[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 67
เถราปทาน
สุภูติวรรคที่ ๓
สุภูติเถราปทานที่ ๑ (๒๑)
ว่าด้วยผลแห่งการเจริญพุทธานุสสติ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 67
สุภูติวรรคที่ ๓
สุภูติเถราปทานที่ ๑ (๒๑)
ว่าด้วยผลแห่งการเจริญพุทธานุสสติ
[๒๓] ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ มีภูเขาชื่อนิสภะ เราได้สร้าง อาศรมไว้ที่ภูเขานิสภะนั้นอย่างสวยงาม สร้างบรรณศาลาไว้.
ในกาลนั้น เราเป็นชฎิลมีนามชื่อว่าโกสิยะ มีเดชรุ่งเรือง ผู้เดียว ไม่มีเพื่อน อยู่ที่ภูเขานิสภะ.
เวลานั้น เราไม่บริโภคผลไม้ เหง้ามันและใบไม้ ใน กาลนั้น เราอาศัยใบไม้เป็นต้นที่เกิดเองและหล่นเองเลี้ยงชีวิต
เราย่อมไม่ยังอาชีพให้กำเริบ แม้จะสละชีวิต ย่อมยังจิต ของตนให้ยินดี เว้นอเนสนา.
จิตสัมปยุตด้วยราคะเกิดขึ้นแก่เราเมื่อใด เมื่อนั้นเราบอก ตนเองว่า เราผู้เดียวทรมานจิตนั้น.
ท่านกำหนัดในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ขัดเคือง ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง และหลงใหลในอารมณ์ เป็นที่ตั้งแห่งความหลงใหล จงออกไปเสียจากป่า.
ที่อยู่นี้เป็นของท่านผู้บริสุทธิ์ ไม่มีมลทิน มีตบะ ท่านอย่า ประทุษร้ายผู้บริสุทธิ์เลย จงออกไปเสียจากป่าเถิด.
ท่านจักเป็นเจ้าเรือน ได้สิ่งที่ควรได้เมื่อใด ท่านอย่ายินดี แม้ทั้งสองอย่างนั้นเลย จงออกไปจากป่าเถิด.
เปรียบเหมือนฟืนเผาศพ ไม่ใช่ทำกิจอะไรที่ไหนๆ ไม้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 68
นั้นเขาไม่ได้สมมติว่า เป็นไม้ในบ้านหรือป่าหรือในป่า ฉันใด ท่านก็ เปรียบเหมือนฟืนเผาศพ ฉันนั้น ไม่ใช่คฤหัสถ์ สมณะก็ไม่ใช่ วันนี้ท่านพ้นจากเพศทั้งสอง จงออกจากป่าไปเสียเถิด.
ข้อนี้พึงมีแก่ท่านหรือหนอ ใครจะรู้ข้อนี้ของท่าน ใครจะ นำธุระของเราไปโดยเร็ว เพราะท่านมากด้วยความเกียจ คร้าน.
วิญญูชนจักเกลียดท่าน เหมือนชาวเมืองเกลียดของไม่ สะอาดฉะนั้น ฤๅษีทั้งหลาย จักคร่าท่านมาโจทท้วงทุกเมื่อ. วิญญูชนจักประกาศท่านว่ามีศาสนาอันท่านก้าวล่วงแล้ว ก็ เมื่อ ไม่ได้สังวาส ท่านจักเป็นอยู่อย่างไร.
ช้างมีกำลัง เข้าไปหาช้างกุญชรสกุลช้างมาตังคะตกมัน ในที่ ๓ แห่ง มีอายุ ๖๐ ถอยกำลังแล้วนำออกจากโขลง มัน ถูกขับจากโขลงแล้ว ย่อมไม่ได้ความสุขสำราญ มันเป็นสัตว์ มีทุกข์เศร้าใจ เขาหวั่นไหวอยู่ ฉันใด.
ชฎิลทั้งหลายจักนำ (ขับ) แม้ท่านผู้มีปัญญาทรามออก ท่านถูกชฎิลเหล่านั้นขับไล่แล้ว จักไม่ได้ความสุขสำราญ ฉันนั้น. ท่านเพียบพร้อมแล้วด้วยลูกศร คือความโศก ทั้งกลางวันและกลางคืน จักถูกความเร่าร้อนแผดเผาเหมือนช้างถูก ขับจากโขลงฉะนั้น.
หม้อน้ำทองย่อมไม่ไปในที่ไหนๆ ฉันใด ท่านมีศีลอัน เสื่อมแล้ว ฉันนั้น จักไม่ไปในที่ไหนๆ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 69
แม้ท่านอยู่ครองเรือน ก็จักเป็นอยู่อย่างไร ทรัพย์อัน เป็นของมารดาและแม้ของบิดาที่ฝังไว้ของท่าน ไม่มี.
ท่านจักต้องทำการงานของตน จะต้องอาบเหงื่อต่างน้ำ จัก เป็นอยู่ในเรือนอย่างนี้ กรรมที่ดีนั้นท่านไม่ชอบ.
