๘. กุลฆรณีสูตร ว่าด้วยเทวดาเตือนภิกษุรูปหนึ่งผู้คลุกคลี
โดย บ้านธัมมะ  30 ส.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 36428

[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 369

๘. กุลฆรณีสูตร

ว่าด้วยเทวดาเตือนภิกษุรูปหนึ่งผู้คลุกคลี


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 25]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 369

๘. กุลฆรณีสูตร

ว่าด้วยเทวดาเตือนภิกษุรูปหนึ่งผู้คลุกคลี

[๗๘๐] สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่ง พำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล สมัยนั้นแล ภิกษุนั้นไปอยู่คลุกคลีในสกุลแห่งหนึ่งเกินเวลา.

[๗๘๑] ครั้งนั้นแล เทวดาผู้สิงอยู่ในราวป่านั้น มีความเอ็นดูใคร่ประโยชน์แก่ภิกษุนั้น ใคร่จะให้เธอสังเวช จึงเนรมิตเพศแห่งหญิงแม่เรือนในตระกูลนั้นเข้าไปหาถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะภิกษุนั้นด้วยคาถาว่า

ชนทั้งหลาย ย่อมประชุมสนทนากันที่ฝั่งแม่น้ำ ในโรงที่พัก ในสภา และในถนน ส่วนเราและท่านเป็นดังเรือ.

[๗๘๒] แท้จริงเสียงที่เป็นข้าศึกมีมากอันท่านผู้มีตบะ พึงอดทน ไม่พึงเก้อเขิน


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 370

เพราะเหตุนั้น เพราะสัตว์หาได้เศร้าหมองด้วยเหตุนั้นไม่ แต่ผู้ใดมักสะดุ้งเพราะเสียงประดุจเนื้อทรายในป่า นักปราชญ์กล่าวผู้นั้นว่ามีจิตเบา วัตรของเขาย่อมไม่สมบูรณ์.

อรรถกถากุลฆรณีสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในกุลฆรณีสูตรที่ ๘ ต่อไปนี้ :-

บทว่า อชฺโฌคาฬฺหปฺปตฺโต แปลว่า ถึงความคลุกคลี. ได้ยินว่าภิกษุนั้นเรียนกัมมัฏฐานในสำนักพระศาสดาแล้วเข้าไปสู่ราวป่า เข้าไปบิณฑบาตยังหมู่บ้านในวันที่ ๒. ด้วยมารยาทที่น่าเลื่อมใสงดงาม. บางตระกูลเลื่อมใสในอิริยาบถของท่าน กราบไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์แล้ว ถวายบิณฑบาต. ก็แล เขาได้ฟังภัตตานุโมทนาแล้ว ก็เลื่อมใสยิ่งขึ้น นิมนต์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญนิมนต์รับภิกษาในที่นี้ตลอดเวลาเป็นนิตย์เถิด. พระเถระนั้นรับแล้ว เมื่อบริโภคอาหารของเขาก็ประคองความเพียร พากเพียรจนบรรลุพระอรหัตแล้วคิดว่า ตระกูลนี้มีอุปการะแก่เรามาก เราจะไปในที่อื่นทำไม ดังนี้ จึงเสวยความสุขแห่งผลสมาบัติอยู่ในที่นั้น.

บทว่า อชฺฌภาสิ ความว่า ได้ยินว่า เทพธิดานั้นไม่รู้ว่า พระเถระเป็นพระขีณาสพ จึงคิดว่า พระเถระนี้ไม่ไปบ้านอื่น ไม่ไปเรือนอื่น ไม่นั่งในที่อื่นมีโคนต้นไม้และหอฉันเป็นต้น เข้าไปนั่งยังเรือนเดียวตลอดกาล


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 371

เป็นนิตย์ ก็แลภิกษุทั้ง ๒ นี้ ถึงความคลุกคลี บางทีภิกษุนี้จะพึงประทุษร้ายตระกูลนี้ เราจักเตือนภิกษุนั้น ดังนี้ เพราะฉะนั้นจึงกล่าว.

บทว่า สณฺาเน ความว่า ในที่ใกล้ประตูเมืองซึ่งคนทิ้งสิ่งของไว้ระเกะระกะ. บทว่า สงฺคมฺม แปลว่า มาประชุมกัน. บทว่า มนฺเตนฺติ แปลว่า พูดกัน. บทว่า มญฺจ ตญฺจ แปลว่า กล่าวกะเราด้วย กล่าวกะเขาด้วย. บทว่า กิมนฺตรํ. แปลว่า เพราะเหตุไร. บทว่า พหู หิ สทฺธา ปจฺจูหา ความว่า เสียงที่เป็นข้าศึกเหล่านี้มีมากในโลก. บทว่า น เตน แปลว่า เพราะเหตุนั้น หรืออันผู้มีตบะนั้นไม่พึงเก้อเขิน. บทว่า น หิ เตน ความว่า ก็สัตว์จักเศร้าหมองเพราะคำที่คนอื่นกล่าวแล้วนั้นก็หาไม่. เทวดานั้นแสดงว่า ก็จักเศร้าหมองด้วยบาปกรรมที่ตนเห็นแล้วเอง. บทว่า วาตมิโค ยถา ความว่า เนื้อสมันในป่าย่อมสะดุ้งด้วยเสียงแห่งใบไม้เป็นต้นที่ถูกลมพัดฉันใด เขาชื่อว่าเป็นผู้สะดุ้งด้วยเสียงนั้น ฉันนั้น. บทว่า นาสฺส สมฺปชฺชเต ความว่า วัตรของผู้มีจิตเบานั้น ย่อมไม่สมบูรณ์. ก็แล พึงทราบว่า พระเถระมีวัตรบริบูรณ์แล้ว เพราะเป็นพระขีณาสพ.

จบอรรถกถากุลฆรณีสูตรที่ ๘