[เล่มที่ 50] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 481
เถรคาถา เอกนิบาต
วรรคที่ ๑๑
๖. สุเหมันตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระสุเหมันตเถระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 50]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 481
๖. สุเหมันตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระสุเหมันตเถระ
[๒๔๓] ได้ยินว่า พระสุเหมันตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
คนโง่เขลา มักเห็นเนื้อความอันมีความหมายตั้งร้อย ทรงไว้ซึ่งลักษณะตั้งร้อย ว่ามีความหมายและลักษณะเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ส่วนคนฉลาดย่อมเห็น ได้ตั้งร้อยอย่าง ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 482
อรรถกถาสุเหมันตเถรคาถา
คาถาของท่านพระสุเหมันตเถระเริ่มต้นว่า สตลิงฺคสฺส อตฺถสฺส. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้นๆ เป็นพรานอยู่ในป่า ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ติสสะ ใน กัปที่ ๙๒ แต่ภัทรกัปนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จเข้าไปสู่ป่า เพื่อจะทรงอนุเคราะห์เขา จึงประทับนั่งที่โคนไม้แห่งหนึ่ง ในที่ใกล้เขา. เขาเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว มีจิตเลื่อมใส เลือกเก็บดอกบุนนาค ที่มีกลีบหอมมาบูชา พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาบังเกิดในเทวโลก กระทำบุญแล้ว ท่องเที่ยว ไปๆ มาๆ ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นบุตรของพราหมณ์ผู้สมบูรณ์ด้วยสมบัติ ในถิ่นชายแดน ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า สุเหมันตะ. เขาถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประทับอยู่ที่ มฤคทายวัน ในสังกัสสนคร ฟังธรรมแล้ว ได้เป็นผู้มีจิตศรัทธา บวชแล้ว เป็นผู้ทรงพระไตรปิฎก เริ่มตั้งวิปัสสนา ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ถึงความเชี่ยวชาญแตกฉานในปฏิสัมภิทาต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าว ไว้ในอปทานว่า
เราเป็นนายพราน เข้าไปสู่ป่าใหญ่ เห็นดอกบุนนาคกำลังบาน จึงระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ได้เก็บเอาดอกบุนนาคนั้น อันมีกลิ่นหอมตลบ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 483
อบอวลแล้วได้ก่อสถูปที่กองทราย บูชาพระพุทธเจ้า ในกัปที่ ๙๒ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์หนึ่ง มีนามว่า ตโมนุทะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้าเรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว คิดอย่างนี้ว่า กิจแห่งบรรพชิตใด อันเราผู้เป็นสาวกพึงบรรลุ กิจแห่งบรรพชิตนั้นเราได้บรรลุแล้ว โดยลำดับ ไฉนหนอแล เราพึงทำการอนุเคราะห์ภิกษุทั้งหลายในบัดนี้ ครั้นคิดอย่างนี้แล้ว เพราะความที่ท่านเป็นผู้แตกฉานในปฎิสัมภิทา และเพราะความที่ท่านเป็นผู้ไม่เกียจคร้าน จึงโอวาทอนุศาสน์ ตัดความสงสัย แสดงธรรมบอกกรรมฐานกับภิกษุทั้งหลาย ผู้เข้าไปสู่สำนักแห่งตน ทำให้ปลอดโปร่ง หมดข้อกังขาอยู่. ในวันหนึ่ง เมื่อจะบอกคุณพิเศษแก่ภิกษุ และบุคคลชั้นวิญญูชน ผู้เข้าไปสู่สำนักของตน จึงได้กล่าวคาถาว่า
คนโง่เขลา มักเห็นเนื้อความอันมีความหมายตั้งร้อย ทรงไว้ซึ่งลักษณะตั้งร้อย ว่ามีความหมายและลักษณะเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ส่วนคนฉลาด ย่อมเห็นได้ตั้งร้อยอย่าง ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตลิงฺคสฺส ความว่า สภาวธรรมชื่อว่า ลิงฺคานิ เพราะถึงอรรถอันลี้ลับ ได้แก่นิมิตของศัพท์ ที่เป็นไปในอรรถ ทั้งหลาย ก็นิมิตเหล่านั้นชื่อว่า สตลิงคะ เพราะมีความลี้ลับตั้งร้อย มิใช่น้อย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 484
อธิบายว่า สตศัพท์ในที่นี้เป็นอเนกัตถะ (มีความหมายมาก) ไม่ใช่ระบุความ พิเศษโดยสังขยา ดังในประโยคมีอาทิว่า สตํ (ร้อย) สหสฺสํ (พัน). ซึ่ง เนื้อความอันลี้ลับตั้งร้อยนั้น.
