[เล่มที่ 60] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้า 179
๗. โกสิยชาดก
ว่าด้วยโกสิยเศรษฐีขี้ตระหนี่
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 60]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้า 179
๗. โกสิยชาดก
ว่าด้วยโกสิยเศรษฐีขี้ตระหนี่
[๑๖๗๓] ข้าพเจ้าไม่ซื้อไม่ขายเลย อนึ่ง ความสั่งสมของข้าพเจ้าก็มิได้มีในที่นี้เลย ภัตนี้นิดหน่อย หาได้ยากเหลือเกิน ข้าวสุกแล่งหนึ่งหาพอเพียงแก่เราทั้งสองคนไม่.
[๑๖๗๔] บุคคลควรแบ่งของน้อยให้ตามน้อย ควรแบ่งของปานกลางให้ตามของปานกลาง ควรแบ่งของมากให้ตามมาก การไม่ให้เสียเลย ย่อมไม่สมควร ดูก่อนโกสิยเศรษฐี เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวกะท่าน ท่านจงขึ้นสู่ทางแห่งพระอริยะ จงให้ทานด้วย จงบริโภคด้วย ผู้บริโภคคนเดียวย่อมไม่ได้ความสุข.
[๑๖๗๕] ผู้ใด เมื่อแขกนั่งแล้ว บริโภคโภชนะแต่ผู้เดียว พลีกรรมของผู้นั้นย่อมไร้ผล ทั้งความเพียรที่จะหาทรัพย์ก็ไร้ประโยชน์ ดูก่อนโกสิยเศรษฐี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้า 180
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวกะท่าน ท่านจงขึ้นสู่หนทางแห่งพระอริยะ จงให้ทานด้วย จงบริโภคด้วย ผู้บริโภคคนเดียวย่อมไม่ได้ความสุข.
[๑๖๗๖] ผู้ใด เมื่อแขกนั่งแล้ว ไม่บริโภคโภชนะแต่ผู้เดียว พลีกรรมผู้นั้นย่อมมีผลจริง ทั้งความเพียรที่จะหาทรัพย์ก็ย่อมมีประโยชน์ด้วย ดูก่อนโกสิยเศรษฐี เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวกะท่าน ท่านจงขึ้นสู่ทางแห่งพระอริยะ ให้ทานด้วย จงบริโภคด้วย ผู้บริโภคคนเดียวย่อมไม่ได้ความสุข.
[๑๖๗๗] ก็บุรุษเข้าไปสู่สระแล้ว บูชาที่แม่น้ำพหุกาก็ดี ที่แม่น้ำคยาก็ดี ที่ท่าโทณะก็ดี ที่ท่าตีมพรุก็ดี ที่ห้วงน้ำใหญ่มีกระแสอันเชี่ยวก็ดี พลีกรรมของผู้นั้นในที่นั้นๆ ย่อมมีผล ทั้งความเพียรที่จะหาทรัพย์ของผู้นั้นในที่นั้นๆ ก็ย่อมมีประโยชน์ ผู้ใด เมื่อแขกนั่งแล้ว ไม่บริโภคโภชนะแต่ผู้เดียว ผู้นั้นย่อมได้ความสุข ดูก่อนโกสิยเศรษฐี เพราะเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงกล่าวกะท่าน ท่านจงขึ้นสู่หนทางแห่งพระอริยเจ้า จงให้ทานด้วย จงบริโภคด้วย ผู้บริโภคแต่ผู้เดียวย่อมไม่ได้ความสุข.
[๑๖๗๘] ผู้ใด เมื่อแขกนั่งแล้ว บริโภคโภชนะแต่ผู้เดียว ผู้นั้นชื่อว่า กลืนกินเบ็ดอันมีสายยาวพร้อมทั้งเหยื่อ ดูก่อนโกสิยเศรษฐี เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวกะท่าน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้า 181
ท่านจงขึ้นสู่หนทางแห่งพระอริยะ จงให้ทานด้วย จงบริโภคด้วย ผู้บริโภคคนเดียวย่อมไม่ได้ความสุข.
[๑๖๗๙] พราหมณ์เหล่านี้มีผิวพรรณงามจริงหนอ แต่เหตุอะไร สุนัขของท่านนี้จึงเปล่งรัศมีมีวรรณะต่างๆ ได้ ท่านทั้งหลายผู้เป็นพราหมณ์ ใครหนอจะบอกข้าพเจ้าได้.
[๑๖๘๐] ผู้นี้ คือจันทเทพบุตร ผู้นี้ คือสุริยเทพบุตร ผู้นี้ คือมาตลีเทพสารถี มาแล้วในที่นี้ เรา คือท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทวดาชาวไตรทศ ส่วนสุนัขนี้แล เราเรียกว่า ปัญจสิขเทพบุตร.
[๑๖๘๑] ฉิ่ง ตะโพน และเปิงมางทั้งหลาย ย่อมปลุกเทพบุตรผู้หลับให้ตื่น และผู้ตื่นอยู่แล้วย่อมเพลิดเพลินใจ.
[๑๖๘๒] คนตระหนี่เหนียวแน่น มักบริภาษสมณพราหมณ์ ทอดทิ้งร่างกายไว้ในโลกนี้ ตายแล้วย่อมไปสู่นรก.
[๑๖๘๓] ชนเหล่าใดหวังสุคติ ตั้งอยู่แล้วในธรรม คือความสำรวมและการจำแนกแจกทาน ทอดทิ้งร่างกายไว้ในโลกนี้ ตายแล้วย่อมไปสู่สุคติ.
[๑๖๘๔] ท่านนั้นชื่อ โกสิยะ มีความตระหนี่ มีธรรมลามก เป็นญาติของเราทั้งหลายในชาติก่อน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้า 182
เราทั้งหลายมาในที่นี้ เพื่อประโยชน์แก่ท่านคนเดียวด้วยคิดว่า โกสิยเศรษฐีนี้ อย่ามีธรรมอันลามกไปนรกเสียเลย.
[๑๖๘๕] ท่านเหล่านั้น เป็นผู้ปรารถนาประโยชน์เกื้อกูลแก่ข้าพเจ้าโดยแท้ เพราะเหตุที่มาตามพร่ำสอนข้าพเจ้าอยู่เนืองๆ ข้าพเจ้าจักทำตามที่ท่านผู้แสวงหาประโยชน์ทั้งหลาย กล่าวสอนทุกอย่าง ข้าพเจ้าจะงดเว้นความตระหนี่เสียในวันนี้ทีเดียว อนึ่ง ข้าพเจ้าจะไม่พึงทำบาปอะไรๆ อนึ่ง ขึ้นชื่อว่า การไม่ให้อะไรๆ จะไม่มีแก่ข้าพเจ้า อนึ่ง ข้าพเจ้ายังไม่ได้ให้แล้ว จะไม่ดื่มน้ำ ข้าแต่ท้าววาสวะ ก็เมื่อข้าพเจ้าให้อยู่อย่างนี้ตลอดกาลทุกเมื่อ จนโภคะทั้งหลายจะหมดสิ้นไปในที่นี้ ข้าแต่ท้าวสักกะ ต่อแต่นั้น ข้าพเจ้าจักละกามทั้งหลายตามที่มีอยู่อย่างไรแล้ว จักออกบวช.
จบโกสิยชาดกที่ ๗
อรรถกถาโกสิยชาดก
โกสิยชาดกจักมีอย่างแจ่มแจ้งในสุธาโภชนชาดก. (๑)
จบอรรถกถาโกสิยชาดก
(๑) ดูพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่มที่ ๔ ภาคที่ ๑ หน้า ๔๔๓.