พระภิกษุ สามารถสวมใส่รองเท้าได้หรือไม่ และมีบัญญัตอนุญาตให้สวมรองเท้าตามสมควรหรือไม่ครับ และเหตุใดจึงไม่ได้ (ให้) สวมใส่รองเท้ามาตั้งแต่สมัยพุทธกาล
พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระภิกษุสาวกสวมใส่รองเท้าได้ตามสมควร คือบางสถานที่ใส่ไม่ได้ บางสถานที่ใส่ได้ รองเท้าบางชนิดใส่ได้ รองเท้าบางชนิดใส่ไม่ได้ สำหรับสถานที่บางแห่งใส่รองเท้าไม่ได้ เช่น ละแวกบ้าน ลานพระเจดีย์ เป็นต้น แต่ถ้าเดินตามป่า ใส่รองเท้าได้ เหตุที่มีพระวินัยบัญญัติไม่ให้ใส่รองเท้าในบางสถานที่นั้นก็คือ เพื่อให้เห็นความต่างกันของเพศบรรพชิตและคฤหัสถ์ว่ามีเครื่องหมายที่แตกต่างกันอย่างหนึ่ง เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของคนที่เลื่อมใสแล้ว เป็นต้น
เชิญคลิกอ่าน ...
พระบัญญัติเรื่องการสวมรองเท้า [มหาวรรค]
ฯลฯ
เชิญคลิกอ่าน ...
บัญญัติเรื่องการสวมรองเท้าสี [มหาวรรค]
บัญญัติเรื่องการสวมรองเท้าในที่บางแห่ง [มหาวรรค]
ขออนุญาตสรุปคำตอบเป็นข้อๆ ครับ
๑. พระภิกษุ สามารถสวมใส่รองเท้าได้หรือไม่
พระภิกษุท่านสามารถสวมรองเท้าได้ครับ
๒. และมีบัญญัตอนุญาตให้สวมรองเท้าตามสมควรหรือไม่ครับ
พระพุทธเจ้าทรงกำหนดพระวินัยตามสมควร ตามเหตุจำเป็น ตามเหตุที่งามเหตุที่ไม่งามในการสวมรองเท้าตามลักษณะต่างๆ สีต่างๆ ตามกาละเทศะ และตามสถานที่ต่างๆ ครับ
๓. และเหตุใดจึงไม่ได้ (ให้) สวมใส่รองเท้ามาตั้งแต่สมัยพุทธกาล
พระภิกษุในสมัยพุทธกาลท่านสวมรองเท้า ในสมัยนี้ พระภิกษุท่านก็สวมรองเท้าได้ แต่หากท่านศึกษาพระวินัยและประพฤติปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ย่อมส่งผลให้ผู้ที่เป็นฆราวาสและผู้ที่ไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนายังความเลื่อมใสให้เกิดขึ้นและทำให้การติเตียนในความไม่งามของท่านน้อยลง เพราะเป็นการยากที่จะว่ากล่าวพระภิกษุที่ท่านปฏิบัติตามพระวินัยอย่างเคร่งครัด ย่อมห่างไกลจากการเป็น "โมฆบุรุษ" และจะไม่มีใครรู้เลยว่า ท่านเป็นพระอริยบุคคลหรือไม่ครับ
ผู้ให้ยานพาหนะ เช่น รองเท้า ร่ม ฯลฯ ชื่อว่าให้ความสุขค่ะ
ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
เรื่อง ยานที่เหมาะสมกับพระไม่ใช่รถ แต่เป็นรองเท้า
[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 240
ข้อความบางตอนจาก
อรรถกถากินททสูตร
