ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สำหรับปัจจัยที่ได้กล่าวถึงแล้ว คือเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย และอธิปติปัจจัย สำหรับ เจตสิก ๖ ประเภท คือ (เหตุ ๖)
โลภเจตสิก ๑
โทสเจตสิก ๑
โมหเจตสิก ๑
อโลภเจตสิก ๑
อโมหเจตสิก ๑
อโทสเจตสิก ๑
เจตสิกทั้ง ๖ ประเภท เป็น "เหตุ-ปัจจัย" ให้สภาพธรรมคือ จิตและเจตสิกอื่นเกิดพร้อมกับตน ในขณะนั้น ถ้าพิจารณา ก็จะทราบได้ว่าสำหรับ "เหตุปัจจัย" เป็นปัจจัยให้จิต เจตสิก และรูป เกิดขึ้น เพราะเหตุว่า ถ้าจิตเป็นโลภะ (โลภมูลจิต) ก็จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มีการเคลี่อนไหวของกายบ้าง ของวาจาบ้างในชีวิตประจำวันของทุกท่าน ขณะที่ทุกท่านกำลังกระทำสิ่งหนึ่ง สิ่งใด โดยไม่รู้ตัวไม่ว่าจะเดิน จะนั่ง จะนอนจะพูด ฯลฯ เช่น วันนี้ก็มีการกระทำหลายอย่างเกิดขึ้น โดยที่ไม่ทราบว่าในขณะนั้นเป็นโลภเจตสิก ที่เกิดกับจิตและเจตสิกเป็นโลภมูลจิต ซึ่งเกิดขึ้น แล้วเป็นปัจจัยให้รูปเคลื่อนไหวกระทำกิจการงานต่างๆ ด้วยโลภมูลจิต
ไม่ทราบใช่มั้ยคะ ไม่ได้พิจารณาเลย แต่ให้ทราบว่า ขณะที่เจตสิก (เจตสิกที่เป็นเหตุ ๖ ประเภทดังกล่าว) นอกจากเป็น "เหตุ" ที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิตและเจตสิกอื่นๆ ยังเป็นปัจจัยให้รูปเกิดขึ้น ในการกระทำกิจต่างๆ ทางกาย และทางวาจาได้ด้วย
แต่สำหรับ "อารัมมณปัจจัย" คือ สภาพธรรมใดก็ตามซึ่งเป็นปัจจัยให้จิตเกิดขึ้น รู้สภาพธรรมนั้นโดยสภาพธรรมนั้นเอง เป็นอารัมมณปัจจัย คือ เป็นอารมณ์ของจิตขณะนั้น
อารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยการเป็นอารมณ์ของจิตขณะหนึ่งๆ ที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น สภาพธรรมที่เป็นอารัมมณปัจจัย ทำให้จิตและเจตสิกเกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้น แต่ไม่ได้ทำให้รูปเกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้น
นี้ก็เป็นเรื่องของ จิต เจตสิก และ รูป ซึ่งมีจริงๆ และเกิดขึ้น ปรากฏจริงๆ ในชีวิตปกติประจำวัน แต่ไม่ได้รู้สภาพนั้นๆ ตามความเป็นจริง ถ้าพิจารณาอย่างละเอียด ก็สามารถที่จะเข้าใจว่าเมื่อศึกษาความเป็นปัจจัยโดยละเอียดยิ่งขึ้น ก็จะทำให้เข้าใจความเป็นไปของชีวิต ตามปกติ ตามความเป็นจริงในชีวิตประจำวัน มากขึ้น
ข้อความบางตอนจากเทปชุด ปัฏฐาน (ปัจจัย ๒๔)
ตอนที่ ๔ โดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
ขออนุโมทนา
ขออนุโมทนาที่นำข้อความที่มีประโยชน์ให้พวกเราได้ศึกษากัน
ขออนุโมทนาครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