ทุฏฐัฏฐกสูตรที่ ๓ ว่าด้วยเดียรถีย์และมุนี
โดย บ้านธัมมะ  14 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40206

[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 710

สุตตนิบาต

อัฏฐกวรรคที่ ๔

ทุฏฐัฏฐกสูตรที่ ๓

ว่าด้วยเดียรถีย์และมุนี


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 47]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 710

ทุฏฐัฏฐกสูตรที่ ๓

ว่าด้วยเดียรถีย์และมุนี

[๔๑๐] เดียรถีย์บางพวก มีใจประทุษร้าย ย่อมติเตียนโดยแท้ แม้อนึ่ง พวกชนที่ฟังคำของเดียรถีย์เหล่านั้นแล้ว ปลงใจ เชื่อจริง ก็ติเตียน แต่มุนีย่อมไม่เข้าถึงการติเตียนที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะเหตุนั้น มุนีย่อมไม่มีหลักตอ คือ ราคะ โทสะ และโมหะ ในโลกไหนๆ.

บุคคลผู้ถูกความพอใจครอบงำแล้ว ตั้งมั่นอยู่ในความชอบใจ จะพึงล่วงทิฏฐิของตนได้อย่างไรเล่า บุคคลกระทำทิฏฐิเหล่านั้น ให้บริบูรณ์ด้วยตนเอง รู้อย่างใด ก็พึงกล่าวอย่างนั้น.

ผู้ใดไม่ถูกเขาถามเลย กล่าวอวดอ้างศีลและวัตรของตนแก่ผู้อื่น ผู้ฉลาดทั้งหลาย กล่าวผู้นั้นว่า ผู้ไม่มีอริยธรรม, ผู้ได้กล่าวอวดตนด้วยตนเอง ผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวการอวดของผู้นั้นว่า ผู้นี้ไม่มีอริยธรรม.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 711

ส่วนภิกษุผู้สงบ มีตนดับแล้ว ไม่กล่าวอวดในศีลทั้งหลายว่า เราเป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวภิกษุนั้นว่า มีอริยธรรม.

ภิกษุใดไม่มีกิเลสเครื่องฟูขึ้นในโลกไหนๆ ผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวการไม่กล่าวอวดของภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้มีอริยธรรม.

ธรรม คือ ทิฏฐิ อันปัจจัยกำหนดปรุงแต่งแวดล้อม ไม่ผ่องแผ้ว ย่อมมีแก่ผู้ใด ผู้นั้นเป็นอย่างนี้ เพราะเหตุที่ผู้นั้นเห็นอานิสงส์ มีคติวิเศษเป็นต้นในตน ฉะนั้น จึงเป็นผู้อาศัยทิฏฐิ อาศัยความกำเริบที่มีอยู่นั้น.

นรชนตัดสินธรรมที่ตนยึดมั่นแล้วในธรรมทั้งหลาย ไม่พึงล่วงการยึดมั่นด้วยทิฏฐิได้โดยง่ายเลย เพราะเหตุนั้น นรชนย่อมยึดถือและถือมั่นธรรม ในเพราะความยึดมั่นด้วยทิฏฐิเหล่านั้น.

ก็บุคคลผู้มีปัญญา ไม่มีทิฏฐิอันปัจจัยกำหนดแล้วในภพน้อยภพใหญ่ ในโลก


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 712

ไหนๆ บุคคลผู้มีปัญญานั้นละมายาและมานะได้แล้ว จะพึงถึงการนับเข้าในคติพิเศษในนรกเป็นต้น ด้วยคติพิเศษอะไร บุคคลผู้มีปัญญานั้น ไม่มีตัณหาและทิฏฐิ.

ก็บุคคลผู้มีตัณหาและทิฏฐิ ย่อมเข้าถึงวาทะในธรรมทั้งหลาย ผู้นั้นจะพึงกล่าวกะพระขีณาสพผู้ไม่มีตัณหาและทิฏฐิ ผู้กำหนัดหรือว่าผู้ประทุษร้ายได้อย่างไร ด้วยความกำหนัดหรือความประทุษร้ายอะไร ความเห็นว่าเป็นตน หรือความเห็นว่าขาดสูญ ย่อมไม่มีแก่พระขีณาสพนั้นเลย เพราะพระขีณาสพนั้น ละทิฏฐิได้ทั้งหมดในอัตภาพนี้ ฉะนี้แล.

จบทุฏฐัฏฐกสูตรที่ ๓


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 713

อรรถกถาทุฏฐัฏฐกสูตรที่ ๓

ทุฏฐัฏฐกสูตร มีคำเริ่มต้นว่า วทนฺติ เว ทุฏฺมนาปิ เดียรถีย์บางพวกมีใจประทุษร้ายย่อมติเตียนโดยแท้ ดังนี้.

พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร?

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการเกิดแห่งคาถาต้นไว้ในพระสูตรแล้ว. พวกเดียรถีย์ทนไม่ได้ที่เห็นลาภสักการะเกิดขึ้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า และภิกษุสงฆ์ จึงส่งนางสุนทรีปริพาชิกาไป. นัยว่านางสุนทรีปริพาชิกานั้นเป็นนางงามประจำชนบท ได้เป็นปริพาชิกาเพราะนุ่งห่มผ้าขาว. นางอาบน้ำชำระร่างกายแล้วตกแต่งด้วยผ้าสะอาดและทัดทรงดอกไม้ ประพรมด้วยของหอมเครื่องลูบไล้ ในเวลาที่ชาวกรุงสาวัตถีฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วออกจากพระเชตวัน นางก็ออกจากกรุงสาวัตถีมุ่งหน้าไปพระเชตวัน เมื่อชนทั้งหลายถามว่า จะไปไหน นางก็ตอบว่าไปเพื่อให้พระสมณโคดมและสาวกของพระองค์อภิรมย์ แล้วเดินผ่านไปทางซุ้มประตูพระเชตวัน เมื่อซุ้มประตูพระเชตวันปิด จึงเข้าไปยังเมือง พอสว่างนางก็ไปพระเชตวันอีกเดินเตร่ทำเป็นเหมือนจะเก็บดอกไม้ใกล้พระคันธกุฎี. ก็เมื่อนางถูกชนทั้งหลายที่มาอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าถามว่า มาทำไม ก็ตอมเลี่ยงไปเลี่ยงมาอยู่อย่างนั้นแหละ. พอล่วงไปครึ่งเดือนพวกเดียรถีย์จึงฆ่านางสุนทรีปริพาชิกาเสียแล้วเอาไปฝังไว้ที่คูเมือง พอสว่าง ก็ทำเป็นเอะอะว่า พวกเราไม่เห็นนางสุนทรี จึงไปทูลพระราชา พระราชาทรงอนุญาตแล้วจึงเข้าไปยังพระเชตวัน ทำเป็นเหมือนค้นหาอยู่ แล้วยกนางสุนทรีขึ้นจากที่ที่ฝั่งไว้


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 714

เอาใส่เตียงนำเข้าไปยังพระนคร พากันด่าว่าติเตียน. พึงทราบเรื่องทั้งหมดโดยนัยที่มาแล้วในบาลีนั่นแล. วันนั้นตอนใกล้รุ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดู โลกด้วยพุทธจักษุ ทรงทราบว่า วันนี้พวกเดียรถีย์จักทำให้เกิดความเสื่อมยศ ทรงดำริว่า มหาชนเชื่อเดียรถีย์เหล่านั้นแล้วจะพากันโกรธเคืองเรา อย่าไป อบายกันเสียเลย จึงทรงปิดประตูพระคันธกุฎีประทับอยู่ภายในพระคันธกุฎีนั่นเอง ไม่เสด็จเข้าพระนครเพื่อบิณฑบาต. ฝ่ายภิกษุทั้งหลายเห็นประตูปิดจึง เข้าไปเช่นคราวก่อนๆ. ชนทั้งหลายเห็นพวกภิกษุจึงพากันด่าว่าอย่างเสียหาย. ลำดับนั้นท่านพระอานนท์กราบทูลเรื่องราวนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกเดียรถีย์ทำความเสื่อมยศใหญ่ให้เกิดขึ้นแล้ว ไม่สามารถจะอยู่ในที่นี้ได้ ชมพูทวีปกว้างขวาง โปรดเสด็จไปที่อื่นเถิดพระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนอานนท์ ก็เมื่อโทษเกิดในที่นั้นอีกเธอจะไปไหนเล่า. กราบทูลว่า ไปเมืองอื่นอีก พระพุทธเจ้าข้า. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ รอดูไปก่อน เสียงนี้จักมีอยู่ได้ ๗ วันเท่านั้น ครั้นเลย ๗ วันไปแล้ว ผู้ใดทำความเสื่อมยศไว้ ความเสื่อมยศนั้นก็จักตกไปบนผู้นั้นนั่นแหละ เพื่อจะทรงแสดงธรรมแก่พระอานนทเถระจึงได้ตรัสคาถานี้ว่า วทนฺติ เว ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า วทนฺติ คือ พวกเดียรถีย์พากันติเตียนพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์. บทว่า ทุฏฺมนาปิ เอเก เอโถปิ เว สจฺจมนาปิ อนึ่งพวกชนที่ฟังคำของเดียรถีย์เหล่านั้นแล้วปลงใจเชื่อว่าจริงก็ติเตียน ความว่า พวกชนบางพวกมีใจประทุษร้าย บางพวกสำคัญว่าเป็นจริง พวกเดียรถีย์มีใจ ประทุษร้ายแล้ว. อธิบายว่า ชนเหล่าใดฟังคำของเดียรถีย์เหล่านั้นแล้ว ชน