บทว่า ยานโท ได้แก่ ยานทั้งหลายมีหัตถิยาน (ยานช้าง) เป็นต้น ก็แต่ว่าในบรรดายานเหล่านั้น ยานช้าง ยานม้าย่อมไม่สมควรแก่สมณะ การให้ไปด้วยรถก็ไม่สมควรเหมือนกัน ยานที่สมควรแก่สมณะก็คือรองเท้าสำหรับสมณะผู้รักษาอยู่ซึ่งศีลขันธ์ เพราะฉะนั้น บุคคลให้รองเท้า ไม้เท้าคนแก่ เตียง ตั่ง อนึ่ง บุคคลใดย่อมชำระหนทาง ย่อมทำบันได ย่อมทำสะพาน ย่อมมอบเรือให้แม้ทั้งหมดนี้ ก็ชื่อว่า ให้ยานเหมือนกัน
เรื่อง การสะสมรองเท้า
[เล่มที่ 11] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 208
ข้อความบางตอนจาก
อรรถกถาพรหมชาลสูตร
การสะสมยาน มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
ที่ชื่อว่า ยาน ได้แก่ล้อเลื่อน รถ เกวียน รถมีเครื่องประดับ วอ รถเข็น. นี้มิใช่ยานของบรรพชิต. บรรพชิตมียานอย่างเดียวคือ รองเท้า ก็ภิกษุรูปหนึ่ง ควรใช้รองเท้าได้ ๒ คู่เป็นอย่างมาก คือ คู่หนึ่งสำหรับเดินป่า คู่หนึ่งสำหรับเท้าที่ล้างแล้ว ได้คู่ที่ ๓ ควรให้แก่รูปอื่น แต่จะเก็บไว้ด้วยคิดว่า เมื่อคู่นี้เก่า เราจักได้คู่อื่นจากไหน ดังนี้ ไม่ควร ย่อมชื่อว่า เป็นการสะสมและทำให้เสียการปฏิบัติเคร่งครัด
ตัวอย่างเรื่อง พระรับรองเท้าและสละให้ภิกษุสงฆ์ และเปรตได้รับส่วนบุญ
[เล่มที่ 49] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 379
ข้อความบางตอนจาก
สานุวาสีเถรเปตวัตถุ
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ น้ำดื่มของพวกข้าพเจ้ามากเพียงพอแล้ว บาปย่อมเผล็ดผลเป็นทุกข์แก่พวกข้าพเจ้า พวกข้าพเจ้าพากันเที่ยวไปลำบากในภูมิภาคอันมีก้อนกรวดและหน่อหญ้าคา ขอท่านพยายามให้พวกข้าพเจ้าได้ยานอย่างใดอย่างหนึ่งเถิด พระเถระได้รองเท้าแล้ว ถวายสงฆ์ซึ่งมาแต่จตุรทิศ ครั้นแล้วอุทิศส่วนกุศลให้มารดาบิดาและพี่ชาย ด้วยอุทิศเจตนาว่า ขอผลทานนี้จงสำเร็จแก่พวกญาติของเรา ขอพวกญาติของเราจงมีความสุขเถิด ในลำดับแห่งการอุทิศนั่นเอง เปรตทั้งหลายได้พากันมาแสดงตนให้ปรากฏด้วยรถแล้ว
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขออนุโมทนา ในความอนุเคราะห์ตอบคำถามครับ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ :)
แเล้วจะรู้ได้อย่างไร ว่ารองเท้านี้กี่ชั้น อย่างในพระวินัยว่า ๑ ชั้นใส่ได้ ๒-๓ ชั้นใส่ไม่ได้ ๔-๕ ชั้นใส่ได้ จะนับชั้นอย่างไรครับ
เรียนความคิดเห็นที่ ๑๒ ครับ
พิจารณาตามพระวินัยแล้ว จะเป็นรองเท้าที่มีชั้นเดียวเท่านั้น ที่พระภิกษุสามารถใช้ได้ คือ ไม่สูง เหมาะควรแก่ความเป็นสมณะ และจะต้องเว้นสีที่ไม่เหมาะด้วย กล่าวคือ สีเขียวล้วน สีเหลืองล้วน สีแดงล้วน สีบานเย็นล้วน สีดำล้วน สีแสดล้วน สีชมพูล้วน ครับ
... ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ ...
ขออนุโมทนาครับ
ยินดีในกุศลจิตค่ะ