ควรทราบว่าการศึกษาธัมมะ จริงๆ แล้วไม่ใช่เพียงศึกษาแค่อักษร ศัพท์ พยัญชนะเท่านั้น แต่ต้องเข้าถึงอรรถและตัวจริงๆ ของสภาพธรรมนั้นๆ ด้วย อนึ่งการอธิบายธัมมะด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายๆ ตามยุคสมัยก็ใช่ว่าจะแจ่มแจ้งได้ เพราะแม้คำที่ท่าน
ยกมาเป็นตัวอย่างนั้นก็ไม่อาจเข้าถึงตัวสภาวธรรมได้ ดังนั้นต้องศึกษาโดยละเอียด
รอบคอบ และภาษาบาลีเป็นภาษาที่สื่อถึงสภาวธรรมได้ดีที่สุด พระพุทธองค์จึง
ทรงแสดงพระธรรมด้วยภาษาบาลี ถ้าศึกษาจนคุ้นเคยและเข้าใจแล้วก็ไม่ต้องมานั่ง
แปลเป็นคำๆ แต่ค่อยๆ รู้ตัวธัมมะจริงๆ ไม่ควรคิดเอาเอง....
ในการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาธรรมะ หรือศึกษาวิชาการใดๆ นอกจากจะ
คำนึงถึงการทำให้เข้าใจง่ายแล้ว ยังต้องคำนึงถึงการเข้าใจได้ตรงกัน เป็นสากล
และสามารถสืบค้นย้อนกลับไปยังต้นกำเนิดขององค์ความรู้นั้นได้ด้วยครับ ด้วยเหตุนี้
เอง ผมจึงคิดว่าภาษาบาลี (ที่มีความหมายไม่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย) เป็นภาษาที่
ดีที่สุดในการศึกษาพระธรรมที่ทรงแสดงไว้ดีแล้ว ทั้งนี้เพราะหากเราศึกษาลำพัง
และทำความเข้าใจธรรมะคนเดียวได้ เราจะใช้คำหรือภาษาอย่างไร ก็คงไม่ใช่ปัญหา
หากคำหรือภาษานั้นจะช่วยให้เราเข้าใจธรรมะได้ แต่ในความเป็นจริง การศึกษา
ธรรมะนั้นต้องอาศัยการอ่านหรือฟังจากท่านผู้อื่น ซึ่งได้ศึกษามาก่อนและมีความเข้าใจ
ดีแล้ว อีกทั้งยังต้องมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ในประเด็นข้อสงสัยต่างๆ
ซึ่งหากต่างคนใช้คำที่มีความหมายไม่ตรงกัน ย่อมเป็นอุปสรรคในการศึกษาครับ
ประการสำคัญที่สุดที่เราควรทราบคือ ธรรมะเป็นสิ่งที่มีจริงโดยไม่จำเป็นต้องใช้คำ
ภาษาใดเรียก หรือตั้งชื่อให้เลย และการศึกษาพระธรรมที่ทรงแสดงไว้ ก็เพื่อการ
เข้าถึงสภาพจริงๆ ของธรรมะเช่นนี้ โดยไม่ต้องยึดติดกับคำหรือภาษาเลยครับ
สาธุ
เรื่องจำนวนของศาสนิกชนคงไม่เป็นประมาณ แต่ความจริงมีอยู่ว่า สัตว์โลกส่วนมากยังติดข้องอยู่ในกาม ติดข้องอยู่ในภพ แต่พระธรรมคำสอนตรงกันข้ามกับสิ่งที่เขาต้อง
การ คือนำออกจากกาม นำออกจากภพ ด้วยการอบรมเจริญปัญญา อนึ่งการพัฒนา
ภาษาหรือการเปลี่ยนคำสอนให้เข้าใจง่ายๆ นั้น จะเป็นการทำให้คนยิ่งห่างไกลจากพระธรรมหรือว่าเข้าใจพระธรรมกันแน่ครับ
หากเราได้พิจารณาชีวิตที่ผ่านมา จะพบว่ามีบางสิ่งที่เราต้องการมาก หรือเป็นสิ่งที่
เราคิดว่ามีประโยชน์มาก เราก็จะทำทุกวิถีทางไม่ว่าจะยากลำบากแค่ไหน และจะใช้
เวลาหรือความพยายามสักเพียงใด เพื่อให้ได้รับสิ่งนั้น
ดังนั้น เรื่องของภาษา จึงไม่ใช่เครื่องกั้นการศึกษาพระธรรม ของผู้ที่เห็นประโยชน์
ที่จะได้รับจากการศึกษาเลยครับ
สำหรับเรื่องของการพัฒนานั้น ก็เป็นสิ่งที่ดีที่จะทำให้กิจการต่างๆ เจริญก้าวหน้าขึ้น
แต่ก่อนที่เราจะพัฒนาอะไร เราจะต้องรู้ความเป็นมา และเข้าใจหลักการอันเป็นแก่น
ของสิ่งนั้นเสียก่อนครับ เราจึงจะเห็นได้ว่า ผู้ที่จะเป็นนักพัฒนา จะต้องเริ่มจากการ
เป็นผู้ที่ศึกษา และต้องศึกษาอย่างจริงจังมากกว่าผู้ที่ต้องการศึกษาเพื่อความรู้เฉพาะ
ตัวเสียอีกครับ
คงตัดสินไม่ได้หรอกครับ เพราะการศึกษาพระธรรมต้องอาศัยเวลาและความอดทน
แต่ตราบใดที่เรายังมีฉันทะ คือความพอใจที่จะค่อยๆ เข้าใจในสิ่งที่มีประโยชน์ เท่า
