พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 20
๘. เวสารัชชสูตร ว่าด้วยเวสารัชชญาณของตถาคต
[๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวสารัชชญาณ (ญาณเป็นเหาตุให้กล้าหาญ) ของตถาคต ๔ นี้ ตถาคตประกอบด้วยเวสารัชชญาณเหล่าไรเล่า จึงปฏิญญาฐานผู้เป็นโจก เปล่งสิงหนาทในบริษัททั้งหลาย ประกาศพรหมจักร เวสา-รัชชญาณคืออะไรบ้าง คือเราไม่เห็นนิมิตนี้ว่า สมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใครๆ ในโลก จักทักท้วงเราได้โดยชอบแก่เหตุ ในข้อว่า ๑. ท่านปฏิญญาว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ แต่ธรรมเหล่านี้ท่านยังไม่รู้แล้ว ๒. ท่านปฏิญญาว่าเป็นขีณาสพ แต่อาสวะเหล่านี้ของท่านยังไม่สิ้นแล้ว ๓. ท่านกล่าวธรรมเหล่าใดว่าทำอันตราย ธรรมเหล่านั้น ไม่อาจทำอันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง ๔. ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์อย่างนั้นไม่เป็นทางสิ้นทุกข์โดยชอบแห่งบุคคลผู้ทำตาม เมื่อไม่เห็นนิมิตอันนี้เสียเลย เราจึงโปร่งใจ จึงไม่ครั้นคร้าม จึงกล้าหาญ ภิกษุทั้งหลาย นี้แล เวสารัชชญาณของตถาคต ตถาคตประกอบด้วยเวสารัชชญาณเหล่าไรเล่า จึงปฏิญญาฐานผู้เป็นโจก เปล่งสิงหนาทในบริษัททั้งหลาย ประกาศพรหมจักร ถ้อยความ ที่ผูกแต่งขึ้นเป็นอันมาก ทุกชนิด และสมณพราหมณ์ทั้งหลายอาศัย วาทะใด วาทะนั้น มาถึงตถาคตผู้แกล้วกล้า ผู้ย่ำยีเสียซึ่งวาทะแล้ว ย่อมพ่ายไป ท่านผู้ ใดครอบงำเสียซึ่งวาทะและสมณพราหมณ์ ทั้งสิ้น มีความเอ็นดูในสรรพสัตว์ ประกาศ ธรรมจักร สัตว์ทั้งหลายย่อมกราบไหว้ ท่านผู้เช่นนั้น ผู้ประเสริฐแห่งเทวดา และมนุษย์ ผู้ถึงฝั่งแห่งภพ.
จบเวสารัชชสูตรที่ ๘ อรรถกถาเวสารัชชสูตร
ในบทว่า เวสารชฺชานิ นี้ ธรรมอัน เป็นปฏิปักษ์ต่อความขลาดชื่อว่า เวสารัชชะ ญาณเป็นเหตุให้กล้าหาญ. เวสารัชชะนี้ เป็นชื่อของโสมนัสญาณที่เกิดขึ้นแก่ตถาคต ผู้พิจารณาเห็นความไม่มีความขลาดในฐานะ ๔. ฯลฯ
ขออนุโมทนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ขออนุโมทนา
ขออนุโมทนา
ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
เรื่อง ผู้ไม่หวั่นไหว
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 460 วาทีสูตร
ผู้รู้ชัดตามเป็นจริง ไม่หวั่นไหวต่อผู้ยกวาทะ
[๑๗๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ย่อมรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ถึงแม้สมณะหรือ
พราหมณ์ผู้มีความต้องการวาทะ ผู้แสวงหาวาทะ พึงมาจากทิศบูรพา... ทิศ
ประจิม... ทิศอุดร... ทิศทักษิณ ด้วยประสงค์ว่า. จักยกวาทะของภิกษุนั้น
ภิกษุนั้นจักสะเทือนสะท้านหรือหวั่นไหวต่อสมณะหรือพราหมณ์โดยสห-
ธรรม ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เปรียบเหมือนเสาหิน ๑๖ ศอก เสาหินนั้นมี
รากลึกไปข้างล่าง ๘ ศอก ข้างบน ๘ ศอก ถึงแม้ลมฝนอย่างแรงจะพัดมา
แต่ทิศบูรพา... ทิศประจิม... ทิศอุดร...ทิศทักษิณ ก็ไม่สะเทือนสะท้าน
หวั่นไหว ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะรากลึก เพราะเสาหินเขาฝังไว้ดีแล้ว
ฉันใด ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิ-
โรธคามินีปฏิปทา ถึงแม้สมณะหรือพราหมณ์ต้องการวาทะ ผู้แสวงหาวาทะ
พึงมาจากทิศบูรพา... ทิศประจิม... ทิศอุดร... ทิศทักษิณ ด้วยประสงค์
ว่า จักยกวาทะของภิกษุนั้น ภิกษุนั้นจักสะเทือนสะท้านหรือหวั่นไหวต่อสมณะ
หรือพราหมณ์นั้นโดยสหธรรม ข้อนั้นมิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเห็นอริยสัจ ๔ ดีแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน อริยสัจ ๔ เป็นไฉน คือ
ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะ
ฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้
ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบวาทีสูตรที่ ๑๐
จบสีสปาปัณณวรรคที่ ๔ ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
สาธุ