คงหมายถึงอยากบรรลุธรรมเร็วๆ เลยหาวิธีการต่างๆ ควรทำอย่างไรจึงจะถูกต้องครับ
ถูกต้องครับ เพราะการบรรลุ ไม่ได้ด้วยความอยาก แต่ต้องได้ด้วยข้อปฏิบัติที่ถูกต้อง ถ้าเพียรพยายามด้วยการจดจ้อง ด้วยความต้องการในผล ขณะนั้น ย่อมเป็นผู้ห่างไกลและช้า เพราะตัณหาความต้องการในข้อปฏิบัติและผลเป็นเครื่องเนิ่นช้า
ปปัญจธรรม ธรรมเครื่องเนิ่นช้า คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ อกุศลเป็นเครื่องกั้น
ต้องฟังจนกว่าจะเข้าใจและเลิกคิดหาวิธีอื่นที่จะให้บรรลุเร็ว เพราะการอบรมปัญญา
ต้องใช้เวลานาน แล้วแต่การสะสมของแต่ละคน ไม่เหมือนกัน
อยากบรรลุธรรมเร็วๆ เป็นตัณหา ใช้ให้เป็นประโยชน์โดยใช้เป็นแรงจูงใจให้เกิดความเพียร ในการศึกษาพระธรรมให้เข้าใจถูกต้อง เพื่อจะได้ เพียรปฏิบัติ ได้อย่างถูกต้อง ส่วนการบรรลุธรรมเมื่อไรนั้น ขึ้นอยู่กับเหตุ เร่งสร้างเหตุให้บริบรูณ์ แล้วผลย่อมเกิดขึ้นเอง อย่าเร่งผลโดยไม่สร้างเหตุ ... ครับ
ถ้าเป็นไปในส่วนของกุศล เป็นไปในส่วนของปัญญา น่าจะใช้คำว่าฉันทะ เหมือนกับการอยากฟังธรรมะ ก็เรียกว่าอยากเหมือนกัน แต่เป็นฉันทะ ไม่ใช่ตัณหา (แต่บางคนจะเรียกว่าตัณหา แต่ถึงอย่างไรในอรรถกถาท่านก็ยังกล่าวไว้เลยว่า ถ้าปฏิบัติเพื่อที่อยากจะบรรลุธรรมหรืออยากจะบำเพ็ญสมณธรรม ท่านก็ว่า ตัณหาประเภทนี้ก็ควรเจริญ อันนี้เป็นข้อความที่ได้ฟังมาจากอาจารย์ผู้สอนพระไตรปิฎกรูปหนึ่ง ท่านบรรยายให้ฟังอีกทีเท็จจริงเป็นอย่างไร ก็ขอฝากท่านผู้รู้ที่ศึกษามามากได้ไปตรวจสอบดูด้วย)
ฉันทะเป็นปกิณณกเจตสิก ฉันทะเกิดกับกุศลจิต ฉันทะนั้นก็เป็นชาติกุศล
ฉันทะเกิดกับอกุศลจิต ฉันทะนั้นก็เป็นชาติอกุศล เช่น ไม่มีใครชอบความโกรธ เวลาโกรธก็ไม่หยุด พอใจที่จะโกรธต่อ
ที่กล่าวว่า อาศัยตัณหาเพื่อละตัณหา แต่ในขณะที่ละจริงๆ นั้น ไม่ใช่ตัณหา ต้องเป็นปัญญาที่ละ
ยินดีในกุศลจิตค่ะ