มาติกานิกเขปวาระ (ปัฏฐาน ภาคที่ ๑)
โดย บ้านธัมมะ  20 ก.พ. 2565
หัวข้อหมายเลข 42186

[เล่มที่ 85] พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑

พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๗

ปัฏฐาน ภาคที่ ๑

มาติกานิกเขปวาระ

ปัจจัย ๒๔ ๑/๑

ปรมัตถทีปนี อรรถกถามหาปัฏฐานปกรณ์อารัมภกถา ๓

วรรณนาอุทเทสวาระ ๕

อรรถกถาปัจจัยวิภังควาระ ๘

๑. เหตุปัจจัย ๙

๒. อารัมมณปัจจัย ๑๑

๓. อธิปติปัจจัย ๑๑

๔. อนันตรปัจจัย ๑๒

๕. สมนันตรปัจจัย ๑๒

๖. สหชาตปัจจัย ๑๔

๗. อัญญมัญญปัจจัย ๑๕

๘. นิสสยปัจจัย ๑๕

๙. อุปนิสสยปัจจัย ๑๖

๑๐. ปุเรชาตปัจจัย ๑๙

๑๑. ปัจฉาชาตปัจจัย ๑๙

๑๒. อาเสวนปัจจัย ๒๐

๑๓. กัมมปัจจัย ๒๐

๑๔. วิปากปัจจัย ๒๑

๑๕. อาหารปัจจัย ๒๑

๑๖. อินทริยปัจจัย ๒๒

๑๗. ฌานปัจจัย ๒๒

๑๘. มัคคปัจจัย ๒๓

๑๙. สัมปยุตตปัจจัย ๒๓

๒๐. วิปปยุตตปัจจัย ๒๔

๒๑. อัตถิปัจจัย ๒๕

๒๒. นัตถิปัจจัย ๒๖

๒๓. วิคตปัจจัย ๒๖

๒๔. อวิคตปัจจัย ๒๗


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 85]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1

พระอภิธรรมปิฎก

เล่มที่ ๗ (๑)

ปัฏฐาน ภาคที่ ๑

มาติกานิกเขปวาระ (๒)

[๑] ปัจจัย ๒๔

๑. เหตุปัจจัย

๒. อารัมมณปัจจัย

๓. อธิปติปัจจัย

๔. อนันตรปัจจัย

๕. สมนันตรปัจจัย

๖. สหชาตปัจจัย

๗. อัญญมัญญปัจจัย

๘. นิสสยปัจจัย

๙. อุปนิสสยปัจจัย


(๑) บาลีเล่มที่ ๔๐

(๒) เรียกว่าปัจจยอุทเทสก็ได้.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 2

๑๐. ปุเรชาตปัจจัย

๑๑. ปัจฉาชาตปัจจัย

๑๒. อาเสวนปัจจัย

๑๓. กัมมปัจจัย

๑๔. วิปากปัจจัย

๑๕. อาหารปัจจัย

๑๖. อินทริยปัจจัย

๑๗. ฌานปัจจัย

๑๘. มัคคปัจจัย

๑๙. สัมปยุตตปัจจัย

๒๐. วิปปยุตตปัจจัย

๒๑. อัตถิปัจจัย

๒๒. นัตถิปัจจัย

๒๓. วิคตปัจจัย

๒๔. อวิคตปัจจัย.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 3

ปรมัตถทีปนี

อรรถกถาปัญจปกรณ์

อรรถกถาถามหาปัฏฐานปกรณ์ (๑)

อารัมภกถา

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นเทพยิ่งกว่าเทพแห่งเทพทั้งหลาย เป็นผู้อันเทพยดาและทานพ (อสูร) ถวายการบูชาแล้ว ทรงมีพระสังวรอันหมดจดทรงมีพระวิริยภาพใหญ่ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงแสวงหาพระสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นองค์ที่ ๗ (๒) ทรงระงับดับนามและรูปได้สนิท ครั้นทรงแสดงยมกปกรณ์จบลงแล้ว จึงทรงแสดงปกรณ์ที่ ๗ อันเป็นลำดับของยมกปกรณ์นั้น ทั้งโดยอรรถและโดยธรรม โดยชื่อว่า "ปัฏฐาน" อันเป็นพระเทศนาที่ประดับด้วยนัยอันลึกซึ้งยิ่ง.

บัดนี้ถึงลำดับการพรรณนาปัฏฐานปกรณ์นั้นแล้ว ฉะนั้น ข้าพเจ้า (พระพุทธโฆษาจารย์) จักพรรณนา


(๑) อรรถกถา เรียกมหาปัฏฐานปกรณ์.

(๒) พระพุทธเจ้าพระองค์นี้นับเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่ ๗ นับแต่พระวิปัสสีพุทธเจ้าเป็นต้นมา (พระวิปัสสี พระสิขี พระเวสสภู พระกกุสันโธ พระโกนาคมโน พระกัสโป พระโคตโม) อรรถกถาใช่คำว่า "อิสิสตฺตโม" พระฤาษีองค์ที่ ๗.


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 4

ปัฏฐานปกรณ์นั้น ขอท่านสาธุชนทั้งหลาย จงตั้งใจสดับการพรรณนานั้นเถิด.

วรรณนาอุทเทสวาระ (๑)

ดำเนินความว่า ใน อนุโลมปัฏฐาน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอาศัยติกะ ๒๒ ติกะ แสดงชื่อ ติกปัฏฐาน. ทรงอาศัยทุกะ ๑๐๐ ทุกะแสดงชื่อ ทุกปัฏฐาน. ต่อจากนั้น ทรงรวมติกะ ๒๒ ติกะเข้าในทุกะ ๑๐๐ ทุกะ แล้วทรงแสดงชื่อ ทุกติกปัฏฐาน. ต่อจากนั้น ทรงรวมทุกะ ๑๐๐ ทุกะเข้าในติกะ ๒๒ ติกะ แล้วทรงแสดงชื่อ ติกทุกปัฏฐาน. อนึ่งทรงผนวกติกะเข้าในติกะเท่านั้น แล้วทรงแสดงชื่อ ติกติกปัฏฐาน. ทรงผนวกทุกะเข้าในทุกะเท่านั้น แล้วทรงแสดงชื่อ ทุกทุกปัฏฐาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ว่า

"ใน อนุโลมปัฏฐาน มีนัยอันลึกซึ้งยิ่ง ๖ นัย คือติกปัฏฐานอันประเสริฐ ทุกปัฏฐานอันสูงสุด ทุกติกปัฏฐาน ติกทุกปัฏฐาน ติกติกปัฏฐาน และทุกทุกปัฏฐาน" ดังนี้.

แม้ใน ปัจจนียปัฏฐาน ก็ทรงแสดงปัฏฐานด้วยนัย ๖ นัย แม้ในปัจจนียะอย่างนี้ คือทรงอาศัยติกะ ๒๒ ติกะ แสดงชื่อติกปัฏฐาน ทรงอาศัยทุกะ ๑๐๐ ทุกะ แสดงชื่อทุกปัฏฐาน ทรงผนวกติกะ ๒๒ เข้าในทุกะ ๑๐๐ ทุกะ แล้วทรงแสดงชื่อทุกติกปัฏฐาน ทรงผนวกทุกะ ๑๐๐ ทุกะเข้าในติกะ ๒๒ ติกะ แล้วทรงแสดงชื่อติกทุกปัฏฐาน ทรงผนวก


(๑) อธิบายมาติกา.


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 5

ติกะเข้าในติกะเท่านั้น แล้วทรงแสดงชื่อติกติกปัฏฐาน ทรงผนวกทุกะ เข้าในทุกะเท่านั้น แล้วทรงแสดงชื่อทุกทุกปัฏฐาน. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า

"ในปัจจนียปัฏฐาน มีนัยอันลึกซึ้งยิ่ง ๖ นัย คือติกปัฏฐานอันประเสริฐ ทุกปัฏฐานอันสูงสุด ทุกติกปัฏฐาน ติกทุกปัฏฐาน ติกติกปัฏฐาน และทุกทุกปัฏฐาน" ดังนี้.

แม้ใน อนุโลมปัจจนียปัฏฐาน ต่อจากนั้นไป ก็ทรงแสดงนัย ๖ นัย โดยอุบายนี้เหมือนกัน. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

"ในอนุโลมปัจจนียปัฏฐาน มีนัยอันลึกซึ้งยิ่ง ๖ นัยคือ ติกปัฏฐานอันประเสริฐ ทุกปัฏฐานอันสูงสุด ทุกติกปัฏฐาน ติกทุกปัฏฐาน ติกติกปัฏฐาน และทุกทุกปัฏฐาน" ดังนี้.

ต่อจากนั้น ใน ปัจจนียานุโลมปัฏฐาน ก็ทรงแสดงนัย ๖ เหล่านี้เหมือนกัน. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

"ใน ปัจจนียานุโลมปัฏฐาน มีนัยอันลึกซึ้ง ๖ นัยคือ ติกปัฏฐานอันประเสริฐ ทุกปัฏฐานอันสูงสุด ทุกติกปัฏฐาน ติกทุกปัฏฐาน ติกติกปัฏฐาน และทุกทุกปัฏฐาน" ดังนี้.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า ปัฏฐานคือ ในอนุโลมนัยมีปัฏฐาน ๖ ในปัจจนียนัยมีปัฏฐาน ๖ ในอนุโลมปัจจนียนัย


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 6

มีปัฏฐาน ๖ ในปัจจนียานุโลมนัยมีปัฏฐาน ๖ ดังกล่าวมาแล้ว ชื่อว่า ปัฏฐานมหาปกรณ์ อันเป็นที่ประชุมแห่งสมันตปัฏฐาน ๒๔. ในปัฏฐาน นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ปกรณ์เป็นที่รวมแห่งสมันตปัฏฐาน ๒๔ นี้ ชื่อว่าปัฏฐานมหาปกรณ์ ด้วยอำนาจแห่งการเป็นที่รวมแห่งสมันตปัฏฐาน ๒๔ เหล่าใด ดังนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบอรรถแห่งชื่อ แห่งปัฏฐาน เหล่านั้น และแห่งปกรณ์นี้อย่างนี้ก่อน.

ถามว่า ชื่อว่าปัฏฐาน เพราะอรรถว่า กระไร?

ตอบว่า เพราะอรรถว่า เป็นปัจจัยมีประการต่างๆ. จริงอยู่ อักษร ย่อมแสดงอรรถว่า มีประการต่างๆ.

าน ศัพท์ ย่อมแสดงอรรถว่า เป็นปัจจัย.

จริงอยู่ ปัจจัยท่านเรียกว่า ฐานะ ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะและมิใช่ฐานะ บรรดาปัฏฐาน ๒๔ เหล่านั้น แต่ละข้อชื่อว่า ปัฏฐาน เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ด้วยอำนาจแห่ง ปัจจัยมีประการต่างๆ ด้วยประการฉะนี้. ก็ปกรณ์นั้นทั้งหมด ผู้ศึกษาพึงทราบว่า ปัฏฐาน เพราะเป็นที่รวมแห่งปัฏฐานเหล่านั้น

อีกนัยหนึ่ง ถามว่า ชื่อว่า ปัฏฐาน เพราะอรรถว่า อะไร?

ตอบว่า เพราะอรรถว่า จำแนก. จริงอยู่ ปัฏฐานปรากฏโดย อรรถว่า จำแนกในที่มาว่า การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนก การทำให้กระจ่าง. บรรดาปัฏฐาน ๒๔ เหล่านี้ แต่ละอย่างชื่อว่า ปัฏฐาน เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกธรรมทั้งหลาย มีกุศล เป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย มีเหตุปัจจัยเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้.


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 7

ปกรณ์นี้ทั้งหมดผู้ศึกษาพึงทราบว่า ชื่อว่า ปัฏฐาน เพราะเป็นที่ประชุม แห่งปัฏฐานเหล่านี้.

อีกนัยหนึ่ง ถามว่า ชื่อว่า ปัฏฐาน เพราะอรรถว่า อะไร?

ตอบว่า เพราะอรรถว่า ตั้งอยู่ทั่วไป (แผ่ไป). อธิบายว่า ด้วยอรรถว่า ดำเนินไป. จริงอยู่ ในอาคตสถานว่า โคฏฺา ปฏฺิตคาโว โคดำเนินไปจากที่อยู่ของโค ดังนี้ ศัพท์ว่า ปฏฺิตคาโว โคดำเนินไป พระอาจารย์กล่าวโดยปัฏฐานใด ปัฏฐานนั้นโดยอรรถ ได้แก่การดำเนินไป. บรรดาปัฏฐาน ๒๔ เหล่านี้ แต่ละข้อชื่อว่า ปัฏฐาน เพราะมีการดำเนินอันเป็นไปด้วยอำนาจความเกี่ยวข้องกัน เพราะได้นัยอันมีความพิสดารในธรรมทั้งหลาย มีกุศลเป็นต้น ซึ่งจำแนกออกเป็นประเภทมีเหตุปัจจัยเป็นต้น แห่งพระสัพพัญญุตญาณอันมีการดำเนินไปไม่ขัดกัน ในปกรณ์ทั้งหลาย มีธัมมสังคณีปกรณ์เป็นต้น ซึ่งมีนัยอันไม่พิสดารนัก ดังพรรณนามาฉะนี้. ก็ปกรณ์นี้ทั้งหมดพึงทราบว่า ชื่อว่า ปัฏฐาน เพราะเป็นที่ประชุมแห่งปัฏฐานเหล่านี้.

บรรดาปัฏฐาน ๖ เหล่านั้น ปัฏฐานที่หนึ่ง ในอนุโลมปัฏฐานก่อน ชื่อว่า ติกปัฏฐาน เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงด้วยอำนาจติกมาติกา. พึงทราบการแยกบทติกปัฏฐานนั้น (วิเคราะห์) ดังนี้ ปัฏฐานแห่งติกะทั้งหลายมีอยู่ในปกรณ์นี้ เพราะเหตุนั้น ปกรณ์นี้ชื่อว่า ติกปัฏฐาน. อธิบายว่า ปัจจัยมีประการต่างๆ แห่งติกะทั้งหลาย มีอยู่แก่เทศนานี้ เหตุนั้น เทศนานี้ชื่อว่า ติกปัฏฐาน. ในวิกัปที่สอง ความว่า ปัฏฐานแห่งติกะทั้งหลายนั้นแหละ ชื่อว่า ติกปัฏฐาน อธิบายว่า การจำแนกติกะทั้งหลาย ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยมีเหตุเป็นต้น. ในวิกัปที่สาม ความว่า


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 8

ปัฏฐาน คือติกะทั้งหลายที่ได้ความพิสดาร เพราะจำแนกออกไปโดยประเภทแห่งเหตุปัจจัยเป็นต้น ชื่อว่า ติกปัฏฐาน อธิบายว่า ภูมิเป็นที่ดำเนินไปโดยความเกี่ยวข้องกันแห่งพระสัพพัญญุตญาณ. แม้ในทุกปัฏฐาน เป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน. ผู้ศึกษาครั้นทราบปัฏฐาน ๖ ในอนุโลมอย่างนี้แล้ว พึงทราบแม้ในปัจจนียะเป็นต้น โดยอุบายนี้. ก็เพราะปัฏฐานเหล่านี้โดยครบถ้วน คือในอนุโลม ในปัจจนียะ. ในอนุโลมปัจจนียะ ในปัจจนียานุโลม มีนัยละ ๖ จึงรวมเป็น ๒๔ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกว่า สมันตปัฏฐาน ๒๔.

ปกรณ์เป็นที่รวมแห่งสมันตปัฏฐาน ๒๔ นั่น ชื่อว่า ปัฏฐานมหาปกรณ์ ด้วยอำนาจเป็นที่ประชุมแห่งสมันตปัฏฐาน ด้วยอำนาจเป็นที่ประชุมแห่งสมันตปัฎฐาน กล่าวคือ ขุททกปัฎฐาน ๒๔ เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้

ก็ปัฐฎฐานนี้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ติกปัฏฐาน ฯลฯ ติกติกปัฏฐาน ทุกทุกปัฏฐาน เพราะพระองค์ทรงแสดงโดยอาศัยติกะ เป็นต้นเหล่าใด เพื่อจะแสดงปัจจัยที่เป็นเหตุให้พระองค์ทรงจำแนกติกะ เป็นต้นเหล่านั้น โดยไม่เกี่ยวข้องกับติกะเป็นต้นเหล่านั้น จึงตรัสวาระ ชื่อว่ามาติกานิกเขปวาระแห่งปัฏฐานนั้นก่อนตั้งแต่ต้น.

อรรถกถาปัจจัยวิภังควาระ

คำว่า ปัจจัยวิภังควาระ เป็นชื่อแห่งมาติกานิกเขปวาระนั่นเอง. ปัจจัยวิภังควาระนั้นมี ๒ คือ โดยอุทเทสและนิทเทส. วาระนี้คือ เหตุปจฺจโย ฯเปฯ อวิคตปจฺจโย เป็นอุทเทสแห่งปัจจัยวิภังควาระนั้น.


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 9

๑. เหตุปัจจัย

พึงทราบวินิจฉัยในปัจจัยเหล่านั้นต่อไป

เหตุนั้นด้วย เป็นปัจจัยด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหตุปัจจัย. อธิบายว่า เป็นปัจจัยเพราะเป็นเหตุ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นปัจจัยเพราะความเป็นเหตุดังนี้. ในอารัมมณปัจจัยเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. บรรดาปัจจัยเหล่านั้น คำว่า เหตุ นี้ เป็นชื่อแห่งการณะและมูลรากอันเป็นส่วนประกอบแห่งถ้อยคำ. จริงอยู่ ส่วนประกอบแห่งคำชาวโลก เรียกกันว่า เหตุ ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า ปฏิญญา เป็นเหตุ. ส่วนในศาสนาคำสอน การณะ เรียกว่า เหตุ ในคำทั้งหลายว่า ธรรมทั้งหลาย มีเหตุเป็นแดนเกิดเป็นต้น. มูลราก เรียกว่า เหตุ ในคำเป็นต้นว่า กุศลเหตุ มีสาม อกุศลเหตุ มีสาม ในเหตุปัจจัยนี้ประสงค์เอาเหตุที่เป็น มูลรากนั้น.

ก็ในคำว่า ปจฺจโย นี้ มีอรรถแห่งคำดังนี้ ผลย่อมอาศัยเป็นไปแต่ธรรมนี้ เพราะฉะนั้น ธรรมนี้ชื่อว่า ปัจจัย อธิบายว่า เป็นไปโดยไม่ปฏิเสธธรรมนั้น. จริงอยู่ ธรรมใดดำรงอยู่หรือเกิดขึ้น เพราะไม่ปฏิเสธซึ่งธรรมใด ธรรมนั้นท่านกล่าวว่าเป็นปัจจัยแก่ธรรมนั้น. แต่โดย ลักษณะธรรมที่ช่วยอุปการะชื่อว่าปัจจัย. จริงอยู่ ธรรมใดช่วยอุปการะแก่การตั้งอยู่หรือการเกิดขึ้นแห่งธรรมใด ธรรมนั้นท่านเรียกว่า เป็นปัจจัยแก่ธรรมนั้น. คำมีอาทิว่า ปัจจัย เหตุ การณะ นิทาน สัมภวะ ปภวะ ว่าโดยใจความแล้ว เป็นอันเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น.

ว่าโดยสังเขป ที่ชื่อว่าเหตุเพราะอรรถว่า เป็นมูลราก ชื่อว่าปัจจัย


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 10

เพราะอรรถว่า ช่วยอุปการะ เพราะฉะนั้น ธรรมที่ช่วยอุปการะ เพราะอรรถว่า เป็นมูลราก จึงชื่อว่าเหตุปัจจัย.

