อาจิณณกรรม [พหุลกรรม]
โดย วันชัย๒๕๐๔  28 ธ.ค. 2552
หัวข้อหมายเลข 14896

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - อธิบายพหุลกรรม (อาจิณณกรรม)

ส่วนในกุศลกรรมและอกุศลกรรมทั้งหลาย กรรมใดมาก กรรมนั้นชื่อว่าพหุลกรรม. พหุลกรรมนั้น พึงทราบด้วยอำนาจอาเสวนะที่ได้แล้ว ตลอดกาลนาน อีกอย่างหนึ่ง ในฝ่ายกุศลกรรม กรรมใดที่มีกำลังสร้างโสมนัสให้ในฝ่ายอกุศลกรรม สร้างความเดือดร้อนให้ กรรมนั้นชื่อว่า พหุลกรรม อุปมาเสมือนหนึ่งว่า เมื่อนักมวยปล้ำ ๒ คนขึ้นเวที คนใดมีกำลังมาก คนนั้นจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งล้ม (แพ้) ไป ฉันใด พหุลกรรมนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกันจะทับถมกรรมพวกนี้ที่มีกำลังน้อย (ชนะ) ไป. กรรมใดมากโดยการเสพจนคุ้นหรือมีกำลังโดยอำนาจทำให้เดือดร้อนมาก กรรมนั้นจะให้ผล เหมือนกรรมของพระเจ้าทุฏฐคามณีอภัย ฉะนั้น.

บทว่า อาจิณฺณํ ได้แก่กรรมที่ทำเนืองๆ หรือแม้ทำคราวเดียวแต่ส้องเสพเสมอเนืองนิตย์ ฯ



ความคิดเห็น 1    โดย ผ้าเช็ดธุลี  วันที่ 7 ก.ย. 2554

* * * --------------------------- * * *

ขอบพระคุณมากครับ

และ

อนุโมทนากับสิ่งดีดีที่เอื้อเฟื้อครับ

* * * --------------------------------------- * * *