[เล่มที่ 32] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 339
วรรคที่ ๒
อรรถกถาสูตรที่ ๑ - ๒
ประวัติพระจุลลปัณฐกเถระ และพระมหาปัณฐกเถระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 32]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 339
วรรคที่ ๒
อรรถกถาสูตรที่ ๑ - ๒
ประวัติพระจุลลปัณฐกเถระ และพระมหาปัณฐกเถระ
วรรคที่ ๒ สูตรที่ ๑ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า มโนมยํ ความว่า กายที่บังเกิดขึ้นด้วยใจ ในอาคตสถานที่ตรัสไว้ว่า "เข้าไปหาแล้วด้วยมโนมยิทธิทางกาย" ชื่อว่า กายมโนมัย. กายที่บังเกิดขึ้นด้วยใจในอาคตสถานที่กล่าวไว้ว่า "ย่อมเข้าถึงกายอันสำเร็จด้วยใจอย่างใดอย่างหนึ่ง" ก็ชื่อว่า กายมโนมัย. ในที่นี้ ประสงค์เอากายมโนมัยนี้.
ในกายทั้ง ๒ อย่างนี้ ภิกษุทั้งหลายเหล่าอื่น เมื่อทำมโนมัยกายให้เกิดขึ้น ก็ทำให้เกิดขึ้น ๓ บ้าง ๔ บ้าง แต่ทำคนมากให้บังเกิดเป็นเหมือนคนเดียวกันไม่ได้, ชื่อว่า กระทำกรรมได้อย่างเดียวเท่านั้น. ส่วนพระเถระชื่อว่า จุลลปัณฐก นิรมิตพระ ๑,๐๐๐ รูป ได้ด้วยอาวัชชนะเดียว แต่กระทำแก่ ๒ คนให้เสมือนเป็นคนๆ เดียวกันไม่ได้ ชื่อว่า กระทำกรรมอย่างเดียวไม่ได้. เพราะฉะนั้น ท่านชื่อว่า เป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้นิรมิตมโนมัยกาย. พระจุลลปัณฐกนับว่าเป็นยอดของเหล่าภิกษุ คือ ภิกษุผู้ฉลาดในเจโตวิวัฏฏะ. ส่วนพระมหาปัณฐกเถระท่านกล่าวว่า เป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้ฉลาดในปัญญาวิวัฏฏะ. บรรดาทั้งสองรูปนั้น พระจุลลปัณฐกเถระท่านกล่าวว่า เป็นผู้ฉลาดในเจโตวิวัฏฏะ เพราะได้รูปาวจรฌาน ๔. พระมหาปัณฐกเถระท่านกล่าวว่า เป็นผู้ฉลาดในปัญญาวิวัฏฏะ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 340
เพราะเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ. พระมหาปัณฐก ชื่อว่า ผู้ฉลาดในปัญญาวิวัฏฏะ เพราะเป็นผู้ฉลาดในวิปัสสนา อนึ่ง ในภิกษุ ๒ รูปนี้ รูปหนึ่งฉลาดในลักขณะสมาธิ รูปหนึ่งฉลาดในลักขณะแห่งวิปัสสนา อนึ่ง รูปหนึ่งฉลาดในการหยั่งลงสมาธิ รูปหนึ่งฉลาดในการหยั่งลงสู่วิปัสสนา อีกนัยหนึ่ง ใน ๒ รูปนี้ รูปหนึ่งฉลาดในการย่อองค์ รูปหนึ่งฉลาดในการย่ออารมณ์ อีกนัยหนึ่ง องค์หนึ่งฉลาดในการกำหนดองค์ องค์หนึ่งฉลาดในการกำหนดอารมณ์ พึงกระทำการประกอบความในภิกษุ ๒ รูปนี้ ด้วยประการดังกล่าวมานี้ อีกอย่างหนึ่ง พระจุลลปัณฐกเถระ เป็นผู้ได้รูปาวจรฌาน ออกจากองค์ฌานแล้ว บรรลุพระอรหัต ฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ฉลาดในเจโตวิวัฎฏะ พระมหาปัณถกเป็นผู้ได้อรูปาวจรฌาน ออกจากองค์ฌานแล้ว บรรลุพระอรหัต ฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ฉลาดในปัญญาวิวัฏฏะ พระเถระทั้ง ๒ รูปที่มีชื่อว่า ปัณฐกะ เพราะท่านเกิดที่หนทางทั้งสองรูปนั้น รูปที่เกิดก่อนชื่อว่า มหาปัณฐกะ อีกรูปหนึ่งชื่อว่า จุลลปัณฐกะ ก็ในปัญหากรรมของพระเถระทั้ง ๒ รูปนี้ มีเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับ ดังต่อไปนี้
ก็ในอดีตกาลครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ มีกุฏุมพี ๒ พี่น้อง เป็นชาวเมืองหงสวดี เลื่อมใสในพระศาสนา ไปฟังธรรมสำนักพระศาสดาเป็นนิตย์. ในกุฏุมพี ๒ พี่น้องนั้น วันหนึ่งน้องชายเห็นพระศาสดา สถาปนาภิกษุรูปหนึ่ง ผู้ประกอบด้วยองค์ ๒ ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า ภิกษุรูปนี้เป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้เนรมิตกายมโนมัย และเป็นผู้ฉลาดในเจโตวิวัฏฏะ ในศาสนาของเรา จึงคิดว่า น่าอัศจรรย์หนอ ภิกษุนี้เป็นคนเดียวทำ ๒ องค์ให้บริบูรณ์
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 341
เที่ยวไปได้ แม้เราก็ควรเป็นผู้บำเพ็ญมีองค์ ๒ เที่ยวไปในศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในอนาคต ดังนี้ เขาจึงนิมนต์พระศาสดา ถวายมหาทานโดยนัยก่อน นั่นแล แล้วทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุที่พระองค์สถาปนาไว้ ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า เป็นยอดในศาสนาของพระองค์ ด้วยองค์มโนมัย และด้วยความเป็นผู้ฉลาดในเจโตวิวัฏฏะ ในที่สุดแห่งวัน ๗ แต่นี้ แม้ข้าพระองค์ก็พึงเป็นผู้บำเพ็ญองค์ ๒ บริบูรณ์เหมือนภิกษุนั้น ด้วยผลแห่งกรรมอันเป็นอธิการนี้เถิด พระศาสดาทรงตรวจดูอนาคต ก็ทรงเห็นว่า ความปรารถนาท่านจะสำเร็จโดยหาอันตรายมิได้ ทรงพยากรณ์ว่าในอนาคต ในที่สุดแห่งแสนกัป พระพุทธเจ้าพระนามว่า โคตมะจักทรงอุบัติขึ้น พระองค์จักสถาปนาเธอไว้ในฐานะ ๒ นี้ ดังนี้ทรงกระทำอนุโมทนา แล้วเสด็จกลับไป.
แม้พี่ชายของท่านในวันหนึ่ง เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุ ผู้ฉลาดในปัญญาวิวัฏฏะไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ ก็กระทำบุญกุศลเหมือนอย่างนั้น การทำความปรารถนาแล้ว แม้พระศาสดาก็ทรงพยากรณ์ท่านแล้ว. ทั้ง ๒ พี่น้องนั้น เมื่อพระศาสดายังทรงพระชนม์อยู่กระทำกุศลกรรมแล้ว เมื่อเวลาพระศาสดาปรินิพพานแล้ว ได้บูชาด้วยทองที่พระเจดีย์บรรจุพระสรีระ จุติจากภพนั้นแล้ว ไปบังเกิดในเทวโลก เมื่อ ๒ พี่น้องเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ล่วงไปถึงแสนกัป ในชนทั้ง ๒ นั้น ข้าพเจ้าจะไม่กล่าวกัลยาณกรรม ที่มหาปัณฐกะกระทำไว้ในระหว่างๆ ส่วนจุลลปัณฐกะออกบวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสปะ เจริญโอทาตกสิณล่วงไป ๒๐,๐๐๐ ปี ไปบังเกิดในสวรรค์
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 342
ครั้นภายหลังพระศาสดาของเรา ทรงบรรลุพระอภิสัมโพธิญาณ ทรงประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐแล้ว ทรงอาศัยกรุงราชคฤห์ประทับอยู่ ณ เวฬุวันมหาวิหาร ควรจะกล่าวถึงความบังเกิดของชนทั้ง ๒ นั้น.
ได้ยินว่า กุลธิดาของธนเศรษฐี ในกรุงราชคฤห์ การทำการลักลอบกับทาสของตนเอง แล้วคิดว่า หากคนอื่นๆ รู้กรรมนี้ของเรา ก็กลัวกล่าวอย่างนี้ว่า เราไม่อาจอยู่ในที่นี้ได้ ถ้าหากว่ามารดาบิดาของเรารู้ความผิดอันนี้ จักกระทำเราให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย จำเราจะไปอยู่ต่างถิ่นกันเถิด จัดถือเอาแต่ของสำคัญติดมือไปได้ แล้วพากันออกทางประตูใหญ่ ไปอยู่ยังที่ๆ ไม่มีคนอื่นรู้จักเถิด คนทั้ง ๒ ก็พากันออกไป เมื่อชนทั้ง ๒ นั้น อยู่ในที่แห่งหนึ่งอาศัยความอยู่ร่วมกัน นางก็ตั้งครรภ์แล้ว พอครรภ์แก่จัด นางจึงปรึกษากับสามีว่า ครรภ์เราแก่มากแล้ว ธรรมดาการคลอดในที่ที่ไม่มีญาติเผ่าพันธ์ เป็นความลำบากแก่เราทั้งสองแท้จริง เราไปเรือนสกุลกันเถอะ สามีพูดผลัดว่า วันนี้จะไป พรุ่งนี้ค่อยไป จนล่วงไปหลายวัน นางจึงคิดว่า ผู้นี้เป็นคนโง่ไม่กล้าไป หรือไม่ไปก็ช่าง เราควรไป เมื่อสามีออกจากบ้านไป ก็เก็บข้าวของไว้ในเรือน บอกแก่คนอยู่บ้านติดกันว่า ตนไปเรือนสกุล แล้วก็ออกเดินทาง ทีนั้น บุรุษนั้นกลับมาเรือนไม่เห็นนาง ถามคนคุ้นเคยกันทราบว่า ไปเรือนสกุล จึงรีบติดตามไปทันกันในระหว่างทาง นางก็คลอดบุตรในที่นั้น นั่นเอง บุรุษนั้นถามว่า นี้อะไรนางผู้เจริญ นางตอบว่า นายลูกเกิดคนหนึ่งแล้ว บุรุษนั้นถามว่า บัดนี้เราจะทำอย่างไร นางกล่าวว่า เราจะไปเรือนสกุลเพื่อประโยชน์แก่การใด การนั้น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 343
สำเร็จแล้วในระหว่าง เราไปที่นั้นแล้วจะทำอะไรได้ กลับกันเถิด สองสามีภรรยานั้น มีใจตรงกันจึงกลับ ก็สองสามีภรรยาตั้งชื่อบุตรว่า ปัณฐกะ เพราะทารกนั้นเกิดที่หนทาง อีกไม่นานนัก นางก็ตั้งครรภ์บุตรอีกคนหนึ่ง เรื่องทั้งหมดพึงกล่าวให้พิสดาร โดยนัยก่อนนั่นเทียว. เขาตั้งชื่อบุตรที่เกิดก่อนว่า มหาปัณฐก บุตรที่เกิดทีหลังว่า จุลลปัณฐก เพราะทารกทั้งสองนั้นเกิดที่หนทาง ชนทั้งสองนั้นพาทารกทั้งสองไปยังที่อยู่ของตนตามเดิม.
เมื่อชนเหล่านั้นอยู่ในที่นั้น เด็กมหาปัณฐกะได้ยินเด็กอื่นๆ เรียก อา ลุง ปู่ ย่า จึงถามมารดาว่า แม่จ๋า เด็กอื่นๆ เรียกปู่ เรียกย่า ก็ญาติของพวกเราในที่นี้ไม่มีบ้างหรือ นางตอบว่า จริงสิลูก ญาติของเราในที่นี้ไม่มีดอก แต่ในกรุงราชคฤห์ตาของเจ้าชื่อ ธนเศรษฐี ในกรุงราชคฤห์นั้นมีญาติของเจ้าเป็นอันมาก เพราะเหตุไร เราจึงไม่ไปกันในกรุงราชคฤห์นั้นละแม่ นางมิได้เล่าเหตุที่ตนมาแก่บุตร เมื่อบุตรพูดบ่อยๆ จึงบอกสามีว่า เด็กๆ เหล่านี้รบเร้าเหลือเกิน พ่อแม่ของเราเห็นแล้วจักกินเนื้อหรือ มาเถอะเราจะไปชี้สกุลตายายแก่เด็กๆ สามีกล่าวว่า ฉันไม่อาจเผชิญหน้าได้ แต่ว่าจักพาไปได้ นางกล่าวว่า ดีละนาย เราควรให้เด็กๆ เห็นตระกูลตา ด้วยอุบายอย่างหนึ่ง จึงควร ทั้งสองคนจึงพาทารกไปจนถึงกรุงราชคฤห์โดยลำดับ พักที่ศาลาแห่งหนึ่งใกล้ประตูนคร มารดาเด็กส่งข่าวไปบอกแก่มารดาบิดาว่า พาเด็ก ๒ คนมา สัตว์ที่เวียนว่ายอยู่ในสงสารวัฎชื่อว่า จะไม่เป็นบุตรจะไม่เป็นธิดากันไม่มี มารดาบิดานั้นได้ฟังข่าวแล้ว ส่งคำตอบไปว่า คนทั้งสองมีความผิดต่อเรามาก ไม่อาจอยู่ในสายตาของเราได้ ทั้ง ๒ คน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 344
จงถือเอาทรัพย์มีประมาณเท่านี้ ไปอยู่ยังสถานที่ที่เป็นผาสุกเถิด แต่จงส่งเด็กๆ มาให้เรา ธิดาเศรษฐีรับเอาทรัพย์ที่มารดาบิดาส่งไป แล้วมอบเด็กทั้ง ๒ ไว้ในมือทูตที่มาแล้ว นั้นแล เด็กทั้ง ๒ นั้นเติบโตอยู่ในตระกูลของตา
ในพี่น้องทั้งสองนั้น จุลลปัณฐกะยังเด็กเกินไป ส่วนมหาปัณฐกะไปฟังธรรมกถาของพระทศพลพร้อมกับตา เมื่อเขาฟังธรรมต่อพระพักตร์พระศาสดาอยู่เป็นประจำ จิตก็น้อมไปในบรรพชา เขาพูดกับตาว่า ถ้าตาอนุญาต หลานจะออกบวช ตากล่าวว่าอะไรพ่อ การบรรพชาของเจ้าผู้ออกบวชแล้ว เป็นควานเจริญทั้งแก่เราแลทั้งแก่โลกทั้งสิ้น ถ้าเจ้าสามารถก็จงบวชเถิดพ่อ ดังนี้รับคำแล้ว พากันไปยังสำนักพระศาสดา พระศาสดาตรัสว่า มหาเศรษฐี. ท่านได้ทารกแล้วหรือ ศ.พระเจ้าข้า ทารกผู้นี้เป็นหลานของข้าพระองค์ เขาบอกว่าจะบวชในสำนักของพระองค์ พระศาสดาจึงตรัสมอบภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่งว่า เธอจงให้ทารกนี้บวชเถิด พระเถระบอก ตจปัญจกกัมมัฏฐานแก่ทารกนั้นแล้ว ให้บรรพชาแล้ว ท่านเรียนพระพุทธวจนะได้มาก มีพรรษาครบแล้วก็อุปสมบท ครั้นอุปสมบทแล้ว ก็กระทำกิจกรรมในความใส่ใจโดยอุบายอันแยบคาย จนได้อรูปาวจรฌาน ๔ ออกจากองค์ฌานแล้ว ได้บรรลุพระอรหัต ดังนั้น ท่านจึงเป็นยอดของบรรดาภิกษุผู้ฉลาดในปัญญาวิวัฏฎะ.
ท่านยับยั้งอยู่ด้วยความสุขในฌาน ความสุขในมรรค ความสุขในนิพพาน จึงคิดว่า เราอาจให้ความสุขชนิดนี้แก่ จุลลปัณฐกะได้ไหม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 345
หนอ แต่นั้นจึงไปยังสำนักของเศรษฐีผู้เป็นตา กล่าวว่า ท่านมหาเศรษฐี ถ้าโยมอนุญาต อาตมาจะให้จุลลปัณฐกะบวช เศรษฐีกล่าวว่าจงให้บวชเถิดท่าน พระเถระให้จุลลปัณฐกะบวชแล้ว ให้ตั้งอยู่ในศีล ๑๐ สามเณรจุลลปัณฐกะ เรียนคาถาในสำนักของพระพี่ชายว่าดังนี้.
ปทฺทมํ ยถา โกกนุทํ สุคนฺธํ
ปาโต สิยา ผุลฺลมวีตคนฺธํ
องฺคีรสํ ปสฺส วิโรจมานํ
ตปนฺตมาทิจฺจมิวนฺตลิกฺเข.
เชิญท่านดูพระอังคีรส ผู้รุ่งเรืองอยู่ ดุจพระอาทิตย์ส่องแสงอยู่ในอากาศ เหมือนดอกปทุมวิเศษชื่อ โกกนุทะ มีกลิ่นหอมบานอยู่แต่เช้า ไม่ปราศจากกลิ่น ฉะนั้น.
บทที่ท่านเรียนๆ ไว้แล้ว ก็หายไป เมื่อมาเรียนบทที่สูงๆ ขึ้นไป ท่านพยายามเรียนคาถานี้อย่างเดียว เวลาก็ล่วงไปถึง ๔ เดือน คราวนั้น พระมหาปัณฐกะกล่าวกะท่านว่า ปัณฐกะเธอเป็นอภัพพในศาสนานี้ เธอจำคาถาแม้บทเดียวก็ไม่ได้ เป็นเวลาถึง ๔ เดือน เธอจะทำกิจของบรรพชิตให้สำเร็จได้อย่างไร เธอจงออกไปจากที่นี้เสีย ท่านถูกพระเถระขับไล่ จึงไปยืนร้องไห้อยู่ ณ ท้ายพระวิหาร.
สมัยนั้น พระศาสดาทรงเข้าอาศัยกรุงราชคฤห์ ประทับอยู่ในชีวกัมพวัน สวนมะม่วงของหมอชีวก ขณะนั้นหมอชีวกใช้บุรุษ ไปทูลนิมนต์พระศาสดากับภิกษุ ๕๐๐ รูป และสมัยนั้น พระมหาปัณฐกะ เป็นเจ้าหน้าที่แจกอาหาร เมื่อบุรุษนั้นกล่าวนิมนต์ว่า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 346
ท่านขอรับ ขอนิมนต์พระภิกษุ ๕๐๐ รูป ท่านก็กล่าวว่า ฉันรับสำหรับภิกษุที่เหลือ เว้นพระจุลลปัณฐกะ พระจุลลปัณฐกะได้ฟังคำนั้น ก็โทมนัสเหลือประมาณ พระศาสดาทรงเห็นพระจุลลปัณถกะร้องไห้อยู่ ทรงดำริว่า จุลลปัณฐกะเมื่อเราไป จักตรัสรู้ จึงเสด็จไปแสดงพระองค์ในที่ที่ไม่ไกลแล้วตรัสว่า จุลลปัณฐกะ เธอร้องไห้ทำไม
จ. พี่ชายขับไล่ข้าพระองค์พระเจ้าข้า
พ. จุลลปัณฐกะ พี่ชายของเธอ ไม่มีอาสยานุสยญาณสำหรับบุคคลอื่น เธอชื่อว่า พุทธเวไนยบุคคล ดังนี้ ทรงบรรดาลฤทธิ์ มอบผ้าชิ้นเล็กๆ ที่สะอาดผืนหนึ่งประทาน ตรัสว่า จุลลปัณฐกะ เธอจงเอาผ้าผืนนี้ภาวนาว่า รโชหรณํ รโชหรณํ ดังนี้.
ท่านนั่งเอามือคลำผ้าท่อนเล็ก ที่พระศาสดาประทานนั้น ภาวนาว่า รโชหรณํ รโชหรณํ เมื่อท่านลูบคลำอยู่ (เช่นนั้น) ผ้าผืนนั้นก็เศร้าหมอง เมื่อท่านลูบคลำอยู่บ่อยๆ ก็กลายเป็นเหมือนผ้าเช็ดหม้อข้าว ท่านอาศัยความแก่กล้าแห่งญาณ เริ่มตั้งความสิ้นไป และความเสื่อมไปในผ้านั้น คิดว่า ท่อนผ้านี้โดยปกติสะอาดบริสุทธิ์ เพราะอาศัยอุปาทินนกสรีระ จึงเศร้าหมอง แม้จิตนี้ ก็มีคติเป็นอย่างนี้เหมือนกัน แล้วเจริญสมาธิ กระทำรูปาวจรฌาน ๔ ให้ปรากฏ บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาแล้ว ท่านเป็นผู้ได้ฌานด้วยมโนมยิทธินั่นเอง สามารถทำคนคนเดียวเป็นหลายคนได้ หลายคนก็สามารถทำให้เป็นคนเดียวได้ ก็พระไตรปิฎกและอภิญญา ๖ มาถึงท่าน พร้อมกับพระอรหัตตมรรค นั่นแหละ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 347
วันรุ่งขึ้น พระศาสดาเสด็จไปพร้อมกับภิกษุ ๕๐๐ ประทับนั่งในนิเวศน์ของหมอชีวก ส่วนพระจุลลปัณฐกะไม่ได้ไป เพราะตนไม่ได้รับนิมนต์นั่นเอง ชีวกเริ่มถวายข้าวยา พระศาสดาทรงเอาพระหัตถ์ปิดบาตร หมอชีวกทูลถามว่า เพราะเหตุไร พระองค์จึงไม่ทรงรับ พระเจ้าข้า ตรัสว่า ยังมีภิกษุอีกรูปหนึ่งในวิหาร ชีวกหมอชีวกจึงส่งบุรุษไปว่า พนาย จงไปนิมนต์พระคุณเจ้าที่อยู่ในวิหารมาที แม้พระจุลลปัณฐกเถระเนรมิตภิกษุ ๑,๐๐๐ รูป ในเวลาใกล้ที่บุรุษนั้นมาถึง ทำไม่ให้เหมือนกันแม้สักองค์เดียว องค์หนึ่งๆ กระทำกิจของสมณะเป็นต้นว่า กะจีวรไม่เหมือนกับองค์อื่นๆ บุรุษนั้น เห็นภิกษุมีมากในวิหาร จึงกลับไปบอกหมอชีวกว่า นายท่านภิกษุในวิหารนี้มีมาก ผมไม่รู้จักพระคุณท่าน ที่จะพึงนิมนต์มาจากวิหารนั้น หมอชีวกจึงทูลถามพระศาสดาว่า ภิกษุอยู่ในวิหารชื่อไร พระเจ้าข้า
พ. ชื่อจุลลปัณฐกะ ชีวก
หมอชีวกกล่าวกะบุรุษนั้นว่า ไปเถิดพนาย จงไปถามว่า องค์ไหนชื่อ จุลลปัณฐกะ แล้วนำมา
บุรุษนั้นกลับมายังวิหาร ถามว่า องค์ไหนชื่อ จุลลปัณฐกะ ขอรับ กล่าวว่า เราชื่อจุลลปัณฐกะ เราชื่อจุลลปัณฐกะทั้ง ๑,๐๐๐รูป. บุรุษนั้นกลับไปบอกหมอชีวกอีกว่า ภิกษุประมาณ ๑,๐๐๐ รูปทุกองค์บอกว่า เราชื่อจุลลปัณฐกะ เราชื่อจุลลปัณฐกะ ข้าพเจ้าไม่ทราบว่า จุลลปัณฐกะองค์ไหนที่ท่านให้นิมนต์ หมอชีวกทราบได้โดยนัยว่า ภิกษุมีฤทธิ์เพราะแทงตลอดสัจจะแล้ว จึงกล่าวว่า เจ้า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 348
จงจับที่ชายจีวรภิกษุองค์ที่กล่าวก่อน บุรุษนั้นไปวิหารกระทำอย่างนั้นแล้ว ในทันใดนั้น ภิกษุประมาณ ๑,๐๐๐ รูป ก็อันตรธานไป บุรุษนั้นพาพระเถระมาแล้ว พระศาสดาจึงทรงรับข้าวยาคูในขณะนั้น.
เมื่อพระทศพลการทำภัตกิจเสร็จแล้ว เสด็จกลับพระวิหาร เกิดการสนทนากันขึ้นในธรรมสภาว่า ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ใหญ่ถึงเพียงนั้นหนอ ทรงกระทำภิกษุผู้ไม่อาจจำคาถา คาถาหนึ่งได้ตลอด ๔ เดือน ให้เป็นผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ได้ พระศาสดาทรงทราบวาระจิตของภิกษุเหล่านั้น ประทับนั่งเหนืออาสนะที่เขาจัดไว้แล้ว ตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอพูดอะไรกัน
ภิ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพระองค์มิได้กล่าวเรื่องอะไรๆ อื่น กล่าวแต่คุณของพระองค์เท่านั้นว่า พระจุลลปัณฐกะได้ลาภใหญ่ แต่สำนักของพระองค์ ดังนี้
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จุลลปัณฐกะนี้ ทำตามโอวาทของเราแล้ว ได้ความเป็นทายาททางโลกุตตระ ในบัดนี้ยังไม่น่าอัศจรรย์ แม้ในอดีตเธอกระทำตามโอวาทของเรา ผู้ตั้งอยู่ในญาณยังไม่แก่กล้า ก็ได้ความเป็นทายาททางโลกิยะแล้ว