จริงอยู่ มีอธิบายแห่งอาจารย์ทั้งหลายว่า เหตุ นั้นก็ได้แก่ธรรมที่ทำกุศลเป็นต้น ให้สำเร็จความเป็นกุศลเป็นต้น เหมือนเมล็ดข้าวสาลี เป็นต้น ให้สำเร็จเป็นข้าวสาลีเป็นต้น และสีแห่งแก้วมณีเป็นต้น ให้สำเร็จเป็นแสงแก้วมณีเป็นต้นฉะนั้น. อธิบายว่า ก็เมื่อเป็นอย่างนั้น ความเป็นเหตุปัจจัยย่อมไม่สำเร็จในรูปที่มีเหตุนั้นเป็นสมุฏฐาน เพราะว่าเหตุนั้นไม่ได้ให้รูปเหล่านั้น สำเร็จความเป็นกุศลเป็นต้น แต่ชื่อว่าไม่เป็นปัจจัยหาได้ไม่ ดังนี้.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวว่า "เหตุเป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ สัมปยุตด้วยเหตุและแก่รูปที่มีเหตุนั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย." อนึ่งเว้นจากเหตุนั้น อเหตุกจิตก็สำเร็จเป็นอัพยากตธรรมได้. และแม้สเหตุกจิตก็สำเร็จความเป็นกุศลเป็นต้นได้ เนื่องด้วยโยนิโสมนสิการเป็นต้น เหตุที่สัมปยุตหาเกี่ยวข้องด้วยไม่. ก็ถ้าบรรดาเหตุที่สัมปยุตพึงเป็นกุศลเป็นต้นได้ ตามสภาพเองบรรดาธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุนั้น ก็ต้องเนื่องเฉพาะด้วยเหตุ อโลภะ พึงเป็นกุศลหรืออัพยากตะ ก็ได้. แต่เพราะเป็นได้โดยประการทั้งสอง ฉะนั้น อโลภะพึงเป็นกุศลหรืออัพยากตะในธรรมทั้งหลายตามที่ประกอบ. ด้วยประการดังกล่าวมาแล้วนี้ จำต้องค้นหาความเป็นกุศลเป็นต้น แม้ในเหตุทั้งหลายอีก ก็เมื่อไม่ถือเอาอรรถ คือมูลรากแห่งเหตุเกี่ยวกับการให้ธรรมทั้งหลายสำเร็จ เป็นกุศลเป็นต้น ถือเอาด้วยอำนาจการให้สัมปยุตธรรม สำเร็จความตั้งมั่นด้วยดีย่อมไม่ผิดอะไร. จริงอยู่ ธรรมทั้งหลายที่ได้เหตุปัจจัยแล้ว


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 11

ย่อมตั้งมั่นด้วยดี เหมือนต้นไม้ที่มีรากงอกแล้ว. ส่วนธรรมที่ไม่มีเหตุย่อมไม่ตั้งมั่นด้วยดี เหมือนสาหร่ายซึ่งเป็นพืชที่เกิดในน้ำเป็นต้น. ธรรมที่อุปการะโดยอรรถว่าเป็นมูลราก คือเป็นธรรมที่มีอุปการะโดยให้สำเร็จ ความตั้งมั่นด้วยดี ผู้ศึกษาพึงทราบว่าเป็นเหตุปัจจัย ด้วยประการฉะนี้.

๒. อารัมมณปัจจัย

พึงทราบอธิบายในปัจจัยอื่นๆ ต่อจากนั้น

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นอารมณ์ ชื่อว่า อารัมมณปัจจัย.

อารัมมณปัจจัยนั้นมี ๖ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งรูปารมณ์เป็นต้น ธรรมใดธรรมหนึ่งที่ไม่เป็นอารมณ์หามีไม่ เพราะพระองค์ทรงเริ่มไว้ว่า รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ เป็นต้น แล้วให้จบลงด้วยคำว่า ธรรมทั้งหลายเหล่าใดๆ คือจิตและเจตสิก ปรารภธรรมใดๆ เกิดขึ้น ธรรมเหล่านั้นๆ เป็นปัจจัยแก่ธรรมเหล่านั้นๆ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย. เหมือนอย่างว่าบุรุษทุรพลจับยึดไม้เท้าหรือว่าเชือกแล้วจึงลุกขึ้นยืนได้ ฉันใด ธรรมคือจิตและเจตสิก ก็ฉันนั้น ต้องปรารภอารมณ์มีรูปเป็นต้นจึงเกิดขึ้นและตั้งอยู่ได้ เพราะฉะนั้น ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นอารมณ์ของจิตและเจตสิกแม้ทั้งหมด พึงทราบว่า เป็นอารัมมณ ปัจจัย.

๓. อธิปติปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยอรรถว่า เป็นที่ใหญ่ที่สุด ชื่อว่า อธิปติปัจจัย.

อธิปติปัจจัยนั้นมี ๒ อย่างคือ สหชาตาธิปติปัจจัยและอารัมมณาธิปติปัจจัย.


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 12

ในสองอย่างนั้น ธรรม ๔ อย่างคือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะและวิมังสา ผู้ศึกษาพึงทราบว่าเป็นสหชาตาธิปติปัจจัย เพราะพระบาลีว่า ฉันทาธิปติ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วยฉันทะ และแก่รูปที่มีฉันทะนั้นเป็นสมุฏฐานด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย ดังนี้เป็นต้น. ก็แลอธิปติปัจจัยนั้น ย่อมไม่เกิดคราวเดียวกัน. จริงอยู่ ในเวลาใดจิตทำฉันทะให้เป็นธุระ คือให้เป็นหัวหน้า เป็นไปในเวลานั้น ฉันทะเป็นอธิบดี แต่วิริยะ จิตตะ วิมังสานอกจากนี้ หาเป็นอธิบดีด้วยไม่. แม้ในอธิบดีที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.

ส่วนอรูปธรรมทั้งหลาย (คือจิตและเจตสิก) ทำธรรมใดให้หนักย่อมเป็นไป ธรรมนั้นชื่อว่าเป็น อารัมมณาธิปติปัจจัยแก่อรูปธรรม (คือจิตและเจตสิก) เหล่านั้น เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ธรรมเหล่าใดๆ คือจิตและเจตสิกธรรมทั้งหลาย ทำธรรมเหล่าใดๆ ให้หนักย่อมเกิดขึ้น ธรรมเหล่านั้นๆ เป็น ปัจจัยแก่กรรมเหล่านั้นๆ ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

๔. อนันตรปัจจัย และ ๕. สมนันตรปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการโดยความไม่มีระหว่างคั่น ชื่อว่า อนันตรปัจจัย.

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความไม่มีระหว่างคั่นด้วยดี ชื่อว่า นันตรปัจจัย.

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความไม่มีระหว่างคั่นด้วยดี ชื่อว่า สมนันตรปัจจัย. ปัจจัยทั้งสองนี้โดยมากอาจารย์ทั้งหลายอธิบายเสียเยิ่นเย้อ. ส่วน สาระในปัจจัยทั้งสองมีดังนี้ จริงอยู่ การกำหนดจิตนี้ได้ว่า มโนธาตุ มีลำดับจักขุวิญญาณ มโนวิญญาณธาตุ มีในลำดับแห่งมโนธาตุ ดังนี้


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 13

เป็นต้น. การกำหนดนั้นย่อมสำเร็จได้ด้วยอำนาจจิตที่เกิดก่อนเท่านั้น หามีโดยประการอื่นไม่ เพราะฉะนั้น ธรรมที่สามารถให้จิตตุปบาทอันเหมาะสมแก่ตนเกิดขึ้นในลำดับของตนๆ ชื่อว่า อนันตรปัจจัย. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่าที่ชื่อว่าอนันตรปัจจัย ได้แก่ จักขุวิญญาณธาตุและธรรมที่สัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุและธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้นด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย ดังนี้เป็นต้น. ธรรมใดเป็นอนันตรปัจจัย ธรรมนั้นแหละเป็นสมนันตรปัจจัยด้วย. จริงอยู่ ปัจจัยสองอย่างนี้ ต่างกันแต่เพียงพยัญชนะเท่านั้น เหมือนอุปจยะกับสันตติ และเหมือนสองคำว่า อธิวจนะ (คำเรียกชื่อ) กับนิรุตติ (ภาษาคำพูด) ฉะนั้น. แต่เมื่อว่าโดยเนื้อความแล้วไม่มีข้อแตกต่างกันเลย.

แม้ความเห็นอันใดของอาจารย์ทั้งหลายที่ว่า ชื่อว่า อนันตรปัจจัย เพราะความไม่มีระหว่างคั่นแห่งกาลที่ยาวนาน ชื่อว่า สมนันตรปัจจัย เพราะความไม่มีระหว่างคั่นแห่งกาล (ธรรมดา) มตินั้นก็ย่อมผิดจากพระบาลีเป็นต้นว่า เนวสัญญานาสัญญายตนกุศล เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัยแก่ผลสมาบัติของบุคคลผู้ออกจากนิโรธ. แม้คำใดที่อาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ในปัจจัยทั้งสองเหล่านั้นว่า ความสามารถในอันยังธรรมทั้งหลายให้เกิดขึ้นยังไม่เสื่อมไป แต่ธรรมทั้งหลายยังไม่เกิดขึ้นในลำดับด้วยดี เพราะถูกกำลังภาวนาห้ามไว้ แม้คำนั้นก็ให้สำเร็จความไม่มีแห่งความไม่มีระหว่างคั่นแห่งกาลนั่นเอง. จริงอยู่ ข้าพเจ้าขอกล่าวไว้เพียงเท่านี้ว่า ความไม่มีระหว่างคั่นแห่งกาลในปัจจัยทั้งสองนั้น ย่อมไม่มีเพราะกำลังแห่งภาวนา ฉะนั้น ความเป็นสมนันตรปัจจัยจึงไม่ถูก จริงอยู่


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 14

ธรรมเหล่านั้นจะเป็นสมนันตรปัจจัย เพราะความไม่มีระหว่างคั่นแห่งกาลเวลา เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาอยู่ยึดมั่นนัก พึงเชื่อความต่างกันในปัจจัยทั้งสองนั้น โดยพยัญชนะเท่านั้น อย่าเชื่อถือโดยเนื้อความเลย. คืออย่างไร? คืออย่างนี้ ความมีระหว่างคั่นแห่งธรรมเหล่านั้นไม่มี เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า อนันตระ (ไม่มีระหว่างคั่น). ความไม่มีระหว่างคั่นด้วยดี เพราะไม่มีการดำรงอยู่แห่งธรรมเหล่านั้น เพราะฉะนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า สมนันตระ ไม่มีระหว่างคั่นด้วยดี เพราะ ไม่มีการดำรงอยู่.

๖. สหชาตปัจจัย

ธรรมที่เกิดขึ้นช่วยเป็นอุปการะ ด้วยอำนาจของการยังธรรมอื่นให้เกิดพร้อมกัน เหมือนดวงประทีปเป็นอุปการะแก่แสงสว่าง ชื่อว่า สหชาตปัจจัย.

สหชาตปัจจัยนั้นมี ๖ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งอรูปขันธ์เป็นต้น. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อรูปขันธ์ ๔ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกันด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกันด้วย อำนาจของสหชาตปัจจัย. ในปฏิสนธิขณะนามและรูปเป็นปัจจัยซึ่งกันและกันด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย ฯลฯ ธรรมคือจิตและเจตสิก เป็นปัจจัยแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย ฯลฯ มหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่อุปาทายรูปด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย ฯลฯ ในกาลบางคราวรูปธรรมเป็นปัจจัยแก่อรูปธรรมด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย ใน


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 15

กาลบางคราวไม่เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย. คำนี้ท่านกล่าว หมายถึงเฉพาะหทัยวัตถุเท่านั้น.

๗. อัญญมัญญปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะ โดยความอุดหนุนกันและกันให้เกิดขึ้นและค้ำจุนกันและกันไว้ เหมือนไม้ค้ำสามอันช่วยค้ำกันและกันเอาไว้ ชื่อว่า อัญญมัญญปัจจัย.

อัญญมัญญปัจจัยนั้นมี ๓ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งอรูปขันธ์ เป็นต้น สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อรูปขันธ์ ๔ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกันด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะนามและรูปเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย.

๘. นิสสยปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นที่อาศัย เหมือนแผ่นดินและแผ่นผ้าเป็นต้น เป็นที่รองรับและอิงอาศัยของต้นไม้และจิตรกรรม เป็นต้น ชื่อว่า นิสสยปัจจัย.

นิสสยปัจจัย นั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในสหชาตปัจจัย อย่างนี้ว่า อรูปขันธ์ ๔ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกันด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย. แต่ในนิสสยปัจจัยนี้ ท่านจำแนกไว้ ๖ ส่วนอย่างนี้ว่า จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และธรรมที่สัมปยุตด้วยจักขุ-


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 16

วิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย ฯลฯ กายายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุ และธรรมที่สัมปยุตด้วยกายวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุอาศัยรูปใดเป็นไป รูปนั้นเป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุและธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย.

๙. อุปนิสสยปัจจัย

ส่วนในบทว่า อุปนิสฺสยปจฺจโย นี้ มีคำอธิบายดังต่อไปนี้

ที่ชื่อว่านิสสยะ เพราะอรรถว่า อันผลของตนเข้าไปอิงอาศัย คือไม่ปฏิเสธผลของตน เพราะผลมีการอาศัยเหตุนั้นเป็นไป. ที่อาศัยที่มีกำลังมากชื่อว่า อุปนิสสัย เหมือนความทุกข์ใจอย่างหนัก ชื่อว่า อุปายาส ฉะนั้น. คำนี้เป็นชื่อของเหตุที่มีกำลัง.

เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบว่า ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความ เป็นเหตุมีกำลัง ชื่อว่า อุปนิสสยปัจจัย

อุปนิสสยปัจจัยมี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ.

บรรดาอุปนิสสัย ๓ อย่างนั้น อารัมมณูปนิสสยะ ทรงจำแนกไว้ไม่ต่างกันเลยกับอารัมมณาธิปติ โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ย่อมพิจารณากรรมนั้นให้หนัก ย่อมพิจารณากรรมที่เคยสร้างสมมาให้หนัก ออกจากฌานแล้ว ย่อมพิจารณาฌานให้หนัก. พระเสขะย่อมพิจารณาโคตรภูให้หนัก ย่อมพิจารณาโวทานให้หนัก พระเสขะออกจากมรรคแล้ว ย่อมพิจารณามรรคให้หนัก. บรรดา


ความคิดเห็น 17    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 17

กุศลธรรมมีการให้ทานเป็นต้นนั้น ธรรมคือจิตและเจตสิกทำอารมณ์ใดให้หนักเกิดขึ้น อารมณ์นั้นจัดว่าเป็นอารมณ์ที่มีกำลังในบรรดาอารมณ์ ทั้งหลายสำหรับจิตและเจตสิกเหล่านั้น โดยการกำหนดที่แน่นอน ผู้ศึกษา พึงทราบความต่างกันแห่งอารัมมณาธิปติกับอารัมมณูปนิสสยะ อย่างนี้.

ชื่อว่า อารัมมณาธิปติเพราะอรรถว่า เพียงเป็นธรรมที่จิตและ เจตสิกพึงทำให้หนัก ชื่อว่าอารัมมณูปนิสสยะเพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้จิตและเจตสิกมีกำลัง.

แม้ อนันตรูปนิสสยะ ก็ทรงจำแนกไว้ไม่ต่างกันกับอนันตรปัจจัย โดยนัยเป็นต้นว่า กุศลขันธ์ทั้งหลาย ซึ่งเกิดขึ้นก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศล ขันธ์ที่เกิดขึ้นหลังๆ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย แต่ในนิกเขปแห่ง มาติกามีการตั้งปัจจัยทั้งสองนั้นแปลกกัน เพราะ อนันตรปัจจัย มาแล้วโดย นัยเป็นต้นว่า จักขุวิญญาณธาตุ และธรรมที่สัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณธาตุนั้นเป็นปัจจัยแก่มโนธาตุและธรรมที่สหรคตด้วยมโนธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย และ อุปนิสสยปัจจัย มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า กุศลธรรมที่เกิดขึ้นก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของ อุปนิสสยปัจจัย. แม้นิกเขปแห่งมาติกานั้น เมื่อว่าโดยใจความ (อรรถ) แล้ว ก็เป็นอันเดียวกัน. แม้เช่นนั้น ผู้ศึกษาก็พึงทราบว่า ชื่อว่า อนันตรปัจจัย เพราะสามารถให้จิตตุปบาทที่เหมาะสมเกิดขึ้นในลำดับของตนๆ และชื่อว่า อนันตรรูปนิสสยปัจจัย เพราะจิตที่เกิดก่อนมีกำลังในอันให้จิตดวงหลังเกิดขึ้น. เหมือนอย่างว่า ในเหตุปัจจัยเป็นต้น แม้เว้นธรรมบางอย่างเสียจิตก็ย่อมเกิดขึ้นได้ ฉันใด เว้นจิตที่ติดต่อกันแห่งตนเสีย จิตจะ เกิดขึ้นได้ย่อมไม่มี ฉันนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นปัจจัยมีกำลัง.


ความคิดเห็น 18    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 18

พึงทราบความต่างกันแห่งอนันตรปัจจัย กับอนันตรูปนิสสยปัจจัยทั้งสองนั้นอย่างนี้ ชื่อว่า อนันตรปัจจัย ด้วยอำนาจการยังจิตที่เหมาะสมให้เกิดขึ้นในลำดับของตนๆ ชื่อว่า อนันตรรูปนิสสยปัจจัย ด้วยอำนาจเป็นเหตุที่มีกำลัง ด้วยประการฉะนี้.

ส่วน ปกตูปนิสสยะ มีอธิบายดังต่อไปนี้ อุปนิสสัยที่บุคคลทำไว้ก่อน ชื่อว่า ปกตูปนิสสยะ ที่ชื่อว่า ปกตะ (สิ่งที่เคยทำมาแล้ว) ได้แก่ธรรมที่ศรัทธาและศีลเป็นต้น ที่บุคคลให้สำเร็จแล้วในสันดานของตนหรือฤดูและโภชนะเป็นต้นที่บุคคลเข้าไปเสพแล้ว.

อีกอย่างหนึ่ง อุปนิสสัยโดยปกตินั่นเอง ชื่อว่า ปกตูปนิสสยะ.อธิบายว่า เป็นปัจจัยที่ไม่ปนกัน อารัมมณปัจจัย และ อนันตรปัจจัย

จริงอยู่ ผู้ศึกษาพึงทราบประเภทมีประการมิใช่น้อย แห่งปกตูปนิสสยนั้น โดยนัยเป็นต้นว่า ที่ชื่อว่าปกตูปนิสสัย ได้แก่บุคคลเข้าไปอาศัย ศรัทธา จึงให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ทำฌาน วิปัสสนา มรรค อภิญญา สมาบัติให้เกิดขึ้น เข้าไปอาศัยศีล สุตะ จาคะ ปัญญา จึงให้ทาน ฯลฯ ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ (และ) ปัญญา เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย แก่ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ (และ) ปัญญา ธรรมมีศรัทธาเป็นต้นเหล่านั้น อันบุคคลทำไว้ก่อนด้วย ชื่อว่าเป็นอุปนิสสัย เพราะอรรถว่า เป็นเหตุมีกำลังด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปกตูปนิสสยะ ด้วยประการฉะนี้ แล.


ความคิดเห็น 19    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 19

๑๐. ปุเรชาตปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยการเกิดขึ้นก่อนกว่า แล้วยังเป็นไปอยู่ ชื่อว่า ปุเรชาตปัจจัย.

ปุเรชาตปัจจัย นั้น มี ๑๑ อย่าง ด้วยอำนาจวัตถุ อารมณ์ และหทัยวัตถุในปัญจทวาร เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และธรรมที่สัมปยุตด้วยจักขุ- วิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุ และธรรมที่สัมปยุตด้วยกายวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย, รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็น ปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ ฯลฯ กายวิญญาณธาตุและธรรมที่สัมปยุตด้วยกายวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย, รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย. มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุ อาศัยรูปใด เป็นไป รูปนั้นเป็นปัจจัยแก่มโนธาตุและธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย บางครั้งเป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ และธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย บางครั้งก็ไม่เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.

๑๑. ปัจฉาชาตปัจจัย

อรูปธรรมเป็นธรรมช่วยอุปการะโดยอรรถว่า ค้ำจุนแก่รูปธรรม


ความคิดเห็น 20    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 20

ที่เกิดก่อน เหมือนเจตนาที่หวังอาหารช่วยค้ำจุนตัวลูกแร้งไว้ ชื่อว่า ปัจฉาชาตปัจจัย.

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ธรรมคือจิตและเจตสิกที่เกิดหลังๆ เป็นปัจจัยแก่กายนี้ซึ่งเกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.

๑๒. อาเสวนปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะเพื่อให้ธรรมทั้งหลายที่เกิดติดต่อกันคล่องแคล่วและมีกำลัง โดยอรรถว่า เสพซ้ำ เหมือนการประกอบความเพียร ตอนแรกๆ ในการศึกษาเล่าเรียนเป็นต้น ชื่อว่า อาเสวนปัจจัย.

อาเสวนปัจจัยนั้นมี ๓ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งกุศลชวนะ อกุศลชวนะและกิริยาชวนะ. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า กุศลธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย ฯลฯ กิริยาอัพยากตธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ กิริยาอัพยากตธรรมที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย.

๑๓. กัมมปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นกิริยา คือความพยายาม (ปโยคะ) แห่งจิต ชื่อว่า กัมมปัจจัย.

กัมมปัจจัย นั้นมี ๒ อย่างคือ กุศลเจตนาและอกุศลเจตนาที่เกิดในขณะต่างกัน และเจตนาทั้งหมดที่เกิดพร้อมกัน. สมดังที่พระผู้มี-


ความคิดเห็น 21    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 21

พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า กุศลกรรมและอกุศลกรรม เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์และกัมมชรูปด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย. เจตนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนา และแก่รูปที่มีเจตนานั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของ กัมมปัจจัย.

๑๔. วิปากปัจจัย

ธรรมคือวิบากที่ช่วยอุปการะโดยความไม่มีอุตสาหะ เพราะความไม่มีอุตสาหะ ชื่อว่า วิปากปัจจัย.

วิปากปัจจัยนั้น ย่อมเป็นปัจจัยแก่รูปซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐานในปวัตติกาล แก่กัมมชรูปในปฏิสนธิกาล และแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วยวิบากจิตนั้น ในกาลทั้งหมด. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ขันธ์ ๑ ที่เป็นวิปา-กาพยากตะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๑ ที่เป็นวิปากาพยากตะในปฏิสนธิขณะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และแก่กัมมชรูปด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย ขันธ์ทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่วัตถุ รูป ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย.

๑๕. อาหารปัจจัย

อาหาร ๔ เป็นธรรมช่วยอุปการะโดยอรรถว่า ช่วยค้ำจุนแก่รูปและนาม ชื่อว่า อาหารปัจจัย. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า กวฬีการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้ ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย, นาม-


ความคิดเห็น 22    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 22

อาหารเป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุต และแก่รูปที่มีนามอาหารและธรรมที่สัมปยุตกับนามอาหารนั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย. ส่วนในปัญหาวาระ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า " อาหารที่เป็น วิปากาพยากตะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตและแก่กัมมชรูปใน ปฏิสนธิขณะ ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย."

๑๖. อินทริยปัจจัย

อินทรีย์ ๒๐ เว้นอิตถินทรีย์และปุริสินทรีย์ ช่วยอุปการะโดย อรรถว่า เป็นใหญ่ยิ่ง ชื่อว่า อินทริยปัจจัย.

บรรดาอินทรีย์เหล่านั้น อินทรีย์ ๕ มีจักขุนทรีย์เป็นต้น เป็นปัจจัย เฉพาะแก่อรูปธรรมเท่านั้น ที่เหลือเป็นปัจจัยทั้งแก่รูปธรรมและอรูปธรรม. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า จักขุนทรีย์ ฯลฯ กายินทรีย์ เป็น ปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ ฯลฯ กายวิญญาณธาตุ และธรรมที่สัมปยุตด้วยอินทรีย์นั้น ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย, รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กัมมชรูป ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย, อรูปอินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตและแก่รูปที่มีอินทรีย์นั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย. แต่ในปัญหาวาระ อินทรีย์ที่เป็นวิปากาพยากตะเป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตและแก่กัมมชรูป ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ.

๑๗. ฌานปัจจัย

องค์ฌาน ๗ อันต่างโดยเป็นกุศลเป็นต้น เว้นสุขเวทนา และ


ความคิดเห็น 23    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 23

ทุกขเวทนาอันเป็นรูปทางกาย ในทวิปัญจวิญญาณจิต ช่วยอุปการะ โดยอรรถว่า เข้าไปเพ่งอารมณ์ ชื่อว่า ฌานปัจจัย.

สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า องค์ฌาน ๗ เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตและรูปที่มีองค์ฌานนั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของฌานปัจจัย. ส่วนในปัญหาวาระ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า องค์ฌานที่เป็น วิปากาพยากตะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุต และแก่กัมมชรูปในปฏิสนธิขณะ ด้วยอำนาจของฌานปัจจัย.

๑๘. มัคคปัจจัย

องค์มรรค ๑๒ อันต่างโดยกุศลเป็นต้น ช่วยอุปการะโดยอรรถ ว่า เป็นเหตุนำไปในทางใดทางหนึ่ง ชื่อว่า มัคคปัจจัย.

สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า องค์มรรค เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต และแก่รูปที่มีองค์มรรคนั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของมัคคปัจจัย. ส่วนในปัญหาวาระ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า องค์มรรคที่เป็น วิปากาพยากตะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุต และกัมมชรูปในปฏิสนธิขณะ ด้วยอำนาจของมัคคปัจจัย. แต่ฌานปัจจัยและมัคคปัจจัยทั้งสองนี้ พึงทราบว่า ย่อมไม่ได้ในทวิปัญจวิญญาณจิตและอเหตุกจิต ตามที่กล่าว (หมายถึงทวิปัญจวิญญาณไม่เป็นฌานปัจจัย อเหตุกจิตไม่เป็นมัคคปัจจัย).

๑๙. สัมปยุตตปัจจัย

อรูปธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นสภาพประกอบร่วมกัน คือ


ความคิดเห็น 24    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 24

มีวัตถุเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกัน เกิดขึ้นในขณะเดียวกัน และดับ พร้อมกัน ชื่อว่า สัมปยุตตปัจจัย.

สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อรูปขันธ์ ๔ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของสัมปยุตตปัจจัย.

๒๐. วิปปยุตตปัจจัย

รูปธรรมที่ช่วยอุปการะโดยไม่เข้าถึงภาวะที่มีวัตถุอันเดียวกัน เป็นต้น เป็นวิปปยุตตปัจจัย แก่อรูปธรรม แม้อรูปธรรมก็เป็นวิปปยุตตปัจจัยแก่รูปธรรม.

วิปปยุตตปัจจัย นั้น มี ๓ อย่างคือ สหชาตวิปปยุต ปัจฉาชาตวิปปยุตและปุเรชาตวิปปยุต. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า กุศลขันธ์ที่เกิดพร้อมกัน เป็นปัจจัยแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย กุศลขันธ์ที่เกิดหลังๆ เป็นปัจจัยแก่กายนี้ซึ่งเกิดก่อน ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย. ส่วนในสหชาตวิภังค์แห่งอัพยากตบท พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่าในขณะปฏิสนธิ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นวิปากาพยากตะ เป็นปัจจัยแก่กัมมชรูป ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย ขันธ์ทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่วัตถุรูปด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย วัตถุรูปเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย. ส่วนปุเรชาตะ พึงทราบด้วยสามารถแห่งวัตถุมีจักขุนทรีย์เป็นต้น เหมือนดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า จักขายตนะที่เกิดก่อนเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย ฯลฯ กายายตนะที่เกิดก่อนเป็นปัจจัยแก่กาย-วิญญาณ ด้วยอำนาจของวิปยุตตปัจจัย วัตถุเป็นปัจจัยแก่วิปากาพยากตขันธ์ กิริยา-


ความคิดเห็น 25    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 25

พยากตขันธ์ วัตถุเป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์ วัตถุเป็นปัจจัยแก่อกุศลขันธ์ ด้วย อำนาจของวิปปยุตตปัจจัย ดังนี้.

๒๑. อัตถิปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยอรรถว่าช่วยค้ำจุนแก่ธรรมที่เป็นเช่นเดียวกันโดยภาวะที่ยังมีอยู่ อันมีการเกิดขึ้นเฉพาะหน้าเป็นลักษณะ ชื่อว่า อัตถิปัจจัย.

สำหรับอัตถิปัจจัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งมาติกาไว้ ๗ อย่างคือ อรูปขันธ์ ๑ มหาภูตรูป ๑ นามรูป ๑ จิตเจตสิก ๑ มหาภูตรูป ๑ อายตนะ ๑ และวัตถุ ๑ สมดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า อรูปขันธ์ ๔ เป็น ปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัย ซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, ในปฏิสนธิขณะ นามรูปเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, ธรรมคือจิตและเจตสิก เป็นปัจจัยแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, มหาภูตรูป เป็นปัจจัยแก่อุปาทานรูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย. จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ ฯลฯ กายวิญญาณธาตุ และธรรมที่สัมปยุตนั้น ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุอาศัยรูปใดเป็นไป รูปนั้นเป็นปัจจัยแก่มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุ และธรรมที่สัมปยุต กับมโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, ส่วนใน


ความคิดเห็น 26    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 26

ปัญหาวาระ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวางไว้ว่า สหชาตํ ปุเรชาตํ ปจฺฉาชาตํ อาหารํ อินฺทฺริยํ แล้วทรงอธิบายในสหชาตปัจจัยก่อน โดยนัยเป็นต้นว่า ขันธ์ ๑ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และแก่รูปซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย. ในปุเรชาตปัจจัย ทรงอธิบายด้วยอำนาจจักขุประสาท เป็นต้นที่เกิดก่อน. ในปัจฉาชาตปัจจัย ทรงอธิบายด้วยอำนาจจิตและเจตสิกที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ซึ่งเกิดก่อน. ส่วนในอาหารปัจจัย และอินทริยปัจจัย ทรงอธิบายอย่างนี้ว่า กพฬีการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กัมมชรูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

๒๒. นัตถิปัจจัย

อรูปธรรมที่ดับไปโดยไม่มีระหว่างคั่น ช่วยอุปการะด้วยการให้โอกาสแก่อรูปธรรมที่จะเกิดในลำดับแห่งตนเป็นไป ชื่อว่า นัตถิปัจจัย.

เหมือนดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ธรรมคือจิตและเจตสิกที่ดับไปโดยไม่มีระหว่างคั่น เป็นปัจจัยแก่ธรรมคือจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้น เฉพาะหน้าด้วยอำนาจของนัตถิปัจจัย.

๒๒. วิคตปัจจัย

ธรรมที่เป็นนัตถิปัจจัยนั่นเอง ชื่อว่า วิคตปัจจัย. เพราะช่วยอุดหนุนโดยภาวะที่ปราศจากไป เหมือนดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า


ความคิดเห็น 27    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 27

ธรรมคือจิตและเจตสิกที่ปราศจากไป โดยไม่มีระหว่างคั่นเป็นปัจจัยแก่ธรรม คือจิตแก่เจตสิกที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ด้วยอำนาจของวิคตปัจจัย.

๒๔. อวิคตปัจจัย

ธรรมที่เป็นอัตถิปัจจัยนั่นเอง ผู้ศึกษาพึงทราบว่า ชื่อว่า อวิคตปัจจัย เพราะช่วยอุดหนุนโดยภาวะที่ยังไม่ปราศจากไป.

แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปัจจัยคู่นี้ไว้ ก็ด้วยอำนาจแห่งเวไนยสัตว์ ที่จะพึงแนะนำอย่างนั้น โดยเทศนาวิลาสะ เหมือนที่ตรัสสเหตุกทุกะไว้แล้ว ยังตรัสเหตุสัมปยุตตทุกะเป็นต้นไว้อีก ก็เพื่อความไม่งมงายในปัจจัย ๒๔ เหล่านี้ ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยธรรม โดยกาล โดยการจำแนกโดยประการต่างๆ และโดยปัจจยุบบัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมโต (โดยธรรม) ความว่า ก็บรรดาปัจจัย ๒๔ เหล่านี้ เหตุปัจจัยก่อน ได้แก่ ส่วนหนึ่งแห่งนามธรรม ในบรรดานามธรรมและรูปธรรมทั้งหลาย. อารัมมณปัจจัย ได้แก่ นามธรรม และรูปธรรมทั้งหมด เพราะความไม่มีแห่งบัญญัติ. ใน อธิปติปัจจัย สหชาตาธิปติปัจจัย ได้แก่ ส่วนหนึ่งแห่งนามธรรม. กัมมปัจจัย ฌานปัจจัย และมัคคปัจจัย ก็เหมือนกัน. อารัมมณาธิปติปัจจัย ได้แก่ ธรรมที่เป็นอารมณ์ทั้งหมดที่จิตและเจตสิกพึงทำให้หนักหน่วง. อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย อาเสวนปัจจัย วิปากปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย ได้เฉพาะนามธรรมเท่านั้น. แม้จะกล่าวว่า เป็นส่วนหนึ่งแห่งนามธรรมก็ได้ เพราะ


ความคิดเห็น 28    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 28

ไม่ได้สงเคราะห์นิพพานเข้าด้วย. ปุเรชาตปัจจัยเป็นส่วนหนึ่งแห่งรูปธรรม. ที่เหลือได้ทั้งนามธรรมและรูปธรรม ด้วยอำนาจแห่งธรรมตามที่จะมีได้ แล. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัย โดยธรรม ในอธิการนี้ ดังพรรณนามาแล้ว เท่านี้ก่อน.

บทว่า กาลโต (โดยกาล) ความว่า

บรรดาปัจจัยเหล่านี้ ปัจจัย ๑๕ ปัจจัย เป็นปัจจุบันกาล

ปัจจัย ๕ ปัจจัย เป็นอดีตกาล.

ปัจจัย ๑ ปัจจัย อาศัยกาลทั้งสอง.

ปัจจัย ๓ ปัจจัย เป็นไปในกาลทั้งสาม และพ้นจากกาลด้วย.

จริงอยู่ บรรดาปัจจัยเหล่านี้ ปัจจัย ๑๕ เหล่านี้คือ เหตุปัจจัย สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย เป็นปัจจุบันกาล เท่านั้น.

ปัจจัย ๕ เหล่านี้คือ อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย อาเสวนปัจจัย นัตถิปัจจัย และวิคตปัจจัย เป็นอดีตกาล เท่านั้น.

ส่วนปัจจัย ๑ คือ กัมมปัจจัย อาศัยกาลทั้งสองที่เป็น ปัจจุบัน และอดีต

ปัจจัย ๓ ที่เหลือเหล่านี้คือ อารัมมณปัจจัย อธิปติปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย เป็นไปในกาลทั้งสามก็ได้ เป็นกาลวิมุตติก็ได้ เพราะ สงเคราะห์นิพพานกับบัญญัติเข้าด้วย.


ความคิดเห็น 29    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 29

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัย โดยกาล ในปัจจัยเหล่านี้ ดังพรรณนามาแล้ว. ส่วนสองบทนี้ว่า นานปฺปการเภทโต ปจฺจยุปฺปนฺนโต จักมีเนื้อ ความแจ่มแจ้งในนิทเทสวาระ แล.

วรรณนาอุทเทศวาระ จบ