ที่พอจะเข้าใจได้ ก็จะทำให้เริ่มสะสมความรู้ ความเข้าใจ ไปทีละเล็กทีละน้อยได้ครับ
ขออนุโมทนาครับ
ก็น่าฟังอยู่ครับ แต่ผมว่าการถามและการสงสัยเป็นขบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ครับ เมื่อ
สงสัยหรือไม่เข้าใจก็ถามมา หวังว่าจะมีท่านผู้รู้ตอบให้เข้าใจได้ คนที่ไม่ถามอะไรเลย
ไม่ได้หมายความว่าเข้าใจทุกเรื่องเสมอไป บางทีที่ไม่ถามอาจเป็นเพราะไม่กล้า
จากความเห็นที่ 6
หากเราได้พิจารณาชีวิตที่ผ่านมา จะพบว่ามีบางสิ่งที่เราต้องการมาก หรือเป็นสิ่งที่
เราคิดว่ามีประโยชน์มาก เราก็จะทำทุกวิถีทางไม่ว่าจะยากลำบากแค่ไหน และจะใช้
เวลาหรือความพยายามสักเพียงใด เพื่อให้ได้รับสิ่งนั้น
จากความเห็นที่ 9
เป้าหมายของการศึกษาอันดับแรกก็คือการเห็นประโยชน์ของพระธรรม
ถ้าไม่เห็นประโยชน์ก็ไม่ศึกษา ไม่จำเป็นต้องศึกษา แต่เมื่อเห็นประโยชน์ว่า
พระธรรมนี้สามารถทำให้เราเข้าใจความเป็นจริงในชีวิตได้และ
เป็นชีวิตของเราเองไม่ใช่ของผู้อื่น ก็เป็นผู้ที่มีความเพียร มีความอดทน
ในการที่จะศึกษาและพิจารณาให้เข้าใจ ซึ่งความเข้าใจนี้แหละคือปัญญา
และเป็นปัญญาของตนนั่นเอง หาใช่ของคนอื่นแต่ประการใดไม่
สาธุ
จากหัวข้อกระทู้และความเห็นที่ 11 ถูกต้องเมื่อสงสัยก็ควรสอบถามเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง แต่ที่สำคัญจะต้องพิจารณาเหตุผลในสิ่งที่ตอบว่าเป็นอย่างไร ประเด็นก็คือทำไมไม่ใช้ภาษาให้เข้าใจง่ายตามยุคสมัยเพื่อ ชาวพุทธในสมัยนี้จะได้เข้าใจง่าย?
ก่อนอื่นต้องรู้ว่าพระธรรมที่เราฟังกันอยู่นั้นเป็นปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่
คนใดคนหนึ่ง แม้แต่พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ไม่สามารถบัญญัติคำเพื่อแสดงถึงลักษณะ
ของสภาพธรรมที่ท่านรู้ได้ ดังนั้นภาษาที่ใช้ไม่ใช่นึกคิดเอาเองบัญญัติเอาเองแต่เกิด
จากปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าว่า ควรใช้คำไหน แทนสภาพธรรมอะไรเพื่อความ
เข้าใจจะได้ไม่คลาดเคลื่อนคือต้องยึดความหมายดั้งเดิมของคำนั้นเป็นหลัก ธรรมของ
พระพุทธเจ้าเป็นสัจจะ ไม่เปลี่ยน ลักษณะของธรรมไม่เปลี่ยน รูปคือรูป ไม่รู้อะไร แต่
คำใดที่เป็นภาษาที่จะแทนความหมายของลักษณะที่ไม่รู้อะไร พระพุทธองค์จึงแสดง
คำที่เหมาะสม โดยใช้ภาษาบาลีที่ความหมายจะไม่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย เพื่อให้เข้าใจ
ได้ตรงกันตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเพราะว่าหากไม่ใช่ภาษาที่พระองค์ทรงบัญญัติที่เป็น
ภาษาบาลี พระธรรมก็จะเสื่อมได้ เสื่อมเพราะอะไร เพราะเมื่อพยัญชนะผิด ความหมาย
ก็ผิด เพราะตีเอาตามยุคสมัยนั่นเอง ดังนั้นสภาพธรรมไม่เปลี่ยนแปลง คำที่ใช้จึงต้อง
สื่อให้เหมาะสมโดยแสดงถึงความหมายให้ถูกต้อง ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยด้วยดังข้อความในพระไตรปิฎก
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 326
๖. ตติยสัทธัมมสัมโมสสูตร
ว่าด้วยเหตุเสื่อมและไม่เสื่อมแห่งศาสนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนพระสูตรที่ทรงจำไว้ไม่ดี ด้วยบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดี แม้อรรถแห่งบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดี ย่อมเป็นเนื้อความมีนัยไม่ดี นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 381วินัยพระสุคตเป็นไฉน? คือพระสุคตนั้นแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ บริบูรณ์บริสุทธิ์สิ้นเชิง (ธรรมที่พระสุคตแสดง พรหมจรรย์ที่พระสุคตประกาศ) นี้คือ วินัยพระสุคต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้เป็นเหตุให้พระสัทธรรมเลอะเลือนอันตรธานไป ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุทั้งหลายในพระวินัยนี้ เล่าเรียนสูตรอันถือกันมาผิดด้วยบทพยัญชนะที่
ใช้ผิด เนื้อความแห่งบทพยัญชนะที่ใช้ผิด ย่อมมีนัยอันผิดไปด้วยนี้ธรรมประการที่ ๑
เป็นเหตุให้พระสัทธรรมเลอะเลือนอันตรธานไป
ภาษามักมีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย
โดยอาศัยความนิยม ความสะดวก หรือ คำที่ใช้มีไม่พอจึงต้องประดิษฐ์คำใหม่เพิ่มเติม
สมัยก่อน คำว่า ปกติ อ่านว่า ปัก-กะ-ติ หากใครอ่านว่า ปก-กะ-ติ คนนั้นอ่านผิด
ปัจจุบัน อนุโลมตามสะดวกของคนที่สนใจหลักภาษาน้อย ให้อ่านว่า ปก-กะ-ติ ได้
และมีอีกมากคำที่ถึงขนาด มีความหมายเปลี่ยนไปจนไม่เหลือเค้าเดิม
เช่น ลงแขก แห้ว หรือคำว่า อ่อนหวาน
ที่ปัจจุบัน เริ่มใช้ไปในความหมายว่า แข็งกระด้าง
คนไทยยืมคำภาษาบาลีมาใช้จำนวนมาก และความหมายก็เพี้ยนไป
ปรับเปลี่ยนไปเป็นภาษาไทย บางคำไม่เหลือความหมายเดิมเลย
เช่นคำว่า วาสนา ภาษาไทยคือ การมีอำนาจ บารมี
แต่ภาษาบาลี คือ ความประพฤติที่สั่งสมมาจนเคยชิน และละไม่ได้
หากใครๆ ก็ปรับเปลี่ยนพระธรรมคำสอนที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ดีแล้วได้ตามใจตน
ความหมายย่อมอาจเปลี่ยนไปได้ตามใจคนๆ นั้นด้วย
เพราะเขาอาจจะทำเพื่อเอาใจคนฟัง ให้คอยติดตาม
เวลาสี่อสงไขยแสนกัปป์ นับเป็นตัวเลขไม่ถ้วน
พระพุทธองค์สั่งสมอบรมบารมีอย่างยิ่งด้วยเวลาอันนานถึงขนาดนั้น
พระอรหันตสาวกและพระอริยสาวกอื่นๆ ก็อบรมมาไม่หย่อนกว่าแสนกัปป์ทั้งนั้น
ชีวิตชาตินี้ เพิ่งเกิดมาไม่กี่สิบปีก็กล่าวว่า ไม่มีเวลาพอจะศึกษาศัพท์ที่ไม่คุ้น
เวลาที่เราศึกษาอบรมขัดเกลากิเลสของตนต่างหากล่ะคะ...ที่ยังไม่พอ...ยังไม่แล้ว
และ ผู้ที่กล่าวว่าไม่มีเวลา แปลว่ายังไม่รู้จักคุณของพระพุทธเจ้า
ยังไม่เห็นคุณในพระธรรมและพระสงฆ์
พระพุทธองค์ตรัสว่า "ขันติ (ความอดทนอดกลั้น) เป็นตบะอย่างยิ่ง"
voraphong ความคิดเห็นที่ 7
ตกลงการที่ newcomer ไม่เข้าใจนั้น คือ ศิษย์โง่ หรือ ครูไม่ฉลาด ครับ
^
^
^
ประสบการณ์ชีวิตทำให้ดิฉันคิดเอาเองว่า คนที่จะถามอย่างนี้
คือ คนที่ยังไม่แน่ใจว่า ตนเองคือคนโง่หรือคนฉลาด
(แต่ส่วนมากมักมั่นใจว่าตนฉลาด)
ดิฉันเองก็ตอบฟันธงให้คุณไม่ได้ เพราะไม่ใช่ใจ ไม่ใช่ความคิดของดิฉัน
แต่ถ้าจะเอาให้แน่ใจ คุณ voraphong คงต้องถามตนเองว่า
เห็นคุณค่า มีเวลาและความอดทนมากพอที่จะศึกษาพระธรรมหรือไม่
เพราะสหายธรรมจำนวนมากที่ใส่ใจพิจารณาศึกษา มักตอบตนเองได้ภายใน 1 ปี
และเท่าที่ทราบ หลายท่านที่ฟังพระสัทธรรมและศึกษามาแล้วถึง 20 - 40 ปี
ท่านก็ยังบอกว่า...ปัญญาเราช่างน้อย
แต่ก็ไม่เห็นท่านท้อถอยในการฟังหรือศึกษาเลย
ขออนุโมทนาในกุศลจิตและกุศลวิริยะของทุกท่านค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
จะเป็นศิษย์โง่หรือครูไม่ฉลาดต้องรู้ด้วยปัญญาของตนเองครับ (ปัจจัตตัง) และอยากมีปัญญาก็ต้องฟังพระธรรม พิจารณาพระธรรม เข้าใจพระธรรม และเข้าถึงพระธรรมเจริญธรรมอ.สุจินต์ : แม้ว่าธรรมมีจริง แต่ความลึกซึ้ง และความละเอียดของธรรมยากที่จะรู้ได้ชีวิตของทุกคนเป็นไปตามฉันทะ (คือพอใจที่จะกระทำ ฟัง คิด อย่างไร...) ก็ไม่สามารถเป็นอย่างอื่น นอกจากตามที่สะสมมาแม้ธรรมเป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครไม่มีใครสามารถที่จะทำให้เกิดขึ้น หรือบังคับให้เป็นอย่างอื่นก็จริงแต่ธรรมไม่อิสระ !!! เพราะว่าต้องเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย...ด้วยเหตุนี้ที่เข้าใจว่าเป็นเรา...เพราะว่ามีจิตแต่ละจิต ก็เป็นแต่ละคน จะสับเปลี่ยนกันไม่ได้เลยเพราะฉะนั้นแต่ละจิตจะเกิดขึ้นเป็นไปอย่างไรจะให้เป็นอย่างอื่น ไม่ใช่ตามการสะสม ไม่ได้!!!เมื่อสะสมมาที่จะพอใจอย่างอื่น คิดอย่างอื่น ทำอย่างอื่นซึ่งไม่ใช่ความสนใจในธรรมจะไปเปลี่ยนบุคคลนั้นให้เหมือนกับคนที่สะสมมาที่จะสนใจ และเห็นประโยชน์ของธรรม ก็เป็นไปไม่ได้
อ.คำปั่น : ถึงแม้จะได้ฟังธรรม ก็ไม่ใช่ว่าจะเข้าใจเหมือนกันหมดเลย จึงต้องอาศัยการศึกษา การฟัง การอบรมในชีวิตประจำวันที่สำคัญคือ ไม่ขาดการฟังเพราะการศึกษาธรรม การฟังธรรม เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของปัญญา
ขออนุโมทนาค่ะ
คำถามผม คือ ในเมื่อสภาพสังคม และสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป ทำไมไม่มีใครคิดที่จะพัฒนา การใช้ภาษาที่เกี่ยวกับธัมมะให้มันเข้ากับยุคสมัย ใช้คำที่คนยุคสมัยนี้คุ้นเคยเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ ไม่สับสนเสียเวลา ผมไม่ได้ต้องการเปลี่ยน concept หรือ logic ของพุทธ
เจตนาของคำถามนี้ ก็เพื่อให้การเผยแพร่ศาสนาพุทธ กว้างไกลรวดเร็วยิ่งขึ้น ผมเชื่อว่า concept หรือ logic ของ พุทธ นั้น ดีอยู่แล้ว แต่ควรพัฒนาการนำเสนอครับ
ขออนุโมทนาค่ะ ุ
เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งเลยค่ะของความเห็นที่ 1 2 5 6 8 9 12 13 14 1516 17 ทำให้ดิฉันเข้าใจได้ดียิ่งในเรื่องของ คำว่า การสั่งสมของแต่ละบุคคล และธรรมไม่ใช่ของสาธารณะ เพราะฉะนั้น ควรศึกษาธรรม การฟังธรรม เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของปัญญา อย่างบ่อยๆ เนืองๆ แล้วจะรู้ได้เองโดยไม่ยากนักและคุ้นเคยกับคำศัพท์คำบาลีต่างๆ เหล่านี้ได้เป็นอย่างถ่องแท้
ก็เวลายืมคำว่า concept กับ logic มาใช้ ก็ไม่เห็นแปลไทยนี่นะ
กลัวความหมายผิดไปใช่มั้ย ถึงไม่ใช้คำไทยที่คุ้นกับคนไทยว่า
กรอบความคิด แนวคิด แนวทาง กับ ตรรกะ ความเป็นเหตุเป็นผล มาแทนที่
เรียนภาษาอังกฤษยังเรียนได้ ภาษาบาลีที่พระพุทธองค์แสดงธรรมไว้
คุณค่ามหาศาลไม่ใช่แค่ชีวิตในปัจจุบันชาติ
คุณอย่าห่วงแทนคนอื่นเลย ห่วงตัวเองดีกว่า
ถ้าคุณ "ผมเชื่อว่า concept หรือ logic ของ พุทธ นั้น ดีอยู่แล้ว
แต่ควรพัฒนาการนำเสนอครับ" จริง
คุณจะไม่ลองพัฒนาความสนใจและเวลาในการศึกษา
ให้กับภาษาของพระศาสนาที่คุณเชื่อว่าดีสักหน่อยเหรอ
- - - ขออนุโมทนา - - -
คำไทยหลายคำมีความหมายผิดไปจากพระสัทธรรม
เสี่ยงต่อการกล่าวตู่พระพุทธดำรัส
ท่านอาจารย์กับคณะวิทยากรระมัดระวังเรื่องนี้มาก
ตรวจสอบอรรถกถาภาษาไทยกับภาษาบาลีทุกครั้ง
ว่าแปลมาถูกต้อง หรือว่าคลาดเคลื่อน
โทษของการกล่าวพระสัทธรรมผิด
โห อินดี้คิดแล้วหวาดเสียว ไม่ขอมีเอี่ยวด้วยดีกว่า
ขออนุโมทนาทุกท่านค่ะ
ผมเข้าใจเหตุผลที่ทุกท่านกล่าวอ้างมา แต่เชื่อว่าเราพูดกันคนละเรื่องแล้วครับ ผมไม่มี
เจตนาที่จะ offend ใคร แค่ถามว่าทำไมไม่พัฒนาการนำเสนอโดยใช้ภาษาที่เหมาะคน
ยุคสมัยนี้คุ้นเคย เพื่อที่ศาสนาพุทธจะได้กว้างไกลออกไปมากกว่านี้ได้ ผมไม่ได้บอก
ว่าให้เปลี่ยนแนวคิด หรือ concept ของ พุทธ
บางสิ่งบางอย่างในโลกนี้ หาข้อยุติไม่ได้ แล้วแต่ใครจะถนัดหรือเลือกทางไหน ดังนั้น
คุยกันต่อไปก็เสียเวลาเปล่าครับ ขอถอนกระทู้นี้ออกก็แล้วกันนะครับ
หากมีศรัทธาแล้วจะรู้จักคำว่าอดทน ไม่ว่าวันเวลาจะหนีจากเราไปนานเท่าไรแล้ว
ก็ตาม ยังคงมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้ในสี่งที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ ธัมมะของพุทธองค์นั้นแก้ทุกข์ได้ทุกเรื่อง ถ้ามีศรัทธาที่จะเริ่มต้น ก่อนอื่น ต้องทำความเข้าใจกับตัวเองก่อน
จากนั้นลองตั้งประเด็นเป็นข้อๆ คำตอบที่จะหานั้นมีมากมาย เช่น หนังสือธรรมมะ
(พระไตรปิฎก) เทปธัมมะ การแสดงธรรมของพระสงฆ์ พร้อมทั้งมูลนิธิ บ้านธ้มมะส่วนเรื่องภาษาไม่ใช่ปัญหาหลัก ปัญหาใหญ่คือ ศรัทธาที่มีต่อพระธรรม มีมากน้อย
เพียงใด หากน้อย ความอดทนมักน้อยไปด้วย การบรรยายธัมมะโดยการยกพุทธพจน์
เป็นภาษาบาลีนั้นมีประโยชน์มาก แสดงถึงความเคารพที่มีต่อพุทธองค์ที่ทรงตรัสรู้ใน
ธัมมะ และผู้อ่านหรือผู้ฟังสามารถนำคำบาลีไปค้นคว้าเพิ่มได้ คุณเคยเล่นเกมส์บอกต่อ
หรือไม่ ชีวิตเราถ้าเป็นเหมือนเกมส์บอกต่อ คงไม่ดีแน่ ขออนุโมทนาทุกความคิดเห็นค่ะ
ความจริง ยุติลงที่ ความจริงเสมอเพราะว่าถ้าเป็น คำจริง ไม่ว่าพูดสักกี่ครั้ง ก็เหมือนเดิม.
ส่วนเรื่องราวทางโลก...แปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย เช่น "ภาษา" การเข้าใจพระธรรม จึงต้องเข้าใจ "ลักษณะ" ไม่ใช่จำแต่ชื่อเพราะว่า "ลักษณะ" เป็นความจริง. การใช้ภาษา ต้องระวังความหมายที่คลาดเคลื่อนเพราะถ้าเข้าใจผิด...ก็เป็นอันตราย.
การใช้ภาษา เช่นคุยกันต่อไปก็เสียเวลาเปล่าครับ ขอถอนกระทู้นี้ออกก็แล้วกันนะครับของคุณ...ที่ใช้ยุติการสนทนาเสมอๆ นั้นไม่ใช่การแก้ปัญหา....ถ้าคุณไม่ฟังความคิดเห็นของคนอื่นบ้างเลย.
เมื่อ 40 กว่าปีก่อน ตอนผมเป็นวัยรุ่น เข้าไปกินข้าวในร้านอาหาร และสั่งเครื่องดื่มกับ
เด็กเสริฟว่าขอ โคล่า ขวดหนึ่ง แป๊ปเดียวเขาก็เอา โคล่า มาให้ เด๋วนี้บอกขอ โคล่า
ขวดหนึ่ง เด็กในร้านทำท่างง แล้วถามกลับมาว่า โคล่าไม่มีครับ โค๊กได้ไหมครับ พอ
กินข้าวเสร็จ เมื่อ 40 กว่าปีก่อน บอกเด็กในร้านว่า เก็บตัง สักอึดใจหนึ่งเขาก็มาบอกว่า
เท่าไร ตอนนี้บอกเด็กในร้านว่า เก็บตัง เด็กมันทำหน้า งงๆ อยู่สักอึดใจหนึ่งแล้วยกมือ
ขึ้นไปเกาหัวตัวเอง 2 แกรก แล้วถามผมกลับมาว่า จะเช็คบิล ใช่ไหมครับ เมื่อก่อน พอ
ออกมาจากห้องสอบ เพื่อนถามว่าเป็นไงทำได้ไหม เราบอกว่า สบม. ก็ฟังดูเท่แล้ว
เด๋วนี้เวลาเด็กมันถามเพื่อนว่าสอบทำได้ไหม เด็กมันตอบว่า ชิวๆ !!@@?? ความ
หมายทุกอย่างเหมือนเดิม ยกเว้นศัพท์/ภาษาที่ใช้เปลี่ยนไปตามยุคสมัย
ข้อเท็จจริงจากความคิดเห็นที่ 25
แสดงให้เห็นความไม่สะดวกของการใช้ภาษาที่ไม่คงเส้นคงวา
และเปลียนไปตามยุคสมัย
ซึ่งทำให้เรื่องที่ง่าย กลายเป็นเรื่องที่ยาก
จึงไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงเรื่องที่ยากมากอยู่แล้ว เช่นการศึกษาพระธรรม