เราห้ามใจอันหมักหมมด้วยสังกิเลสอย่างนี้ ในที่นั้น เรา ได้ธรรมกถาต่างๆ ห้ามจิตจากบาปธรรม.
เมื่อเรามีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาทอย่างนี้ เวลา ๓ หมื่นปีล่วงเราไปในป่าใหญ่.
พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงเห็นเราผู้ไม่ ประมาท ผู้แสวงหาประโยชน์น่าอันอุดม จึงเสด็จมายังสำนัก ของเรา.
พระพุทธเจ้ามีพระรัศมีดังสีทองชมพูนุท หาประมาณมิได้ ไม่มีใครเปรียบ ไม่มีใครเสมอด้วยพระรูป เสด็จจงกรมอยู่ ในอากาศในเวลานั้น.
พระพุทธเจ้าไม่มี ใครเสมอด้วยพระญาณ เหมือนพญารัง มีดอกบานสะพรั่ง เหมือนสายฟ้าในระหว่างกลีบเมฆ พระองค์เสด็จจงกรนอยู่ในอากาศในเวลานั้น.
ดังราชสีห์ผู้ไม่กลัว ดุจพญาช้างร่าเริง เหมือนพญาเสือโคร่งผู้ไม่ครั่นคร้าม เสด็จจงกรมอยู่ในอากาศเวลานั้น.
พระพุทธเจ้ามีพระรัศมีดังแต่งทองสิงคี เปรียบด้วยถ่าน เพลิงไม้ตะเคียน มีพระรัศมีโชติช่วงดังดวงแก้วมณี เสด็จ จงกรมอยู่ในอากาศในกาลนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 70
พระพุทธเจ้ามีพระรัศมีเปรียบดังเขาไกรลาสอัน บริสุทธิ์ เสด็จจงกรมอยู่ในอากาศในเวลานั้น ดังพระจันทร์ในวันเพ็ญ ดุจพระอาทิตย์เวลาเที่ยง.
เราได้เห็นพระองค์เสด็จจงกรมอยู่ในอากาศ ในเวลานั้น จงคิดอย่างนี้ว่า สัตว์ผ้านี้เป็นเทวดาหรือว่าเป็นมนุษย์. นระเช่น นี้ เราไม่เคยได้ฟังหรือเห็นในแผ่นดิน บทมนต์จะมีอยู่บ้าง กระมัง ผู้นี้จักเป็นพระศาสดา.
ครั้นเราคิดอย่างนี้แล้ว ได้ยังจิตของตนให้เลื่อมใส เรา รวบรวมดอกไม้และของหอมต่างๆ ไว้ในเวลานั้น.
ได้ปูลาดอาสนะดอกไม้อันวิจิตรดีเป็นที่รื่นรมย์ใจ แล้ว ได้กล่าวคำนี้กะพระพุทธเจ้าผู้เลิศกว่านระผู้เป็นสารถีว่า
ข้าแต่พระวีรเจ้า อาสนะอันสมควรแก่พระองค์นี้ ข้าพระองค์จัดไว้ถวายแล้ว ขอได้โปรดทรงยังจิตของข้าพระองค์ ให้ร่าเริง ประทับนั่ง บนอาสนะดอกโกสุมเถิด. พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าไม่ทรงหวาด ดังพญาไกรสร ประทับนั่งบนอาสนะดอกโกสุมอันประเสริฐนั้น ๗ คืน ๗ วัน.
เราก็ได้ยินนมัสการพระองค์ตลอด ๗ คืน ๗ วัน พระศาสดายอดเยี่ยมในโลก เสด็จออกจากสมาธิแล้ว เมื่อทรง พยากรณ์กรรมของเรา ได้ตรัสพระดำรัสดังนี้ว่า ทำจงเจริญ พุทธานุสสติอันยอดเยี่ยมกว่าภาวนาทั้งหลาย.
ท่านเจริญพุทธานุสสตินี้แล้ว จักยังใจให้เต็มได้ จัก รื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด ๓ หมื่นกัป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 71
จักได้เป็นจอมเทวดาเสวยเทวรัชสมบัติอยู่ ๘๐ ครั้ง จัก ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิอยู่ในแว่นแคว้น ๑,๐๐๐ครั้ง. จักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณานับมิได้
จักได้เสวยสมบัตินั้นทั้งหมด นี้เป็นผลแห่ง (การเจริญ) พุทธานุสสติ.
เมื่อท่องเที่ยวอยู่ในภพใหญ่ จักได้โภคสมบัติเป็นอันมาก จะไม่มีความบกพร่องด้วยโภคะ นี้เป็นผลแห่ง (การเจริญ) พุทธานุสสติ.
ในแสนกัป พระศาสดาทรงพระนามว่า โคดม โดยพระโคตร จักยังมีสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จ อุบัติในโลก
ท่านจักทิ้งทรัพย์ ๘๐ โกฏิ ทาสและกรรมกรเป็นอันมาก จักบวชในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า โคดม. จักยังพระสัมพุทธเจ้าโคคมศากยบุตรผู้ประเสริฐให้ ทรงยินดี จักได้เป็นสาวกของพระศาสดา มีนามชื่อว่าสุภูติ.
