ผมได้อ่านข้อความพระอภิธรรมปิฎกเกี่ยวกับเรื่องตา
ที่ท่านเปรียบเทียบว่า เสมือนงู ดังข้อความข้างล่างนี้
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 228
ตาเปรียบด้วยงู
ประสาทรูปเหล่านี้ เปรียบเหมือนสัตว์มีงูเป็นต้น เหมือนอย่างว่าขึ้นชื่อว่างู ย่อมไม่ชอบใจในที่ชื้นแฉะและราบเรียบในภายนอก จึงเข้าไปที่ต้นไม้ ใบหญ้าชัฏ และจอมปลวกนั่นแหละ ย่อมชอบใจในเวลานอน ย่อมถึงความเป็นสัตว์มีจิตสงบ ฉันใด แม้จักษุนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีความพอใจในสิ่งไม่ราบเรียบ ย่อมไม่พอใจไม่ปรารถนาแม้จะแลดูในที่มีฝาทองคำเป็นต้นที่เรียบร้อย แต่ย่อมชอบในที่มีลวดลายหลากสีด้วยรูป ดอกไม้ และเครือเถาเป็นต้นทีเดียว เพราะในที่เช่นนั้น เมื่อตายังไม่เพียงพอ คนทั้งหลายก็ยังอ้าปากอยากมอง.
ยังมีความสงสัยในอรรถะของ จักขุ จักขุประสาทรูป จักขุวิญญาณ ว่าท่านเปรียบเทียบไว้อย่างไรในบทนี้ ส่วนความชอบใจ ความพอใจ ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นด้วยมโนวิญญาณนั้น ท่านแทรกไว้อย่างไร ครับ
เป็นหัวข้อที่ควรศึกษาอย่างละเอียด
ผมไม่เข้าใจในข้อความเหล่านี้ครับ แต่เชื่อว่าการเปรียบเทียบตากับงูนั้น กำลังสอนอะไรบางอย่าง
เนื้อหาและรายละเอียดเหล่านี้ หาอ่านได้ที่ไหนครับ
เรียนความเห็นที่ ๒
ข้อความบางตอนจากพระสูตรขอเชิญคลิกอ่านที่
ฉัปปาณสูตร..อุปมาอายตนะ ๖ เหมือน งู เป็นต้น
ขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณมากครับขออนุโมทนา
เป็นธรรมะชาติของ ส่วนสมดุลชีวิตที่ เปรียบดีแล้ว ครับ
ผมเคยได้แสดงธรรม แล้วเปรียบธรรมะ เป็นธรรมชาติ จะผิดหรือเปล่า
ขออนุญาตให้คุณ saravut อ่านกระทู้นี้ครับ
ธรรมะและธรรมชาติ
ขออนุโมทนาครับ