[เล่มที่ 16] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 123
ข้อความบางตอนจาก
อาฏานาฏิยสูตร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าบางพวกย่อมเสพเสนาสนะอันเป็นราวไพร ในป่า มีเสียงน้อย มีเสียงดังน้อยปราศจากลมแต่ชนผู้เดินเข้าออก ควรแก่การทำกรรมอันเร้นลับของมนุษย์ควรแก่การหลีกเร้น ยักข์ชั้นสูงบางพวกมีอยู่ในป่านั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงเรียนอาฏานาฏิยรักษ์ เพื่อให้ยักษ์พวกที่ไม่เลื่อมใสในคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้เลื่อมใส เพื่อคุ้มครองเพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายเถิด พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับโดยดุษณีภาพ ลำดับนั้น ท้าวเวสวัณมหาราช ทรงทราบการทรงรับของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้ทรงกล่าวอาฏานาฏิยรักษ์นี้ ในเวลานั้นว่า
[๒๐๙] ขอนอบน้อมแด่พระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้มีพระจักษุ มีพระสิริ ขอนอบน้อมแด่พระสิขีพุทธเจ้า ผู้ทรงอนุเคราะห์แก่สัตว์ทั่วหน้า. ขอนอบน้อมแด่พระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้ชำระกิเลส มีความเพียร ขอนอมน้อมแด่พระกกุสันธพุทธเจ้า ผู้ทรงย่ำยีมารและเสนามาร. ขอนอบน้อมแด่พระโกนาคมนพุทธเจ้า ผู้มีบาปอันลอยแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์ ขอนอบน้อมแด่พระกัสสปพุทธเจ้า ผู้พ้นพิเศษแล้วในธรรมทั้งปวง. ขอนอบน้อมแด่พระอังคีรสพุทธเจ้า ผู้ศากยบุตร ผู้มีพระสิริ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ได้ทรงแสดงธรรมนี้ อันเป็นเครื่องบรรเทาทุกข์ทั้งปวง. อนึ่ง พระพุทธเจ้าเหล่าใดผู้ดับแล้วในโลก ทรงเห็นแจ้งแล้วตามความเป็นจริง พระพุทธเจ้าเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ส่อเสียด เป็นผู้ยิ่งใหญ่ ปราศจากความครั่นคร้าม.
ฯลฯ
[๒๑๗] ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ อาฏานาฏิยรักษ์นี้แล เพื่อคุ้มครองเพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่อความอยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณีอุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย. ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเรียนอาฏานาฏิยรักษ์ จงขวนขวายอาฏานาฏิยรักษ์ จงทรงอาฏานาฏิยรักษ์ไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาฏนาฏิยรักษ์นี้ประกอบด้วยประโยชน์ เพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อความไม่เบียดเบียนเพื่อความอยู่สำราญ แห่งภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพุทธพจน์นี้แล้ว. ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดี พระภาษิต ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล.
จบอาฏานาฏิยสูตรที่ ๙
ข้อความตอนหนึ่งจาก
อรรถกถาอาฏานาฏิยสูตร หน้า 141
ท้าวเวสวัณ ยังอาฏานาฏิยรักษ์ให้สำเร็จลงแล้ว เมื่อจะแสดงการบริกรรม พระปริตนั้นจึงกล่าวบทนี้ว่า คนใดคนหนึ่ง. ในบทเหล่านั้นบทว่า เรียนดีแล้ว ความว่า อาฏานาฏิยรักษ์ อันผู้ใดผู้หนึ่ง ชำระอรรถและพยัญชนะ และเรียนด้วยดี. บทว่า เล่าเรียนครบถ้วน ความว่า ไม่ให้บทและพยัญชนะ เสื่อมแล้วเล่าเรียนครบถ้วน. ท่านแสดงไว้ว่า จริงอยู่พระปริต ย่อมไม่เป็นเดช แก่ผู้กล่าวผิด อรรถบ้าง บาลีบ้าง หรือว่าไม่ทำให้คล่องแคล่ว. พระปริตย่อม เป็นเดชแก่ผู้ทำให้คล่องแคล่ว ด้วยประการทั้งปวง แล้วกล่าวแน่แท้. แม้เมื่อเรียนเพราะลาภเป็นเหตุ แล้วกล่าวอยู่ก็ไม่สำเร็จประโยชน์. พระปริตย่อมมีประโยชน์แก่ผู้ตั้งอยู่ในฝ่ายแห่งการออกไปจากทุกข์ แล้วกระทำเมตตาให้เป็น ปุเรจาริก กล่าวอยู่นั่นแล
ฯลฯ
ที่มา.. อาฏานาฏิยสูตร เรื่องท้าวจาตุมหาราช และอรรถกถา
ขออนุโมทนาครับ
ยินดีในกุศลจิตค่ะ