ความสันโดษ...ตอนที่ ๓
โดย พุทธรักษา  8 ก.ค. 2552
หัวข้อหมายเลข 12844

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สนทนาธรรม เรื่อง การปฏิบัติธรรมณ ห้องประชุมใหญ่ มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ที่ ๒๑ มิถุนายน พศ. ๒๕๕๒ ถอดเทปโดย คุณย่าสงวน สุจริตกุล

ท่านวิทยากร "ทรัพย์" นำมา ซึ่ง ความปลื้มใจ แต่ "สันโดษ" นั้น ยิ่ง กว่า "ทรัพย์"

ท่านอาจารย์ แต่ว่า "สันโดษ" คือ "ความพอใจ" ใน ทรัพย์สมบัติ ที่มี หมายความว่า ไม่ว่าจะมี ทรัพย์สมบัติ มากเท่าไร ก็ตามหรือ จะมี ทรัพย์สมบัติ เพิ่มขึ้นอีก มากเท่าไร ก็ตาม ตามความเป็นจริง แล้ว "ทรัพย์" ที่จะมีมาได้ นั้นมา จาก ไหน ถ้าไม่ใช่ เป็น "ผลของกุศลธรรม" ที่ ได้กระทำแล้ว "สภาพธรรม" ที่น่ายินดี พอใจ ทั้งหลาย นั้น ต้องเป็น "ผลของกุศลกรรม" ที่ได้ กระทำแล้ว ทั้งสิ้น ส่วน "สภาพธรรม" ที่ไม่น่ายินดี พอใจ ทั้งหลายก็ต้องเป็น "ผลของอกุศลกรรม" ที่ ได้กระทำแล้ว ทั้งสิ้น ขณะนี้มี "ทรัพย์" เท่านี้แต่ ต่อไป จะมีเท่าไรใคร จะ รู้ เพราะฉะนั้น เมื่อ มี "ทรัพย์" เท่าไร ก็ตามแต่ก็ "ยินดีพอใจ" ใน "ทรัพย์" เท่าที่มี ไม่ใช่ ต้องการ เกินกว่า ที่มี แล้วก็ เบียดเบียน บุคคลอื่น หรือ ว่ามีการกระทำ "ทุจริตกรรม" ต่างๆ
เพราะฉะนั้น การที่จะ "ไม่มีโลภะ" อีกเลยคือ พระอรหันต์ พระผู้มีพระภาคทรงเห็น "โทษ" ของ "โลภะ" คือ ความติดข้อง ความยินดีพอใจ และพระองค์ทรง รู้ ว่า ทุกคน ยังต้องมี "โลภะ" แม้แต่ พระโสดาบันก็ยังมี "โลภะ" และ พระสกทาคามี พระอนาคามีก็ยังมี "โลภะ" เพราะว่ายังไม่หมด "โลภะ" ยังไม่หมด "อวิชชา" และ "ที่สุด" ของการแสดงพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาค ก็ คือเพื่อถึง "ความไม่มีโลภะ" ซึ่ง เป็นสุข อย่างยิ่ง แต่ พระองค์ ทรง รู้ ว่าทุกคน จะถึง "ความไม่มีโลภะ" โดย เริ่มจาก "การที่จะไม่ให้มีโลภะ" เลยนั้นเป็นไปไม่ได้
เพราะเหตุว่าทุกคนล้วนแต่ได้สะสม "โลภะ" มามากมายในสังสารวัฎฎ์ เพราะฉะนั้น "การละโลภะ" จึงต้อง ค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไปตามกำลัง ความสามารถ ตามการสะสม ของแต่ละบุคคล โดย "ขั้นแรก" ก็ คือ "มีความสันโดษ" .. "มีความพอเพียงในสิ่งที่มี" .. "มีความยินดีในสิ่งที่มี" เท่า ที่ มี
แต่ ไม่ได้หมายความ ว่า งอมือ งอเท้า เป็น บุคคล ที่ไม่ทำอะไรเลย เป็น บุคคล ที่ชาวโลก เรียกว่า "คนเกียจคร้าน" เช่น ไม่ขวนขวาย ในทางที่ "เจริญ" ทุกประการ หรือ ไม่ทำ "ประโยชน์" ทั้ง ต่อบุคคลอื่น และ ต่อตนเอง เพราะฉะนั้น เมื่อ บุคคลใดมี กำลัง ความสามารถ แค่ไหน ก็กระทำ ในสิ่งที่นำมาซึ่ง "ความเจริญ" ไม่ว่าจะเป็น ทางโลก หรือ ทางธรรม ซึ่งก็ แล้วแต่ "ความพอใจ" เท่าที่มี โดย "ไม่หวัง" จนเกินกำลัง ความสามารถ ของตนเอง เช่น "หวัง" ว่าจะถึง ความเป็นพระอรหันต์ ในชาตินี้ เป็นต้น เพราะว่า เป็นไปไม่ได้ ฉันใด ในทางโลก ก็ เช่นเดียวกัน
... ขออนุโมทนา ...



ขอขอบพระคุณ ท่าน ผู้เอื้อเฟื้อรูปภาพ ค่ะ



ความคิดเห็น 1    โดย จักรกฤษณ์  วันที่ 13 ก.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 2    โดย noynoi  วันที่ 16 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 3    โดย chatchai.k  วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