๔๕. อรรถกถา เจโตวิวัฏญาณุทเทส ว่าด้วยจโตวิวัฏญาณ
โดย บ้านธัมมะ  24 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40853

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 132

มหาวรรค

ญาณกถามาติกา

๔๕. อรรถกถา เจโตวิวัฏญาณุทเทส

ว่าด้วยจโตวิวัฏญาณ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 132

๔๕. อรรถกถาเจโตวิวัฏญาณุทเทส

ว่าด้วย จโตวิวัฏญาณ

คำว่า นานตฺเต ปญฺา - ปัญญาในนานัตตธรรม ความว่า ปัญญาที่เป็นไปแล้วในสภาวธรรมต่างๆ โดยความเป็นภาเวตัพพธรรม - ธรรมที่ควรเจริญ และในสภาวธรรมอื่น มีกามฉันทะเป็นต้น โดยเห็นว่าเป็นธรรมมีโทษ.

และคำว่า นานตฺเต เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถแห่งนิมิตตสัตตมี, อีกอย่างหนึ่ง ละความเป็นต่างๆ ชื่อว่า นานัตตะ, อธิบายว่า เหตุแห่งการละนานัตตธรรม เป็นนิมิตแห่งการละนานัตตธรรม เป็นปัญญาในกุศลธรรมมีเนกขัมมะเป็นต้น.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 133

คำว่า เจโตวิวฏฺเฏ าณํ - ญาณในการหลีกออกจากนิวรณ์ด้วยใจ ความว่า การออกจากนิวรณ์ มีกามฉันทะเป็นต้น ได้ด้วยใจ เป็นญาณในกุศลธรรมมีเนกขัมมะเป็นต้น.

ก็ในคำว่า เจโต นี้ ท่านประสงค์เอาเจตนา. เจตนานั้น

มีการชักชวนเป็น ลักษณะ, อีกอย่างหนึ่ง

มีการไหลออกแห่งผล เป็น ลักษณะ,

มีการรวบรวมมา เป็น กิจ,

มีการจัดแจง เห็น ปัจจุปัฏฐาน เหมือนนายช่างใหญ่ผู้เป็นหัวหน้าศิษย์ ทำกิจของตนและกิจของคนอื่นให้สำเร็จฉะนั้น. ก็และเจตนานี้ย่อมปรากฏโดยความยกสัมปยุตธรรมทั้งหลายในกิจมีการระลึกถึงการงานอันเร่งรีบ.