ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
จิต มีมากมายหลายประเภท อกุศลจิต (จิต ซึ่งเกิดร่วมกับ "เหตุ" ที่ไม่ดีงาม) กุศลจิต (จิต ซึ่งเกิดร่วมกับ "เหตุ" ที่ดีงาม) วิบากจิต (จิต ซึ่งเป็น "ผล") กิริยาจิต (จิต ซึ่งไม่เป็นทั้ง"เหตุ" และ "ผล") จิต (ประเภท) ต่างๆ เหล่านี้ เกิดขึ้นในวันหนึ่งๆ แต่ว่า เราไม่ค่อยรู้ เรื่องจิตเหล่านี้เลยโดยมาก เราไม่รู้ว่า จิต เป็นอกุศล หรือ กุศล หรือ วิบาก หรือ กิริยา
ถ้าเราพิจารณา "สภาพของจิต" ก็จะเข้าใจตัวเอง และ ผู้อื่น มากขึ้นเราจะเมตตา-กรุณาต่อผู้อื่นมากขึ้น แม้ว่าผู้นั้นจะประพฤติไม่สมควร เราไม่ชอบ "อกุศลจิตของผู้อื่น" เราไม่พอใจ เมื่อผู้อื่นตระหนี่ หรือกล่าววาจาหยาบคาย ฯ แต่เรารู้บ้างไหม ว่า เรามีอกุศลจิต ขณะไหนบ้าง ขณะที่เราไม่พอใจ วาจาหยาบคายของผู้อื่นขณะนั้น เราเอง กำลังมีอกุศลจิต ซึ่งประกอบด้วย "โทสะ" แทนที่จะสนใจใน "อกุศลจิต-ของผู้อื่น" เราควร ระลึก-รู้ "อกุศลจิต-ของเราเอง"
ผู้ที่ไม่ได้ศึกษา "พระอภิธรรม" ซึ่งอธิบาย "สภาพธรรม" ไว้อย่างละเอียดอาจจะ "ไม่รู้" ว่า อะไร เป็น อกุศล อาจจะเข้าใจ (ผิด) ว่า อกุศล เป็น กุศลฉะนั้น จึง "สะสม-อกุศล" โดยไม่รู้ ถ้าเราศึกษา และ เข้าใจ จิตประเภทต่างๆ มากขึ้นเราก็จะ "รู้ด้วยตนเอง" ว่า จิตประเภทใด เกิดบ่อยและ เราก็จะ "รู้จักตัวเอง" ดีขึ้น เราควรรู้ "ความแตกต่าง" ระหว่าง "กุศลธรรม" และ "อกุศลธรรม"
ในอัฏฐสาลินี จิตตุปปาทกัณฑ์อธิบาย คำว่า "กุศล" ว่า กุศล มีความหมายหลายอย่างคือชื่อว่า "กุศล" เพราะอรรถ ว่า "ไม่มีโรค" "ไม่มีโทษ" "เกิดแต่ความฉลาด" "มีวิบากที่น่าปรารถนา-เป็นสุข" ขณะให้ทาน รักษาศีล และ เจริญภาวนาขณะนั้นๆ จิต เป็น กุศล
กุศลต่างๆ เช่น การอนุโมทนา กุศลกรรมของผู้อื่นการสงเคราะห์ เกื้อกูล ผู้อื่นความสุภาพ อ่อนโยน ความอ่อนน้อม การรักษาศีล การศึกษาพระธรรม การแสดงพระธรรม การเจริญสมถะ และ การเจริญวิปัสสนารวมอยู่ใน ทาน ศีล ภาวนา
กุศล มีวิบากที่น่าปรารถนา กุศลกรรม ทุกอย่าง ย่อมนำมาซึ่ง วิบากที่น่าปรารถนา
ในอัฏฐสาลินี จิตตุปปาทกัณฑ์ มีข้อความ อธิบายเรื่อง "อกุศลธรรม" ว่า "อกุศล" หมายถึง "ไม่ใช่กุศล" เช่นเดียวกับ "ศัตรู" ไม่ใช่ "มิตร" หรือ "สภาพที่ไม่ติดข้อง" ตรงข้ามกับ "โลภะ" เป็นต้น ฉันใด "อกุศล" ก็ตรงข้ามกับ "กุศล" ฉันนั้น ฯ
อกุศลกรรม ย่อมให้ผล-เป็นทุกข์ ไม่มีใครปรารถนา ผล-ที่เป็นทุกข์ แต่คนส่วนมากก็ไม่รู้เรื่อง "อกุศลกรรม" อันเป็น "เหตุ" ให้เกิด "ผล" ที่เป็นทุกข์ เพราะ "ไม่รู้" ว่า จิตขณะไหน เป็น อกุศล และ ขณะที่ทำอกุศลกรรม ก็ย่อม "ไม่รู้" อีกเหมือนกัน
หนังสือ "พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน" [Abhidhamma in Daily Life] โดย นีน่า วันกอร์คอม แปลโดย อ. ดวงเดือน บารมีธรรม จัดพิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดย มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
เปิดอ่านหรือดาวน์โหลดหนังสือ...
พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน
ความไม่รู้มีโทษมากจริงๆ ครับ
ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
เราควรระลึกรู้อกุศลจิตของเราเอง
สาธุค่ะ
แทนที่จะสนใจใน "อกุศลจิต-ของผู้อื่น" เราควร ระลึก-รู้ "อกุศลจิต-ของเราเอง"
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอขอบคุณและขออนุโมทนาคะ
ขออนุโมทนาครับ