คุณ voraphong คะ เจตนาของคุณ voraphong เพียงแต่อยากให้ศาสนาพุทธเผยแผ่
กว้างไกลออกไป และง่ายต่อการเข้าใจใช่ไหมคะ และคุณ voraphong เองสนใจที่จะ
ศึกษาพระธรรมจริงๆ หรือเปล่าคะ และมีจุดประสงค์อะไรในการศึกษาคะ
เราอย่าไปเปลี่ยนภาษาของธรรมะเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ แต่ที่ถูกคือ เราต้องมีศรัทธา
และมีความเพียรและความอดทนที่จะศึกษาความยากของธรรมะ จึงจะถูกค่ะ ดิฉันก็
เป็น newcomer ค่ะ ดิฉันศึกษามาเพียงปีเดียว เท่าที่เวลาจะอำนวย ดิฉันยอมรับว่า
พระธรรมนั้นยากและละเอียด แต่เริ่มด้วยความสนใจก่อน ตามด้วยความเพียร และ
ศรัทธาที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้น และเมือท้อ ก็ใช้ขันติ บวก ความเพียร คุณ voraphong ลอง
เปลี่ยนทัศนคติก่อนนะคะ เผื่อว่าจะเป็นหนทางในการศึกษาต่อไป
ความเห็นแตกต่างก็ยังคงเป็นของธรรมดา แต่เราควรสนทนาให้ได้ประโยชน์จาก
ความเห็นเหล่านั้นด้วยความอดทน ไม่ใช่ว่าเห็นผิดแล้วจะเป็นฝ่ายแพ้ แต่ผลสุดท้าย
แล้วทุกคนชนะ win win situation นั้นคือจุดประสงค์
ผมนี่นะเป็นคนอ่อนภาษา อ้อนคุณอินดี้สอนให้ก็ไม่สอน จะขอเล่าประสบการณ์
ในเรื่องภาษา ตอนฟังใหม่ๆ ก็ไม่เข้าใจ เพราะภาษาที่ใช้ไม่ตรงกับที่เราเข้าใจ ผมก็
แปลกใจว่าในโลกนี้มีหรือที่พูดภาษาไทยด้วยกันแล้วไม่เข้าใจกันทั้งที่เป็นไทยโตๆ กัน
ทั้งนั้น ภายหลังจึงเข้าใจว่า ถ้าจะเรียนอะไรก็ต้องเข้าใจกติกาของที่จะเรียน เมื่อเข้าใจ
ความหมายของคำเสียใหม่ ก็ไม่ได้ใช้เวลานาน ทำให้เข้าใจสิ่งที่ได้ฟังมากขึ้นและเข้า
ใจได้ถูกต้องขึ้น เช่นเมื่อก่อนนี้ จะเข้าใจคำเหล่านี้มีความหมายเหมื่อนกัน คือ สัมผัส
ได้ รู้สึก รู้ เห็น ประจักษ์ แต่ความจริงแล้วคำเหล่านี้มีความหมายต่างกัน ถ้าจะใช้ภาษา
ง่ายๆ ให้เห็นความต่างของคำเหล่านี้ก็ไม่ใช่จะง่ายนะครับ เมื่อเขามีกติกาของพุทธ
แล้วจะเรียนพุทธก็ต้องตามกติกา ผมว่าง่ายดีนะครับ เจตนาดีนะครับ ที่จะเผ่ยแพร่
ศาสนา แต่ศาสนาพุทธไม่ใช่เป็นศาสนาที่เข้าใจได้ง่ายๆ เพราะสอนสภาพธรรมตาม
ความเป็นจริง ผิดนิดเดียวก็หลงทาง ก็จะเห็นได้จากคนรอบข้างที่เรียน ภาษาที่ใช้จึง
ต้องถูกต้องเจาะจง เป็นลักษณะเฉพาะ จุดประสงค์ที่เรียนเพราะไม่ต้องการเรียนสิ่งที่
ผิด แล้วประโยชน์อะไรที่มีผู้เรียนมากๆ แต่ผิด ผมว่าเรียนที่ถูกต้องไม่ว่าจะมากหรือน้อย
นี่แหละคือการสืบต่อพุทธศาสนา ครับ
นี่ไงล่ะครับ ปัญหาของการใช้ภาษา
แม้แต่เรื่องไม่ซับซ้อนและพูดเรื่องเดียวกัน
แต่ก็ยังทำให้เข้าใจไม่ตรงกันครับ
ถ้าเป็นภาษาที่ยาก (โดยเฉพาะภาษาธรรม) แล้วเปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัย
แม้จะมีวัตุประสงค์ที่ดีเพื่อที่จะทำให้เข้าใจง่ายขึ้น
แต่ก็มักจะเป็นเหตุให้เข้าใจกันไปคนละเรื่องละราว
เพราะต้องมีจุดโหว่และความคลาดเคลื่อนอยู่เสมอ
อันนี้เป็นประสบการณ์ของนักกฎหมายนะครับ
ฉะนั้น ต้องชั่งน้ำหนักให้ดี ระหว่าง
ความง่าย ความนิยม และความทันสมัย กับ ความถูกต้องแท้จริง
เป็นหัวข้อที่น่าสนใจ ขออนุโมทนาค่ะ
ไม่ได้เข้ามาหลายวัน.....ทู้นี้ชักจะฮอทแฮะ
เออม....ท่านวรพงศ์ค่ะ ตอนที่ท่านเริ่มศึกษาภาษาอังกฤษใหม่ๆ เนี่ย ง่ายหรือยากค่ะ?
นอกจากต้องศึกษาศัพท์ใหม่ๆ แล้ว ยังต้องเรียนไวยกรณ์อีกด้วยใช่มั้ยค่ะ?
วิชาการสาขาต่างๆ ในทางโลกก็มีศัพท์เฉพาะทางของเค้าเหมือนกัน เช่น การแพทย์
เคยคิดจะลองเปลี่ยนดูบ้างมั้ยค่ะ เผื่อจะได้เรียนง่ายขึ้น
Please don't get offended naka. (-_-"
พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ความจริง ทรงเห็นว่าพระธรรมนั้นลึกซึ้ง ยากแก่การที่จะเข้าใจได้ ทรงใช้พยัญชนะ อรรถ เพื่อแสดงให้เห็นถึงลักษณะสภาพธรรมที่มีอยู่จริง
เมื่อมีความเข้าใจในลักษณะสภาพธรรม สติสามารถระลึกตรงลักษณะสภาพธรรมได้
ภาษาใดก็ได้ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น.. ที่สามารถแสดงให้เห็น ให้เข้าใจถึงตัวสภาพธรรมได้ ขออนุโมทนาค่ะ
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 13067 ความคิดเห็นที่ 22 โดย voraphong
ผมเข้าใจเหตุผลที่ทุกท่านกล่าวอ้างมา แต่เชื่อว่าเราพูดกันคนละเรื่องแล้วครับ ผมไม่
มีเจตนาที่จะ offend ใคร แค่ถามว่าทำไมไม่พัฒนาการนำเสนอโดยใช้ภาษาที่เหมาะ
คนยุคสมัยนี้คุ้นเคย เพื่อที่ศาสนาพุทธจะได้กว้างไกลออกไปมากกว่านี้ได้ ผมไม่ได้
บอกว่าให้เปลี่ยนแนวคิด หรือ concept ของ พุทธ
บางสิ่งบางอย่างในโลกนี้ หาข้อยุติไม่ได้ แล้วแต่ใครจะถนัดหรือเลือกทางไหน ดังนั้น
คุยกันต่อไปก็เสียเวลาเปล่าครับ ขอถอนกระทู้นี้ออกก็แล้วกันนะครับ
จริงๆ แล้ว การจะเปลี่ยนภาษาจากบาลีเป็นภาษาอังกฤษ หรือภาษาใดๆ
ก็ตามให้บุคคลในสมัยนี้เข้าใจ ถ้าบุคคลนั้นคิดจะเปลี่ยนจริงๆ ก็ต้องมีความแตกฉาน
ทั้งในเรื่องของนิรุกติ และสภาพธรรมเป็นอย่างมากครับ เพราะภาษาต่างๆ มีขึ้นได้
ก็เพราะมีปรมัตถธรรม อีกอย่างหนึ่งนะครับ สิ่งที่สำคัญจริงๆ ไม่ใช่เรื่องภาษาหรอก
ครับ ถึงแม้จะเป็นการสื่อสารกันก็ตาม แต่อยู่ที่ว่ากำลังสื่อถึงอะไร เช่น การสั่งโคล่า
แล้วเด็กไม่เข้าใจ เรื่องแค่นี้บอกนิดๆ หน่อยๆ ไม่มีปัญญาอะไรมากก็รู้ได้ แต่ถ้าเปลี่ยน
เป็นถามว่า คุณรู้จักจิตที่กำลังเห็นไหม? แบบนี้ถ้าไม่ถึงสภาพธรรมนั้นจริงๆ ต่อให้เป็น
ภาษาไหน ก็ยังไม่รู้อยู่นั่นเอง คงจะพอเข้าใจน่ะครับว่า คนสมัยก่อนกับคนสมัยนี้
อะไร ที่ต่างกัน
ขอร่วมสนทนาด้วยคนนะครับ
ผมเคยได้ยินว่า ถ้าคนเราได้เรียนรู้ภาษาใหม่ๆ ก็เหมือนเปิดโลกอีกโลกหนึ่งเลยทีเดียว
ภาษาธรรมะ ผมว่าเป็นโลกที่น่ารื่นรมย์มากที่จะศึกษา และเป็นคนละโลกกับภาษาทั่วไป เป็นการทวนกระแสโลก เป็นโลกๆ หนึ่ง ที่มีลักษณะคำที่ควรสงวนไว้ ด้วยความเคารพในพระปัญญาคุณ เพื่อมิให้ผันแปร และต้องศึกษาให้เข้าใจในความหมายของคำต่างๆ อย่างลึกซึ้ง
ภาษา HTML ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ฯลฯ ขนาดว่าเนื้อหา ไม่ได้ช่วยให้พ้นทุกข์เท่าไหร่นัก แต่คนส่วนมากก็กลับดั้นด้นพยายามไปเรียนกันจนคล่องแคล่ว
พูดถึงเรื่องภาษาธรรมะ สมัยนี้ ผมจะยกตัวอย่าง คำว่า ปฏิบัติธรรม
คนสมัยนี้ก็เข้าใจว่าต้องไปเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิ
แต่จริงๆ แล้ว ศัพท์จริงๆ คือ ปฏิปัตติ (ถึงเฉพาะลักษณะ) + ธัมมะ (สภาพธรรมะ)
แต่เพราะความต้องการอะไรที่ง่ายๆ ก็ประยุกต์ผันแปรกันไปตามกาล จนกลายเป็นการปฏิบัติธรรม ที่ไม่ใช่ การถึงเฉพาะลักษณะสภาพธรรมะ (ที่กำลังปรากฏ)
ความเข้าใจธรรมะจึงเปลี่ยนไป และไม่ตรงตามความเป็นจริง
สำหรับโลกของธรรมะนั้น ความเข้าใจผิดมีโทษมหันต์ครับ
เพราะมันจะยืดสังสารวัฏฏ์ออกไปไม่มีที่สิ้นสุด
ด้วยเหตุนี้ จึงควรศึกษาให้เข้าใจในอรรถ เล่าเรียนธรรมโดยเคารพ และตามลำดับ
ขออนุโมทนาค่ะ
New comer Concept Logic Offend
แปลว่าอะไรคะ??? คุณ Voraphong
ไทยคำ อังกฤษคำ อ่านแล้วไม่เข้าใจค่ะ!!!