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 715

เหล่านั้นเข้าใจว่าเป็นจริงก็พากันเชื่อ. บทว่า วาทญฺจ ชาตํ วาทะเกิดขึ้นแล้ว คือวาทะด่าเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้. บทว่า มุนิ โน อุเปติ มุนีไม่เข้าถึง คือ พุทธมุนีไม่เข้าถึงการติเตียน เพราะไม่ได้ทำและเพราะไม่โกรธ บทว่า ตสฺมา มุนิ นตฺถิ ขิโล กุหิญฺจิ เพราะฉะนั้นมุนีย่อมไม่มีหลักตอในที่ไหนๆ คือ ด้วยเหตุนั้นพึงทราบว่า มุนี้นี้ย่อมไม่มีหลักตอ ด้วยหลักตอ คือ ราคะเป็นต้น ในโลกไหนๆ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสคาถานี้แล้ว จึงรับสั่งถามพระอานนทเถระว่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุทั้งหลายถูกด่าว่าเย้ยหยันอย่างนี้แล้วพูดอย่างไร. กราบทูลว่า มิได้พูดอะไรเลย พระเจ้าข้า. ตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เราเป็นผู้มีศีลมิใช่หรือ เพราะฉะนั้นควรนิ่งในเรื่องทั้งหมด แม่รู้อยู่ก็ไม่พูด เพราะคนพาลกับ บัณฑิตเข้ากันไม่ได้. เพื่อประโยชน์ในการแสดงธรรมว่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุทั้งหลายจงโต้ตอบพวกชนเหล่านั้นอย่างนี้ ได้ตรัสคาถานี้ว่า อภูตวาที นิรยํ อุเปติ คนพูดไม่จริงย่อมตกนรก ดังนี้. พระเถระรับพระพุทธดำรัสนั้นแล้ว จึงกล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า พวกท่านควรโต้ตอบชนทั้งหลายด้วยคาถานี้. ภิกษุทั้งหลายได้กระทำอย่างนั้นแล้ว. ชนผู้เป็นบัณฑิตได้นิ่งเฉย. แม้พระราชาก็ทรงส่งพวกราชบุรุษไปทุกแห่งหน จับคาดคั้นพวกนักเลงที่เดียรถีย์ให้ค่าจ้างฆ่านางสุนทรี ครั้นทรงทราบเรื่องราวแล้วได้ทรงบริภาษพวกเดียรถีย์. แม้ชนทั้งหลายเห็นพวกเดียรถีย์ต่างก็เอาก้อนดินขว้างปา เอาฝุ่นโรย ด้วยโกรธว่าพวกเดียรถีย์ทำให้พระผู้มีพระภาคเจ้าเสื่อมยศ. พระอานนท์เถระเห็นดังนั้นจึงกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า สกญฺหิ ทิฎฺึ กถมจฺจเยยฺย จะพึงล่วงทิฏฐิของตนได้อย่างไรเล่า.


