[เล่มที่ 82] พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑
พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๕
ยมก ภาคที่ ๑ ตอนที่ ๑
สังขารยมกที่ ๖
ปริญญาวาระ 1220/1258
อรรถกถาสังขารยมก 1259
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 82]
พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้า 1258
ปริญญาวาระ
[๑๒๒๐] บุคคลใดย่อมรู้แจ้งกายสังขาร, บุคคลนั้นย่อมรู้แจ้งวจีสังขาร ใช่ไหม?
ใช่.
ก็หรือว่า บุคคลใดย่อมรู้แจ้งวจีสังขาร, บุคคลนั้นย่อมรู้แจ้งกายสังขาร ใช่ไหม?
ใช่.
ในขันธยมก ปริญญาวาระ ท่านจำแนกแล้วโดยประการใดแม้ในสังขารยมก ปริญญาวาระ ก็พึงจำแนกโดยประการนั้น.
ปริญญาวาระ จบ
สังขารยมกที่ ๖ จบ
พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้า 1259
อรรถกถาสังขารยมก
บัดนี้ เป็นการวรรณนาสังขารยมก อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงต่อจากสัจจยมกทรงรวบรวมธรรมทั้งหลายมีกุศลเป็นต้น ที่พระองค์ทรงแสดงแล้วในมูลยมกเหล่านั้นไว้เป็นเอกเทศหนึ่ง ด้วยสามารถแห่งธรรมที่จะสงเคราะห์ได้. แม้ในสังขารยมกนั้น พึงทราบประเภทแห่งวาระที่เหลือ คือมหาวาระทั้งหลายมีปัณณัตติวาระเป็นต้นและอันตรวาระเป็นต้น โดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลัง.
ส่วนการแปลกกันในสังขารยมกนี้ มีดังนี้ ใน ปัณณัตติวาระก่อน ปทโสธนวาระว่า รูปํ รูปกฺขนฺโธ, จกฺขุํ จกฺขฺวายตนํ,จกฺขุํ จกฺขุธาตุ ทุกฺขํ ทุกฺขสจฺจํ ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกธรรมทั้งหลายมีขันธ์เป็นต้น อันพระองค์ทรงปรารภแล้ว แสดงแล้วในภายหลังฉันใด แม้สังขาร ๓ เบื้องต้น พระองค์ไม่ทรงปรารภแล้วเหมือนอย่างนั้น (แต่) ทรงแสดงจำแนกไว้ว่า อสฺสาสปสฺ-สาสา กายสงฺขาโร=ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ ชื่อว่า กายสังขารดังนี้ เป็นต้น.
ในสังขาร ๓ เหล่านั้น สังขารแห่งกาย ชื่อว่า กายสังขาร.
สังขารอันเป็นผลของกรัชกายอันเกิดแล้วจากเหตุนั่นแหละชื่อว่า กายสังขาร เพราะคำว่า ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น คือลมอัสสาสะ
พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้า 1260
ปัสสาสะ มีในกาย เนื่องด้วยกาย.
นัยอื่นอีก :- สภาวะใดอันปัจจัยย่อมกระทำพร้อม คือปรุงแต่งเหตุนั้นสภาวะนั้น ชื่อว่า สังขาร.
ถามว่า สังขารนั้นอันอะไรย่อมกระทำพร้อม คือปรุงแต่ง.
ตอบว่า สังขารนั้นอันกายย่อมปรุงแต่ง ก็สังขารนี้อันกรัชกายย่อมปรุงแต่งราวกะเครื่องสูบปรุงแต่งลม แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ (=ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น) กายสังขาร คือสังขารแห่งกาย อธิบายว่าลมอัสสาสะ ปัสสาสะ อันกายกระทำแล้ว.
ก็สภาพใดย่อมปรุงแต่ง เหตุนั้นสภาพนั้น ชื่อว่า สังขารเพราะคำว่า " * ดูก่อนวิสาขะ ผู้มีอายุ บุคคลตรึกแล้วตรองแล้วก่อนจึงพูดต่อภายหลัง เพราะเหตุนั้น วิตกและวิจาร จึงชื่อว่า วจี-สังขาร" ดังนี้.
ถามว่า อะไรเป็นสังขาร ตอบว่า วจีเป็นสังขาร สังขารแห่งวจี ชื่อว่า วจีสังขาร คำว่า วจีสังขารนี้เป็นชื่อว่าของหมวดสองแห่งวิตกและวิจาร อันเป็นสมุฏฐานแห่งการเปล่งวาจา.
ก็สภาวะใดอันปัจจัยย่อมปรุงแต่ง เหตุนั้นสภาวะนั้น ชื่อว่าสังขาร แม้ในบทที่สาม เพราะคำว่า "ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ คือสัญญาและเวทนา มีในจิต เนื่องด้วยจิต" ดังนี้นั่นแหละ.
ถามว่า อันอะไรย่อมปรุงแต่ง ตอบว่า อันจิตย่อมปรุงแต่ง.
พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้า 1261
สังขารแห่งจิต ชื่อว่า จิตตสังขาร เพราะกระทำฉัฏฐีวิภัตให้ลงในอรรถแห่งตติยาวิภัติ คำว่า จิตตสังขาร นี้ เป็นชื่อของเจตสิกธรรมทั้งหลายที่มีจิตเป็นสมุศฐานทั้งหมด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเว้นวิตกและวิจารเสีย เพราะทรงถือเอาวิตกวิจารเป็นแผนกหนึ่ง โดยความเป็นวจีสังขาร.
บัดนี้พระองค์ทรงเริ่มปทโสธนวาระว่า กาโย กายสงฺขาโรเป็นต้น ยมก ๖ อย่าง คือ ยมก ๓ อย่างในอนุโลมนัย ๓ อย่างในปฏิโลมนัย แห่งปทโสธนวาระนั้น ยมก ๑๒ อย่าง คือ ยมก ๖อย่างในอนุโลมนัย ๖ อย่างในปฏิโลมนัย เพราะกระทำมูลแห่งสังขารหนึ่งๆ ในปทโสธนมูลจักกวาระให้เป็นสอง.
ส่วนในสุทธสังขารวาระ ตรัสยมกทั้งหลายไว้โดยนัยเป็นต้นว่ารูปํ ขนฺโธ, ขนฺโธ รูปํ, จกฺขุํ อายตนํ จกฺขุํ ดังนี้ ในวาระทั้งหลาย มีสุทธักขันธวาระเป็นต้นฉันใด ก็ตรัสยมก ๖ อย่าง ในสุทธิกวาระ แม้ทั้งปวง ฉันนั้น คือ ยมก ๓ อย่างในอนุโลม ๓อย่าง ในปฏิโลม คือ มีกายสังขารเป็นมูลสอง มีวจีสังขารเป็นมูลหนึ่งโดยนัยเป็นต้นว่า กายสงฺขาโร วจีสงฺขาโร, วจีสงฺขาโร กายสงฺขาโร ไม่ตรัสว่า กาโยสงฺขาโร, สงฺขาโร กาโย.
ถามว่า เพราะเหตุไร?
ตอบว่า เพราะความที่แห่งยมก ๖ อย่างเหล่านั้นไม่มีอยู่ด้วยอำนาจแห่งบทหนึ่งๆ ในสุทธิกวาระ เนื้อความย่อมมีด้วยอำนาจการ
พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้า 1262
ชำระบทหนึ่งๆ ในสุทธิกวาระ รูปํ ขนฺโธ, ขนฺโธ รูปํ, จกฺขุํ อายตนํ, อายตนํ จกฺขุํ เพราะในขันธยมกเป็นต้น ทรงประสงค์เอาขันธ์อันประเสริฐ มีรูปเป็นต้น อายตนะอันประเสริฐ มีจักขุเป็นต้นฉันใดในสังขารยมกนี้ ไม่มีเนื้อความว่า กาโย สงฺขาโร สงฺขาโร กาโย ฉันนั้น ส่วนเนื้อความอันหนึ่งว่า กาโยสงฺขาโร ย่อมได้ด้วยบท ๒ บท คือกายและสังขาร พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสว่า กาโย สงฺขาโร สงฺขาโร กาโย เพราะไม่มีเนื้อความว่า อัสสาสะ หรือ ปัสสาสะ ด้วยอำนาจการชำระบทหนึ่งๆ ในสุทธิกวาระ แต่พึงตรัสว่า กาโย กายสงฺขาโร เป็นบทต้น แม้คำว่า กาโย กายสงฺขาโรย่อมไม่สมควรด้วยบทของกาย วจี และจิต เพราะความที่แห่งสังขารทั้งหลายที่ท่านประสงค์เอาแล้ว ท่านไม่ถือเอาในที่นี้ นี้เป็นสุทธสังขาร-วาระ อธิบายว่า ก็ในการชำระบท แม้เว้นจากเนื้อความการกล่าวย่อมไม่สมควร นัยนั้นท่านถือเอาแล้วในสุทธสังขารวาระ แต่ในปทโสธน-วาระนี้ ยมก ๖ อย่างย่อมสมควร เพราะกระทำมูลแห่งสังขารหนึ่งๆ คือ กายสงฺขาโร วจีสงฺขาโร, วจีสงฺขาโร กายสงฺขาโร เป็นต้น. ให้เป็นสอง เพราะความที่แห่งกายสังขารเป็นอย่างหนึ่งจากวจีสังขารคือคนละอย่างกับวจีสังขาร เป็นต้น วจีสังขารเป็นอย่างหนึ่งจากจิตต-สังขารเป็นต้น และจิตตสังขารเป็นอย่างหนึ่งจากสังขารเป็นต้น ในยมก ๖ อย่างเหล่านั้น ย่อมได้ ๓ อย่างเท่านั้น เพราะ นับแล้วไม่นับอีก (อคฺคหิตคฺคหเณน) เพราะเหตุนั้น จึงตรัส
พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้า 1263
ยมกไว้ ๖ อย่าง คือ ๓ อย่างในอนุโลมนัย ๓ อย่างในปฏิโลมนัยเพื่อแสดงยมก ๓ อย่างนั่นแหละ อธิบายว่า ก็ในสุทธสังขารมูลจักกวาระไม่ทรงถือเอาแล้วในที่นี้ พึงทราบอุทเทสวาระแห่งปัณณัตติวาระด้วยประการฉะนี้.
ก็ในอนุโลมแห่งนิทเทสวาระก่อน ชื่อแห่งสังขารทั้งหลายมีกายสังขารเป็นต้น ไม่ใช่กายเป็นต้น เพราะเหตุใด เหตุนั้นท่านจึงปฏิเสธว่า โน=ไม่ใช่.
ในปฏิโลม คำถามว่า น กาโย นกายสงฺขาโร ดังนี้ ได้แก่ย่อมถามว่า ธรรมใดไม่เป็นกาย ธรรมนั้นไม่เป็นแม้กายสังขารหรือคำตอบที่ว่า กายสังขารไม่เป็นกาย แต่เป็นกายสังขาร อธิบายว่ากายสังขารไม่ใช่กาย กายนั้นก็ไม่ใช่กายสังขาร.
คำว่า อวเสสา อธิบายว่า หมวดสองแห่งสังขารที่เหลืออย่างเดียวก็หามิได้ แม้ธรรมชาติอันต่างด้วยสังขตบัญญัติที่เหลือแม้ทั้งหมดอันพ้นแล้วจากกายสังขาร ก็ไม่ชื่อว่ากาย และไม่ชื่อว่ากายสังขารพึงทราบเนื้อความในคำวิสัชนาทั้งปวงโดยอุบายนี้ ด้วยประการฉะนี้.
ปัณณัตติวาระ จบ
พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้า 1264
ก็ใน ปวัตติวาระ ในสังขารยมกนี้ ในอนุโลมนัยแห่งปุคคล-วาระในปัจจุบันกาล ยมก ๓ อย่างเท่านั้น คือ ยมกที่มีกายสังขารเป็นมูล ๒ อย่าง ที่มีวจีสังขารเป็นมูล ๑ อย่าง ย่อมได้ในคำถามว่ากายสังขารกำลังเกิดขึ้นแก่บุคคลใด วจีสังขารก็กำลังเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้น หรือ ดังนี้ ยมก ๓ อย่างนั้น ท่านถือเอาแล้ว แม้ในปฏิโลมนัยก็ดี ในวาระทั้งหลายมีโอกาสวาระเป็นต้นก็ดี แห่งปวัตติวาระนั้น ก็มีนัยนี้ พึงทราบการนับยมกด้วยอำนาจยมก ๓ อย่างในวาระทั้งปวงในปวัตติวาระอย่างนี้.
ก็ในการวินิจฉัยเนื้อความในปวัตติวาระนี้ พึงทราบลักษณะนี้ดังต่อไปนี้.
ก็ในสังขารยมกนี้ ประเภทแห่งกาลมีปัจจุบันกาลเป็นต้น พึงถือเอาด้วยอำนาจปวัตติกาล ด้วยคำเป็นต้นว่า "ในอุปาทะขณะแห่งลมอัสสาสะปัสสาสะ, ในอุปาทะขณะแห่งการเกิดขึ้นแห่งวิตกวิจาร" ดังนี้ ไม่พึงถือเอาด้วยอำนาจจุติและปฏิสนธิกาล พึงถือเอาด้วยอำนาจแห่งปฏิวัตติกาลด้วยคำเป็นต้นว่า กายสังขารกำลังเกิดขึ้นในที่นั้น คือ ในทุติยฌาน ตติยฌาน แม้ในจตุตถฌาน (ภูมิ) พึงทราบว่าท่านถือเอาแล้วด้วยอำนาจโอกาสวาระ พึงทราบวินิจฉัยแห่งเนื้อความด้วยอำนาจแห่งลักษณะที่ได้นั้นๆ ในปวัตติวาระนี้ ด้วยประการฉะนี้.
พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้า 1265
พึงทราบนัยมุขในปวัตติวาระนั้นดังต่อไปนี้ คำว่า เว้นวิตกวิจาร ท่านกล่าวแล้วด้วยอำนาจทุติยฌาน และตติยฌาน บทว่า เตสํได้แก่ ความพร้อมเพรียงแห่งทุติยฌานและตติยฌานของบุคคลเหล่านั้นบทว่า กามาวจรานํ ได้แก่ สัตว์ผู้เกิดแล้วในกามาวจรภูมิ แต่ว่าลมอัสสาสะ ปัสสาสะ ย่อมไม่มีแก่เทวดาในรูปาวจรภูมิ รูปนั่นแหละย่อมไม่มีแม้แก่เทวดาในอรูปาวจรภูมิ.
คำว่า เว้น ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ ดังนี้ ท่านกล่าวหมายเอาการเกิดขึ้นแห่งวิตกวิจารของสัตว์ผู้เกิดแล้วในรูปภพและอรูปภพ.
คำว่า ในปฐมฌาน ในกามาวจร ดังนี้ ได้แก่ในปฐมฌานที่เกิดขึ้นแล้วในกามาวจรภูมิ ก็ปฐมฌาน ในกามาวจรภูมินี้ ท่านถือเอาด้วยอำนายมรรคอันเลิศ (อรหัตตมรรค) หาถือเอาด้วยอำนาจอัปปนาไม่ เพราะว่าหมวดสองแห่งสังขารนี้ย่อมเกิดขึ้นในจิตที่เป็นไปกับด้วยวิตกวิจาร แม้ที่ยังไม่ถึงอัปปนา.
คำนี้ว่า ในภังคขณะแห่งจิต ท่านกล่าวไว้แล้ว เพราะความที่แห่งกายสังขารมีจิตเป็นสมุฏฐานแน่นอน เพราะจิตเมื่อเกิดอยู่นั่น-แหละย่อมยังรูปหรืออรูปให้เกิดขึ้น เมื่อดับอยู่ย่อมไม่ยังรูปหรืออรูปให้เกิดขึ้น.
คำว่า ครั้นเมื่อจิตดวงที่สองแห่งสุทธาวาสพรหมเป็นไปอยู่ได้แก่ ภวังคจิต อันเป็นจิตดวงที่สองนับแต่ปฏิสนธิจิต คำนั้นท่านกล่าวแล้วเพื่อแสดงว่า ภวังคจิตนั้น แม้เมื่อปฏิสนธิจิตเป็นไปอยู่
พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้า 1266
ไม่เคยเกิดขั้นแล้วแก่พรหมในสุทธาวาสภูมินั้น แม้ก็จริง แต่วิบากจิตที่ไม่ปะปนกันย่อมเป็นตลอดกาลเพียงไร ชื่อว่า ไม่เคยเกิดขึ้นตลอดกาลเพียงนั้นนั่นแหละ, พรหมเหล่านั้นเกิดขึ้นแล้วด้วยวิบากจิตของฌานใด วิบากจิตของฌานนั้น เมื่อเกิดอยู่ แม้โดยร้อย (ครั้ง) บ้าง แม้โดยพัน (ครั้ง) บ้าง ชื่อว่า ปฐมจิต นั่นแหละ, หมายถึงภวังค์ที่เกิดต่อจากปฏิสนธิจิต.
ส่วน อาวัชชจิต ในภวนิกันติ (ชวนะ) ไม่เป็นเช่นกับด้วยวิบากจิต (เพราะอาวัชชจิตเป็นกิริยาจิต) ชื่อว่า ทุติยจิตพึงทราบว่า คำว่า ทุติยจิต นั้น ท่านกล่าวหมายเอา อาวัชชนจิตนั้น.
คำว่า แห่งบุคคลผู้พร้อมเพียงด้วยปัจฉิมจิต ได้แก่ พระ-ขีณาสพผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่ไม่เป็นปัจจัยแก่ปฏิสนธิ อันเป็นจิตดวงสุดท้ายแห่งจิตทั้งปวง.
คำว่า ซึ่งปัจฉิมจิตอันไม่มีวิตกไม่มีวิจาร นี้ ท่านกล่าวแล้วด้วยอำนาจจุติจิตที่ประกอบด้วยทุติยฌานของรูปาวจรบุคคล และด้วยอำนาจจุติจิตที่ประกอบด้วยจตุตถฌานของรูปาวจรบุคคล บทว่า เตสํได้แก่ ความพร้อมเพรียงแห่งปัจฉิมจิตเป็นต้น ของบุคคลเหล่านั้น.
ท่านให้คำตอบรับว่า ถูกแล้ว (ใช่) เพราะความดับไปในขณะหนึ่งๆ ของกายสังขารพร้อมกับจิตตสังขารโดยแน่นอน มิได้ตอบรับรองเพราะการดับแห่งจิตตสังขารพร้อมกับกายสังขาร.
พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้า 1267
ถามว่า เพราะเหตุไร?
ตอบว่า จิตตสังขารแม้เว้นจากกายสังขารย่อมเกิดขึ้นด้วยย่อมดับด้วย ส่วนกายสังขารมีจิตเป็นสมุฏฐาน
ลมอัสสาสะปัสสาสะ และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เกิดขึ้นแล้วในอุปาทขณะแห่งจิตย่อมตั้งอยู่ตราบเท่าที่จิต ๑๖ ดวง เหล่าอื่นอีกเกิดขึ้น.
หลายบทว่า เตสํ โสฬสนฺนํ สพฺพปจฺฉิเมน สทฺธึนิรุชฺฌติ ได้แก่ รูปอันมีจิตเป็นสมุฏฐานย่อมเกิดขึ้นพร้อมกับจิตดวงใด ย่อมดับไปพร้อมกับจิตที่ ๑๗ จำเดิมแต่จิตนั้น ย่อมไม่ดับไปในอุปาทะหรือฐีติขณะแห่งจิตดวงใดๆ และย่อมไม่เกิดขึ้นแม้ในภังคขณะท่านกล่าวว่า อามนฺตา=ใช่ เพราะความดับไปในขณะหนึ่งๆ พร้อมกับจิตตสังขารโดยแน่นอนว่า นี้เป็นธรรมดาของรูปที่มีจิตเป็นสมุฏ-ฐาน.
แต่ว่า ในอรรถกถาสิงหลแห่งวิภังคปกรณ์ ท่านกล่าวไว้ว่ารูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานย่อมดับไปในอุปาทขณะแห่งจิตดวงจิตดวงที่ ๑๗ดังนี้ คำกล่าวนั้นย่อมผิดจากพระบาลีนี้ ท่านกล่าวแล้วในพระบาลีว่า"ก็บาลีนั่นแหละมีกำลังกว่าอรรถกถา" พึงถือเอาคำกล่าวนั้นเป็นประมาณ.
พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้า 1268
ในคำถามนี้ว่า กายสังขารย่อมเกิดแก่บุคคลใด วจีสังขารก็ย่อมดับแก่บุคคลนั้นหรือ ดังนี้ ท่านปฏิเสธว่า ไม่ใช่ เพราะกายสังขารย่อมเกิดขึ้นในอุปาทขณะแห่งจิต แต่วิตกวิจารย่อมดับไปในขณะนั้นหามิได้ พึงทราบวินิจฉัยในที่ทั้งปวงโดยนัยมุขนี้ปริญญาวาระเป็นไปโดยปกตินั่นแหละ.
อรรถกถาสังขารยมก จบ