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ประทับนั่ง ณ ท่ามกลาง ภิกษุสงฆ์แล้ว จักทรงตั้งท่านว่าเป็นผู้เลิศใน ๒ ตำแหน่ง. คือในคณะพระทักขิไณยบุคคล ๑ ในความเป็นผู้มีธรรมเครื่อง อยู่โดยไม่มีข้าศึก ๑.
พระสัมพุทธเจ้าผู้รุ่งเรือง ทรงเป็นนายกสูงสุด เป็น นักปราชญ์ ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว เสด็จเหาะขึ้นสู่อากาศ ดัง พญาหงส์ในอัมพร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 72
เราอันพระโลกนาถทรงพร่ำสอนแล้ว นมัสการพระตถาคต มีจิตเบิกบาน เจริญพุทธานุสสติอันอุดมทุกเมื่อ.
ด้วยกุศลกรรมที่เราทำได้แล้วนั้น และด้วยการตั้งเจตนาไว้ เราละกายมนุษย์แล้ว ได้ไปสู่ภพดาวดึงส์ได้เป็นจอมเทวดา เสวยทิพยสมบัติ ๘๐ ครั้ง และได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑,๐๐๐ ครั้ง.
ได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณานับมิได้ ได้เสวยสมบัติเป็นดี นี้เป็นผลแห่ง (การเจริญ) พุทธานุสสติ.
เมื่อท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ เราย่อมได้โภคสมบัติมา เราไม่มีความบกพร่องโภคะเลย นี้เป็นผลแห่ง (การเจริญ) พุทธานุสสติ.
ในแสนกัป แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมอันใดไว้ในกาลนั้น ด้วยผลแห่งกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นิเป็นผลแห่ง (การเจริญ) พุทธานุสสติ.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนั้นแล.
ทราบว่า ท่านพระสุภูติเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.
จบสุภูติเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 73
สุภูติวรรคที่ ๓
๒๑. อรรถกถาสุภูติเถราปทาน
อปทานของท่านพระสุภูติเถระ มีคำเริ่มต้นว่า หิมวนฺตสฺสาวิทูเร ดังนี้.
ท่านสุภูติเถระแม้นี้ บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าพระองค์ ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลาย้อนเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้นๆ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้เป็นนาถะของโลก ยังไม่ เสด็จอุบัติขึ้น ในที่สุดแห่งแสนกัปแต่ภัตทกัปนี้ ท่านเกิดเป็นบุตรน้อยคน หนึ่งของพราหมณ์มหาศาลคนหนึ่ง ในหังสวดีนคร. พราหมณ์ได้ตั้งชื่อท่าน ว่า นันทมาณพ. นันทมาณพนั้นเจริญวัยแล้ว เรียนไตรเพท เมื่อไม่เห็น สิ่งที่เป็นสาระในไทรเพทนั้น จึงบวชเป็นฤาษีอยู่ที่เชิงเขาพร้อมด้วยมาณพ ๔๔,๐๐๐ ผู้เป็นบริวารของคน ยังสมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ให้เกิดแล้ว. ทั้งได้บอกกรรมฐานให้แก่อันเตวาสิกทั้งหลายอีกด้วย. แม้อันเตวาสิก เหล่านั้นต่างก็ได้ฌาน โดยกาลไม่นานเลย.
ก็โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระเสด็จอุบัติ ขึ้นในโลก อาศัยหังสวดีนครประทับอยู่ วันหนึ่ง ในเวลาใกล้รุ่งทรงตรวจ ดูสัตว์โลก ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งพระอรหัต ของเหล่าชฎิลผู้เป็นอันเตวาสิก ของนันทดาบส และความปรารถนาตำแหน่งสาวก อันประกอบไปด้วย องค์สองของนันทดาบส จึงทรงกระทำการปฏิบัติพระสรีระแต่เช้าตรู่ ในเวลาเช้าทรงถือบาตรและจีวร ไม่ทรงชวนภิกษุไรๆ อื่น เป็นดุจสีหะ เสด็จไปเพียงพระองค์เดียว ขณะนั้นอันเตวาสิกของนันทดาบสไปหาผลาผล เมื่อนันทดาบสมองเห็นอยู่นั่นแล เสด็จลงจากอากาศ ประทับยืนอยู่ที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 74
พื้นดิน โดยทรงพระดำริว่า ขอนันทดาบสจงรู้ว่าเราเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้.
นันทดาบสเห็นพุทธานุภาพ และความบริบูรณ์แห่งพระลักษณะ พิจารณาดูมนต์สำหรับทำนายพระลักษณะ แล้วรู้ว่า ขึ้นชื่อว่า ผู้ประกอบ ด้วยลักษณะเหล่านั้น เมื่ออยู่ครองเรือน จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เมื่อออกบวชจะได้เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ผู้ตัดวัฏฏะโนโลกได้ขาด. บุรุษอาชาไนยผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย แล้วกระทำการ ต้อนรับ ไหว้โดยเบญจางคประดิษฐ์ แล้วปูอาสนะถวาย.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับนั่งบนอาสนะที่ปลายไว้แล้ว. ฝ่ายนันทดาบสเลือกอาสนะที่สมควรแก่ตน แล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง
สมัยนั้น ชฎิล ๔๔,๐๐๐ คนถือเอาผลาผลมีรสโอชาล้วนแต่ประณีต มายังสำนักของอาจารย์ มองดูอาสนะที่พระพุทธเจ้าและอาจารย์แล้ว พูด ว่า ข้าแต่อาจารย์ พวกข้าพเจ้าทั้งหลาย วิจารณ์กันว่า ในโลกนี้ ไม่มีใคร ใหญ่กว่าท่าน แต่ชะรอยบุรุษนี้จักใหญ่กว่าท่าน.
