธรรมมีประเภทดังกล่าว ในปทโสธรรม จัดเป็นธรรมเหมือนกันหมด แม้ในสิกขาบทนี้.
สองบทว่า ตสฺมึ เทเสติ คือ แสดงในขณะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ตสฺมึ นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถฉัฏฐีวิภัตติ, ความว่า ย่อมแสดง แก่หญิงนั้น.
สองบทว่า อญฺสฺส มาตุคามสฺส มีความว่า ภิกษุนั่งบนอาสนะ เดียว แสดง (ธรรม) แม้แก่มาตุคามตั้ง ๑๐๐ คน อย่างนี้ คือ แสดงแก่หญิง คนหนึ่งแล้ว แสดงแม้แก่หญิงอื่นผู้มาแล้วๆ อีก. ในอรรถกถามหาปัจจรี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 194
ท่านกล่าวไว้ว่า ภิกษุกล่าวว่า รูปจะแสดงคาถาแก่พวกท่านคนละคาถา พวก ท่านจงฟังคาถานั้น ดังนี้ แล้วแสดง (ธรรม) แก่พวกมาตุคามผู้นั่งประชุม กันอยู่ ไม่เป็นอาบัติ. ภิกษุทำความใฝ่ใจตั้งแต่แรกว่า เราจักกล่าวคาถาแก่ หญิงคนละคาถา ดังนี้ แล้วบอกให้รู้ก่อนจึงแสดง สมควรอยู่.
หลายบทว่า ปญฺหํ ปุจฺฉติ ปญฺหํ ปุฏฺโ กเถติ มีความว่า มาตุคามถามว่า ท่านเจ้าค่ะ. ชื่อว่าทีฆนิกายแสดงอรรถอะไร? ภิกษุถูกถาม ปัญหาอย่างนี้ ถ้าแม้น จะกล่าวทีฆนิกายทั้งหมด ก็ไม่เป็นอาบัติ คำที่เหลือ ในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้นแล.
สิกขาบทนี้ มีธรรมโดยบทเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้นทางวาจา ๑ วาจากับ จิต ๑ เป็นทั้งกิริยา ทั้งกิริยา เป็นโนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติ- วัชชะ วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.
ธรรมเทศนาสิกขาบทที่ ๗ จบ