การทำบุญนี้ ทำไปอย่างไม่มีสิ้นสุด หรือ มีที่สุดคับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
บุญ เป็นสภาพธรรมที่ชำระจิตให้สะอาด (เพราะโดยปกติแล้วจิตสกปรกด้วยอำนาจของอกุศลธรรม) จากที่เป็นอกุศล ก็ค่อยๆ เป็นกุศลขึ้นในชีวิตประจำวัน ซึ่งก็ไม่พ้นไปจากขณะที่จิตเป็นกุศล เป็นไปในทาน เป็นไปในศีล เป็นไปในการอบรมเจริญความสงบของจิต และเป็นไปในการอบรมเจริญปัญญา โดยที่ไม่มีตัวตนที่จะไปทำบุญ เพราะบุญอยู่ที่สภาพจิต จิตเป็นกุศลเป็นบุญ (ซึ่งก็สามารถกล่าวโดยโวหารของชาวโลกได้ว่า ผู้นั้น ผู้นี้กระทำบุญ) ในทางตรงกันข้าม ถ้าจิตเป็นอกุศล ก็ไม่ใช่บุญ
บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ หมายถึง ที่ตั้งแห่งการกระทำความดี ๑๐ อย่าง หมายถึง กุศลจิตที่มีกำลังจนทำให้มีการกระทำออกมาทางกาย วาจาหรือทางใจ ได้แก่
๑. ทานมัย บุญสำเร็จจากการให้วัตถุเพื่อสงเคราะห์หรือบูชาแก่ผู้อื่น
๒. ศีลมัย บุญสำเร็จจากการงดเว้นจากทุจริต หรือประพฤติสุจริต ทางกาย วาจา
๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จจากการอบรมจิตให้สงบจากกิเลส (สมถภาวนา) และการอบรมปัญญาเพื่อละกิเลสทั้งปวง (วิปัสสนาภาวนา)
๔. อปจายนมัย บุญสำเร็จจากการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตน
๕. เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จจากการขวนขวายบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น
๖. ปัตติทานมัย บุญสำเร็จจากการให้ส่วนบุญที่ได้บำเพ็ญมาแล้ว
๗. ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จจากการยินดีในกุศลที่ผู้อื่นได้กระทำแล้ว
๘. ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จจากการฟังพระสัทธรรม
๙. ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จจากการแสดงพระสัทธรรม
๑๐. ทิฏฐุชุกรรม การกระทำความเห็นให้ตรงถูกต้องตามความเป็นจริง
ซึ่ง จากคำถามที่ว่า การทำบุญนี้ ทำไปอย่างไม่มีสิ้นสุด หรือ มีที่สุดคับ ก็ต้องเข้าใจก่อนกับคำว่า มีที่สิ้นสุด กับ ไม่มีที่สิ้นสุด ว่า คืออย่างไร ครับ
ซึ่งในความเป็นจริง สิ่งที่มีจริงที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง คือ สภาพธรรมเท่านั้นที่เป็นเพียงนามธรรม และ รูปธรรม คือ จิต เจตสิก และ รูป เพราะฉะนั้น สิ่งที่เกิดขึ้น เป็นไป คือ จิต และ เจตสิก และ รูป แต่สมมติว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เ็ป็นเรา แต่ แท้ที่จริงก็เป็นแต่เพียงธรรม ที่เป็น จิต เจตสิก ทีเ่กิดดับสืบต่อ เพราะฉะนั้น การที่ยังมีการเกิด ที่สมมติว่าเป็นคนที่เกิด ซึ่งเป็นเพียง จิตเจตสิก รูปที่เกิด แกิดขึ้นเป็นบุคคลใหม่ เป็นจิตดวงให่เกิดขึ้นต่อไป ไม่มีที่สิ้นสุด เพราะ ยังมีกิเลส เพราะ อาศัยกิเลส จึงทำให้มีการเกิด ตาย ไม่มีที่สิ้นสุด ที่สมมติว่าเป็นสัตว์เกิด ตาย แต่เป้น จิต เจตสิก ที่เกิดดับสืบต่อกันไม่ขาดสาย จึงเรียกว่า สังสารวัฏฏ์ ที่ไม่มีท่สิ้นสุดนั่นเอง อันมีเหตุ จาก อวิชชา ความไม่รู้ ครับ
เพราะฉะนั้น ไม่มีที่สิ้นสุด จึงเป็น จิต เจตสิกทีเ่กิดขึ้น เกิดดับ สืบต่อกันไป ไม่มีที่สิ้นสุด อันมีเหตุจากการมีกิเลส มีอวิชชา นี่คือ ความหมายที่แท้จริง ของคำว่า ไม่มีที่สิ้นสุด มีที่สุด ก็โดยนัยตรงกันข้าม คือ ไม่มีการเกิดขึ้นของสภาพธรรมที่เป็น จิต เจตสิกรูปอีกเลย จึงเรียกว่า สิ้นสังสารวัฏฏ์ เพราะ ละ เหตุให้เกิด จิต เจตสิก รูป คือ ละอวิชชา ความไม่รู้ และ กิเลสอื่นๆ จนหมดสิ้น ดั่งเช่น พระอรัหนต์ทั้งหลายที่ดับขันธปรินิพพาน ครับ
เพราะฉะนั้น การทำบุญ คือ การเกิดขึ้นของจิต เจตสิก ที่ดีงาม ก็มีการสิ้นสุดสำหรับผู้ที่อบรมปัญญา ศึกษาพระธรรม และ เจริญกุศลทุกประการ ในหนทางที่ถูกต้อง แต่ การทำบุญ ที่เกิดขึ้นได้บ้างของคนพาล ที่ไม่มีปัญญา ไมไ่ด้อบรมหนทางที่ถูกต้อง ก็เกิด กุศลขั้นทาน ศีล สมถภาวนา แต่ไมไ่ด้เจริญ วิปัสสนาภาวนาการทำกุศล บุญของผุ้ที่ไมไ่ด้อบรมปัญญาในพระพุทธศาสนา ย่อมไม่มีที่สิ้นสุด เพราะ ยังไงก็จะต้องเกิด ตาย อยู่ร่ำไป ไม่มีที่สิ้นสุด เพราะ กิเลส จะละได้ ไม่ใช่เพราะ กุศลขั้นทาน ศีล สมถภาวนา แต่ กิเลส ที่เป็นต้นเหตุของการเกิด จะละได้ก็ด้วยการเจริญวิปัสสนาภาวนา ทีเ่ป็น อริยมรรคมีองค์ 8 อันมีเฉพาะในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ครับ
ซึ่งขอยกพระธรรมตามที่พระุพุทธเจ้าทรงแสดง ดังนี้
[เล่มที่ 41] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ หน้าที่ 166
พระศาสดา ทรงเทียบเคียงถ้อยคำของคนแม้ทั้งสองแล้ว ตรัสว่า " ราตรีของคนบางคนย่อมเป็นเวลานาน, โยชน์ของคนบางคนเป็นของไกล, ส่วนสงสารของคนพาลย่อมเป็นสภาพยาว" เมื่อจะทรงแสดงธรรมจึงตรัส พระคาถานี้ว่า:-
"ราตรีของคนผู้ตื่นอยู่นาน, โยชน์ของคนล้าแล้วไกล สงสารของคนพาลทั้งหลาย ผู้ไม่รู้อยู่ซึ่งสัทธรรม ย่อมยาว"
ขออนุโมทนา ครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
บุญ กับ กุศล เป็นสภาพธรรมอย่างเดียวกัน ไม่พ้นไปจากกุศลจิตและเจตสิกธรรมที่เกิดร่วมด้วย ทำกิจหน้าที่ ขณะใดปราศจากโลภะ โทสะ โมหะ ขณะนั้นคือบุญ บุญ หรือ กุศล นำมาซึ่งความสุข ไม่ให้ผลที่เป็นทุกข์ใดๆ เลย เป็นสิ่งที่ควรเจริญ ไม่ควรประมาทว่านิดหน่อย เล็กน้อย หรือไม่ควรประมาทว่าได้กระทำเพียงพอแล้ว แต่ควรที่จะเจริญบ่อยๆ ทำบ่อยๆ เป็นปกติในชีวิตประจำวัน
บุคคลผู้ที่เห็นโทษของอกุศล และเห็นคุณประโยชน์ของบุญกุศล มีปัญญารู้ว่าบุญ เป็นที่พึ่ง นำสุขมาให้ ก็ย่อมจะอบรมเจริญกุศล พร้อมทั้งสะสมกุศลไปเรื่อยๆ ตามกำลัง ไม่ละเลย ไม่ทอดทิ้งฉันทะ (ความพอใจ) ในการเจริญกุศล ทั้งหมดทั้งปวงก็เพื่อขัดเกลากิเลสของตนเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ อกุศลจึงจะลดน้อยลง เบาบางลง เพราะเหตุว่าถ้าเป็นผู้ประมาท ไม่ได้เจริญกุศลอะไรๆ เลย อกุศลย่อมจะเบาบางไม่ได้เลย มีแต่จะเพิ่มมากยิ่งขึ้น ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ความดีทำไม่มีทางจบ นอกจากบรรลุเป็นพระอรหันต์ ที่มีแต่ กิริยาจิต และวิบากจิต ค่ะ
สาธุครับ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