[เล่มที่ 50] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 510
เถรคาถา เอกนิบาต
วรรคที่ ๑๒
๔. อธิมุตตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระอธิมุตตเถระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 50]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 510
๔. อธิมุตตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระอธิมุตตเถระ
[๒๕๑] ได้ยินว่า พระอธิมุตตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เมื่อชีวิตจะสิ้นไป ความเป็นสมณะที่ดีจักมีแก่ภิกษุผู้เกียจคร้าน ผู้ติดอยู่ในความสุขในร่างกาย แต่ที่ไหน?
อรรถกถาอธิมุตตเถรคาถา
คาถาของท่านพระอธิมุตตเถระ เริ่มต้นว่า กายทุฏฐุลฺลครุโน. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร?
ได้ยินว่า ท่านเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ บรรลุนิติภาวะแล้ว ประสบความสำเร็จ ใน วิชชาทั้งหลายของพราหมณ์ เห็นโทษในกามทั้งหลาย ละฆราวาสวิสัยแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 511
บวชเป็นดาบส อยู่ในป่า ฟังข่าวการบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า จึงเข้าไปสู่ที่อันเป็นบริเวณของมนุษย์ เห็นพระศาสดาอันภิกษุสงฆ์แวดล้อมแล้ว เสด็จไปอยู่ เป็นผู้มีใจเลื่อมใส ปูลาดผ้าเปลือกไม้กรองของตน ที่บาทมูลของพระศาสดา. พระศาสดาทรงทราบอัธยาศัยของดาบส จึงเสด็จประทับยืนบนผ้าเปลือกไม้กรองนั้น. ดาบสบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประทับยืนอยู่บนผ้าเปลือกไม้กรองนั้นด้วยของหอม อันสมควรด้วยสักการะ แล้วชมเชยด้วยคาถา ๑๐ คาถา มีอาทิว่า สมุทฺธรสิมํ โลกํ ดังนี้. พระศาสดาทรงพยากรณ์ พระดาบสว่า ในอนาคตกาล ในที่สุดแห่งแสนกัปแต่กัปนี้. ดาบสนี้จักบวชในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า โคตมะ จักเป็นผู้มี อภิญญา ๖ ดังนี้ แล้วเสด็จหลีกไป.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาบังเกิดในเทวโลก ต่อแต่นั้นก็ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย จนถึงเวลาเป็นที่บังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า อธิมุตตะ บรรลุนิติภาวะแล้ว ประสบความสำเร็จแล้วในวิชชาทั้งหลายของพราหมณ์ ไม่เห็นสาระในวิชชาเหล่านั้น แสวงหาทางสิ้นทุกข์ และความที่ภพนั้นเป็นภพสุดท้าย เห็นพุทธานุภาพ ในคราวที่ทรงรับพระวิหาร ชื่อว่า เชตวัน ได้เป็นผู้มีจิตศรัทธา บวชในสำนักของพระศาสดา เริ่มตั้งวิปัสสนา แล้วบรรลุพระอรหัต ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เราเป็นพราหมณ์ผู้ทรงชฎาและหนังสัตว์ เป็นผู้ซื่อตรงมีตบะ ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลก ทรงรุ่งเรืองดังดอกกรรณิการ์ โชติช่างดังดวงไฟ รุ่งโรจน์ดังดาวประกายพฤกษ์ เปรียบเหมือนสายฟ้าในอากาศ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 512
ไม่ทรงครั่นคร้าม ไม่ทรงสะดุ้งกลัว ดังพระยาไกรสรราชสีห์ ทรงประกาศแสงสว่างแห่งพระญาณ ทรงย่ำยีพวกเดียรถีย์ ทรงช่วยเหลือสัตวโลกนี้ ทรงตัดความสงสัยทั้งปวง ไม่ทรงหวาดหวั่น ดังพระยาเนื้อ จึงถือเอาฝ้าเปลือกไม้กรอง ลาดลง ณ ที่ใกล้ พระบาท หยิบเอากลัมพักมาชโลมทาพระตถาคต ครั้นชโลมทาพระสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้ชมเชยพระองค์ ผู้เป็นนายกของโลกว่า ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์ ข้ามพ้นโอฆะแล้ว ทรงยังโลกนี้ให้ข้ามพ้น โชติช่วงด้วยแสงสว่างแห่งพระญาณ ทรงมีพระญาณประเสริฐสุด ทรงประกาศธรรมจักร ทรงย่ำยีเดียรถีย์อื่น ทรงเป็นผู้กล้าหาญ ทรงชนะสงครามแล้ว ยังแผ่นดินให้หวั่นไหว คลื่นในมหาสมุทร ย่อมแตกในที่สุดฝั่ง ฉันใด ทิฏฐิทั้งปวงย่อมแตกทำลายในเพราะพระญาณของพระองค์ฉันนั้น ข่ายตาเล็กๆ ที่เขาเหวี่ยงลงไปในสระแล้ว สัตว์ทั้งหลายที่อยู่ภายในข่าย เป็นผู้ถูกบีบคั้นในขณะนั้น ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวกเดียรถีย์ในโลกผู้หลงงมงาย ไม่อาศัยสัจจะ ย่อมเป็นไปในภายในพระญาณอันประเสริฐของพระองค์ ฉันนั้น พระองค์เท่านั้นเป็นที่พึ่งของผู้ที่ว่ายอยู่ ในห้วงน้ำ เป็นนาถะของผู้ไม่มีเผ่าพันธุ์ เป็นสรณะของผู้ที่ตั้งอยู่ในภัย เป็นผู้นำหน้าของผู้ต้องการความพ้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 513