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 716

บทนั้นมีความดังต่อไปนี้. ทิฏฐิของชนเดียรถีย์ว่า เราจักฆ่านางสุนทรีปริพาชิกา แล้วประกาศโทษของสมณศากยบุตร ก็จักได้รับสักการะได้โดยอุบายนี้ บุคคลจะพึงล่วงทิฏฐินั้นได้อย่างไร ที่แท้โทษนันจะกลับมาถึงชนเดียรถีย์นั้น ผู้ไม่สามารถจะล่วงทิฏฐินั้นได้ อีกอย่างหนึ่งชนเดียรถีย์ผู้มีวาทะว่าเที่ยงเป็นต้น ถูกความพอใจในทิฏฐินั้นครอบงำแล้ว และตั้งมั่นอยู่ในความชอบใจในทิฏฐิ จะพึงล่วงทิฏฐิของตนได้อย่างไรเล่า ที่แท้บุคคลนั้นกระทำทิฏฐิเหล่านั้นให้บริ- บูรณ์ด้วยตนเอง รู้อย่างใด พึงกล่าวลย่างนั้น.

ลำดับนั้น พระราชาเมื่อล่วงไป ๗ วัน รับสั่งให้เอาศพของนางสุนทรีนั้นไปทิ้งเสีย ตอนเย็นเสด็จไปยังพระวิหารถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อความเสื่อมยศเช่นนี้เกิดขึ้น ควรจะบอกข้าพระองค์บ้าง. เมื่อพระราชากราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าถวาย พระพรว่า มหาบพิตร อาตมภาพเป็นผู้มีศีล มีคุณสมบัติมิใช่หรือ แล้วตรัสต่อไปว่า การบอกแก่ผู้อื่นเป็นการสมควรแก่พระอริยเจ้าละหรือดังนี้ เพื่อให้เกิดเรื่องนั้นขึ้น จึงได้ตรัสคาถาที่เหลือว่า โย อตฺตโน สีลวตานิ เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สีลวตานิ ผู้มีศีล คือ ศีลมีปาติโมกข์เป็นต้น และธุดงค์มีอารัญญิกธุดงค์เป็นต้น. บทว่า อนานุปุฏฺโ คือไม่ถูกถามเลย บทว่า ปาถา คือ กล่าวอวดอ้าง. บทว่า อนริยธมฺมํ กุสลา ตมาหุ โย อาตุมานํ สยเมว ปาถา คือ ผู้ใดกล่าวอวดอ้างตนด้วยตนเอง ผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวผู้นั้นว่าเป็นผู้ไม่มีอริยธรรม. บทว่า สนฺโต ผู้สงบ คือ ชื่อว่า เป็นผู้สงบเพราะสงบกิเลสมีราคะเป็นต้น เสมือนเป็นผู้มีตนผ่องแผ้วแล้วฉะนั้น.


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 717

บทว่า อิติหนฺติ สีเลสุ อกตฺถมาโน คือ ไม่กล่าวอวดอ้างในศีลทั้งหลายว่า เราเป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล. ท่านอธิบายว่า ไม่กล่าววาจาแนะนำตนว่ามีศีล. บทว่า ตมริยธมฺมํ กุสลา วทนฺติ ผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวภิกษุนั้นว่าเป็นผู้มีอริยธรรม คือผู้ฉลาดในขันธ์ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมกล่าวภิกษุผู้ไม่อวดอ้างนั้นว่า ภิกษุนี้เป็นผู้มีอริยธรรม. บทว่า ยสฺสุสฺสทา นตฺถิ กุหิญฺจิ โลเก ภิกษุใดไม่มีกิเลสเครื่องฟูขึ้นในโลกไหนๆ พึงทราบการเชื่อมความว่า ภิกษุผู้เป็นขีณาสพใดไม่มีกิเลสเครื่องฟูขึ้น ๗ อย่าง มีราคะเป็นต้นในโลกไหนๆ ผู้ฉลาดทั้งหลายย่อมกล่าวภิกษุผู้ไม่โอ้อวดนั้นว่า ภิกษุนี้เป็นผู้มีอริยธรรม ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงถึงการปฏิบัติของพระขีณาสพอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะทรงแสดงถึงการปฏิบัติของพวกเดียรถีย์เจ้าทิฏฐิแด่พระราชา จึงตรัสว่า ปกปฺปิตา สงฺขตา ธรรมอันปัจจัยกำหนด ปรุงแต่งแล้ว ดังนี้ เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปกปฺปิตา คืออันปัจจัยกำหนดแล้ว. บทว่า สงฺขตา คืออันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว. บทว่า ยสฺส แก่ผู้ใด. คือแก่เจ้าทิฏฐิ ใดๆ. บทว่า ธมฺมา คือทิฏฐิ. บทว่า ปุรกฺขตา แวดล้อมแล้ว คือทำแล้วแต่ก่อน. บทว่า สนฺติ แปลว่า มีอยู่. บทว่า อวีวทาตา แปลว่า ไม่ผ่องแผ้ว. บทว่า ยทฺตฺตนิ ปสฺสติ อานิสํสํ ตนฺนิสฺสิโต กุปฺปปฏิจฺจสนฺตึ เพราะเหตุที่ผู้นั้นเห็นอานิสงส์ในตน ฉะนั้น จึงเป็นผู้อาศัยทิฏฐิ อาศัยความกำเริบที่มีอยู่นั้น ความว่า ธรรมคือทิฏฐิอันปัจจัยแวดล้อมไม่ผ่อง