ผมได้มีโอกาสร่วมคณะศรัทธาทัวร์ไปประเทศพม่ากับท่านอาจารย์เมื่อปลายปี 46
ท่านอาจารย์สนทนาธรรมกับชาวต่างชาติเป็นภาษาอังกฤษที่ริมแม่น้ำอิระวดี เวลาเย็น
มากแล้ว ชาวคณะทัวร์คนไทยอย่างเรา เอาแต่ดูพระอาทิตย์ลับลงริมน้ำอิระวดีขมุกขมัว
ลงทุกทีๆ ผมเห็นชาวพม่าชายหญิงสองคนนั่งสงบนิ่ง มองอาจารย์สนทนาอย่างสนใจ
เขาไม่ได้ยินเสียง แต่สัมผัสภาษากาย แม้ผมก็สังเกตได้ว่า ชาวต่างชาตินั้นเงี่ยหูฟัง
อย่างอยากจะฟังเสียจริง... เป็นบุญตาที่ได้เห็นหนอ
เสียงในโลกนี้มีเป็นพันๆ เสียง แต่เสียงของพระธรรมไม่สาธารณะกับคนทั่วไป ต้อง
เป็นคนที่เคยทำบุญมาแล้วแต่ปางก่อนเท่านั้นที่จะได้ยินได้ฟังธรรมที่หาฟังได้ยากค่ะ
เสียงในโลกนี้มีเป็นพันๆ เสียง แต่เสียงของพระธรรมไม่สาธารณะกับคนทั่วไป ต้อง
เป็นคนที่เคยทำบุญมาแล้วแต่ปางก่อนเท่านั้นที่จะได้ยินได้ฟังธรรมที่หาฟังได้ยากค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
ท่านเจ้าของกระทู้ช่วยหาความหมายในภาษาไทย ที่มีความหมายครอบคลุม
อรรถะของขันธ์ ตามสเป็ค ด้านล้างนี้ให้ผมหน่อยครับ :-
ขันโธ หมายถึง "สภาพที่ถูกชรามรณะเคี้ยวกิน ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ภายใน
ภายนอก หยาบ ละเอียด ทราม ประณีต ไกล ใกล้ และเป็นขันธ์อย่างเดียว (เอกวจนะ)
เป็นนามศัพท์ เป็นกิตก์ศัพท์ เป็นพุทธวจนะ กล่าวไว้ ๕ อย่างเท่านั้น เป็นสภาวธรรม
ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เป็นของมีความไม่เที่ยง มีความเป็นทุกข์ มีความเป็นอนัตตา
มีแล้วไม่มี มีแล้วหมดไป เสื่อมไปเป็นธรรมดา คลายไปเป็นธรรมดา ดับไปเป็นธรรมดา
ตั้งอยู่ไม่ได้ ทนอยู่ไม่ได้ ไม่มีสาระ บังคับบัญชาไม่ได้ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้
กำหนัด เป็นของน่ากลัว เป็นของพุพัง เป็นของผู้อื่น เป็นของแตกไปเป็นธรรมดา"
เป็นต้น ขอแบบที่คนฟังแล้ว นึกอรรถะได้ครบตามนี้เลยนะครับ.
ขอบพระคุณครับ
ท่านเจ้าของกระทู้ช่วยหาความหมายในภาษาไทย ที่มีความหมายครอบคลุม
อรรถะของขันธ์ ตามสเป็ค ด้านล้างนี้ให้ผมหน่อยครับ :-
ขันโธ หมายถึง "สภาพที่ถูกชรามรณะเคี้ยวกิน ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ภายใน
ภายนอก หยาบ ละเอียด ทราม ประณีต ไกล ใกล้ และเป็นขันธ์อย่างเดียว (เอกวจนะ)
เป็นนามศัพท์ เป็นกิตติศัพท์ เป็นพุทธวจนะ กล่าวไว้ ๕ อย่างเท่านั้น เป็นสภาวธรรม
ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เป็นของมีความไม่เที่ยง มีความเป็นทุกข์ มีความเป็นอนัตตา
มีแล้วไม่มี มีแล้วหมดไป เสื่อมไปเป็นธรรมดา คลายไปเป็นธรรมดา ดับไปเป็นธรรมดา
ตั้งอยู่ไม่ได้ ทนอยู่ไม่ได้ ไม่มีสาระ บังคับบัญชาไม่ได้ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้
กำหนัด เป็นของน่ากลัว เป็นของพุพัง เป็นของผู้อื่น เป็นของแตกไปเป็นธรรมดา"
เป็นต้น ขอแบบที่คนฟังแล้ว นึกอรรถะได้ครบตามนี้เลยนะครับ.
ขอบพระคุณครับ
ระบบตรวจสอบคำ แก้คำที่ผมพิมพ์ให้กลายเป็นผิดไปครับ."กิตติศัพท์" ต้องเป็น กิตก์ศัพท์ (ภาษาบาลี) ครับ.