[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 453 - 455
ชนเหล่าใด เกิดในมนุษยโลกแล้ว เมื่อ พระตถาคตทรงประกาศสัทธรรม ไม่เข้าถึงขณะ ชนเหล่านั้นเชื่อว่าล่วงขณะ ชนเป็นอันมาก กล่าว เวลาที่เสียไปว่า กระทำอันตรายแก่ตน พระตถาคตเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ในกาลบางครั้ง บางคราว การที่พระตถาคตเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นใน โลก ๑ การได้กำเนิดเป็นมนุษย์ ๑ การแสดง สัทธรรม ๑ ที่จะพร้อมกันเข้าได้ หาได้ยากใน โลก ชนผู้ใคร่ประโยชน์ จึงควรพยายามในกาล ดังกล่าวมานั้น ที่ตนพอจะรู้จะเข้าใจสัทธรรมได้ ขณะอย่าล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย เพราะ บุคคลที่ปล่อยเวลาให้ล่วงไปพากันยัดเยียดใน นรก ก็ย่อมเศร้าโศก หากเขาจะไม่สำเร็จอริยมรรค อันเป็นธรรมตรงต่อสัทธรรมในโลกนี้ได้ เขาผู้มีประโยชน์อันล่วงเสียแล้ว จักเดือดร้อน สิ้นกาลนาน เหมือนพ่อค้าผู้ปล่อยให้ประโยชน์ ล่วงไป เดือดร้อนอยู่ ฉะนั้น คนผู้ถูกอวิชชา หุ้มห่อไว้ พรากจากสัทธรรม จักเสวยแต่สงสาร คือ ชาติและมรณะสิ้นกาลนาน ส่วนชนเหล่าใด ได้อัตภาพเป็นมนุษย์แล้ว เมื่อพระตถาคตประกาศสัทธรรม ได้กระทำแล้ว จักกระทำ หรือ กระทำอยู่ ตามพระดำรัสของพระศาสดา ชน เหล่านั้นชื่อว่าได้ประสบขณะ คือ การประพฤติ พรหมจรรย์อันยอดเยี่ยมในโลก ชนเหล่าใด ดำเนินไปตามมรรคา ที่พระตถาคตเจ้าทรงประ กาศแล้ว สำรวมในศีลสังวรที่พระตถาคตเจ้า ผู้มีจักษุเป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ทรงแสดง แล้ว คุ้มครองอินทรีย์ มีสติทุกเมื่อ ไม่ชุ่มด้วย กิเลส ตัดอนุสัยทั้งปวงอันแล่นไปตามกระแส บ่วงมาร ชนเหล่านั้นแล บรรลุความสิ้นอาสวะ ถึงฝั่ง คือ นิพพานในโลกแล้ว.
จบ อักขณสูตรที่ ๙