พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 345
พาลวรรคที่ ๓
สูตรที่ ๑
ว่าด้วยคนพาล ๒ จำพวก
[๒๗๖] ๒๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวก ๒จำพวก
เป็นไฉน คือ คนที่ไม้เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๑ คนที่ไม่รับรอง
ตามธรรม เมื่อผู้อื่นแสดงโทษ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒
จำพวกนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็น
ไฉน คือ คนที่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๑ คนที่รับรองตามธรรม
เมื่อผู้อื่นแสดงโทษ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล.
จบสูตรที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 345
อรรถกถาสูตรที่ ๑
พาลวรรคที่ ๓ สูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อจฺจย อจฺจยโต น ปสฺสติ ความว่า ทำผิดแล้ว ไม่เห็น
ความผิดของตนว่า เราทำผิด ได้แก่ ไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าทำผิดแล้ว
นำทัณฑกรรมมาขอขมาโทษ. บทว่า อจฺจย เทเสนฺตสฺส ความว่า
เมื่อเขากล่าวอย่างนี้แล้วนำทัณฑกรรมมาขอขมาโทษ. บทว่า ยถาธมฺม
น ปฏิคฺคณฺหาติ ความว่า เมื่อเขากล่าวว่า ข้าพเจ้าจักไม่กระทำอย่างนี้
อีก ขอท่านโปรดยกโทษแก่ข้าพเจ้า ดังนี้ ก็ไม่ยอมรับการขอขมานี้ตาม
ธรรม คือตามสมควร คือไม่กล่าวว่า จำเดิมแต่นี้ ท่านอย่าได้ทำอย่างนี้
อีก เรายกโทษแก่ท่าน ดังนี้. ธรรมฝ่ายขาวพึงทราบโดยนัยตรงกันข้าม
กับที่กล่าวแล้ว.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑
ถ้าโดยปรมัตถธรรมแล้ว ต้องเป็นอกุศลธรรมที่ก่อความพาลให้เกิดขึ้นในขันธ์ ๕ นั้นครับซึ่งเราจะเห็นความวิจิตรของจิต และความแยบยลของอกุศลธรรมจริงๆ เมื่อขณะมานั้นมาถึง แล้วสติปัฏฐานเกิด ระลึกไปในความพาลของโทสมูลจิตตามความเป็นจริงครับ ขออนุโมทนาครับ
เชิญอ่านเพิ่มเติมได้ที่----การไม่คบคนพาล การคบบัณฑิต เป็นอุดมมงคล
สาธุ