เมื่อธรรมใดๆ ไม่มีตัวตน เกิดจากเหตุปัจจัย สมมติบุคคล เมื่อสนใจในธรรม ก็ไม่มี ตัวตนผู้สนใจในธรรม เป็นเพียงเหตุปัจจัย ผู้ที่ไม่มีเหตุปัจจัยให้สนใจก็ไม่สนใจ ปัจจัยกับกฏแห่งกรรมมีความขัดกันหรือไม่ เมื่อกฏมีว่าผลย่อมเกิดจากเหตุ เหตุก็ หมายถึงปัจจัย และนิยามก็มี ธรรมนิยาม พืชนิยาม กรรมนิยาม จิตนิยาม เป็นต้น ผมอาจจะคลาดเคลื่อนนะครับ ถ้าตัวตนไม่มี ทุกอย่างเป็นไปตามเหตุปัจจัย การ คิดว่าอย่างที่ผมพิมพ์อยู่นี้ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัยไม่มีตัวผู้สงสัย มีแต่สภาวธรรมนั้นๆ มารวมให้เป็นเช่นนั้น แล้วเจตนาอยู่ที่ไหน เจตนาเจตสิกมีปัจจัยหรือไม่ คือ ฟังแล้ว ชวนให้เข้าใจว่า สรรพสิ่งคลี่คลายตัวเองตามเหตุปัจจัย ถ้าคิดเช่นนี้บางคนก็คิดว่าไม่ ต้องทำอะไรอยุ่เฉยเดี๋ยวก็ดีเอง แต่ก็จะมีคนบอกว่าด้วยเหตุนั้นปัจจัยเช่นนั้น ก็ไม่ถึงที่ สุดแห่งธรรมแต่อย่างไรก็เป็นอนัตตาอยู่ดี สงสัยว่า เหตุปัจจัยเกิดขึ้นลอยๆ มีหรือไม่เช่น เมื่อ 1 ทำให้มี 2 เมื่อ 2 ทำให้มี3 ตามหลักเหตุปัจจัย แล้วเจตจำนงค์ เจตนา เจตจำนงค์เสรี อยู่ตรงใหน
สมมติว่า นาย ก. ไม่เคยได้ฟังพุทธธรรม ต่อมา นาย ข. ไปบอกธรรมแก่นาย ก. ถามว่าการที่นาย ก. ได้ฟังธรรมจากนาย ข. เกิดขึ้นลอยๆ หรือไม่ นาย ก. ต้องทำกรรม ใดหรือไม่ถึงต้องได้ฟังธรรมจากนาย ข. หรือบังเอิญนาย ข. บอกธรรมแก่นาย ก. ซึ่ง เกี่ยวเนื่องกับคำศัพท์ที่ว่าเหตุอดีต เหตุปัจจุบัน แต่ที่สุดก็เป็นเหตุเหมือนกัน คือ ถ้า ผมอุปมาโลกนี้เป็นคอมพิวเตอร์คนแต่ละคนคือซอฟแวร์ต่างๆ
พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงตลอด ๔๕ พรรษา เป็นคำสอนที่ประกอบด้วย เหตุและผล ไม่มีการขัดแย้งกันเลย เพราะทรงแสดงด้วยพระปัญญาญาณอันสูงสุด แต่ปัญญาของผู้ศึกษาเข้าไม่ถึงความจริงที่ทรงแสดง จึงเข้าใจว่าขัดแย้งกัน เมื่อ กล่าวถึงหลักธรรมคำสอนที่เป็นพระอภิธรรมแสดงถึงปรมัตถธรรม ที่ไม่มีอัตตาตัวตน สัตว์บุคคล เป็นเพียงปรมัตถธรรมที่เกิดขึ้นเพราะมีปัจจัยทั้งสิ้น จิตแต่ละขณะเกิด เพราะมีปัจจัย รูปแต่ละรูปก็เกิดเพราะปัจจัย ที่กล่าวว่าธรรมะที่เกิดขึ้นลอยๆ จึงไม่ ถูกต้อง พระนิพพานเป็นสภาพธรรมที่ไม่เกิดขึ้น ไม่มีปัจจัยให้เกิดขึ้น เพราะเป็น สภาพธรรมที่มีลักษณะตรงกันข้ามกับสังขารธรรม และสังขตธรรม
สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาฯ สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาฯ สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาฯ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
ธรรมทั้งหลายมีเหตุมีปัจจัยจึงจะเกิดขึ้น เช่น อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร (ปรุง แต่งจิต เจตสิกให้ทำดีทำชั่ว ทำให้วนเวียนอยู่ในวัฎฎะ เป็นต้น) ทุกขณะที่เราเห็น ได้ยิน ฯลฯ ไม่พ้นจากเหตุปัจจัยที่ได้ทำไว้แล้วในอดีตทำให้เราได้เห็นดีบ้าง ไม่ดี บ้าง หรือเพราะเหตุปัจจัยให้เราได้ยินเสียงธรรมทางสถานีวิทยุแล้วเกิดความสนใจ ติดตามฟังธรรมตลอดมา หรือฟังแล้วผ่านไปไม่สนใจ เป็นต้น