กรุณาช่วยตอบทีครับหรือว่ามีปริศนาธรรมอยู่ ขอบพระคุณมากครับ
ยังไม่พบคำอธิบายเรื่องนี้ในพระไตรปิฎกและอรรถกถา เข้าใจว่าไม่น่าจะมีความหมายอะไร เป็นเพียงจินตนาการของผู้ปั้นเท่านั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 125
บทว่า อุณฺณา คือ พระอุณณาโลม
บทว่า ภมุกนฺตเร ความว่า พระอุณณาโลม เกิดในที่สุดพระนาสิก ท่ามกลางพระขนงทั้งสองและก็ขึ้นไปเกิด ในท่ามกลางพระนลาฏ
บทว่า โอทาตา ความว่า บริสุทธิ์คือมีสีเสมอด้วยดาว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 125 ประกายพฤกษ์.
บทว่า มุทุ ความว่า พระอุณณาโลมเช่นกับไยฝ้ายที่ประชีได้ ๑๐๐ ครั้ง ซึ่งเขาใส่ลงไปในเนยใสตั้งไว้
บทว่า ตูลสนฺนิภา คือ เสมอด้วย นุ่นไม้งิ้ว และนุ่นเคลือ นี้
เป็นข้อเปรียบเพราะความขาวของนุ่น. ก็เมื่อจับปลาย เส้นพระโลมาแล้วดึง ออกจะได้ประมาณครึ่งพระพาหา ครั้นปล่อยเส้นพระโลมา ก็จะม้วนเป็นทักษิณาวัฏมี ปลายในเบื้องบนตั้งอยู่ พระอุณณาโลมนั้น ย่อมรุ่งเรืองไปด้วยสิริเป็นที่จับใจยิ่งนัก ดุจฟองน้ำเงินตั้งอยู่ ณ ท่ามกลางแผ่นกระดานทอง ดุจสายน้ำนมไหลออกจาก หม้อทอง และดุจดาวประกายพฤกษ์บน ท้องฟ้าย้อมด้วยแสงอรุณ
ขอบคุณมากครับ
ขออนุโมทนากับท่านผู้สนใจไฝ่ธรรมะทุกท่าน
ยินดีในกุศลจิตค่ะ