นันทดาบสกล่าวว่า พ่อคุณ พวกท่านพูดอะไร (อย่างนั้น) พวก ท่านประสงค์จะเปรียบเขาสิเนรุราชซึ่งสูง ๖๘๐,๐๐๐ โยชน์ กับเมล็ดพันธุ์ ผักกาด พวกท่านอยู่เอาเราไปเปรียบกับพระสัพพัญญูพุทธเจ้าเลย. ลำดับนั้น ดาบสเหล่านั้นคิดว่า ถ้าท่านผู้นี้จักเป็นคนต่ำต้อย อาจารย์ ของพวกเราคงไม่หาข้อเปรียบเทียบอย่างนี้ บุรุษอาชาไนยนี้ ใหญ่ ขนาดไหนหนอ ดังนี้แล้ว พากันหมอบลงแทบเท้า แล้วนมัสการด้วย
ลำดับนั้น อาจารย์กล่าวกะดาบสเหล่านั้นว่า พ่อทั้งหลาย ไทยธรรม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 75
อันสมควรแด่พระะพุทธเจ้าทั้งหลายของเราไม่มี และพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็เสด็จมาในเวลาภิกขาจาร เพราะฉะนั้น พวกเราจักถวายไทยธรรมตาม กำลัง พวกท่านจงนำเอาผลาผลอันประณีตบรรดามี ที่ท่านทั้งหลาย นำมาแล้ว มาเถิด ดังนี้แล้ว ให้นำผลาผลมา ล้างมือแล้วใส่ลงในบาตร ของพระตถาคตเจ้าด้วยตนเอง.
เพียงเมื่อพระศาสดาทรงรับผสาผลเท่านั้น เทวดาทั้งหลายก็ใส่ โอชะอันเป็นทิพย์ลงไป. ดาบสกรองน้ำถวายด้วยตนเองทีเดียว.
ลำดับนั้น เมื่อพระศาสดาเสวยเสร็จแล้ว ดาบสผู้เป็นอาจารย์จึง เรียกอันเตวาสิกทั้งหมดมา กล่าวสาราณีกถาในสำนักของพระศาสดา นั่ง แล้ว.
พระศาสดาทรงดำริว่า ขอภิกษุจงมา. ภิกษุทั้งหลายที่เป็นพระขีณาสพประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ รูป รู้พระดำริของพระศาสดาแล้ว พากัน มาถวายบังคมพระศาสดา แล้วยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง.
ลำดับนั้น นันทดาบสเรียกอันเตวาสิกทั้งหลายมาแล้ว กล่าวว่า พ่อทั้งหลาย แม้อาสนะที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายประทับนั่งก็ต่ำ. อีกทั้ง อาสนะของพระสมณะ ๑๐๐,๐๐๐ รูปก็ไม่มี วันนี้ท่านทั้งหลายควรกระทำ สักการะแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า และภิกษุสงฆ์ให้โอฬาร ท่านทั้งหลาย จงนำดอกไม้อันสมบูรณ์ด้วยสีและกลิ่นมาจากเชิงเขา. ดาบสทั้งหลายนำ ดอกไม้ที่สมบูรณ์ด้วยสีและกลิ่นมาโดยครู่เดียวเท่านั้น ปูอาสนะดอกไม้ ประมาณ ๑ โยชน์ ถวายพระพุทธเจ้าแล้ว. เพราะเหตุที่วิสัยของท่านผู้มี ฤทธิ์ เป็นอจินไตย. สำหรับพระอัครสาวก มีเนื้อที่ประมาณ ๓ คาวุต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 76
สำหรับภิกษุทั้งหลายที่เหลือ มีเนื้อที่ประมาณกึ่งโยชน์เป็นต้นเป็นประเภท สำหรับสั่งฆนวกะ ได้มีเนื้อที่ประมาณ ๑ อุสภะ.
เมื่อดาบสทั้งหลายปูอาสนะเสร็จแล้วอย่างนี้ นันทดาบสยืนประคอง อัญชลีอยู่เบื้องหน้าพระตถาคต แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อพระองค์จงเสด็จขึ้นสู่อาสนะดอกไม้นี้ ประทับนั่ง เพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง บนอาสนะดอกไม้แล้ว เมื่อพระศาสดาประทับแล้วอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย รู้อาการของพระศาสดาแล้ว จึงนั่งบนอาสนะที่ถึงแล้วแก่ตนๆ.
นันทดาบส ถือฉัตรดอกไม้ใหญ่ยืนกั้นไว้เหนือพระเศียรของพระตถาคตเจ้า. พระศาสดาทรงพระดำริว่า ขอสักการะนี้ของดาบสทั้งหลายจง มีผลมากแล้วเข้านิโรธสมาบัติ. แม้ภิกษุทั้งหลายรู้ว่าพระศาสดาเข้าสมาบัติ แล้วก็พากันเข้าสมาบัติ. เนื้อพระตถาคตเจ้าประทับนั่งเข้านิโรธสมาบัติ ตลอด ๗ วัน เมื่อถึงเวลาภิกขาจาร อันเตวาสิกทั้งหลาย ต่างบริโภคมูล ผลาผลในป่า ในเวลาที่เหลือ ก็ยืนประคองอัญชลีแด่พระพุทธเจ้า.
ส่วนนันทดาบสไม่ยอมไปภิกขาจาร กั้นฉัตรดอกไม้ ยิ่งเวลาให้ ล่วงไปด้วยปีติสุขอย่างเดียวตลอด ๗ วัน. พระศาสดาตรัสสั่งพระสาวก รูปหนึ่ง ผู้ประกอบด้วยองค์ ๒ คือองค์ของภิกษุผู้อยู่โดยไม่มีกิเลส และ องค์แห่งภิกษุผู้เป็นทักขิไณยบุคคลว่า เธอจะกระทำอนุโมทนาถึงอาสนะที่ สำเร็จด้วยดอกไม้ แก่หมู่ฤๅษี. ภิกษุรูปนั้น มีใจยินดีแล้วดุจทหารผู้ใหญ่ ได้รับพระราชทานลาภใหญ่ จากสำนักของพระเจ้าจักรพรรดิ (เลือก สรร) เฉพาะพุทธวจนะ คือพระไตรปิฎก มาทำอนุโมทนา ในที่สุดแห่ง เทศนาของภิกษุนั้น พระศาสดาทรงแสดงธรรมด้วยพระองค์เอง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 77
ในเวลาจบเทศนา ดาบส ๔๔,๐๐๐ ทั้งหมดบรรลุพระอรหัตแล้ว พระศาสดาทรงเหยียดพระหัตถ์ออก ตรัสว่า เธอทั้งหลาย จงเป็นภิกษุ มาเถิด. ผมและหนวดของดาบสเหล่านั้น อันตรธานไปในทันใดนั่นเอง. บริขาร ๘ สวมใส่อยู่แล้วในกายครบถ้วน ดาบสเหล่านั้นเป็นดุจพระเถระ ผู้มีพรรษา ๖๐ แวดล้อมพระศาสดาแล้ว. ส่วนนันทดาบสไม่ได้บรรลุ คุณพิเศษ เพราะมีจิตฟุ้งซ่าน. ได้ยินว่า นันทดาบสนั้นจำเดิมแต่เริ่มฟัง ธรรม ในสำนักของพระเถระผู้อยู่อย่างปราศาจากกิเลส ได้เกิดจิตตุปบาท ขึ้นว่า โอหนอ แม้เราพึงได้คุณอันสาวกนี้ได้แล้ว ในศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งผู้จักเสด็จอุบัติในอนาคตกาล.
ด้วยปริวิตกนั้น นันทดาบสจึงไม่สามารถทำการแทงตลอดมรรค และผลได้. แต่ท่านได้ถวายบังคมแด่พระตถาคตเจ้า ประคองอัญชลีแล้ว ยืนอยู่เฉพาะพระพักตร์ กราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุ ผู้กระทำอนุโมทนาถึงอาสนะที่ทำด้วยดอกไม้ ต่อหมู่ฤๅษีนี้ มีชื่ออย่างไร ในศาสนาของพระองค์. พระศาสดาตรัสตอบว่า ภิกษุนั้นชื่อว่าถึงแล้วซึ่ง ตำแหน่งเอตทัคคะ ในองค์แห่งภิกษุผู้อยู่อย่างไม่มีกิเลส และในองค์แห่ง ภิกษุผู้เป็นทักขิไณยบุคคล. ท่านได้ทำความปรารถนาไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ สักการะนี้ใดที่ข้าพระองค์ผู้เข้าไปทรงไว้ซึ่งฉัตรคือดอกไม้ ตลอด ๗ วัน กระทำแล้วด้วยอธิการนั้น ข้าพระองค์ไม่ปรารถนาสมบัติอื่น แต่ในอนาคตกาล ขอข้าพระองค์พึงเป็นสาวกผู้ประกอบด้วยองค์ ๒ ดุจ พระเถระนี้ ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งเถิด.
พระศาสดาทรงส่งอนาคตังสญาณไปตรวจดูอยู่ว่า ความปรารถนา ของดาบสนี้ จักสำเร็จหรือไม่หนอ ทรงตรวจดูอยู่ ทรงเห็นความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 78
ปรารถนาของดาบสจะสำเร็จโดยล่วงแสนกัปไปแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อน ดาบส ความปรารถนาของท่านจักไม่เป็นโมฆะ ในอนาคตกาลผ่านแสนกัปไปแล้ว. พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมจักเสด็จอุบัติขึ้น ความ ปรารถนาของท่านจักสำเร็จในสำนักของพระพุทธเจ้า พระนามว่าโคดม นั้น แล้วตรัสธรรมกถา ทรงแวดล้อมไปด้วยภิกษุสงฆ์แล้วแล่นไปสู่ อากาศ.
