[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 371
ติกนิบาต
วรรคที่ ๑
๖. ทุติยเอสนาสูตร
ว่าด้วยที่ตั้งแห่งทิฏฐิ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 371
๖. ทุติยเอสนาสูตร
ว่าด้วยที่ตั้งแห่งทิฏฐิ
[๒๓๓] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้ สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ ประการนี้ ๓ ประการ เป็นไฉน? คือ การแสวงหากาม ๑ การแสวงหาภพ ๑ การแสวงหาพรหมจรรย์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ ประการนี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
การแสวงหากาม การแสวงหาภพ กับการแสวงหาพรหมจรรย์ การยึดมั่นว่า จริงดังนี้ เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิที่เกิดขึ้น การ แสวงหาทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ พระอรหันต์ผู้ไม่ยินดีแล้วด้วยความยินดี ทั้งปวง ผู้น้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา สละคืนเสียแล้ว ถอนขึ้นได้แล้ว ภิกษุ เป็นผู้ไม่มีความหวัง ไม่มีความสงสัย เพราะความสิ้นไปแห่งการแสวงหาทั้งหลาย.
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.
จบทุติยเอสนาสูตรที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 372
อรรถกถาทุติยเอสนาสูตร
ในทุติยเอสนาสูตรที่ ๖ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า พฺรหฺมจริเยสนา สห ความว่า พร้อมกับด้วยการแสวงหา พรหมจรรย์. ก็ด้วยการลบวิภัตติออกเสีย ศัพท์ว่า พฺรหฺมจริเยสนา นี้ จึงเป็นศัพท์นิเทศ อีกอย่างหนึ่ง บทว่า พฺรหฺมจริยเอสนา นี้ เป็นปฐมาวิภัตติ (แต่) ลงในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ มีคำอธิบายดังต่อไปนี้ กามเอสนา ภวเอสนา รวมกับ พรหมจริยเอสนา จึงเป็นเอสนา ๓ อย่าง. ในบรรดาเอสนาเหล่านั้น เพื่อจะทรงแสดงพรหมจริยเอสนาโดยสรุป พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำนี้ไว้ว่า อิติ สจฺจปรานาโส ทิฏฺิฏานา สมุสฺสยา การยึดมั่นว่าจริง ดังนี้ เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิที่เกิดขึ้น ดังนี้.
คำนั้นมีอธิบายดังนี้ การยึดมั่นว่า สิ่งนี้เป็นจริงอย่างนี้ ด้วยประการ อย่างนี้ ชื่อว่า อิตสจฺจปรามาโส. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงอาการ คือ ความเป็นไปแห่งทิฏฐิไว้ว่า "สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเป็นโมฆะ" ทิฏฐิ นั่นแหละ ชื่อว่า ทิฏฺิฏานา เพราะเป็นเหตุแห่งอนัตถะทุกอย่าง สมดังที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวโทษที่จะ พึงตำหนิว่า มีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่งดังนี้ และมีคำอธิบายว่า มิจฉาทิฏฐิ เหล่านั้นแหละ ทั้งที่เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป ทั้งเป็นที่เกิดขึ้น โดยเป็นที่เกิดแห่ง กิเลส มีโลภะเป็นต้น ทิฏฐิทั้งหลายที่ยึดมั่นผิดๆ ว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่น เป็นโมฆะ ดังนี้ เป็นทั้งเหตุแห่งอนัตถะทุกอย่าง เป็นทั้งเหตุแห่งการก่อทุกข์ คือกิเลส จึงชื่อว่า พฺรหฺมจริยเอสนา. ด้วยบทแห่งพระคาถาว่า อิติสจฺจ- ปรามาโส ทิฏฺฐฏฺานา สมุสฺสยา นี้ พึงทราบว่า เป็นอันพระองค์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 373
ทรงแสดงพรหมจริยเอสนาไว้แล้ว โดยอาการแห่งการเป็นไป และโดยความ สำเร็จ. บทว่า สพฺพราควิรตสฺส ความว่า พระอรหันต์ผู้คลายความกำหนัด จากกามราคะ และภวราคะทั้งหลาย ทั้งปวง ดังแต่นั้นไป ก็ชื่อว่า ผู้หลุดพ้น เพราะธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เพราะพ้น ในเพราะพระนิพพาน กล่าวคือ ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา. บทว่า เอสนา ปฏินิสฺสฏฺา ความว่า กามเอสนาและภวเอสนา เป็นอันท่านสลัดออกแล้ว คือละแล้วโดยประการ ทั้งปวง. บทว่า ทิฏฺิฏฺานา สมูหตา ความว่า เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิกล่าวคือ พรหมจริยเอสนา และถูกถอนขึ้นด้วยปฐมมรรคนั่นเอง. บทว่า เอสนานํ ขยา ความว่า เพราะสิ้นไป คือ เพราะดับไปโดยไม่เกิดขึ้น แห่งการแสวงหา ทั้ง ๓ อย่างเหล่านี้ ตรัสเรียกว่า ภิกษุ เพราะทำลายกิเลสได้แล้ว ตรัสเรียกว่า นิราโส เพราะหาความหวังมิได้ โดยประการทั้งปวง และตรัสเรียกว่า อกถังกถี เพราะละการกล่าวถ้อยคำว่าอย่างไร ด้วยความสงสัยที่เป็นทิฏฐิได้แล้ว.
จบอรรถกถาทุติยเอสนาสูตรที่ ๖