๙. อักขมสูตร ว่าด้วยลักษณะของช้างต้นและของภิกษุ
โดย บ้านธัมมะ  27 ต.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 39212

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 290

ตติยปัณณาสก์

ราชวรรคที่ ๔

๙. อักขมสูตร

ว่าด้วยลักษณะของช้างต้น และของภิกษุ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 290

๙. อักขมสูตร

ว่าด้วยลักษณะของช้างต้น และของภิกษุ

[๑๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ ไม่ควรแก่พระราชา ไม่ควรเป็นช้างทรง ไม่ถึงการนับว่าเป็นพระราชพาหนะ องค์ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไม่อดทนต่อรูป ๑ ไม่อดทนต่อเสียง ๑ ไม่อดทนต่อกลิ่น ๑ ไม่อดทนต่อรส ๑ ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะ ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ช้างของพระราชา เป็นสัตว์ไม่อดทนต่อรูปอย่างไร คือ ช้างของพระราชาเข้าสู่สงครามแล้ว เห็นกองพลช้าง กองพลม้า กองพลรถ หรือกองพลเดินเท้า ย่อมหยุดนิ่งสะทกสะท้าน ไม่สามารถเข้าสนามรบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชา เป็นสัตว์ไม่อดทนต่อรูป อย่างนี้แล ก็ช้างของพระราชา เป็นสัตว์ไม่อดทนต่อเสียงอย่างไร คือ ช้างของพระราชาเข้าสู่สงครามแล้ว ได้ยินเสียงกองพลช้าง เสียงกองพลม้า เสียงกองพลรถ เสียงกองพลเดินเท้า หรือเสียงกลอง บัณเฑาะว์ สังข์ มโหระทึกย่อมหยุดนิ่ง สะทกสะท้าน ไม่สามารถเข้าสนามรบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชา เป็นสัตว์ไม่อดทนต่อเสียง อย่างนี้แล ก็ช้างของพระราชา เป็นสัตว์ไม่อดทนต่อกลิ่นอย่างไร คือ ช้างของพระราชาเข้าสู่สงครามแล้ว ได้กลิ่นมูตร และคูถ แห่งช้างของพระราชา (ฝ่ายข้าศึก) ที่ใหญ่กว่า ซึ่งเข้าสนามรบทั้งหลาย ย่อมหยุดนิ่ง สะทกสะท้าน ไม่สามารถเข้าสนามรบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชา เป็นสัตว์ไม่อดทนต่อกลิ่น อย่างนี้แล ก็ช้างของพระราชา เป็นสัตว์ไม่อดทนต่อรสอย่างไร คือ ช้างของพระราชาเข้าสู่สงครามแล้ว ไม่ได้กินอาหาร


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 291

เพียงคืนหนึ่ง ๒ คืน ๓ คืน ๘ คืน หรือ ๕ คืน ย่อมหยุดนิ่ง สะทกสะท้าน ไม่สามารถเข้าสนามรบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายช้างของพระราชา เป็นสัตว์ไม่อดทนต่อรสอย่างนี้แล ก็ช้างของพระราชา เป็นสัตว์ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะอย่างไร คือ ช้างของพระราชาเข้าสงครามแล้ว ถูกเขายิงด้วยลูกศรครั้งหนึ่ง ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง ๔ ครั้ง หรือ ๕ ครั้งเข้าแล้ว ย่อมหยุดนิ่ง สะทกสะท้าน ไม่สามารถเข้าสนามรบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชา เป็นสัตว์ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะ อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเป็นผู้ไม่ควรแก่ของคำนับ ไม่ควรแก่ของต้อนรับ ไม่ควรแก่ของทำบุญ ไม่ควรแก่การกระทำอัญชลี ไม่เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่อดทนต่อรูป ๑ ไม่อดทนต่อเสียง ๑ ไม่อดทนต่อกลิ่น ๑ ไม่อดทนต่อรส ๑ ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะ ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อรูปอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมกำหนัดในรูปที่ชวนให้กำหนัด ไม่สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อรูป อย่างนี้แล ก็ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อเสียงอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ฟังเสียงด้วยหูแล้ว ย่อมกำหนัดในเสียงที่ชวนให้กำหนัด ไม่สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อเสียง อย่างนี้แล ก็ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อกลิ่นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สูดกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ย่อมกำหนัดในกลิ่นที่ชวนให้กำหนัด ไม่สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อกลิ่น อย่างนี้แล ก็ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อรสอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ย่อมกำหนัดในรสที่ชวนให้


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 292

กำหนัด ไม่สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อรส อย่างนี้แล ก็ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะอย่างไร คือ ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ ถูกโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ย่อมกำหนัดในโผฏฐัพพะ ที่ชวนให้กำหนัด ไม่สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ไม่ควรแก่ของคำนับ ไม่ควรแก่ของต้อนรับ ไม่ควรแก่ของทำบุญ ไม่ควรแก่การทำอัญชลี ไม่เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชา ประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ เป็นช้างควรแก่พระราชา. ควรเป็นช้างทรง ถึงการนับว่าเป็นราชพาหนะ องค์ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ช้างของพระราชา เป็นสัตว์อดทนต่อรูป ๑ อดทนต่อเสียง ๑ อดทนต่อกลิ่น ๑ อดทนต่อรส ๑ อดทนต่อโผฏฐัพพะ ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ช้างของพระราชา เป็นสัตว์อดทนต่อรูปอย่างไร คือ ช้างของพระราชาเข้าสู่สงครามแล้ว เห็นกองพลช้าง กองพลม้า กองพลรถ หรือกองพลเดินเท้า ย่อมไม่หยุดนิ่ง ไม่สะทกสะท้าน สามารถเข้าสนามรบได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อรูป อย่างนี้แล ก็ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อเสียงอย่างไร คือ ช้างของพระราชาเข้าสู่สงครามแล้ว ได้ยินเสียงกองพลช้าง เสียงกองพลม้า เสียงกองพลรถ เสียงกองพลเดินเท้า หรือเสียงกลอง บัณเฑาะว์ สังข์ มโหระทึกที่กระหึม ย่อมไม่หยุดนิ่ง ไม่สะทกสะท้าน สามารถเข้าสนามรบได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาอดทนต่อเสียง อย่างนี้แล ก็ช้างของพระราชา เป็นสัตว์อดทนต่อกลิ่นอย่างไร คือ ช้างของพระราชาเข้าสงครามแล้ว ได้กลิ่นมูตร และคูถ แห่งช้างของพระราชา (ฝ่ายข้าศึก) ที่ใหญ่กว่า ซึ่งเข้าสนามรบทั้งหลาย ย่อม


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 293

ไม่หยุดนิ่ง ไม่สะทกสะท้าน สามารถเข้าสนามรบได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อกลิ่น อย่างนี้แล ก็ช้างของพระราชา เป็นสัตว์อดทนต่อรสอย่างไร คือ ช้างของพระราชาเข้าสู่สงครามแล้ว ไม่ได้กินอาหาร แม้เพียงคืนหนึ่ง ๒ คืน ๓ คืน ๔ คืน ๕ คืน ย่อมไม่หยุดนิ่ง ไม่สะทกสะท้าน สามารถเข้าสนามรบได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชา อดทนต่อโผฏฐัพพะอย่างไร คือ ช้างของพระราชาเข้าสงครามแล้ว ถูกเขายิงด้วยลูก ศรครั้งหนึ่ง ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง ย่อมไม่หยุดนิ่ง ไม่สะทกสะท้าน สามารถเข้าสนามรบได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชา เป็นสัตว์อดทนต่อโผฏฐัพพะ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชา ประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล เป็นช้างควรแก่พระราชา ควรเป็นช้างทรง ถึงการนับว่าเป็นพระราชพาหนะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรแก่การกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อดทนต่อรูป ๑ อดทนต่อเสียง ๑ อดทนต่อกลิ่น ๑ อดทนต่อรส ๑ อดทนต่อโผฏฐัพพะ ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อรูปอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในรูปที่ชวนให้กำหนัด สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อรูป อย่างนี้แล ก็ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อเสียงอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ฟังเสียงด้วยหูแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในเสียงที่ชวนให้กำหนัด สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อเสียงอย่างนี้แล ก็ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อกลิ่นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สูดกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ย่อมไม่กำหนัด


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 294

ในกลิ่นที่ชวนให้กำหนัด สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อกลิ่น อย่างนี้แล ภิกษุย่อมเป็นผู้อดทนต่อรสอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในรสที่ชวนให้กำหนัด สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อรส อย่างนี้แล ก็ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อโผฏฐัพพะอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในโผฏฐัพพะที่ชวนให้กำหนัด สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อโผฏฐัพพะ อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรแก่การกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งว่า.

จบอักขมสูตรที่ ๙

อรรถกถาอักขมสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในอักขมสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า หตฺถีกายํ ได้แก่ ทัพช้าง. แม้ในบทที่เหลือทั้งหลาย ก็นัยนี้เหมือนกัน. ชื่อว่า สังคามาวจร (เจนสงคราม) เพราะท่องไปในสงคราม. บทว่า เอกิสฺสา วา ติโณทกทตฺติยา วิมานิโต ความว่า ไม่ได้รับการทอดหญ้า และน้ำมื้อหนึ่งในวันหนึ่ง อธิบายว่า ไม่ได้หญ้า และน้ำเพียงวันเดียว. แม้ต่อจากนี้ไป ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า น สกฺโกติ จิตฺตํ สมาทหิตุํ ความว่า ไม่อาจตั้งจิตไว้โดยชอบในอารมณ์. คำที่เหลือในสูตรนี้ง่ายทั้งนั้น. แต่ในสูตรนี้ พึงทราบว่า ตรัสทั้งวัฏฏะ และวิวัฏฏะ.

จบอรรถกถา อักขมสูตรที่ ๙