สวัสดีครับ ผมอยากขอคำอธิบายขยายความในเรื่องผรุสวาจาดังนี้นะครับ
1. อยากขอเรื่องราวตัวอย่างในพระไตรปิฎกที่กล่าวถึงผลกรรมของผรุสวาจาด้วยครับ
2. ผมเคยอ่านผ่านๆ มีเรื่องที่ว่า คำหยาบแต่ไม่ได้เป็นโทสะ จะมีด้วยหรือครับ
3. มีข้อธรรมใดที่จะฝึกให้ผู้ที่มักพูดคำหยาบ หรือคำสบถ เลิกพูดแบบนี้ครับ
ขอบคุณครับ
๑. ในพระไตรปิฎกมีตัวอย่างของผู้รับผลของผรุสวาจา หลายตัวอย่าง เช่นพระโกกาลิกะ คือ เกิดในปทุมนรก
๒. มีครับ ท่านยกตัวอย่างมารดาไม่ต้องการให้ลูกไปบางสถานที่ จึงพูดว่าด้วยถ้อยคำที่หยาบ แต่ใจจริงๆ ไม่ได้ต้องการเช่นนั้น
๓. เราไม่ชอบฟังคำหยาบหรือคำสบถ ฉันใด ผู้อื่นก็ไม่ชอบฟังเหมือนกัน ผู้พูดคำหยาบย่อมไม่เป็นที่รักของชนเป็นอันมาก การพูดคำหยาบย่อมนำทุกข์มาให้การพูดคำหยาบทำให้เกิดในนรก เช่นเดียวกับพระโกกาลิกะครับ
1. พระโพธิสัตว์เกิดเป็นนักเลงชื่อ มุนาฬิ ได้ด่าว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าว่าเป็นคนทุศีล เป็นต้น ด้วยผลของกรรมนั้น พระโพธิสัตว์หมกไหม้ในนรกเป็นเวลานานมาก เมื่อเป็น พระพุทธเจ้าแล้วเพราะผลกรรมนั้น จึงได้รับการด่าว่ากล่าวตู่ในเรื่องของนางสุนทริปริพาชิกา
2. สำคัญที่จิต เป็นสำคัญว่าจะเป็นคำหยาบหรือไม่หยาบ ท่านพระปิลินทวัจฉะ กล่าว วาจาเรียกภิกษุทั้งหลายว่า คนถ่อย ซึ่งหากเอาคำที่พูดเป็นประมาณ ก็ดูว่าเป็นคำ หยาบคาย แต่จิตของท่านหมดกิเลสแล้ว คำนั้นจึงไม่เป็นผรุสวาจาเลย ในทางตรง กันข้าม แม้คำที่พูดจะดูอ่อนหวานแต่ก็เป็นคำหยาบได้เช่นกัน พูดด้วยคำที่ดูสุภาพ แต่ตั้งใจด่าว่าเขาก็ได้ ว่าด้วยคำสุภาพ ดังนั้น การพิจารณาธรรมคือพิจารณาที่ตัวสภาพธรรมคือจิตในขณะนั้น
3. การฟังพระธรรมของพระพุทธเจ้า จะค่อยๆ ขัดเกลากิเลส ทีละเล็กละน้อย เมื่อปัญญา เจริญขึ้น อกุศลก็ลดลงที่จะล่วงออกมาทางกาย วาจา ดังนั้นจึงไม่ควรขาดการฟังพระ ธรรม พระธรรมมีอุปการะมาก
สาธุ
ฟังพระธรรมให้เข้าใจบ่อยๆ เนืองๆ และเพื่อน้อมที่จะประพฤติปฏิบัติตาม
ขออนุโมทนา
สาธุค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
กราบอนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