จิตเคลื่อนที่ได้หรือไม่ครับ
โดย govit2553  28 ก.ย. 2553
หัวข้อหมายเลข 17282

รู้สึกว่าผมจะเคยถาม แล้วครับ แต่ไม่ได้ขึ้นหัวข้อ เลยหาไม่เจอครับ เป็นคำตอบของกัลยาณมิตรที่ยกมาจากพระไตรปิฏก พอจะเอาไปอ้างอิง หาไม่เจอครับ

เช่นเคลื่อนจาก จักขุทวาร ไปมโนทวาร เป็นต้น

แต่แน่นอน เคลื่อนออกไปจากกายไม่ได้อยู่แล้ว

แต่เราคงเคยได้ยิน กันถึงคำว่า ถอดจิต (ถอดจิต ไปเที่ยวที่นั่นๆ เช่นไปดูนรกเป็นต้น)



ความคิดเห็น 1    โดย prachern.s  วันที่ 28 ก.ย. 2553

ตามหลักพระธรรมคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แสดงว่า จิตเป็นนามธรรมจิตเกิดที่ไหนดับที่นั่น จิตไม่มีการเดินทางหรือเคลื่อนที่ได้ จิตเกิดจักขุ ย่อมดับที่จักขุ จิตที่เกิดทางมโนทวาร ย่อมดับที่มโนทวาร ดังนั้นเรื่องการถอดจิต หรือวิญญาณล่องลอย ไม่มีในพระธรรมคำสอนเลย เป็นเพียงการพูดกันไปเท่านั้น ความจริงไม่มีและเป็นไปไม่ได้ อนึ่ง ในสำนวนพระสูตร อาจจะมีคำว่า จิตท่องเที่ยวไป หรือคำว่าจิตแล่นไป คำนี้หมายถึงจิตคิดไปในสถานที่ หรือเรื่องราวต่างๆ ไม่ใช่เดินทางไปจริงๆ


ความคิดเห็น 2    โดย จักรกฤษณ์  วันที่ 28 ก.ย. 2553

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 3    โดย ภัสร์  วันที่ 28 ก.ย. 2553

ขอเชิญทุกท่านร่วมสนทนา


ความคิดเห็น 4    โดย กมลพร  วันที่ 29 ก.ย. 2553

น้อมรับข้อความของ คุณprachern.s ค่ะ เป็นไปตามนั้นจริงๆ เรื่องของจิต เป็นนามธรรม ศึกษาและเข้าใจยาก ก่อนที่จะได้มีโอกาสฟังพระธรรมจากท่านอาจารย์และกัลยาณมิตรดิฉันก็เคยเข้าใจว่าจิตต้องเป็นรูปธรรม เป็น ดวงๆ เหมือนในภาพยนตร์ ที่เคยดู หลังจากคอยศึกษาและฟังบ่อยๆ ก็เริ่มเข้าใจขึ้นมาบ้าง เข้าใจว่าจิตเกิดที่ใด ดับที่นั่นและชั่วขณะหนึ่งของจิตนั้นก็สั้นมาก เช่น ภาพปรากฎทางตา จิตทำหน้าที่เห็นเกิดร่วมกับเจตสิก ทำหน้าที่รู้สึกอารมณ์ต่างๆ แล้วดับไป จิตดวงใหม่ก็เกิดขึ้นทันที เกิดดับติดต่อกันไปไม่ขาดสาย (ถูกต้องไหมคะ ช่วยวิจารณ์หน่อย) และการที่ใครทั่วไปจะเข้าใจและเชื่อเรื่องวิญญาณล่องลอยและการถอดจิต ก็เป็นเรื่องที่น่าเห็นใจจริงๆ ก็มันยากที่จะเข้าใจจริงๆ นะ อนุโมทนาทุกท่านค่ะ


ความคิดเห็น 5    โดย wannee.s  วันที่ 29 ก.ย. 2553

จิตเกิดดับรวดเร็วสืบต่อทุกขณะ จิตเกิดได้ 6 ทวาร เท่านั้น

เช่น จิตเห็นเกิดที่ไหนก็ดับที่นั่น จิตออกจากร่างกายไม่ได้ค่ะ


ความคิดเห็น 6    โดย chaiyut  วันที่ 29 ก.ย. 2553

จิตเคลื่อนที่ไม่ได้ เพราะเกิดที่ไหนดับที่นั่น แต่เป็นปัจจัยให้จิตที่เกิดสืบต่อ รู้อารมณ์เดียวกันได้ตามเหตุปัจจัย ทางตารู้สีสันอะไร ทางใจก็รับรู้สีสันนั้นต่อ ทางหูได้ยินเสียงอะไร ทางใจก็รับรู้เสียงนั้นต่อ เป็นจิตนิยาม-ความแน่นอนของลำดับการเกิดดับสืบต่อของจิต ไม่ใช่จิตดวงเดียวเคลื่อนที่ไปยังทวารต่างๆ แต่เป็นจิตแต่ละดวงที่เกิดดับสืบต่อกันไป รู้สิ่งที่ปรากฏทางทวารนั้นๆ ครับ ส่วนเรื่องการไปดูนรก ไม่ใช่ไปด้วยการถอดจิต พระผู้มีพระภาคไม่ได้ทรงแสดงไว้อย่างนี้ แต่ทรงแสดงว่านรกมีจริง เป็นที่รับผลของอกุศลกรรม คนธรรมดาๆ ไม่มีฤทธิ์ ไม่มีฌาน ไม่อบรมปัญญา อยู่ๆ จะไปดูนรก เป็นไปไม่ได้ แต่ในสมัยพุทธกาล ผู้คนเห็นนรกได้ พราะอาศัยพระมหากรุณาคุณของพระพุทธองค์ที่ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ เปิดเผยโลกอื่นๆ ให้สาวกได้เห็นครับ


ความคิดเห็น 7    โดย pamali  วันที่ 29 ก.ย. 2553

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 8    โดย govit2553  วันที่ 30 ก.ย. 2553

มีใครค้นพระไตรปิฏก หรือมิลินทปัญหา หรือ วิสุทธิมรรค หรือคัมภีร์อื่นๆ ที่แสดงชัดว่า

จิตเกิดที่ไหน ดับที่นั่น ได้ชัดๆ บ้างครับ รอคำตอบอยู่ครับ


ความคิดเห็น 9    โดย พุทธรักษา  วันที่ 30 ก.ย. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ขอเชิญอ่านข้อความบางตอนจากพระไตรปิฎก
จิตดับแล้วไม่ไปที่ไหน [อุทยัพพยญาณนิทเทส] โดย แล้วเจอกัน ..............ชื่อว่าการไปสู่ทิศน้อยใหญ่ ย่อมไม่มีแม้แก่ขันธ์ที่ดับ, ชื่อว่าการตั้งลงโดยรวมเป็นกอง โดยสะสม โดยเก็บไว้ในที่แห่งหนึ่ง ย่อมไม่มีแม้แก่ขันธ์ที่ดับแล้ว. เหมือนนักดีดพิณ เมื่อเขาดีดพิณอยู่

เสียงพิณก็เกิด, มิใช่มีการสะสมไว้ก่อนเกิด, เมื่อเกิดก็ไม่มีการสะสม, การไปสู่ทิศน้อยใหญ่ออกเสียงพิณที่ดับไปก็ไม่มี, ดับแล้วไม่ว่าที่ไหนก็ไม่สะสมตั้งไว้, ฯลฯ
...........................
จิตที่ชื่อว่าจรณะ [เที่ยวไป] โดย บ้านธัมมะ

ข้อความในสังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค คัททูลสูตรที่ ๒ ข้อ ๒๕๙
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมองเพราะจิตเศร้าหมอง สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์เพราะจิตผ่องแผ้ว ดูกร ภิกษุทั้งหลายจิตที่ชื่อว่าจรณะ (เที่ยวไป) เธอทั้งหลายเห็นแล้วหรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่าเห็นแล้ว พระเจ้าข้า

จิตเที่ยวไปอย่างไร .........ฯลฯ
..................ขออนุโมทนาค่ะ.................


ความคิดเห็น 10    โดย govit2553  วันที่ 1 ต.ค. 2553

ขอบคุณเหลือหลายครับ

ท่านเลี่ยงไปพูดว่า ขันธ์เกิดดับ ก็ดีแล้วครับ ทำให้ยกเว้นนิพพานไป เพราะนิพพานไม่

ใช่ขันธ์