ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ข้อความบางตอนจาก เทปวิทยุแผ่นที่ ๑๔ ครั้งที่ ๘๐๙-๘๑๐ (๑๗.๔๕/๒๒.๐๕) บรรยายโดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
ผู้ที่ "อบรมเจริญปัญญา" จน "หมดความสงสัย" ใน "ลักษณะ" ของสภาพธรรม ที่ปรากฏ จริงๆ พูดง่าย ว่า "เห็น เป็น นามธรรม เป็นสภาพรู้ เป็นอาการรู้ ได้ยิน เป็น นามธรรม เป็นสภาพรู้ เป็นอาการรู้ คิดนึก เป็นนามธรรม เป็นสภาพรู้ เป็นอาการรู้"แต่ว่า รู้ "เรื่อง" หรือว่า รู้ "คำ"
ในขั้น "ปริยัติ" ไม่สงสัยเลย แต่ การพิสูจน์ ว่าเป็น "ปัญญา" จริงๆ แล้วหรือยัง นั้น (ก็คือ) มี "การเห็น"ใน "ขณะนี้" แล้วที่เคยกล่าว ว่า "เห็น เป็นสภาพรู้ เป็นอาการรู้ คือ รู้ สีสัน วัณณะ ที่ปรากฏทางตา" และ ใน "ขณะนี้" ก็มี การได้ยินเสียง (ขณะนี้) เป็น การพิสูจน์ "ปัญญา" ว่า เป็นการ "รู้" จริงๆ หรือเปล่าว่า "ขณะนี้" "ขณะ" ที่กำลัง "ได้ยิน" นี้ ที่ "กำลังได้ยิน" คือ "สภาพรู้เสียง" มี ปรากฏ "เสียง" มี ปรากฏ ได้ ก็เพราะว่ามี สภาพที่รู้ "เสียง" ใน "ขณะ" ที่ "เสียง" ปรากฏ เพราะฉะนั้น การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การกระทบสัมผัสและ การคิดนึกในชีวิตประจำวัน "ขณะหนึ่ง ขณะใด" "ทุกขณะ" นั้น เป็น สภาพธรรม ที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน
เพราะฉะนั้นผู้ที่จะดับกิเลส เป็น สมุจเฉท จะต้อง "ระลึก" คือ "สติ" เกิด (และ) "ศึกษา" คือ "ปัญญาพิจารณา"จนกระทั่ง เป็น "ความรู้" ใน "อรรถ" คือ (ความรู้) "ลักษณะของนามธรรม" โดยที่ไม่ต้องใช้ "ชื่อ" ว่า "นามธรรม" หรือ ใช้ "ชื่อ" บอกว่า "เห็น เป็น นามธรรม" (เป็นต้น) แต่ ต้อง "เข้าใจ" จริงๆ ว่า" สิ่งที่ปรากฏทางตา" ไม่ใช่ "นามธรรม" ส่วน "นามธรรมที่กำลังเห็น" เป็น สภาพรู้ ที่กำลังรู้ (สิ่งที่ปรากฏ) เป็น "สิ่งซึ่งเข้าใจได้"
แต่ว่า "ปัญญาขั้นศึกษา" ยังไม่ใช่ "ปัญญาขั้นประจักษ์แจ้ง" ยังไม่ใช่ "ปัญญาขั้นแทงตลอด" ใน สภาพธรรม ที่ปรากฏ จริงๆ ว่า ใน "ขณะที่เห็น" ไม่มี "การได้ยิน" เลย หรือว่า ใน "ขณะที่ได้ยิน"ไม่มี "การเห็น" เลย และ ใน "ขณะที่คิดนึก" ก็ไม่มี ทั้ง "การเห็น" หรือ "การได้ยิน" ใดๆ ทั้งสิ้น เพราะว่า "ขณะนั้น" (คือ ขณะที่คิดนึก) เป็น "ชั่วขณะ" ที่เกิดขึ้นแล้ว "รู้เรื่อง" "รู้คำ ทีละคำ"เท่านั้นเอง
การอบรม (เจริญ) "ปัญญา" เป็นการอบรมที่สามารถจะ "รู้ลักษณะ" ของสภาพธรรม "ที่กำลังปรากฏ" ตามปกติ ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้นปกติ เป็นอย่างไร"ปัญญา" ก็ "รู้ความจริง" ของสภาพธรรมตามปกติ อย่างนั้น ไม่ใช่ไปฝืน ไม่ใช่ไปกั้น ไม่ใช่ไปห้าม ไม่ใช่ไปทำ เพราะเหตุว่า ไม่มี ผู้ใด สามารถที่จะไปทำอะไรได้เลย
นอกจาก "มรรค" มี องค์ ๘ โดยปกติแล้ว ก็คือ "มรรค" มี องค์ ๕ ได้แก่ สัมมาสติ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ และ สัมมาสมาธิ
๑. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ ปัญญาเจตสิก
๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ วิตกเจตสิก
๓. สัมมาวาจา วาจาชอบ คือ สัมมาวาจาเจตสิก
๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ คือ สัมมากัมมันตเจตสิก
๕. สัมมาอาชีวะ อาชีวะชอบ คือ สัมมาอาชีวเจตสิก
๖. สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ วิริยเจตสิก
๗. สัมมาสติ สติชอบ คือ สติเจตสิก
๘. สัมมาสมาธิ สมาธิชอบ คือ เอกัคคตาเจตสิก
"มรรค" มี องค์ ๕ ได้แก่ สัมมาสติ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ และ สัมมาสมาธิ เกิดขึ้น กระทำกิจ คือ อบรม เจริญ จนกระทั่ง สามารถที่จะ เพิ่ม"ความรู้" คือ (ความรู้) "ลักษณะ" ของสภาพธรรม (มาก) ขึ้น
ขออนุโมทนา
สาธุ
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาค่ะ
เพราะฉะนั้น ปกติ เป็นอย่างไร "ปัญญา" ก็ "รู้ความจริง" ของสภาพธรรมตามปกติ อย่างนั้น ไม่ใช่ไปฝืน ไม่ใช่ไปกั้น ไม่ใช่ไปห้าม ไม่ใช่ไปทำ
ขออนุโมทนา
ขออนุโมทนาครับ