นันทดาบสได้ยืนประคองอัญชลีแล้วอุทิศเฉพาะพระศาสดา และ ภิกษุสงฆ์จนกระทั่งลับคลองจักษุ. ในเวลาต่อมา ท่านเข้าไปเฝ้าพระศาสดาฟังธรรมตามกาลเวลา. มีฌานไม่เสื่อมแล้วทีเดียว ทำกาละไป บังเกิดขึ้นพรหมโลก. และจุติจากพรหมโลกนั้นแล้วบวชอีก ๕๐๐ ชาติ ได้เป็นผู้มีการอยู่ป่าเป็นวัตร. แม้ในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสปะ ก็ได้บวชเป็นผู้มีการอยู่ป่าเป็นวัตร บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร ให้บริบูรณ์แล้ว. ได้ยินว่า ผู้ที่ไม่ได้บำเพ็ญวัตรนี้ ชื่อว่าจะ บรรลุถึงความเป็นพระมหาสาวกไม่ได้เลย ก็คตปัจจาคตวัตรพึงทราบโดย นัยที่ท่านกล่าวไว้ ในอรรถกถาที่มาแล้วทั้งหลายนั้นแล บังเกิดในภพ ดาวดึงส์เทวโลก.
ก็นันทดาบสนั้น เสวยทิพยสมบัติด้วยสามารถแห่งการเกิด สลับ กันไปในดาวดึงส์พิภพด้วยประการฉะนี้ จุติจากดาวดึงส์พิภพนั้นแล้ว เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ และเป็นเจ้าประเทศราชในมนุษย์โลก. นับได้ หลายร้อยครั้ง เสวยมนุษย์สมบัติอันโอฬาร ต่อมาในพระศาสนาของ พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย. เกิดเป็นน้องชายของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ในเรือนสุมนเศรษฐี ณ กรุงสาวัตถี ได้มีนามว่า สุภูติ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 79
สมัยนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้วใน โลก. ทรงประกาศธรรมจักร เสด็จไปยังกรุงราชคฤห์โดยลำดับ ทรง กระทำการอนุเคราะห์สัตว์โลก โดยการรับมอบพระวิหารเวฬุวันเป็นต้น ในกรุงราชคฤห์นั้น อาศัยกรุงราชคฤห์ประทับอยู่ในป่าสีตวัน. ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ถือเอาเครื่องมือของผู้หมั่นขยันในนครสาวัตถี สร้างเรือนของเศรษฐีชาวเมืองราชคฤห์ สดับข่าวการเสด็จอุบัติแห่งพระพุทธเจ้า จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา. ผู้เสด็จประทับอยู่ ณ ป่าสีตวัน ดำรง อยู่แล้วในโสดาปัตติผลโดยการเฝ้าครั้งแรกทีเดียว แล้วทูลขอให้พระศาสดาเสด็จมากรุงสาวัตถีอีก. ให้สร้างพระวิหาร โดยการบริจาคทรัพย์ ๑ แสน ไว้ในที่ห่างกันโยชน์หนึ่งๆ ในระยะทาง ๔๕ โยชน์ ถัดจาก กรุงสาวัตถีนั้น มีที่สวนของพระราชกุมารทรงพระนามว่าเชตะ ประมาณ ๘ กรีส โดยมาตราวัดหลวง ด้วยการเอาทรัพย์ปูลาดไปเป็นโกฏิๆ. ใน วันที่พระศาสดาทรงรับพระวิหาร สุภูติกุฎุมพีนี้ได้ไปพร้อมกับท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐีฟังเทศนา ได้มีศรัทธาบรรพชาแล้ว.
ท่านอุปสมบทแล้วทำมาติกา ๒ ให้คล่องแคล่ว ให้อาจารย์บอก กรรมฐาน บำเพ็ญสมณธรรมในป่า เจริญวิปัสสนา มีเมตตาฌานเป็น บาทบรรลุพระอรหันต์แล้ว. ก็เพราะเมื่อท่านแสดงธรรม ย่อมแสดงธรรม ไม่เจาะจง ตามท่านองที่พระศาสดาทรงแสดงแล้ว ฉะนั้น ท่านจึงได้นาน ว่าเป็นผู้เลิศแห่งภิกษุผู้อยู่โดยไม่มีข้าศึก. เมื่อเที่ยวบิณฑบาต ก็เข้าฌาน แผ่เมตตาไปทุกๆ บ้าน ออกจากฌานแล้วจึงรับภิกษา. ด้วยคิดว่า โดย วิธีนี้ทายกทั้งหลายจักมีผลมาก. เพราะฉะนั้น ท่านจึงชื่อว่าเป็นผู้เลิศแห่ง ทักขิไณยบุคคลทั้งหลาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 80
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งลันเลิศ อันประกอบด้วยองค์ ๒ ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระสุภูติเป็นผู้เลิศแห่ง ภิกษุสาวกของเรา ผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่มีกิเลส พระสุภูติเป็นผู้เลิศแห่ง ภิกษุสาวกของเราผู้เป็นทักขิไณยบุคคลดังนี้.
พระมหาเถระนี้ บรรลุพระอรหัตอันเป็นที่สุดของผลแห่งบารมีที่ตน ได้บำเพ็ญมา เป็นผู้ฉลาดเปรื่องปราชญ์ในโลก เที่ยวจาริกไปตามชนบท เพื่อบำเพ็ญประโยชน์แก่ชนหมู่มาก ถึงกรุงราชคฤห์แล้วโดยลำดับ ด้วย ประการฉะนี้.
พระเจ้าพิมพิสาร ทรงสดับการมาของพระเถระแล้ว เสด็จเข้าไป หา ทรงไหว้แล้วตรัสว่า ท่านผู้เจริญ นิมนต์ท่านอยู่ในที่นี้แหละ ข้าพเจ้า จะสร้างที่อยู่ถวายดังนี้แล้ว เสด็จหลีกไป. พระเถระเมื่อไม่ได้เสนาสนะก็ยัง กาลให้ผ่านไปในอัพโภกาส (กลางแจ้ง). ด้วยอานุภาพของพระเถระ ฝนไม่ตกเลย.
มนุษย์ทั้งหลาย ถูกภาวะฝนแล้งปิดกั้นคุกคาม จึงพากันไปทำการ ร้องทุกข์ ที่ประตูวังของพระราชา. พระราชาทรงใคร่ครวญว่า ด้วยเหตุ อะไรหนอแล ฝนจึงไม่ตก แล้วทรงพระดำริว่า ชะรอยพระเถระจะอยู่ กลางแจ้ง ฝนจึงไม่ตก แล้วรับสั่งให้สร้างกุฎีมุงด้วยใบไม้ถวายพระเถระ แล้วรับสั่งว่า ท่านผู้เจริญ นิมนต์ท่านอยู่ในบรรณกุฎีนี้แหละ ไหว้แล้ว เสด็จหลีกไป. พระเถระไปสู่กุฎีแล้วนั่งขัดสมาธิบนอาสนะที่ลาดด้วยหญ้า. ในครั้งนั้น ฝนหยาดเม็ดเล็กๆ ตกลงมาทีละน้อยๆ ไม่ยังสายธารให้ ชุ่มชื่นทั่วถึง.
ลำดับนั้น พระเถระประสงค์จะบำบัดภัยอันเกิดแต่ฝนแล้ง แก่ชาว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 81
โลก เมื่อจะประกาศความไม่มีอันตราย ที่เป็นวัตถุภายในและภายนอก ของตน จึงกล่าวคาถามีอาทิว่า ฉนฺนา เม กุฏิกา ดังนี้. ความแห่งคำ เป็นคาถามั่น ท่านกล่าวไว้แล้วเถรคาถานั่นแล.
ข้อว่า ก็เพราะเหตุไร พระมหาเถระเหล่านั้น จึงประกาศคุณของ ตน ความว่า พระอริยะทั้งหลายมักน้อยอย่างยิ่ง พิจารณาถึงโลกุตตรธรรมที่คนบรรลุแล้ว อันสงบประณีตอย่างยิ่ง ลึกซึ่งอย่างยิ่ง ที่ตนไม่ เคยบรรลุโดยกาลนานนี้ จึงประกาศคุณของตน เพื่อแสดงอุทานอันกำลัง ปีติช่วยกระตุ้นเตือนให้อาจหาญ และเพื่อแสดงภาวะที่พระศาสนาเป็นธรรม นำสัตว์ออกจากทุกข์. ด้วยอำนาจอัธยาศัยของเวไนยสัตว์ทั้งหลาย พระโลกนาถจึงทรงประกาศคุณของพระองค์ โดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตผู้ประกอบด้วยทศพลญาณ เป็นผู้แกล้วกล่าในเวสารัชชญาณดังนี้ ฉันใด แม้คาถาม ก็เป็นคาถาพยากรณ์พระอรหัตตผล ฉนนั้น.
ท่านได้บรรลุพระอรหัตตผล และได้รับตำแหน่งเอตทัคคะอย่างนี้ แล้ว ระลึกถึงบุพกรรมของตน แล้วเกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า หิมวนฺตสฺสวิทูเร ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หิมนฺตสฺส ความว่า ในที่ไม่ไกล คือ ในที่ใกล้เคียง ได้แก่ ณ เชิงแห่งหิมวันตบรรพต. อธิบายว่า เป็นที่สัญจร อันสมบูรณ์ด้วยคมนาคมแห่งเหล่ามนุษย์. บทว่า นิสโภ นาม ปพฺพโต เชื่อมความว่า ได้มีภูเขาอันล้วนแล้วด้วยหิน ว่าโดยชื่อ ชื่อว่า นิสภะ เพราะประเสริฐที่สุดกว่าภูเขาทั้งหลาย. บทว่า อสฺสโม สุกโต มยฺหํ ความว่า ได้สร้างที่อยู่ด้วยดีให้เป็นอาศรม เพื่อประโยชน์แก่การอยู่ของ เราที่ภูเขานั้น. อธิบายว่า สร้างโดยอาการอย่างดี ด้วยสามารถแห่งกุฎีที่พัก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 82
กลางคืน ที่พักกลางวัน มีรั้วล้อมรอบเป็นต้น. บทว่า ปณฺณสาลา สุมาปิตา ความว่า ศาลาที่มุงด้วยใบไม้ได้สร้างให้สำเร็จด้วยดี เพื่อเป็น ที่อาศัยของเรา.
บทว่า โกสิโย นาม นาเมน ความว่า โดยนามที่มารดาบิดา ตั้งให้ว่า โกสิยะ. มีเดชรุ่งเรือง คือมีเดชปรากฏ ได้ก็มีเดชกล้า. เราผู้เดียวเท่านั้น เพราะไม่มีผู้อื่นเป็นเพื่อนสอง. เชื่อมความว่า เราเป็น ชฎิลดาบสคือผู้ทรงไว้ซึ่งชฎา ไม่มีเพื่อนสอง คือเว้น จากดาบสคนที่ ๒ ในกาลนั้นเราอยู่ที่ภูเขา ชื่อว่า นิสภะ. บทว่า ผลํ มูลญฺจ ปณฺณญฺจ น ภุญฺชามิ อหํ ตทา ความว่า ในกาลนั้น คือในกาลที่เราอยู่ที่นิสภ- บรรพตนั้น เราไม่ได้บริโภคผลไม้ เหง้ามันและใบไม้ที่เก็บจากต้น. เมื่อ แสดงถึงข้อนั้นว่า เป็นเช่นนี้ จะเป็นอยู่ได้อย่างไร จึงกล่าวว่า ปวตฺตํ ว สุปาตาหํ ดังนี้. เชื่อมความว่า ในกาลนั้นเราอาศัยใบไม้เป็นต้น ที่หล่น เองในที่นั้นๆ คือที่ตกไปตามธรรมดาของตน เป็นอาหารเลี้ยงชีพ อีก อย่างหนึ่งบาลีว่า ปวตฺตปณฺฑุปณฺณานิ ดังนี้ก็มี. ความว่า เราอาศัยใบ ไม้เหลืองที่หล่นเองเลี้ยงชีพ.
บทว่า นาหํ โกเปมิ อาชีวํ ความว่า เราแม้เมื่อจะสละชีวิต คือ เมื่อทำการบริจาค ย่อมไม่ยังสัมมาอาชีวะให้กำเริบคือให้พินาศ ในการ แสวงหาอาหาร มีมูลผลาผลเป็นต้น ด้วยอำนาจตัณหา. บทว่า อาราเธมิ สกํ จิตฺตํ ความว่า ย่อมยังจิตคือใจของคนให้ยินดี คือให้เลื่อมใส ด้วย ความมักน้อยและสันโดษ. บทว่า วิวชฺเชมิ อเนสนํ ความว่า เราเว้นการ แสวงหาอันไม่สมควร ด้วยอำนาจกรรมมีเวชกรรม และทูตกรรมเป็นต้น ให้ห่างไกล. บทว่า ราคูปสํหิตํ จิตฺตํ ความว่า เมื่อใดคือในกาลใด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 83
จิตของเราสัมปยุตด้วยราคะย่อมเกิดขึ้น ในกาลนั้นเราพิจารณาตนด้วยตน เอง คือพิจารณาด้วยญาณแล้วบรรเทา. บทว่า เอกคฺโค ตํ ทเมมหํ ความว่า เราเป็นผู้มีอารมณ์ตั้งมั่น ในอารมณ์แห่งกรรมฐานอย่างหนึ่ง ย่อมฝึกคือกระทำการทรมานจิตที่ประกอบด้วยราคะ.
บทว่า รชฺชเส รชฺชนีเย จ ความว่า ท่านกำหนัด คือคิดอยู่ใน อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด คือในวัตถุมีรูปอารมณ์เป็นต้น. บทว่า ทุสฺสนีเย จ ทุสฺสเส ความว่า ท่านขัดเคือง ในอารมณ์อันเป็นที่ ขัดเคือง คือในวัตถุอันกระทำความประทุษร้าย. บทว่า มุยฺหเส โมหนีเย จ ความว่า ท่านเป็นผู้ลุ่มหลง ในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความหลง คือในวัตถุอันกระทำซึ่งความหลง. เชื่อมความว่า เพราะฉะนั้น เราย่อม ฝึกตนอย่างนี้ว่า ท่านจงออกไปคือหลีกไปจากป่า คือจากการอยู่ป่า.
บทว่า ติมฺพรูสกวณฺณาโภ ความว่า พระพุทธเจ้าผู้มีพระรัศมี เหมือนผลมะพลับมีสีดังทองคำ. อธิบายว่า มีสีเหมือนทองชมพูนุท. คำ ที่เหลือรู้ได้ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสุภูติเถราปทาน