นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
... สนทนาธรรมที่ ...
มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)
พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ วันเสาร์ที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. คือ
นิธิกัณฑ์ในขุททกปาฐะ
จาก ...
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๓๐๒
... นำสนทนาโดย ...
ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และคณะวิทยากร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๓๐๒
นิธิกัณฑ์ในขุททกปาฐะ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสอนคฤหบดีอุบาสก ทรงตรัสพระคาถาว่า
[๙] บุรุษย่อมฝังขุมทรัพย์ไว้ในน้ำลึก ด้วยคิดว่าเมื่อกิจที่จำเป็นเกิดขึ้น ทรัพย์นี้จักเป็นประโยชน์แก่เรา เพื่อเปลื้องตนจากราชภัยบ้าง เพื่อช่วยตน ให้พ้นจากโจรภัยบ้าง เพื่อเปลื้องหนี้บ้าง ในคราวทุพภิกขภัยบ้าง ในคราวคับขันบ้าง ขุมทรัพย์ที่เขาฝังไว้ในโลก ก็เพื่อประโยชน์นี้แล. ขุมทรัพย์นั้น ย่อมหาสำเร็จประโยชน์แก่เขาทั้งหมด ในกาลทุกเมื่อ ที่เดียวไม่ เพราะขุมทรัพย์เคลื่อนจากที่ไปเสียบ้าง ความจำของเขาคลาด เคลื่อนเสียบ้าง นาคทั้งหลายลักไปเสียบ้าง ยักษ์ทั้งหลายลักไปเสียบ้าง ผู้รับมรดกที่ไม่เป็นที่รักขุดเอาไปเมื่อเขาไม่เห็นบ้าง ในเวลาที่เขาสิ้นบุญ ขุมทรัพย์ทั้งหมดนั้น ย่อมสูญไป.
ขุมทรัพย์คือบุญ ของผู้ใด เป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม ฝังไว้ดีแล้วด้วยทาน ศีล สัญญมะความสำรวม ทมะความฝึกตน ในเจดีย์ก็ดี ในสงฆ์ก็ดี ในบุคคลก็ดี ในแขกก็ดี ในมารดาก็ดี ในบิดาก็ดี ในพี่ชายก็ดี.
ขุมทรัพย์นั้น ชื่อว่าฝังไว้ดีแล้ว ใครๆ ไม่อาจผจญได้ เป็นของติดตามตนไปได้ บรรดาโภคะทั้งหลายที่เขาจำต้องละไป เขาก็พาขุมทรัพย์คือบุญนั้นไป.
ขุมทรัพย์คือบุญ ไม่สาธารณะแต่ชนเหล่าอื่น โจรก็ลักไปไม่ได้ บุญนิธิอันใด ติดตามตนไปได้ ปราชญ์พึงทำบุญนิธิอันนั้น. บุญนิธินั้น อำนวยผลที่น่าปรารถนาทุกอย่างแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย. เทวดาและมนุษย์ปรารถนานักซึ่งอิฐผลใดๆ อิฐผลทั้งหมดนั้นๆ อันบุคคลย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้.
ความมีวรรณะงามความมีเสียงเพราะ ความมีทรวดทรงดี ความมีรูปงาม ความเป็นใหญ่ยิ่ง ความมีบริวาร อิฐผลทั้งหมดนั้น อันบุคคล ย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้.
ความเป็นพระราชาเฉพาะประเทศ ความเป็นใหญ่ [คือจักรพรรดิราช] สุขของพระเจ้าจักรพรรดิที่น่ารัก ความเป็นพระราชาแห่งเทวดาในทิพยกาย ทั้งหลาย อิฐผลทั้งหมดนั้น อันบุคคลย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้.
สมบัติของมนุษย์ ความยินดีในเทวโลก และ สมบัติคือพระนิพพาน อันใด อิฐผลทั้งหมดนั้นอันบุคคลย่อมได้ ด้วยบุญนิธินี้.
ความที่บุคคลอาศัยสัมปทา คุณเครื่องถึงพร้อม คือมิตรแล้ว ถ้าประกอบโดยอุบายที่ชอบ เป็นผู้ชำนาญในวิชชาและวิมุตติ อิฐผลทั้งหมดนั้น อันบุคคลย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้.
ปฏิสัมภิทา วิโมกข์ สาวกบารมี ปัจเจกโพธิ และ พุทธภูมิอันใด อิฐผลทั้งหมดนั้น อันบุคคลย่อม ได้ ด้วยบุญนิธินี้.
บุญสัมปทา คุณเครื่องถึงพร้อมคือบุญนั้น เป็นไปเพื่อประโยชน์ใหญ่ อย่างนี้ เพราะฉะนั้น บัณฑิตผู้มีปัญญา จึงสรรเสริญความเป็นผู้ทำบุญไว้แล.
จบนิธิกัณฑ์ในขุททกปาฐะ
ข้อความจากอรรถกถา ขอเชิญคลิกอ่านในเล่ม ๓๙ หน้า ๓๐๕ เป็นต้นไป ได้ที่นี่
[เล่มที่ 39] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๓๐๕
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ข้อความโดยสรุป
นิธิกัณฑ์ ในขุททกปาฐะ
นิธิกัณฑ์ เป็นพระสูตรที่ว่าด้วยการฝังขุมทรัพย์, คำว่า นิธิ หมายถึง ขุมทรัพย์ ในอรรถกถาแสดงขุมทรัพย์ไว้ ๔ อย่าง คือ
ถาวรนิธิ ขุมทรัพย์อันถาวร เคลื่อนที่ด้วยตนเองไม่ได้ เช่น ทรัพย์ที่ติด พื้นดิน ทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในอากาศ เงิน ทอง นา ที่ดิน เป็นต้น
ชังคมนิธิ ขุมทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้ด้วยตนเอง เช่น ทาสหญิง ทาสชาย ช้าง โค ม้าลา แพะ แกะ ไก่ สุกรเป็นต้น
อังคสมนิธิ ขุมทรัพย์ที่ติดตัว คือ วิชาความรู้อันเป็นบ่อเกิดแห่งศิลปะประการต่างๆ
อนุคามิกนิธิ (ที่มุ่งถึงในพระสูตรนี้) หมายถึง ขุมทรัพย์ที่ติดตามตนไปได้ กล่าวคือ บุญที่สำเร็จด้วยทาน ศีล ภาวนา การฟังธรรม การแสดงธรรม เป็นต้น เหตุเกิดของพระสูตรนี้ คือ ในกรุงสาวัตถี มีกุฎุมพีคนหนึ่ง เป็นผู้มีทรัพย์สมบัติ มากและเป็นผู้มีศรัทธาด้วย วันหนึ่งเขาได้ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ขณะที่เขากำลังถวายอยู่นั้น พระราชา (พระเจ้าปเสน ทิโกศล) ผู้ปรารถนาทรัพย์สมบัติของกุฏุมพีคนนี้ ได้ส่งราชบุรุษไปเพื่อบอกให้ เขามาเข้าเฝ้า เขาได้กล่าวกับราชบุรุษนั้นว่า เรากำลังฝังขุมทรัพย์อยู่ เชิญ ท่านกลับไปก่อนเถิด เราจะตามไปในภายหลัง
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า เสวยภัตตาหารเสร็จแล้ว จึงตรัสพระสูตรนี้ เพื่อแสดง ถึงขุมทรัพย์ที่แท้จริง และเพื่ออนุโมทนาวิธีการฝังขุมทรัพย์ของกุฎุมพี เพราะเหตุว่า ขุมทรัพย์ภายนอก ไม่มีความมั่นคง ไม่มีความปลอดภัย อาจจะถูกแย่งชิงไป ก็ได้ส่วนขุมทรัพย์คือบุญ อันได้แก่ ทาน ศีล สัญญมะ (ความสำรวม) และ ทมะ (ปัญญา) นั้น ปลอดภัย มั่นคง ใครๆ ก็ลักไปไม่ได้ พร้อมทั้งอำนวยผลที่น่า ปรารถนาทุกอย่าง
ในเวลาจบเทศนา กุฎุมพี ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันพร้อมด้วยชนจำนวนมาก และเขาก็เข้าเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศล กราบทูลความข้อนั้น. พระราชาทรงยินดี อย่างเหลือเกิน ทรงชมว่า “ดีจริง คฤหบดี ดีจริงแล คฤหบดี ท่านฝังขุมทรัพย์ ที่แม้เราก็นำไปไม่ได้” ได้ทรงทำการบูชาเป็นอย่างมากแก่กุฎุมพี.
ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
ทาน ศีล สัญญมะ และ ทมะ.
หลักการปฏิบัติ กุศลกรรม 10
ผลของการฟังพระธรรม
สิ่งที่ช่วยพิจารณาให้เห็นถึงความสำคัญในการฟังพระธรรม
อริยทรัพย์?
การสะสมกุศล โดยการอบรมเจริญปัญญา
... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
กราบอนุโมทนาสาธุค่ะท่านอาจารย์ทุกท่าน
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคณและขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