ขอยกบทธรรมก่อนนะครับ
ลักษณะการพูดของสัตบุรุษ
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นที่รู้กันว่า เป็นสัตบุรุษ. ๔ ประการ อย่างไรเล่า? ๔ ประการ คือ :-
(๑) ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สัตบุรุษในกรณีนี้ แม้มีใครถาม ถึงความไม่ดีของบุคคลอื่น ก็ไม่เปิดเผยให้ปรากฏ จะกล่าวทำไมถึงเมื่อไม่ถูกใครถาม; ก็เมื่อถูกใครถาม ถึงความไม่ดีของบุคคลอื่น ก็นำเอาปัญหาไปทำให้หลีกเลี้ยว ลดหย่อนลง กล่าวความไม่ดีของผู้อื่นอย่างไม่พิสดารเต็มที่. ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น สัตบุรุษ.
(๒) ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีก คือ แม้ไม่ถูกใครถามอยู่ ถึงความดีของบุคคลอื่น ก็ยังนำมา เปิดเผยให้ปรากฏ จะต้องกล่าวทำไมถึงเมื่อถูกใครถาม; ก็เมื่อถูกใครถามถึงความดีของบุคคลอื่น ก็นำเอาปัญหา ไปทำให้ไม่หลีกเลี้ยวลดหย่อน กล่าวความดีของผู้อื่น โดยพิสดารบริบูรณ์. ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้เป็น สัตบุรุษ.
(๓) ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีก คือ แม้ไม่มีใครถามถึงความไม่ดีของตน ก็ยังนำเปิดเผย ทำให้ปรากฏ ทำไมจะต้องกล่าวถึงเมื่อถูกถามเล่า; ก็เมื่อถูกใครถามถึงความไม่ดีของตน ก็ไม่นำเอาปัญหา ไปหาทางทำให้ลดหย่อนบิดพลิ้ว แต่กล่าวความไม่ดี ของตนโดยพิสดารเต็มที่. ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่าคนคนนี้ เป็น สัตบุรุษ.
(๔) ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีก คือ แม้มีใครถามถึงความดีของตน ก็ไม่เปิดเผยให้ปรากฏ ทำไมจะต้องกล่าวถึงเมื่อไม่ถูกใครถามเล่า; ก็เมื่อถูกใครถาม ถึงความดีของตน ก็นำเอาปัญหาไปกระทำให้ลดหย่อน หลีกเลี้ยวเสีย กล่าวความดีของตนโดยไม่พิสดารเต็มที่. ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น สัตบุรุษ. ภิกษุ ทั้งหลาย. ! บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เหล่านี้แล เป็นที่รู้กันว่า เป็นสัตบุรุษ. (จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๐๐/๗๓)
คือตอนนี้ผู้ร่วมงานซึ่งอยู่ในความดูแลของผม ทำการทุจริตหมุนเงิน แต่จากธรรมของสัตบุรุษ ทำให้ผมไม่กล้าที่จะรายงานต่อเจ้านายครับ ผมควรทำอย่างไรดี
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
แต่ละคนก็มีความประพฤติเป็นไปตามการสะสม ตามความเป็นจริงแล้วทั้งเขาทั้งเราก็มีส่วนที่ไม่ดีด้วยกันทั้งนั้น ตราบใดที่ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ถึงการดับกิเลสได้ทั้งหมด จึงควรอย่างยิ่งที่จะเห็นใจคนที่มีกิเลสด้วยกัน คนทำไม่ดีเป็นคนที่น่าสงสารเป็นอย่างยิ่ง ยิ่งถ้ามีการไตร่ตรองพิจารณา เข้าใจในเหตุในผลของธรรมจริงๆ ก็จะมีความเข้าใจ มีความเห็นใจแล้วมีเมตตาในบุคคลนั้นๆ ได้ และควรที่จะพิจารณาว่า การที่บุคคลนั้นจะมีความเห็นและพฤติกรรมที่ไม่ดีอย่างนั้นได้ ต้องมีเหตุมีปัจจัยที่ทำให้เขาเป็นอย่างนั้น เมื่อเขาเป็นอย่างนั้นแล้ว เราก็ควรที่จะเข้าใจเห็นใจ แล้วก็ช่วยแก้ไขเท่าที่สามารถจะช่วยได้ ตามกำลังปัญญาของตนเอง ย่อมจะเป็นประโยชน์ การกล่าวถึงความผิดของผู้อื่น เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงแก้ไขที่จะไม่ทำความเสียหายให้มากขึ้น ด้วยความเป็นมิตร ด้วยความหวังดี นั่น ไม่ใช่ด้วยจิตที่เป็นอกุศล แต่มุ่งประโยชน์ต่อผู้ที่กระทำผิดจะได้สำนึกแล้วไม่กระทำผิดอย่างนั้นอีก ครับ
...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอบพระคุณมากครับ
เรื่องของการทุจริตเงิน ถ้าไม่บอกต่อไปเขาก็ทำอีก การที่บอกอยู่ที่เจตนาเราหวังดี ช่วยไม่ให้เขาทำทุจริตกรรม และไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนค่ะ
ขออนุโมทนาครับ