๗. สฬายตนวิภังคสูตร ว่าด้วยมรรค บริบูรณ์ด้วยความเจริญ
โดย บ้านธัมมะ  28 ส.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 36155

[เล่มที่ 23] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 501

๗. สฬายตนวิภังคสูตร

วาดวยมรรค บริบูรณดวยความเจริญ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 23]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 501

๗. สฬายตนวิภังคสูตร

[๘๒๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดํารัสแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเนื่องด้วยมหาสฬายตนะแก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบแล้วพระพุทธเจ้าข้า.

[๘๒๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลายบุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักษุ ตามควานเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นรูป ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักษุวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักษุสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตามเป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยตามความเป็นจริงย่อมกําหนัดในจักษุ กําหนัดในรูป กําหนัดในจักษุวิญญาณ กําหนัดในจักษุสัมผัส กําหนัดในความเสวยอารมณ์เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลนั้นกําหนัดนักแล้ว ประกอบพร้อมแล้ว ลุ่มหลง เล็งเห็นคุณอยู่ ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความพอกพูนต่อไป และเขาจะมีตัณหาที่นําไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วยความกําหนัด ด้วยอํานาจความยินดีอันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ เจริญทั่ว จะมีความกระวนกระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว จะมี


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 502

ความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว จะมีความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว เขาย่อมเสวยทุกข์ทางกายบ้าง ทุกข์ทางใจบ้าง.

[๘๒๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นโสต ตามความเป็นจริง...

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นฆานะ ตามความเป็นจริง...

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นชิวหา ตามความเป็นจริง...

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นกาย ตามความเป็นจริง...

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโน ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นธรรมารมณ์ ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโนวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโนสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมกําหนัดในมโนกําหนัดในธรรมารมณ์ กําหนัดในมโนวิญญาณ กําหนัดในมโนสัมผัส กําหนัดในความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตามที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลนั้นกําหนัดนักแล้ว ประกอบพร้อมแล้ว ลุ่มหลง เล็งเห็นคุณอยู่ ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความพอกพูนต่อไป และเขาจะมีตัณหาที่นําไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วยความกําหนัดด้วยอํานาจความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ เจริญทั่ว จะมีความกระวนกระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว จะมีความเดือดร้อนแม้ทางกายแม้ทางใจเจริญทั่ว จะมีความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว เขาย่อมเสวยทุกข์ทางกายบ้าง ทุกข์ทางใจบ้าง.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 503

ว่าด้วยมรรคบริบูรณ์ด้วยความเจริญ

[๘๒๘] ภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุ ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นรูป ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมไม่กําหนัดในจักษุ ไม่กําหนัดในรูป ไม่กําหนัดในจักษุวิญญาณ ไม่กําหนัดในจักษุสัมผัส ไม่กําหนัดในความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลนั้นไม่กําหนัดนักแล้วไม่ประกอบพร้อมแล้ว ไม่ลุ่มหลง เล็งเห็นโทษอยู่ ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความไม่พอกพูนต่อไป และเขาจะละตัณหาที่นําไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วยความกําหนัดด้วยอํานาจความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้จะละความกระวนกระวาย แม้ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ เขาย่อมเสวยสุขทางกายบ้าง สุขทางใจบ้าง บุคคลผู้เป็นเช่นนั้นแล้ว มีความเห็นอันใดความเห็นอันนั้นย่อมเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความดําริอันใด ความดําริอันนั้นย่อมเป็นสันมาสังกัปปะ มีความพยายามอันใด ความพยายามอันนั้น ย่อมเป็นสัมมาวายามะ มีความระลึกอันใด ความระลึกอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสติ มีความตั้งใจมั่นอันใด ความตั้งใจมั่นอันนั้น ย่อมเป็นสัมมาสมาธิ ส่วนกายกรรม วจีกรรม อาชีวะของเขา ย่อมบริสุทธิ์ดีในเบื้องต้นเทียว ด้วยอาการอย่างนี้เขาชื่อว่ามีอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐถึงความเจริญบริบูรณ์.

[๘๒๙] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐนี้อยู่อย่างนี้ชื่อว่ามีสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 504

ถึงความเจริญบริบูรณ์ บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือสมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันเป็นไป เขาชื่อว่ากําหนดรู้ธรรมที่ควรกําหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ละธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ทําให้แจ้งธรรมที่ควรทําให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกําหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน ข้อที่เรากล่าวไว้ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่อุปาทานขันธ์ คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เหล่านั้นชื่อว่าธรรมที่ควรกําหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คืออวิชชาและภวตัณหา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือสมถะและวิปัสสนา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทําให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือวิชชาและวิมุตติ เหล่านั้นชื่อว่าธรรมที่ควรทําให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง.

[๘๓๐] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้ เมื่อเห็นโสต ตามความเป็นจริง.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นฆานะ ตามความเป็นจริง...

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นชิวหา ตามความเป็นจริง...

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นกาย ตามความเป็นจริง...

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นมโน ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นธรรมารมณ์ ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นมโนวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นมโนสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช้ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้น


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 505

เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมไม่กําหนัดในมโน ไม่กําหนัดในธรรมารมณ์ ไม่กําหนัดในมโนวิญญาณ ไม่กําหนัดในมโนสัมผัสไม่กําหนัดในความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง เมื่อบุคคลนั้นไม่กําหนัดนักแล้ว ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ไม่ลุ่มหลง เล็งเห็นโทษอยู่ ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความไม่พอกพูนต่อไป และเขาจะละตัณหาที่นําไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วยความกําหนัดด้วยอํานาจความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์ๆ ได้. จะละความกระวนกระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ เขาย่อมเสวยสุขทางกายบ้าง สุขทางใจบ้าง บุคคลผู้เป็นเช่นนั้นแล้วมีความเห็นอันใด ความเห็นอันนั้นย่อมเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความดําริอันใดความดําริอันนั้น ย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ. มีความพยายามอันใด ความพยายามอันนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะ มีความระลึกอันใด ความระลึกอันนั้นย่อมเป็นสันมาสติ มีความทั้งใจอันใด ความตั้งใจอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสมาธิ ส่วนกายกรรม วจีกรรม อาชีวะของเขาย่อมบริสุทธิ์ในเบื้องต้นเทียว ด้วยอาการอย่างนี้เขาชื่อว่ามีอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐถึงความเจริญบริบูรณ์.

[๘๓๑] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า มีสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕โพชฌงค์ ๗ ถึงความเจริญสมบูรณ์ บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือสมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันเป็นไป เขาชื่อว่ากําหนดรู้ธรรมที่ควรกําหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ละธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ทําให้แจ้งธรรมที่ควรทําให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง.


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 506

ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกําหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน มีข้อที่เรากล่าวไว้ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่อุปาทานขันธ์คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรกําหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คืออวิชชาและภวตัณหา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง

ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือสมถะและวิปัสสนา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทําให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือวิชชาและวิมุตติ เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรทําให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ สฬายตนวิภังคสูตรที่ ๗


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 507

อรรถกถามหาสฬายตนสูตร (๑)

มหาสฬายตนสูตร ขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

ในพระสูตรนั้น คําว่า มหาสฬายตนิกํ (อันเนื่องด้วยมหาสฬายตนะ) เป็นธรรมบรรยายส่องถึงอายตนะที่สําคัญทั้ง ๖ อย่าง. คําว่า เมื่อไม่รู้ คือไม่รู้ด้วยมรรคที่พร้อมกับวิปัสสนา. คําว่า ถึงความพอกพูน คือย่อมถึงความเจริญ หมายความว่า ย่อมถึงความชํานิชํานาญ คําว่า ทางกาย ได้แก่ความกระสับกระส่ายทางทวารทั้ง ๕. คําว่า ทางใจ ได้แก่ ความกระสับกระส่ายทางมโนทวาร.แม้ในคําว่าความเร่าร้อน เป็นต้น ก็ทํานองเดียวกันนี้เหมือนกัน. บทว่า สุขทางกาย ได้แก่สุขทางทวาร ๕. คําว่า สุขทางใจ ได้แก่สุขทางมโนทวาร.และในคําว่า สุขทางใจ นี้ ไม่มีการเข้าหรือการออกด้วยชวนะทางทวาร ๕. คือความสุขทางใจนี้สักว่าเกิดขึ้นเท่านั้นเอง. ทุกอย่างย่อมมีได้ทางมโนทวาร.ก็แหละวิปัสสนาที่มีกําลังนี้ย่อมเป็นปัจจัยแก่มรรควุฏฐาน. วิปัสสนาที่มีกําลังนั้นจึงมีได้ทางมโนทวารเหมือนกัน.

คําว่า ตถาภูตสฺส (บุคคลผู้เป็นเช่นนั้น) คือ เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยความสุขทางใจ ที่ประกอบพร้อมด้วยกุศลจิต. คําว่า ปุพฺเพว โข ปนสฺส (ส่วน... ของเขาย่อมบริสุทธิ์หมดจด) คือ วาจาการงานและอาชีพ ของภิกษุนั้น ชื่อว่า สะอาดมาก่อนแล้ว คือย่อมเป็นของหมดจดตั้งแต่เริ่มต้น ส่วนอีก ๕ องค์ คือความเห็น ความดําริ ความพยายามความระลึก ความตั้งมั่น ชื่อว่าเป็นองค์ที่สนับสนุนในทุกกรณี. ด้วยประการฉะนี้ โลกุตตรมรรค จึงมีองค์๘ หรือองค์๗ ก็ได้. ส่วนผู้ที่ชอบพูดเคาะ (แซว) จับเอาเนื้อพระสูตรนี้แหละว่า ความเห็นของภิกษุผู้เป็นอย่างนั้นใด


(๑) บาลี เป็นสฬายตนวิภังคสูตร


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 508

แล้วกล่าวว่า โลกุตตรมรรคมีองค์ ๕ ก็ไม่มี. พึงคัดค้านผู้ชอบพูดเคาะนั้นด้วยคําพูดสวนทันควันนี้ว่า อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ของเธอนี้ ย่อมถึงความบริบูรณ์แห่งการอบรมด้วยอาการอย่างนี้. และก็พึงให้ตกลงยิ่งๆ ขึ้นไปอย่างนี้. ขึ้นชื่อว่าโลกุตตรมรรคนั้นมีองค์ ๕ ไม่มีหรือก็ส่วนองค์ที่สนับสนุนในทุกกรณีเหล่านี้ ย่อมให้เต็มด้วยอํานาจวิรติเจตสิกในขณะแห่งมรรค เพราะว่าวิรติเจตสิกในวิรติเจตสิกที่กล่าวอย่างนี้ว่า ความงดเว้นจากวจีทุจริตทั้ง ๔ อันใด ย่อมละการพูดผิด ทําการพูดชอบให้เจริญ เมื่ออบรมวาจาชอบอยู่อย่างนี้ องค์ทั้ง ๕ ก็ไม่ขาดตกบกพร่อง ย่อมบริบูรณ์พร้อมกับความงดเว้นนั้นเอง. แม้ในการงานชอบและในการเลี้ยงชีพชอบก็ทํานองนี้แหละ. ด้วยประการฉะนี้ วจีกรรมเป็นต้น ก็เป็นของหมดจดตั้งแต่แรกเริ่มทีเดียว.

ส่วนองค์ที่สนับสนุนในทุกกรณีทั้ง ๕ เหล่านั้นย่อมบริบูรณ์ด้วยอํานาจวิรติเจตสิก. จึงเป็นอันว่า มรรคที่มีองค์ ๕ ไม่มี. และแม้ในสุภัททสูตรพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสอย่างนี้ว่า สุภัททะในธรรมวินัยใดแล มีอริยมรรคประกอบด้วยองค์๘. และพระสูตรอื่นทั้งหลายร้อยสูตร ก็มาแล้วแต่มรรคที่มีองค์ ๘ เท่านั้น. คําว่า สติปัฏฐานแม้ ๔ อย่าง คือสติปัฏฐาน ๔ที่ประกอบพร้อมด้วยมรรคนั่นเอง. แม้ในความพยายามชอบเป็นต้น ก็ทํานองเดียวกันนี้แหละ. คําว่า ยุคนทฺธา (เคียงคู่กันไป) คือ คู่เคียง ประกอบด้วยขณะเดียวกัน.ธรรมะเหล่านั้น แม้จะมีขณะต่างกันอย่างนี้ คือ ในขณะหนึ่งเป็นสมาบัติในขณะอื่นเป็นวิปัสสนา. แต่ในอริยมรรค ธรรมเหล่านั้นประกอบในขณะเดียวกัน. คําว่า วิชชา และ วิมุตติ ได้แก่วิชชาในอรหัตตมรรค และผลวิมุตติ. คําที่เหลือทุกแห่งตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถามหาสฬายตนสูตรที่ ๗