อรณวิภังคสูตร .. ไม่พึงกล่าววาทะลับหลัง ไม่พึงกล่าวคำล่วงเกินต่อหน้า
โดย khampan.a  9 ม.ค. 2551
หัวข้อหมายเลข 6906

พระสุตตันตปิฎก มัชชิฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ -หน้า 325

ข้อความตอนหนึ่งจาก...

อรณวิภังคสูตร

[๖๖๐] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงกล่าววาทะลับหลัง ไม่พึงกล่าวคำล่วงเกินต่อหน้า

นั่น เราอาศัยอะไรกล่าว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในประการแรกนั้น พึงรู้วาทะลับหลัง ใด ไม่เป็นจริง

ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ก็ไม่พึงกล่าววาทะลับหลังนั้น เป็นอันขาด แม้รู้วาทะลับหลัง ใด จริง แท้ แต่ไม่ประกอบดวยประโยชน์ ก็พึงสำเหนียกเพื่อ ที่จะไม่กล่าววาทะลับหลังนั้น และรู้วาทะลับหลังใด จริง แท้ ประกอบด้วย- ประโยชน์ ในเรื่องนั้น พึงเป็นผู้รู้จักกาล เพื่อที่จะกล่าววาทะลับหลังนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในประการหลังนั้น พึงรู้คำต่อหน้าใดไม่เป็นจริง ไม่แท้

ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ก็ไม่พึงกล่าวคำล่วงเกินต่อหน้านั้นเป็นอันขาด แม้รู้คำ ล่วงเกินต่อหน้าใด จริง แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ก็พึงสำเหนียกที่จะ ไม่กล่าวคำล่วงเกินต่อหน้านั้นเป็นอันขาด แม้รู้คำล่วงเกินต่อหน้า ใด จริง แท้ ประกอบด้วยประโยชน์ ในเรื่องนั้น พึงเป็นผู้รู้จักกาลเพื่อที่จะกล่าวคำล่วงเกิน ต่อหน้านั้น

ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงกล่าววาทะลับหลัง ไม่พึงกล่าวคำล่วงเกินต่อหน้า นั่น เราอาศัยเนื้อความนี้ กล่าวแล้ว.



ความคิดเห็น 1    โดย devout  วันที่ 9 ม.ค. 2551

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ ๔๑๕

หากวาจาแม้ตั้งพัน

ไม่ประกอบด้วยบทที่เป็นประโยชน์ไซร้

บทที่เป็นประโยชน์บทเดียว

ซึ่งบุคคลฟังแล้วสงบระงับได้ประเสริฐกว่า

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 2    โดย พุทธรักษา  วันที่ 9 ม.ค. 2551

...............................ขออนุโมทนา..............................

ความคิดเห็น 3    โดย pornpaon  วันที่ 9 ม.ค. 2551
ขอบพระคุณมากค่ะ ขออนุโมทนาค่ะ

ความคิดเห็น 4    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 9 ม.ค. 2551

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ.........การพูดเรื่องคนอื่น


ความคิดเห็น 5    โดย orawan.c  วันที่ 16 ม.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 6    โดย ตุลา  วันที่ 18 ม.ค. 2551

ขอกราบบูชาคุณพระรัตนตรัย

ถ้าบุคคลทั้งหลายเป็นผู้ที่ตรง...จะรู้ว่าเป็นการกระทำที่ยากค่ะ

ตามความเข้าใจของตัวเอง...การที่จะพูดถึงบุคคลอื่นลับหลังหรือต่อหน้าด้วยจิตที่เป็นกุศลหรืออกุศลนั้น บางครั้งก็ขึ้นอยู่กับเหตุและปัจจัย อย่างเช่น ถ้ามีการกระทำที่เป็นเหตุให้บุคคลทั้ง 2 ฝ่ายไม่เข้าใจกัน บุคคลที่เป็นผู้ช่วยไกล่เกลี่ยนั้นต้องมีการพูดถึงคู่กรณีทั้งลับหลังหรือต่อหน้าเพื่อช่วยกู้สถานการณ์ให้ดีขึ้น และบางกรณีที่บุคคลทั้ง 2 ฝ่ายเข้าใจผิดกัน ก็ต้องมีการอธิบายกับบุคคลหนึ่งถึงอีกบุคคลหนึ่งให้ฟัง เพราะคนเราส่วนใหญ่ไม่ค่อยยอมรับความจริง หรือยอมรับผิดตั้งแต่แรก มักจะเถียงและเข้าข้างตัวเองซะก่อน นอกเสียจากผู้นั้นได้ศึกษาพระธรรมมาดีแล้วนะคะ

ถ้าบุคคลใดสามารถกระทำได้ตามพระสูตรที่คุณ khampan.a อ้างถึงได้ ก็ขออนุโมทนาด้วยค่ะ