เสด็จเที่ยวไปผู้เดียว ไม่มีใครเหมือน ทรงประกอบด้วยพระเมตตากรุณา หาผู้เสมอเหมือนมิได้ เป็นผู้สม่ำเสมอ สงบระงับแล้ว มีความชำนาญ คงที่ มีชัยชนะสมบูรณ์ เป็นนักปราชญ์ ปราศจากความหลง ไม่ทรงหวั่นไหว ไม่มีความสงสัย เป็นผู้พอพระทัย มีโทสะอันคลายแล้ว ไม่มีมลทิน ทรงสำรวม มีความสะอาด ล่วงธรรมเครื่องข้อง มีความเมาอันกำจัดแล้ว มีวิชชา ๓ ถึงที่สุดแห่งภพทั้ง ๓ ทรงก้าวล่วงเขตแดน เป็นผู้หนักในธรรม มีประโยชน์อันถึงแล้ว ทรงหว่านประโยชน์ ทรงยังสัตว์ให้ข้าม เปรียบเหมือนเรือ ทรงมีขุมทรัพย์ ทรงทำความเบาใจ ไม่ทรงครั่นคร้ามดังราชสีห์ เหมือนพระยาคชสารอันฝึกแล้ว ในกาลนั้น ครั้นเราสรรเสริญพระมหามุนี พระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้มียศใหญ่ ด้วยคาถา ๑๐ คาถา ถวายบังคมพระบาทพระศาสดาแล้ว ได้ยืนนิ่งอยู่. พระศาสดาพระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้รู้แจ้งโลก สมควรรับเครื่องบูชา ประทับอยู่ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า ผู้ใดสรรเสริญ ศีล ปัญญา และสัทธรรมของเรา เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว ผู้นั้นจะรื่นรมย์ อยู่ในเทวโลกตลอดหกหมื่นกัป จักเสวยไอศวรรย์ ล่วงเทวดาเหล่าอื่น ภายหลังอันกุศลมูล ตักเตือนแล้ว เขาจักออกบวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า โคดม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 514
ครั้นบวชแล้ว เว้นบาปกรรมด้วยกาย กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว จักไม่มีอาสวะ ปรินิพพาน เมฆครางกระหึ่ม ย่อมยังพื้นดินให้อิ่ม ฉันใด ข้าแต่พระมหา วีรเจ้า พระองค์ทรงยังข้าพระองค์ให้อิ่มด้วยธรรม ฉันนั้น ครั้นเราชมเชย ศีล ปัญญา ธรรม และพระองค์ผู้เป็นนายกของโลกแล้ว ได้บรรลุพระนิพพาน อันเป็นธรรมสงบระงับอย่างยิ่ง เป็นอัจจุตบท โอหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีจักษุพระองค์นั้น พึงดำรงอยู่นานแน่ เราจะพึงรู้แจ้ง พึงเห็นอมตบท ชาตินี้เป็น ชาติที่สุดของเรา เราถอนภพขึ้นได้หมดแล้ว กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ ในกัปที่แสน แต่ภัทรกัปนี้ เราได้สรรเสริญพระพุทธเจ้าใด ด้วยการ สรรเสริญนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการสรรเสริญ. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอน ของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะกล่าวสอนภิกษุทั้งหลาย ผู้มากไปด้วยความเกียจคร้าน ซึ่งอยู่ร่วมกับตน ได้กล่าวคาถาว่า
เมื่อชีวิตจะสิ้นไป ความเป็นสมณะที่ดี จักมีแก่ ภิกษุผู้เกียจคร้าน ผู้ติดอยู่ในความสุข ในร่างกาย แต่ที่ไหน ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 515
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กายทุฏฺฐุลฺลครุโน ความว่า การประกอบความไม่ดีงาม ชื่อว่า ความชั่วหยาบ ความชั่วหยาบทางกาย ชื่อว่า กายทุฏฐุลละ กายทุฏฐลละอันหนักมีอยู่แก่ภิกษุใด ภิกษุนั้น ชื่อว่า กายทุฏฐุลลครุ ผู้มีความเกียจคร้าน. อธิบายว่า เป็นผู้หมดอำนาจ ปราศจากปัญญา คือขวนขวายแต่การพอกพูนเลี้ยงกาย ได้แก่ เป็นผู้เกียจคร้าน. แก่ภิกษุ ผู้มีความเกียจคร้านนั้น.
บทว่า หิยฺยมานมฺหิ ชีวิเต ความว่า เมื่อชีวิตและสังขาร กำลังสิ้นไปโดยเร็ว ดุจน้ำของแม่น้ำน้อย กำลังขอดแห้งไป ฉะนั้น. บทว่า สรีรสุขคิทฺธสฺส ความว่า ถึงความโลภ เพราะความสุขทางกายของตน มี อาหารอันประณีตเป็นต้น.
บทว่า กุโต สมณสาธุตา ความว่า ความดี โดยความเป็น สมณะ คือความเป็นสมณะที่ดี จะพึงมีแก่บุคคลเห็นปานนี้ ด้วยเหตุนั้น แต่ที่ไหน? อธิบายว่า ก็ความเป็นสมณะที่ดี จะมีแก่ภิกษุ ผู้ปราศจากความเพ่งเล็งในร่างกายและชีวิต ผู้สันโดษแล้วด้วยความสันโดษ ด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ผู้ปรารภความเพียรแล้วโดยส่วนเดียวเท่านั้น.
จบอรรถกถาอธิมุตตเถรคาถา