ภิกษุทั้งหลายจึงทูลวิงวอนว่า เมื่อไรพระเจ้าข้า พระศาสดาทรงนำอดีตนิทาน มาแสดงแก่ภิกษุเหล่านั้นว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาลพระราชาพระนามว่า พรหมทัต ครองราชสมบัติในกรุงพาราณสี, สมัยนั้นบัณฑิตชื่อ จูฬกเศรษฐี เป็นคนฉลาดรู้นิมิตทั้งปวง วันหนึ่งกำลังเดินไปเฝ้า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 349
พระราชา เห็นหนูตาย (ตัวหนึ่ง) ในระหว่างทาง จึงกำหนดนักษัตรในขณะนั้น แล้วกล่าวคำนี้ว่า กุลบุตรผู้มีดวงตามีปัญญา สามารถเอาหนูนี้ไป เลี้ยงภรรยาและจัดการงานได้ กุลบุตรเข็ญใจคนหนึ่ง ฟังคำเศรษฐีนั้นแล้วคิดว่า ผู้นี้ไม่รู้คงไม่พูด ดังนี้ จึงเอาหนูไปให้ที่ร้านตลาดแห่งหนึ่ง เพื่อเลี้ยงแมว ได้ทรัพย์กากณิกหนึ่ง แล้วซื้อน้ำอ้อยด้วยทรัพย์กากณิกหนึ่งนั้น เอาหม้อใบหนึ่งใส่น้ำดื่มไป เห็นช่างจัดดอกไม้เดินมาแต่ป่า ก็ให้ชิ้นน้ำอ้อยหน่อยหนึ่ง แล้วเอากะบวยตักน้ำดื่ม ให้ช่างดอกไม้เหล่านั้น ให้ดอกไม้แก่บุรุษนั้นคนละกำ แม้ในวันรุ่งขึ้น เขาเอาค่าดอกไม้นั้นไปซื้อน้ำอ้อย และหม้อน้ำดื่มแล้ว ไปยังสวนดอกไม้ นั่นแหละ วันนั้น ช่างดอกไม้ก็ให้กอดอกไม้ที่ตนเก็บไปครึ่งหนึ่งแล้ว แก่เขาแล้วก็ไป ล่วงไปไม่นานนักเขาได้ทรัพย์นับได้ถึง ๘ กหาปณะ โดยอุบายนี้ ในวันที่มีลมและฝน (ตกหนัก) วันหนึ่ง เขากระทำไม้ที่ล้มแล้ว ให้เป็นกอง จึงได้ทรัพย์อีก ๑๖ กหาปณะ จากนายช่างหม้อหลวง เขาเมื่อได้ทรัพย์เกิดขึ้นถึง ๒๔ กหาปณะแล้ว คิดว่า อุบายนี้มีประโยชน์แก่เรา จึงตั้งหม้อน้ำดื่มไว้หม้อหนึ่ง ในที่ไม่ไกลแต่ประตูเมือง เอาน้ำดื่มเลี้ยงคนตัดหญ้า ๕๐๐ คน คนตัดหญ้าเหล่านั้นพูดกันว่า สหาย ท่านมีอุปการะมากแก่พวกเรา พวกเราจะทำอะไรแก่ท่านได้บ้าง บุรุษนั้นตอบว่า เมื่อมีกิจเกิดขึ้น จึงกระทำแก่ข้าพเจ้าเถิด เที่ยวไปทางโน้นทางนี้กระทำการผูกมิตรกับคนทำงานทางบก และคนทำงานทางน้ำ คนทำงานทางบกบอกแก่เขาว่า พรุ่งนี้ พ่อค้าม้าจะนำม้า ๕๐๐ ตัว มายังเมืองนี้ เขาได้ฟังคำนั้นแล้ว ให้สัญญาแก่คนตัดหญ้า ให้การทำฟ่อนหญ้าแต่ละฟ่อนๆ ให้เป็น ๒ เท่าแล้วนำมา ครั้นเวลาม้า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 350
ทั้งหลายมาพักในเมืองแล้ว (เขา) ก็มานั่งทำฟ่อนหญ้า ๑,๐๐๐ ฟ่อน กองไว้ใกล้ประตูด้านใน พ่อค้าม้าหาหญ้าสดให้ม้าทั่วเมืองไม่ได้ ต้องให้ทรัพย์พันหนึ่งแก่บุรุษนั้น ซื้อหญ้านั้นไป จากนั้นล่วงไป ๒ - ๓ วัน สหายที่ทำงานทางทะเลมาบอกว่า จะมีเรือใหญ่เข้าจอดท่า บุรุษนั้นคิดว่า อุบายนี้มี จึงเอาทรัพย์ ๘ กหาปณะ เช่ารถที่พร้อมด้วยเครื่องใช้ทุกชนิด ไปยังท่าจอดเรือ ทำสัญญากับนายท่า ประทับนิ้วมือไว้ที่เรือ แล้วให้กั้นม่านไว้ในที่ไม่ไกล นั่งอยู่ในภายในม่านนั้น สั่งบุรุษคนใช้ไว้ว่า เมื่อพ่อค้าจากภายนอกมาถึง จงมาบอกทางประตูด่านที่ ๓ ครั้นคนใช้เหล่านั้นทราบว่า เรือมาถึงแล้ว จึงบอกว่า มีพ่อค้าประมาณ ๑๐๐ คนจากกรุงพาราณสี มาซื้อสินค้า นายประตูที่ ๓ กล่าวว่า พวกท่านจะไม่ได้สินค้า (เพราะ) นายพานิชใหญ่ในที่โน้น ท่านทำสัญญาไว้แล้ว พ่อค้าเหล่านั้นฟังคำของบุรุษเหล่านั้นแล้ว จึงพากันไปยังสำนักของพ่อค้าใหญ่นั้น ฝ่ายบุรุษคนสนิทแจ้งข่าวว่า พ่อค้าเหล่านั้นมาทางประตูด่านที่ ๓ ตามสัญญาฉบับก่อน พ่อค้าทั้งร้อยคนนั้น ต้องให้ทรัพย์คนละพัน แล้วจึงเดินทางไปเรือกับบุรุษนั้น แล้วจ่ายทรัพย์อีกคนละพันๆ แล้วให้สละมัดจำ แล้วจึงจะทำสินค้าให้เป็นของๆ ตนได้ บุรุษนั้นถือเอาทรัพย์ ๒ แสน กลับมายังกรุงพาราณสี คิดว่า เราควรจะเป็นคนกตัญญู จึงถือเอาทรัพย์แสนหนึ่งไปยังสำนักแห่งจูฬกเศรษฐี
ครั้งนั้น เศรษฐีถามบุรุษนั้นว่า พ่อทำอย่างไร จึงได้ทรัพย์นี้มา บุรุษนั้นกล่าวว่า ข้าพเจ้าตั้งอยู่ในอุบายที่ท่านกล่าวแล้ว จึงได้ทรัพย์มาภายใน ๔ เดือนเท่านั้น เศรษฐีได้ฟังคำของบุรุษนั้น จึงมาคิดว่า บัดนี้เราไม่ควรทำเด็กเห็นปานนี้ ให้เป็นสมบัติของ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 351
คนอื่น จึงยกธิดาที่เจริญวัยให้ ทำให้เป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติทั้งสิ้น กุลบุตรแม้นั้น เมื่อเศรษฐีล่วงไปแล้ว จึงรับตำแหน่งเศรษฐีแทนในพระนครนั้น ดำรงอยู่จนตลอดอายุ แล้วไปตามยถากรรม.
พระศาสดาตรัสเรื่องทั้ง ๒ นี้แล้ว ทรงสืบต่ออนุสนธิเทศนา ในขณะที่ตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณแล้ว ตรัสพระคาถาว่าดังนี้
อปฺปเกนปิ เมธาวี ปาภเฏน วิจกฺขโณ
สมุฏฺาเปติ อตฺตานํ อณุํ อคฺคึว สนฺธมนฺติ.
บุคคลผู้มีปัญญา มีปัญญาเห็นประจักษ์ ย่อมตั้งตนได้ ด้วยทรัพย์อันเป็นต้นทุน แม้เล็กน้อย ดุจบุคคลก่อไฟอันน้อย ให้โพลงขึ้นได้ ฉะนั้น.
พระศาสดาทรงแสดงเหตุนี้ แก่บรรดาภิกษุ ผู้นั่งประชุมกันในธรรมสภา ด้วยประการ ดังนี้ นี้เป็นเรื่องราวที่มีมาตามลำดับ จำเดิมแต่การตั้งความปรารถนาไว้ ในตอนแรกของพระมหาสาวกทั้งสอง ก็ต่อมา พระศาสดามีหมู่พระอริยแวดล้อมแล้ว ประทับนั่งเหนือธรรมาสน์ ทรงสถาปนาพระจุลลปัณฐกเถระไว้ ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้ฉลาด ในเจโตวิวัฏฏะ ผู้เนรมิตกายมโนมัยได้ ทรงสถาปนาพระมหาปัณฐกเถระไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้ฉลาด ในปัญญาวิวัฏฏะ ด้วยประการ ฉะนี้.
จบ อรรถกถาสูตรที่ ๑ - ๒