คำว่า “อารัมมณะ” อีกคำหนึ่งในภาษาบาลี ซึ่งภาษาไทยใช้คำว่า“อารมณ์” ไม่เหมือนกับความหมายที่เราเข้าใจ เพราะว่าคนไทยเรา เอาภาษาบาลีมาใช้ แต่ใช้ไม่ตรงกับความหมายในพระพุทธศาสนา เวลาที่เราบอกว่า วันนี้อารมณ์ดีเพราะว่าเห็นดี ได้ยินดี ได้กลิ่นดี ลิ้มรสดี รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสดี คิดนึกเรื่องราวดีๆ ก็บอกว่า อารมณ์ดี แต่คำว่า “อารัมมณะ” ต้องคู่กับคำว่า “จิต” เพราะว่า จิตเป็นสภาพรู้หรือธาตุรู้ เมื่อเกิดขึ้นต้องรู้ ไม่รู้ไม่ได้เลย
เพราะฉะนั้น เมื่อจิตเป็นสภาพรู้ก็ต้องมีสิ่งที่ถูกจิตรู้ หรือว่าจิตกำลังรู้สิ่งใด สิ่งนั้นเป็น “อารมณ์” เสียงในป่าเสียงนอกศาลา เสียงใดๆ ก็เกิดขึ้นได้ เมื่อมีการกระทบกันของของแข็งแต่เสียงที่ไม่ปรากฏ ไม่ใช่ “อารัมมณะ” หรืออารมณ์ เพราะว่าขณะนั้นไม่มีจิตที่รู้อารมณ์หรือเสียงนั้น เสียงนั้นเกิดแล้วก็ดับไปๆ แต่ขณะใดก็ตามเสียงปรากฏหมายความว่า เสียงปรากฏกับสภาพรู้ที่กำลังได้ยินเสียงขณะนี้มีจิตขณะหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นได้ยินเสียง
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