เนื่องจากภาษาไทยนำภาษาบาลีมาใช้เป็นจำนวนมาก แต่ความหมายจะไม่ตรง กับความหมายที่พระพุทธองค์ทรงใช้อธิบายสภาพธรรม เพื่อให้ผู้เริ่มศึกษาพระธรรม ไม่สับสนกับคำที่ใช้ไม่ตรงความหมายเดิม ควรเริ่มทำความเข้าใจคำทุกคำให้ตรง โดยไม่นำความเข้าใจเดิมมาปะปน เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง และไม่สับสน เช่น คำว่า เวทนา หมายถึง ความรู้สึก ไม่ใช่น่าสงสาร เป็นต้น (ยังมีต่อ)
ขอเชิญคุณอรวรรณบอกถึงสภาพธรรมของเสียงและการได้ยินว่ามีความแตกต่างอย่างไร การรู้สภาพนามธรรมส่วนมากเป็นทางมโนทวารใช่หรือไม่ ไม่ได้เจาะจงแต่เป็นข้อสังเกตไว้เป็นปัจจัยในการศึกษาเมื่อสภาพธรรมปรากฎกับสติ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
อนุโมทนาคะ ที่ว่า (ยังมีต่อ) ขอด้วยนะคะ
คำว่า "ปัญญา" ในภาษาบาลี หมายถึง ความรู้ความเข้าใจสภาพธรรมว่า ไม่ใช่สัตว์ บุคคล เป็นธรรมแต่ละชนิดที่เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย และเมื่อเหตุดับ ธรรมนั้นก็ดับ แต่ในภาษาไทย นำมาใช้กับความ "ชำนาญ" ในเรา การศึกษาการ ทำงานในเรื่องต่างๆ
ต่อจาก (ยังมีต่อ)
ธรรมะ หมายถึง สิ่งที่มีจริง เช่น เห็นสิ่งที่ปรากฎทางตา จำแนกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ ๒ประเภท คือ
๑ รูปธรรม หมายถึง สภาพธรรมะที่มีจริง แต่ไม่สามารถรู้อะไรได้เลย เช่น สี เสียง กลิ่น รส เย็น-ร้อน อ่อน-แข็ง ตึง-ไหว เป็นต้น เดิมเข้าใจ ว่าทำอะไรให้เห็นเป็นรูปธรรมหน่อยซิ คือจับต้องได้นั่นเอง
๒ นามธรรม หมายถึง สภาพธรรมะที่มีจริง เป็นสภาพรู้ เป็น อาการรู้ เป็นลักษณะรู้ เป็นธาตุรู้ ไม่มีรูปร่างใดๆ เลยทั้งสิ้น เช่น เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้กระทบสัมผัส (ยังมีต่อ)
เมื่อเริ่มศึกษา วางตัวเบาๆ สบายๆ อย่าเครียด อย่าตั้งความหวัง แต่ตั้งใจฟัง เพราะ บางช่วงฟังนิดเดียว ปิ้งเลย สำคัญที่สุดอย่าหลับ พยายามนั่งแถวๆ หน้า จะได้ไม่ วอกแวก สงสัยก็รีบถาม อย่าปล่อยค้างคาใจไว้ หาเพื่อนที่ชอบเหมือนๆ กัน นั่งฟัง เวลารู้สึกง่วงก็หันไปส่งยิ้มหวานๆ ช่วยกันประคับประคอง สะสมวันละเล็กวันละน้อย ก็ยังดีกว่าไม่มีเลย อย่าขาดการฟัง
ขออนุโมทนากับกัลยาณมิตรเพื่อนธรรมทุกท่าน ที่ช่วยเหลือให้การฟังสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ทั้งอาหารคาวหวานคำถามที่ดีดี คำตอบที่มั่นคง คงที่ คงเส้นคงวา ขอบคุณค่ะ
ขอนุโมทนาค่ะและขอติดตามต่อค่ะ
ขอบคุณค่ะ...
ขออนุโมทนาค่ะน่าสนใจมากค่ะ เพราะเมื่อสมัยวัยรุ่น (ม.ปลาย) เรียนวิชาพระพุทธศาสนาอย่างไม่ค่อย เข้าใจและมีความรู้สึกว่าความรู้ในหนังสือนั้นฉาบฉวยมาก จนคิดอยู่หลายครั้งว่า น่าจะ ต้องเรียนภาษาบาลี และสันสกฤตอย่างเป็นจริงเป็นจัง และคิดว่าเขาเรียนกันที่ไหนนะ ขณะนั้นคิดแต่ว่า อยากอ่านพระไตรปิฎกที่เป็นภาษาบาลีรู้เรื่อง และไม่ต้องมีคนมาแปล ให้เราฟังเอาตามใจชอบของเขา เพราะมีคนพูดสิบครั้งก็เปลี่ยนไปทุกครั้ง..."เวลาผ่านไปนาน จนได้มาฟังการบรรยายธรรมของท่านอาจารย์สุจินต์โดยบังเอิญ เพราะวิทยุ รับคลื่นได้พอดีเวลา 12.30 น. และเป็นคลื่นเดียวที่รับได้ในเวลาตลอดหลายเดือนนั้น (บุญจริงๆ ที่วิทยุเสียในวันนั้น และเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น) จึงได้รู้ว่าการที่ดิฉันอยากรู้คำแปลภาษาบาลีที่ถูกต้องในแบบที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสั่งสอนธรรมะไว้นั้น ไม่ใช่เรื่อง ใหม่ และคนมากมายเจอปัญหาแบบเดียวกัน
ข้อความต่อจากนี้เรียกว่าการขอนะคะ... เป็นไปได้ หรือไม่ที่ทางมูลนิธิฯ อาจจะจัดทำคำแปลภาษาบาลีที่ใช้บ่อย และพบได้ บ่อย คำที่สำคัญต่างๆ รวบรวมขึ้นมาเป็นเล่มสักเล่มหนึ่ง เพื่อป้องกันการสับสนกับ ภาษาบาลีที่ใช้ในความหมายแบบภาษาไทย ตัวอย่างเช่นคำว่า อารมณ์ หรือ อารัมมน แค่นี้ก็มีความหมายต่างกันไกลโข เพราะทุก วันนี้คนไทยขอเพียงแค่กล่าวว่า "โถ เย้าเล่นแค่นี้ทำมีอารมณ์" ที่ว่ามีอารมณ์นั้นก็หมายความว่า เกิดความไม่พอใจหรือโกรธนั่นเอง ผู้ที่ศึกษาธรรมะใหม่ๆ หรือแม้จะ นานกว่าใหม่เล็กน้อยอย่างดิฉัน ก็มีอันต้องแปล 2 ตลบ คือแปลเป็นไทยแล้วโยนมันทิ้งไปก่อน แล้วบันทึกคำแปลที่ถูกต้องตามบาลีเข้าสมอง กว่าจะแปลอัตโนมัติสำหรับคำ ที่ได้ยินบ่อยก็นานเอาการอยู่ค่ะ
แม้ว่าบางครั้งภาษาไทยจะไม่ตรงกับภาษาบาลีบ้าง แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรค ถ้าเราเข้าใจ จรดกระดูกว่าธรรมะคือทุกสิ่งทุกอย่างที่มีจริงๆ เน้นความเข้าใจค่ะ ไม่เน้นชื่อค่ะ
เชิญคลิกอ่านที่นี่.....
จำเป็นหรือไม่ที่ต้องศึกษาบาลี
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
คลิกไปอ่านแล้วค่ะ เห็นจริงด้วยตามนั้นค่ะ เพราะตราบวันนั้นจนบัดนี้ผ่านไปหลายสิบปี ดิฉันก็ไม่เคยมีโอกาสได้เรียนภาษาบาลีเลย แต่เดี๋ยวนี้ก็รู้จักภาษาบาลีมากมายหลายคำ และฟังธรรมเข้าใจได้จากการฟังท่านอ.สุจินต์ ทั้งๆ ที่ก็ไม่รู้ภาษาบาลีนั้นแหละ แต่ท่านอาจารย์ก็เกื้อกูลในการฟังอย่างมาก เพราะอธิบายบ่อยๆ และท่านไม่เคยเบื่อที่จะอธิบายให้ฟังซ้ำๆ รวมถึงผู้เข้าร่วมสนทนาธรรมและวิทยากรทุกท่านด้วย
ขอขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