บทว่า อตฺถสฺส ได้แก่ ไญยธรรม. ก็ไญยธรรมท่านเรียกว่า อรรถ เพราะพึงรู้แจ้งได้ด้วยญาณ. ก็อรรถนั้น แม้ข้อเดียวก็มีความหมายมิใช่น้อย เหมือนศัพท์ว่า สกฺโก ปุรินฺทโท มฆวา และศัพท์ว่า ปญฺญา วิชฺชา เมธา าณํ. อินทศัพท์ เป็นไปในอรรถว่าผู้เป็นใหญ่แห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ โดยอรรถอันลี้ลับ คือเครื่องหมายแห่งความเป็นไปอันใด ศัพท์ทั้งหลายมีสักกศัพท์เป็นต้น ในบทว่า สกฺโก ปุรินฺทโท มฆวา นั้น ก็มิได้เป็นไปโดยอรรถอันลี้ลับ คือเครื่องหมายแห่งความเป็นไปนั้น โดยที่แท้ เป็นไปโดย ประการอื่น อนึ่ง ปญฺญาศัพท์ เป็นไปในอรรถว่า สัมมาทิฏฐิ โดยอรรถอันลี้ลับ คือเครื่องหมายแห่งความเป็นไปอันใด ศัพท์ทั้งหลายมีวิชชาศัพท์ เป็นต้น ก็มิได้เป็นไปโดยอรรถอันลี้ลับนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า สตลิงฺคสฺส อตฺถสฺส เนื้อความอันมีความหมายตั้งร้อย ดังนี้.
บทว่า สตลกฺขณธาริโน ความว่า มีลักษณะมิใช่น้อย ชื่อว่า ลักษณะเพราะเป็นเหตุอันท่านกำหนดไว้. ความที่แห่งเนื้อความอันเป็นตัวปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอาศัยผลของตนมีอยู่ ด้วยเหตุนั้นแล ความเป็นปัจจัยนั้น ท่านจึงกำหนดไว้ว่า เนื้อความนี้เป็นเหตุของเนื้อความนี้ และประเภทแห่งเนื้อความอันเดียวนั้นแหละ ที่จะพึงเข้าไปได้มีเป็นอเนก ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า ทรงไว้ซึ่งลักษณะตั้งร้อย. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ลักษณะ เพราะอันท่านกำหนด ได้แก่ประการอันพิเศษ มีความที่แห่งเนื้อความนั้นๆ เป็น สังขตธรรมเป็นต้น. ก็แลประการอันพิเศษเหล่านั้น โดยเนื้อความพึงทราบว่า ได้แก่ข้อความที่ไม่แตกต่างกัน. ส่วนประการพิเศษนั้น ท่านเรียกว่า ลิงฺคานิ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 485
เพราะวิเคราะห์ว่า ทำให้หมายรู้ คือให้เข้าใจสามัญลักษณะมีความไม่เที่ยง แห่งสังขารเหล่านั้นเป็นต้น. ข้อความนั้นมีอาการดังกล่าวมานี้ เพราะเหตุที่ เนื้อความแม้อย่างเดียว บัณฑิตย่อมเข้าใจความหมายได้มิใช่น้อย ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า (คนโง่เขลามักเห็นเนื้อความ) อันมีความหมายตั้งร้อย ทรงไว้ซึ่งลักษณะตั้งร้อย ดังนี้. สมดังที่ท่านพระธรรมเสนาบดีกล่าวไว้ว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ย่อมมาสู่คลองในมุขแห่งพระญาณของพระผู้มีพระภาคผู้พระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้โดยอาการทุกอย่าง.
บทว่า เอกงฺคทสฺสี ทุมฺเมโธ ความว่า เมื่อเนื้อความที่มีความหมายมิใช่น้อย มีลักษณะเป็นอเนกเช่นนี้มีอยู่ ผู้ใดมีปกติเห็นได้เพียงส่วนเดียว เพราะมีปัญญาไม่กว้างขวาง คือเห็นว่ามีความหมายเพียงอย่างเดียว และมีลักษณะเพียงอย่างเดียว จะเชื่อมั่นสิ่งที่ตนเห็นแล้วเท่านั้น ว่า "สิ่งนี้เท่านั้นจริง " ปฏิเสธสิ่งนอกนี้ว่า " สิ่งอื่นเป็นโมฆะ" บุคคลผู้นั้นชื่อว่า เป็นคนโง่เขลา คือมีปัญญาทราม จะถือเอาได้เพียงอย่างเดียว เพราะไม่รู้ประการอันต่างๆ กัน ซึ่งมีอยู่ในอรรถนั้นนั่นแล และเพราะเชื่อมั่นอย่างผิดๆ อุปมาเหมือนคนตาบอดคลำช้าง ฉะนั้น.
บทว่า สตทสฺสี จ ปณฺฑิโต ความว่า ส่วนบัณฑิตย่อมเห็น ประการทั้งหลายแม้มิใช่น้อย อันมีอยู่ในอรรถนั้น โดยประการทั้งปวงด้วย ปัญญาจักษุของตน. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลใดรู้ข้อความเป็นอเนก อันจะพึงหาได้ในอรรถนั้น ด้วยปัญญาจักษุแม้ด้วยตนเอง ทั้งยังแสดงและประกาศ แม้แก่คนเหล่าอื่นได้อีกด้วย บุคคลนั้นเป็นบัณฑิต คือ ชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญาเห็นประจักษ์ ฉลาดในอรรถทั้งหลาย.
พระเถระ ยังสมบัติคือปฏิสัมภิทาญาณอันยอดเยี่ยมของตน ให้แจ่มแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาสุเหมันตเถรคาถา