เรียนถามว่า ปัญญา มีลักษณะเป็นอย่างไร มีความเหมือนหรือแตกต่างกับ ลักษณะของ "เหตุผล" ในความหมายที่ว่า เหตุผลก็คืออะไรที่เรายกขึ้นมา เพื่อบอกว่าทำไมเราถึงเชื่อแบบนี้ และทำไมคนที่เราพูดด้วย ก็ควรเชื่อแบบนี้เหมือนกัน
เนื่องจาก...ผมเข้าใจว่า พระนิพพานย่อมไม่ได้เป็นผลของการใช้เหตุผลในการอธิบายแน่นอน พระนิพพานย่อมเป็นผลแห่งปัญญา
ขอบคุณครับ
ปัญญามีลักษณะรู้ทั่ว รู้ชัด รู้ตามเป็นจริง ส่วนคำว่า เหตุผล โดยหลักพระธรรมหมายถึงสภาวธรรมที่มีจริงๆ ปัญญา เข้าไปรู้ตามเป็นจริงว่า สิ่งนี้เป็นเหตุ สิ่งนี้เป็นผล เช่น ตัณหา หรือ สมุทัย เป็นเหตุ ทุกข์ เป็นผลที่เกิดจากเหตุ การรู้แจ้งพระนิพพานเป็นผลจากการอบรมเจริญเหตุ คืออริยมรรคหรือแม้แต่ขณะที่กำลังเห็นในขณะนี้ เป็นวิบาก เป็นผลของกรรม กรรมเป็นเหตุ ดังนั้นคำว่า เหตุผล ในภาษาของชาวบ้าน หรือของนักคิด เป็นอีกอย่างหนึ่ง แต่เหตุผลของผู้ตรัสรู้เป็นอีกอย่างหนึ่งครับ ขอเชิญคลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่
ปัญญา ด้วยอรรถว่า ย่อมรู้ทั่ว
ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่า รู้ชัด
ปชานาตีติ ปญฺญา ...ธรรมที่ชื่อว่าปัญญา
โลกียปัญญา
สุตมยปัญญา
จินตามยปัญญา
ปัญญา
ปัญญาจักษุ?
คนที่ไม่ได้ศึกษาธรรมะ และเป็นคนที่มีเหตุผลด้วย แต่เขาไม่ได้ประกอบด้วยปัญญา
ก็ได้ ส่วนบางคนศึกษาธรรมะ แต่นิสัยเป็นคนเอาแต่ใจ ไม่มีเหตุผลก็ได้ แต่เขาก็
มีปัญญา และปัญญาก็มีหลายขั้น เช่น ปัญญารู้ว่าอกุศลไม่ดี ควรละ ควรขัด
เกลา ปัญญารู้ว่าสิ่งนี้เป็นกุศลควรเจริญ โดยเฉพาะการอบรมเจริญสติปัฏฐานค่ะ
ปัญญาคือความเข้าใจถูก เห็นถูก ซึ่งเป็นการรู้เหตุผลอันเป็นไปเพื่อความขัด
เกลากิเลส เพื่อความสละ และเพื่อการละครับ ไม่ใช่เพื่อความยึดติด
ส่วนการรู้เหตุผลของสิ่งต่างๆ ที่ไม่ได้เป็นไปเพื่อการดับกิเลส แม้จะเป็นหลัก
วิชาการซึ่งมีเหตุผล แต่ก็ไม่ใช่การรู้ที่ประเสริฐ เพราะไม่สามารถนำเราออกจากทุกข์
ได้อย่างแท้จริง จึงไม่ใช่ปัญญาตามพระธรรมคำสั่งสอนครับ
พระนิพพานนั้น เป็นผลจากปัญญาซึ่งต้องพัฒนาไปตามลำดับ และก่อนที่
จะมีปัญญาจนถึงขั้นรู้แจ้งพระนิพพานนั้น ต้องมีปัญญาขั้นต้นคือความเข้าใจเหตุผล
ของธรรมะตามที่ทรงแสดงไว้โดยละเอียดก่อนครับ ไม่เช่นนั้นแล้ว อาจจะเกิดความ
เข้าใจผิด และยึดถือสิ่งใดสิ่งหนี่งเป็นปัญญาหรือเป็นนิพพานตามใจชอบ ซึ่งไม่ใช่
ปัญญาและนิพพานตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง และไม่อาจละกิเลสอันเป็นเหตุ
แห่งความทุกข์ใดใดได้เลยครับ
สาธุ
ขอบคุณและอนุโมทนาค่ะ...
สาธุ ขออนุโมทนา ฯ