นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺสพุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิสงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ•••..... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย .....•••
... สนทนาธรรมที่ ...
มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)
พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ
วันเสาร์ที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. คือ
ธาตุสูตร
(ว่าด้วยความต่างแห่งธาตุ)
จาก...
[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ หน้าที่ ๔๐๗
...นำสนทนาโดย...
ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และคณะวิทยากร
[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ หน้าที่ ๔๐๗
ธาตุสูตร
(ว่าด้วยความต่างแห่งธาตุ)
[๓๓๓] พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้ง
หลาย แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความต่างแห่งธาตุแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงตั้งใจฟัง จงกระทำไว้ในใจให้ดี เราจักกล่าวบัดนี้
ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
[๓๓๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความต่างแห่ง
ธาตุเป็นไฉน? คือ จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุ
โสตวิญญาณธาตุ ฆานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหา-
วิญญาณธาตุ กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ ธรรมธาตุ มโน-
วิญญาณธาตุ นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ.
จบธาตุสูตรที่ ๑.
ธาตุสังยุตต์
นานัตตวรรคที่ ๑
อรรถกถาธาตุสูตรที่ ๑
พึงทราบวินิจฉัยในธาตุสูตรที่ ๑ แห่งนานัตตวรรค ดังต่อไปนี้.-
ความที่ธรรมมีสภาพต่างกัน ได้ชื่อว่า ธาตุ เพราะอรรถว่า เป็นสภาวะ กล่าวคือ
มีอรรถว่า มิใช่สัตว์ และอรรถว่าเป็นของสูญ (ว่างเปล่า) ดังนี้ชื่อว่า ความต่างแห่งธาตุ.
ในบทเป็นต้นว่า จกฺขุธาตุ ความว่า จักขุปสาท ชื่อว่า จักขุธาตุ, รูปารมณ์ ชื่อว่า
รูปธาตุ, จิตที่มีจักขุปสาทเป็นที่อาศัย ชื่อว่า จักขุวิญญาณธาตุ. โสตปสาท ชื่อว่า
โสตธาตุ, สัททารมณ์ ชื่อว่า สัททธาตุ, จิตที่มีโสตปสาทเป็นที่อาศัย ชื่อว่าโสต-
วิญญาณธาตุ, ฆานปสาท ชื่อว่า ฆานธาตุ, คันธารมณ์ ชื่อว่า คันธธาตุ, จิตที่มี
ฆานปสาทเป็นที่อาศัย ชื่อว่า ฆานวิญญาณธาตุ, ชิวหาปสาท ชื่อว่า ชิวหาธาตุ,
รสารมณ์ ชื่อว่า รสธาตุ, จิตที่มีชิวหาปสาทเป็นที่อาศัย ชื่อว่า ชิวหาวิญญาณ
ธาตุ, กายปสาท ชื่อว่ากายธาตุ, โผฏฐัพพารมณ์ ชื่อว่า โผฏฐัพพธาตุ, จิตที่มี
กายปสาทเป็นที่อาศัย ชื่อว่า กายวิญญาณธาตุ, มโนธาตุ ๓ ชื่อว่า มโนธาตุ,
ขันธ์ ๓ มีเวทนาเป็นต้น (เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์) สุขุมรูป และ
นิพพาน ชื่อว่า ธรรมธาตุ, มโนวิญญาณ แม้ทั้งหมด ชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุ,
ก็ในข้อนี้ ธาตุ ๑๖ อย่าง เป็นกามาวจร ธาตุ ๒ ในที่สุดเป็นไปในภูมิ ๔.
จบอรรถกถาธาตุสูตรที่ ๑.
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ข้อความโดยสรุป
ธาตุสูตร
(ว่าด้วยความต่างแห่งธาตุ)
เมื่อครั้งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน พระองค์ได้ทรง
แสดงความต่างแห่งธาตุ (ธาตุต่างๆ ) แก่ภิกษุทั้งหลาย ว่า ธาตุต่างๆ มีดังนี้ .-
จักขุธาตุ (ตา) รูปธาตุ (สี) จักขุวิญญาณธาตุ (จิตเห็น)
โสตธาตุ (หู) สัททธาตุ (เสียง) โสตวิญญาณธาตุ (จิตได้ยิน)
ฆานธาตุ (จมูก) คันธธาตุ (กลิ่น) ฆานวิญญาณธาตุ (จิตได้กลิ่น)
ชิวหาธาตุ (ลิ้น) รสธาตุ (รส) ชิวหาวิญญาณธาตุ (จิตลิ้มรส)
กายธาตุ (กาย)
โผฏฐัพพธาตุ (สิ่งที่กระทบกาย ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุไฟ และธาตุลม)
กายวิญญาณธาตุ (จิตรู้สิ่งที่กระทบกาย)
มโนธาตุ (จิต ๓ ดวง ที่รู้อารมณ์ได้ทาง ๕ ทวาร ได้แก่ ปัญจทวาราวัชชนจิต และ
สัมปฏิจฉันนจิต ๒ ดวงที่เป็นกุศลวิบาก และ อกุศลวิบาก)
ธรรมธาตุ (เจตสิกทั้งหมด สุขุมรูป ๑๖ และ พระนิพพาน)
มโนวิญญาณธาตุ (จิตที่เหลือ ยกเว้นทวิปัญจวิญญาณ และ มโนธาตุ ๓ ทั้งหมด
เป็นมโนวิญญาณธาตุ)
ทั้งหมดนี้ คือ ธาตุต่างๆ .
ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ ครับ
ธาตุ ๑๘
ทวิปัญจวิญญาณธาตุ
มโนธาตุ
มโนวิญญาณธาตุ
วิญญาณธาตุ ๗ ประเภท
ปัญญารู้โดยความเป็นธาตุ ความเป็นปรกติ
ธรรม
จิต และ อารมณ์
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนา ฯ
อนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