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 718

แผ้ว ย่อมมีแก่ผู้ใด ผู้นั้นเป็นอย่างนี้. เพราะเหตุที่เขาเห็นสักการะเป็นต้นอัน เป็นไปในปัจจุบัน และอานิสงส์มีคติวิเศษเป็นต้น อันเป็นไปในสัมปรายภพแห่งทิฏฐินั้นในตน ฉะนั้น จึงเป็นผู้อาศัยอานิสงส์นั้นและทิฏฐินั้นอันมีอยู่ อาศัยความกำเริบ เพราะความกำเริบ เพราะอาศัยกันเกิดขึ้นและเพราะมีอยู่โดยสมมติ ผู้นั้นพึงยกตนหรือพึงข่มผู้อื่น เพราะอาศัยทิฏฐินั้นด้วยคุณและโทษแม้ไม่เป็นจริง และด้วยการอาศัยอย่างนี้ นรชนตัดสินธรรมที่ตนยึดมั่นแล้วในธรรมทั้งหลาย ไม่พึงล่วงการยึดมั่นด้วยทิฏฐิได้โดยง่ายเลย เพราะเหตุนั้น นรชนย่อมยึดถือและถือมั่นธรรม ในเพราะความยึดมั่นด้วยทิฏฐิเหล่านั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺินิเวสา ยึดมั่นด้วยทิฏฐิ คือยึดมั่นด้วยทิฏฐิ อันได้แก่ ยึดมั่นว่านี้เป็นของจริง. บทว่า น หิ สฺวาติวตฺตา ได้แก่ ไม่พึงล่วงไปโดยง่ายนัก. บทว่า ธมฺเมสุ นิจฺเฉยฺย สมุคฺคหิตํ นรชน ตัดสินธรรมที่คนยึดมั่นแล้วในธรรมทั้งหลาย ความว่า นรชนตัดสินธรรม นั้นๆ ที่ตนถือ คือยึดมั่นแล้วในธรรมคือทิฏฐิ ๖๒ ท่านอธิบายว่าไม่พึงล่วงการยึดมั่นด้วยทิฏฐิได้โดยง่ายเลย เพราะเป็นไปแล้ว. เพราะฉะนั้น นรชน ย่อมยึดถือและถือมั่นธรรม ในเพราะความยึดมั่นเหล่านั้น อธิบายว่า เพราะไม่ล่วงการยึดมั่นด้วยทิฏฐิได้โดยง่าย ฉะนั้น นรชนย่อมยึดถือ ถือมั่น เสพและนับถือ ศาสดาจำพวกถือศีลแพะ ศีลโค ศีลสุนัข ตบะห้า เทวดาบอกเหตุ ทำความเพียรด้วยการนั่งกระโหย่งและนอนบนหนามเป็นต้นและธรรมนั้นๆ ประเภทคณะบอกธรรมเป็นต้น ท่านอธิบายว่า เหมือนลิงป่าจับกิ่งไม้ นั้นๆ ฉะนั้น. เมื่อยึดถือและถือมั่นอยู่อย่างนี้ เพราะค่าที่มีจิตไม่มั่นคง จึงทำให้ยศเเละมิใช่ยศเกิดแก่ตนหรือแก่ผู้อื่น ด้วยคุณและโทษแม้ไม่มีอยู่.


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 719

ก็บุคคลใดชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญา เพราะประกอบด้วยปัญญากำจัดโทษมีถือทิฏฐิทั้งปวงเป็นต้น บุคคลผู้มีปัญญานั้น ไม่มีทิฏฐิอันปัจจัยกำหนดแล้วในภพน้อยภพใหญ่ในโลกไหนๆ บุคคลผู้มีปัญญานั้นละมายาและมานะได้แล้ว จะพึงถึงการนับเข้าในคติพิเศษในนรกเป็นต้น ด้วยคติพิเศษอะไร. ท่านอธิบายไว้อย่างไร. ท่านอธิบายไว้ดังนี้ บุคคลผู้มีปัญญาเพราะประกอบด้วยโธนธรรม (ธรรมทำให้ฉลาด) เป็นผู้ไกลจากกิเลสกำจัดบาปทั้งปวงได้ ไม่มีทิฏฐิอันปัจจัยกำหนดแล้วในภพทั้งหลายนั้นๆ ในโลกไหนๆ บุคคลผู้มีปัญญานั้น เพราะไม่มีทิฏฐินั้น จึงละมายาและมานะ ที่พวกเดียรถีย์ปกปิดกรรมชั่วที่ตนทำไว้ด้วยอคติใด เข้าถึงอคตินั้นด้วยมายาหรือมานะ จะพึงเข้าถึงการนับในคติพิเศษมีนรกเป็นต้น ในทิฏฐธรรมหรือสัมปรายภพด้วยคติพิเศษอะไร จริงอยู่บุคคลผู้มีปัญญานั้นๆ ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีตัณหาและทิฏฐิ เพราะไม่มีตัณหาและทิฏฐิสองอย่างอาศัย. ก็อีกอย่างหนึ่ง บุคคลใดชื่อว่าเป็นผู้มีตัณหาและทิฏฐิ เพราะมีทั้งสองอย่างเหล่านั้น บุคคลนั้นเป็นผู้มีตัณหาและทิฏฐิ ย่อมเข้าถึงวาทะในธรรมทั้งหลาย ผู้นั้นจะพึงกล่าวกะผู้ไม่มีตัณหาและทิฏฐิว่า ผู้กำหนัดหรือผู้ประทุษร้ายได้อย่างไร ด้วยความกำหนัดหรือความประทุษร้ายอะไร ความเห็นว่าเป็นตน หรือความเห็นว่าขาดสูญ ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีตัณหาและทิฏฐินั้น เลย เพราะผู้ไม่มีตัณหาและทิฏฐินั้น ละทิฏฐิได้ทั้งหมดในอัตภาพนี้ฉะนี้แล.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อุปโย คืออันตัณหาและทิฏฐิอาศัยแล้ว. บทว่า ธมฺเมสุ อุเปติ วาทํ เข้าถึงวาทะในธรรมทั้งหลาย คือเข้าถึงวาทะในธรรมทั้งหลายนั้นๆ อย่างนี้ว่า กำหนัดแล้วดังนี้ หรือประทุษร้ายแล้ว ดังนี้.


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 720

บทว่า อนูปยํ เกน กถํ วเทยฺย ความว่า จะพึงกล่าวกะพระขีณาสพ ผู้ไม่มีตัณหาและทิฏฐิ เพราะละตัณหาและทิฏฐิได้แล้วว่าผู้กำหนัด หรือผู้ประทุษร้ายได้อย่างไร ด้วยความกำหนัดหรือความประทุษร้ายอะไร. อธิบายว่า จะว่ากล่าวว่าผู้มีปัญญานั้น จักเป็นผู้ปกปิดสิ่งที่กระทำแล้ว เหมือนพวกเดียรถีย์ ได้อย่างไร. บทว่า อตฺตํ นิรตฺตํ น หิ ตสฺส อตฺถิ ความเห็นว่าเป็นตน หรือความเห็นว่าขาดสูญย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีตัณหาและทิฏฐินั้นเลย ความว่า ความเห็นว่าเป็นตน หรือความเห็นว่าขาดสูญย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีตัณหาและทิฏฐินั้น หรือแม้การถือและการปล่อยที่รู้กันว่าเป็นความกำหนัดในตนก็ไม่มี. หากถามว่า เพราะเหตุไรจึงไม่มี. ตอบว่า เพราะผู้ไม่มีตัณหาและทิฏฐินั้นละทิฏฐิ ได้ทั้งหมดในอัตภาพนี้. อธิบายว่า เพราะผู้ไม่มีตัณหาและทิฏฐินั้น เลิกละ ปล่อยทิฏฐิได้ทั้งหมดด้วยลมคือญาณในอัตภาพนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาด้วยธรรมเป็นยอด คือพระอรหัต พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว พอพระทัยกราบถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วเสด็จกลับ.

จบอรรถกถาทุฏฐัฏฐกสูตรที่ ๑ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา