เวทิการกเถราปทานที่ ๓ (๑๔๓) ว่าด้วยผลแห่งการกระทําที่บูชา
โดย บ้านธัมมะ  27 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 41136

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 484

เถราปทาน

ฉัตตวรรคที่ ๑๕

เวทิการกเถราปทานที่ ๓ (๑๔๓)

ว่าด้วยผลแห่งการกระทําที่บูชา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 484

เวทิการกเถราปทานที่ ๓ (๑๔๓)

ว่าด้วยผลแห่งการกระทำที่บูชา

[๑๔๕] เมื่อพระโลกนาถพระนามว่าปิยทัสสี ผู้สูงสุดกว่านระ นิพพานแล้ว เรามีจิตเลื่อมใสมีใจโสมนัส ได้กระทำที่บูชา พระพุทธเจ้าแวดล้อมด้วยแก้วมณีแล้ว ได้กระทำการฉลอง อย่างมโหฬาร ครั้นทำการฉลองที่บูชาแล้ว เราได้ทำกาลกิริยา ณ ที่นั้น.

เราเข้าถึงกำเนิดใดๆ คือ ความเป็นเทวดาหรือมนุษย์ ในกำเนิดนั้นๆ เทวดาทั้งหลายย่อมทรงแก้วมณีไว้ในอากาศ นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม.

ในกัปที่ ๑,๖๐๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ๓๒ ครั้ง ทรงพระนามว่ามณิปภา มีพละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระเวทิการกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

จบเวทิการกเถราปทาน


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 485

๑๔๓. อรรถกถาเวทิการกเถราปทาน

อปทานของท่านพระเวทิการกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า นิพฺพุเต โลกนาถมฺหิ ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระชินวรพุทธเจ้า พระองค์ก่อนๆ ทุกๆ ภพนั้น จะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่ง พระนิพพานเป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง พระนามว่า ปิยทัสสี ท่านได้บังเกิดในตระกูลแห่งหนึ่ง ซึ่งมีความ สมบูรณ์ด้วยสมบัติ บรรลุนิติภาวะแล้ว ดำรงชีวิตอยู่ในเพศฆราวาส เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว มีความเลื่อมใสในพระศาสดา จึงให้ช่าง สร้างแก้วมณีแวดล้อมพระเจดีย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ใส่ แก้วมณี ๗ ประการจนเต็มแล้ว ทำการบูชาเป็นการใหญ่. ด้วยบุญกรรม นั้น เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ในหลายแสนชาติ ที่ผ่านมา เป็นผู้ควรแก่การบูชา มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก ได้ เสวยความสุขในโลกทั้งสองจนครบแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้เกิด ในเรือนอันมีสกุล อันสมบูรณ์ด้วยสมบัติ (ต่อมา) บวชแล้ว พยายาม อยู่ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.

วันหนึ่ง ท่านระลึกถึงกุศลที่ทำไว้ในกาลก่อนของตนได้ เกิดความ โสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาล ก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า นิพฺพุเต โลกนาถมฺหิ ดังนี้. คำนั้น มี เนื้อความดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังแล. บทว่า ปิยทสฺสีนรุตฺตเม มี วิเคราะห์ว่า การแสดงถึงความรัก คืออาการอันประกอบด้วยความโสมนัส


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 486

มีอยู่แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงพระนามว่า ปิยทัสสี อธิบายว่า พระองค์เป็นผู้ดีด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ อนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ และมณฑลแห่งรัศมีที่แผ่ออก ข้างละวาประกอบกันทำให้เจริญขึ้น คือย่อมยังดวงตาของมหาชนผู้เห็นอยู่ ให้เกิดความเลื่อมใส ชื่อว่า นรุตตมะ เพราะสูงสุดกว่านรชนทั้งหลาย. ปิยทัสสีศัพท์ ๑ นรุตตมะนั้นศัพท์ ๑ รวมกันเป็น ปิยทัสสีนรุตตมะ. เชื่อมความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปิยทัสสี ผู้สูงสุดกว่า นรชนพระองค์นั้น ปรินิพพานแล้ว เราได้กระทำที่บูชาพระพุทธเจ้า แวดล้อมด้วยแก้วมณี ณ ที่ห้องบรรจุพระบรมธาตุ. ความว่า เราได้ กระทำวลัยแวดล้อมแท่นบูชาในที่สุด เพื่อรองรับดอกไม้. บทว่า มณีหิ ปริวาเรตฺวา มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า มณิ เพราะเปล่งปลั่ง โชติช่วง สว่างไสว. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มณิ เพราะบันดาลใจของชนทั้งหลาย ให้เต็มเปี่ยม ทำให้เกิดความดีใจ เป็นไปทั่วถึง, อธิบายว่า เราได้นำ มณีเป็นจำนวนมาก เช่นแก้วมณีสีแดง และแก้วไพฑูรย์เป็นต้น มาทำ เป็นวลัยวงกลมล้อมแท่นบูชาแล้ว จึงทำการบูชาอย่างสูงสุดใหญ่ยิ่ง. คำ ที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาเวทิการกเถราปทาน