สูตรที่ ๘ ว่าด้วยเหตุเป็นไปและไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก
โดย บ้านธัมมะ  19 ต.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 38476

[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 394

สูตรที่ ๘

ว่าด้วยเหตุเป็นไปและไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 394

สูตรที่ ๘

ว่าด้วยเหตุเป็นไปและไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก

[๒๘๔] ๓๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใดพวกโจรมีกำลัง สมัยนั้นพระเจ้าแผ่นดินย่อมถอยกำลัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยเช่นนั้น พระเจ้าแผ่นดินย่อมไม่สะดวกที่จะเสด็จผ่านไป เสด็จออกไป


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 395

หรือจะออกคำสั่งไปยังชนบทชายแดน ในสมัยเช่นนั้น แม้พวกพราหมณ์และคฤหบดีก็ไม่สะดวกที่จะผ่านไป จะออกไป หรือเพื่อตรวจตราการงานภายนอก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใดพวกภิกษุเลวทรามมีกำลัง สมัยนั้นพวกภิกษุที่มีศีลเป็นที่รักย่อมถอยกำลัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยเช่นนั้น ภิกษุพวกที่มีศีลเป็นที่รัก เป็นผู้นิ่งเงียบทีเดียว นั่งในท่ามกลางสงฆ์ หรือคบชนบทชายแดน ข้อนี้ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ของชนมาก เพื่อมิใช่สุขของชนมาก เพื่อความฉิบหาย เพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใดพระเจ้าแผ่นดินมีกำลัง สมัยนั้นพวกโจรย่อมถอยกำลัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยเช่นนั้น พระเจ้าแผ่นดินย่อมสะดวกที่จะเสด็จผ่านไป เสด็จออกไป หรือที่จะออกคำสั่งไปยังชนบทชายแดน ในสมัยเช่นนั้น แม้พวกพราหมณ์และคฤหบดีย่อมสะดวกที่จะไป ออกไป หรือตรวจการงานภายนอก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใดพวกภิกษุที่มีศีลเป็นที่รักมีกำลัง สมัยนั้นพวกภิกษุที่เลวทรามย่อมถอยกำลัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยเช่นนั้น พวกภิกษุที่เลวทราม เป็นผู้นิ่งเงียบทีเดียวนั่งในท่ามกลางสงฆ์ หรือออกไปทางใดทางหนึ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ของชนมาก เพื่อสุขของชนมาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

จบสูตรที่ ๘


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 396

อรรถกถาสูตรที่ ๘

ในสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า โจรา พลวนฺโต โหนฺติ ความว่า พวกโจรพรักพร้อมด้วยพรรคพวก พรักพร้อมด้วยบริวาร พรักพร้อมด้วยสถานที่อยู่ พรักพร้อมด้วยพาหนะ. บทว่า ราชาโน ตสฺมึ สมเย ทุพฺพลา โหนฺติ ความว่า ในสมัยนั้น ฝ่ายเจ้าทั้งหลายเป็นฝ่ายอ่อนกำลัง เพราะไม่มีสมบัติเหล่านั้น. บทว่า อติยาตุํ ความว่า เพื่อเที่ยวตรวจตราชนบทภายนอก แล้วประสงค์จะเข้าพระนครในขณะที่ต้องการ. บทว่า นิยฺยาตุํ ความว่า ไม่มีความผาสุกที่จะเสด็จออกไป ไม่ว่าในปฐมยาม มัชฌิมยาม หรือปัจฉิมยาม ด้วยมีพระดำรัสว่า พวกโจรปล้นย่ำยีชนบท จำจักป้องกันพวกมัน. จำเดิมแต่นั้น พวกโจรเที่ยวตีแย่งชิงผู้คน. บทว่า ปจฺจนฺติเม วา ชนปเท อนุสญฺาตุํ ความว่า แม้จะปกครองชนบทชายแดน เพื่อสร้างบ้านที่อยู่ สร้างสะพาน ขุดสระโบกขรณี และสร้างศาลาเป็นต้น ก็ไม่สะดวก. บทว่า พฺราหฺมณคหปติกานํ ได้แก่ พวกพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายที่อยู่ภายในพระนคร. บทว่า พาหิรานิ วา กมฺมนฺตานิ ได้แก่ งานสวนงานนานอกบ้าน.

บทว่า ปาปภิกฺขู พลวนฺโต โหนฺติ ความว่า พวกภิกษุชั่วเป็นฝ่ายมีกำลัง พรั่งพร้อมด้วยอุปัฏฐากชายหญิงเป็นอันมาก และได้พึ่งพิงพระราชาและราชมหาอำมาตย์. บทว่า เปสลา ภิกฺขู ตสฺมึ สมเย ทุพฺพลา โหนฺติ ความว่า ในสมัยนั้น พวกภิกษุที่มีศีลเป็นที่รัก (เรียบร้อย) เป็นผู้อ่อนกำลัง เพราะไม่มีสมบัติเหล่านั้น. บทว่า ตุณฺหีภูตา ตุณหีภูตา สงฺฆมชฺเฌ สงฺกสายนฺติ ความว่า เป็นผู้เงียบ


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 397

เสียงนั่งในท่านกลางสงฆ์ ไม่อาจเงยหน้าอ้าปากกล่าวอะไรๆ แม้แต่คำเดียว นั่งประหนึ่งซบเซาอยู่. บทว่า ตยิทํ ได้แก่ เหตุนั่นนั้น. ในฝ่ายขาว ก็พึงทราบตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๘