อยากทราบความแตกต่างของ เห็น กับ สิ่งที่ปรากฎทางตาค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยสภาพธรรมที่มีจริง มี 2 ประเภท คือ นามธรรมและรูปธรรม
นามธรรมมี สภาพธรรมที่เป็น จิต เจตสิก และนิพพาน
รูปธรรมคือ สภาพธรรมที่เป็นรูป
นามธรรมโดยทั่วไปแล้ว หมายถึง สภาพธรรมที่รู้ ธาตุรู้
จิตเป็นสภาพธรรมที่เป็นนามธรรม เป็นสภาพรู้ เป็นใหญ่ในการู้
เจตสิกเป็นสภาพธรรมที่ปรุงแต่ง ปรุงแต่งจิตนั่นเองคือเมื่อเกิดขึ้นก็เกิดพร้อมจิต ดับ
พร้อมจิตและที่สำคัญ เจตสิกก็เป็นสภาพธรรมที่รู้ด้วย เช่นเดียวกับจิต คือ รู้อารมณ์
เดียวกับจิต แต่ไม่ได้เป็นใหญ่ในการรู้ เจตสิกมีหลายประเภท ทำหน้าที่ต่างๆ กันไป เช่น
สัญญา เป็นเจตสิก เป็นสภาพธรรมที่จำ เป็นต้น
รูปธรรม หรือ รูป เป็นสภาพธรรมที่มีจริง แต่ไม่มีรู้อะไรเลย
จิตมีหลายประเภท เพราะเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยหลากหลายครับ จิตมีทั้งหมด 89
ประเภท แต่โดยละเอียดมี 121 ประเภท จิตแบ่งตามลักษณะการเกิด ตามชาติของจิต
จิตมี 4 ชาติ คือ ชาติกุศล ชาติอกุศล ชาติวิบาก (ผลของกรรม) และชาติกิริยา เป็นต้น
รูปธรรม เป็นสภาพธรรมที่ไม่รู้อะไรเลย รูปธรรมหรือรูป ไม่ได้หมายถึงสิ่งที่จับต้องเห็น
ได้นะครับ จึงจะเป็นรูปหรือรูปธรรมแต่สภาพธรรมใดที่ไม่รู้อะไรเลย สภาพธรรมนั้นแม้จะ
เห็นได้หรือเห็นไม่ได้ก็ต้องเป็นรูปทั้งนั้นครับ รูปมีทั้งหมด 28 รูป เช่น ดิน น้ำ ไฟ ลม สี
กลิ่น รส โอชา เป็นต้น จะเห็นนะครับว่า รูปคือสภาพธรรมที่ไม่รู้อะไร ยกตัวอย่างเช่น
สภาพธรรมที่แข็ง (ธาตุดิน) แข็งเมื่อมีใครไปกระทบ แข็งไม่รู้สึกอะไร แข็งไม่รู้อะไร แข็ง
ไม่ปวด ไม่เจ็บ ไม่หนาวไม่ร้อน เพราะแข็งเป็นรูป เป็นสภพาธรรมที่ไม่รู้ ไม่รู้อารมณ์
อะไรเลยครับ ต่างจากจิตที่เป็นสภาพธรรมที่รู้ รู้อารมณ์ รู้สิ่งต่างๆ ครับ
ดังนั้นจากคำถามที่ว่า
อยากทราบความแตกต่างของ เห็น กับ สิ่งที่ปรากฎทางตาค่ะ ว่าแบบไหนเป็นนามธรรม
แบบไหนเป็นรูปธรรม
-----------------------------------------------------------------
เห็นเป็นสภาพธรรมที่มีจริง ใครเห็นไม่ใช่เราเห็น เป็นธรรมที่ทำหน้าที่เห็น เมื่อเห็น
เกิดขึ้นต้องมีสิ่งที่ถูกเห็น ดังนั้น สภาพเห็นจึงเป็นสภาพรู้ เพราะรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ใน
ขณะนั้นที่เห็นครับ เพราะฉะนั้น เห็นจึงเป็นสภาพธรรมที่เป็นจิต เป็นสภาพรู้ เมื่อเป็น
จิตแล้วจึงเป็นนามธรรมครับ ซึ่งจิตเห็นเป็นจิตประเภทหนึ่ง เรียกว่า จักขุวิญญาณจิต
หรือเรียกว่าจิตเห็นก็ได้ อันเป็นจิตชาติวิบาก คือ เป็นผลของกรรมนั่นเองครับ ขณะที่
จิตเห็นเกิดขึ้น ต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยในขณะนั้น เจตสิกก็เป็นนามธรรม เป็นสภาพ
รู้เช่นกัน และเมื่อจิตเห็นเกิดขึ้น ต้องมีสิ่งที่ถูกเห็น สิ่งที่ถูกเห็น หรือ สิ่งที่ถูกจิตรู้ ภาษา
ธรรมเรียกว่า อารมณ์ ดังนั้นเมื่อจิตเห็นเกิดขึ้น ต้องมีอารมณ์ หรือมีสิ่งที่จิตเห็นรู้ในขณะ
นั้น สิ่งที่ถูกจิตเห็นรู้คืออะไร จิตเห็นจะรู้เสียงได้ไหม ไม่ได้ครับ จิตเห็นรู้กลิ่นก็ไม่ได้
ครับ ดังนั้น สิ่งที่จิตเห็นรู้ ขณะนี้กำลังเห็นก็คือ สีนั่นเองหรือเรียกว่าสิ่งที่ปรากฎทางตา
จิตเห็นจึงทำหน้าที่รู้ รู้สี หรือ รู้สิ่งที่ปรากฎทางตา จิตเห็นจึงเป็นนามธรรม เพราะ
นามธรรมคือสภาพรู้ ขณะเห็น ขณะนั้นกำลังรู้ คือ รู้สีหรือรู้สิ่งที่ปรากฎทางตา สีหรือสิ่ง
ที่ปรากฎทางตา เป็นอารมณ์ คือ เป็นสิ่งที่ถูกจิตรู้ คือ จิตเห็นรู้ในขณะนั้นครับ
คำถามต่อไปก็คือ สิ่งที่ปรกาฎทางตา ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกจิตเห็นรู้ เป็นสภาพธรรมอะไร
เป็นนามธรรมหรือรูปธรรม
สิ่งทีปรากฎทางตา หรือ สี รู้สึกอะไรไหมครับ สิ่งที่ปรกาฎทางตา คิดนึกได้ไหม รู้สึก
หนาวร้อนไหม คำตอบคือ สิ่งที่ปรากฎทางตา หรือ สีไม่รู้อะไรเลย เป็นสภาพธรรมที่
ไม่รู้ ดังนั้นเมื่อเป็นสภาพธรรมที่ไม่รู้อะไร จึงเป็น รูปธรรมนั่นเองครับ
ดังนั้นสรุปจากคำถาม คือ นามธรรมเป็นสภาพธรรมที่รู้ รูปธรรมเป็นสภาพธรรมที่ไม่รู้
อะไร ขณะที่เห็น เห็นต้องมีสิ่งที่รู้คือสิ่งที่ปรากฎตา หรือ สี ดังนั้นเห็นจึงเป็นสภาพรู้
เป็นจิต เมื่อเป็นสภาพรู้ (รู้สี) ก็เป็นนามธรรม ส่วนสิ่งที่ปรากฎทางตา หรือ สีเป็นสภาพ
ธรรมที่ไม่รู้อะไรทั้งสิ้น จึงเป็นรูปธรรมครับ
โดยทาง หู จมูก ลิ้นและกายก็เช่นกัน ขณะทีได้ยิน ได้ยินเป็นจิต ขณะนั้นมีสิ่งที่ต้อง
ได้ยิน ได้ยินจึงเป็นสภาพรู้ เป็นจิตได้ยิน เป็นนามธรรมครับ และสิ่งที่ได้ยินก็คือเสียง
เสียงไม่รู้อะไรเลย เสียงไม่หนาว ไม่ร้อน ไม่คิด ไม่รู้อะไรทั้งสิ้น จึงเป็นรูปธรรมครับ
เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ
นามธรรม
นามธรรมรูปธรรม
ความละเอียดของ รูปธรรม-นามธรรม
สิ่งที่ปรากฏทางตา
รูปารมณ์
จักขุวิญญาณ อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น คำว่า เห็น กับ สิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นคำพูดภาษาไทยที่ส่องให้เข้าใจตัวจริงของสภาพธรรม ซึ่งมีลักษณะจริงๆ ไม่ใช่เป็นเพียงคำหรือชื่อเท่านั้น เพราะเหตุว่าในภาษาบาลี หรือ ภาษาของชาวมคธ ซึ่งเป็นภาษาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้ในการประกาศพระศาสนา ไม่มีคำว่า "เห็น" แต่มีคำว่า "จักขุวิญญาณ" ไม่มีคำว่าสิ่งที่ปรากฏทางตา แต่มีคำว่า "รูปารัมมณะ, วัณณะ, รูปะ" เป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงสภาพธรรมที่ต่างกัน คือ เป็นนามธรรม (สภาพธรรมที่น้อมไปสู่อารมณ์, รู้อารมณ์ ได้แก่ จิต และ เจตสิก) กับ รูปธรรม (สภาพธรรมที่ไม่รู้อะไร) เห็น กับ สิ่งที่ปรากฏทางตา ต่างกันอย่างแน่นอน เพราะเห็น เป็นนามธรรม เป็นจิตปรเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นผลของกรรม เกิดขึ้นที่จักขุปสาทะ แล้วดับไป เพียงชั่วขณะสั้นๆ เท่านั้น และเมื่อจิตเห็นเกิดขึ้น ก็จะต้องมีเจตสิก ๗ ประเภทเกิดร่วมด้วย คือผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ และ มนสิการะ ทั้งจิตเห็น และเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย เป็นธรรม เป็นนามธรรม ไม่ใช่เรา ส่วนสิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นรูปธรรมประเภทหนึ่ง ไม่รู้อารมณ์เหมือนอย่างนามธรรม และประการที่สำคัญ เมื่อจิตเกิดขึ้นโดยอาศัยทางตา คือ จักขุทวาร จิตแต่ละขณะที่เกิดขึ้นนั้น จะต้องรู้สี ที่กำลังมีในขณะนั้นซึ่งยังไม่ดับ ทั้งหมด ไม่ใช่เฉพาะจักขุวิญญาณเท่านั้น ที่รู้สีก่อนจิตเห็นเกิดขึ้น คือ จักขุทวาราวัชชนจิต และ หลังจากจิตเห็นเกิดขึ้น คือ สัมปฏิจฉันนจิต เป็นต้นไป ก็รู้สี เช่นเดียวกัน แต่รู้โดยกิจที่แตกต่างกัน ตามประเภทของจิตนั้นๆ ทั้งหมดทั้งปวงนั้นเป็นธรรม เป็นสิ่งที่มีจริง เมื่อเป็นธรรมแล้ว ก็ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน นี้คือ ความเป็นจริงของสภาพธรรม ที่ยากจะเข้าใจ แต่ก็ไม่เหลือวิสัยสำหรับผู้ที่ตั้งใจฟัง ตั้งใจศึกษา ไม่ขาดการฟังพระธรรม ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขออนุโมทนาบุญกับท่านอาจารย์ paderm และท่านอาจารย์ khampan.a
ที่ให้ความกระจ่างค่ะ
ขออนุโมทนาครับ มีประโยชน์มากๆ จริงๆ
เป็นความต่างระหว่างธาตุรู้ และธาตุที่ไม่รู้อะไรเลย
ซึ่งทั้งๆ ที่วิถีจิตทั้งชุด มีอารมณ์เดียวกัน คือ สิ่งที่ปรากฏทางตา แต่ก็ยังต่างโดยชาติ
โดยกิจ ซึ่งเป็นความลึกซึ้งอย่างยิ่ง และถ้าไม่ได้ฟังธรรมของผู้ที่ประจักษ์แจ้ง ก็ไม่มีทาง
ทราบได้ว่า ปนกันอยู่ทั้งหมดด้วยความไม่รู้ความจริงใดๆ เลย จนกว่าได้ฟังธรรมก็มี
โอกาสได้เข้าใจธรรมทีละ ๑ๆ ตามที่ทรงแสดง