ควรแนะนำคนที่ชอบ ผัดวันประกันพรุ่ง อย่างไร
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ให้คำแนะนำเท่าที่จะทำได้ด้วยเมตตา ว่ากิจที่ควรทำก็ควรทำก่อน เป็นต้น เพราะไม่ เช่นนั้นย่อมเสื่อมจากประโยชน์ในสิ่งที่ควรจะทำ แต่หากไม่เชื่อก็ควรวางเฉย เพราะสัตว์ทั้งหลายก็มีกรรมเป็นของๆ ตนครับ
[เล่มที่ 61] พ[เล่มที่ 61] ระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ ๒๕๘
ข้อความบางตอนจาก
หัตถิปาลชาดก
บุรุษผู้กล่าวผัดเพี้ยนการงานที่ควรจะทำในวันนี้ว่า ควรทำในวันพรุ่งนี้ การงานที่ควรจะทำในวันพรุ่งนี้ว่า ควรทำในวันต่อไป ย่อมเสื่อมจากการงานนั้น ธีรชนคนใดรู้ว่า สิ่งใดเป็นอนาคต สิ่งนั้นไม่มีแล้ว พึงบรรเทาความพอใจที่เกิดขึ้นเสีย
เชิญคลิกอ่าน...
เมื่อเตือนแล้วไม่เชื่อก็ควรนิ่งเสีย
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ รวมถึงข้อความจากพระไตรปิฎก ผมคิดว่า บางท่านอาจมีเหตุผลส่วนตัวที่จะไม่ทำตามคำพูดที่ให้ไว้ต่ออีกบุคคลหนึ่ง แต่เมื่อปล่อยเวลาผ่านเนิ่นนานไป ก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะกระตือรือร้นที่จะทำให้สำเร็จ แม้ว่าจะ เป็นงานที่ไม่ต้องอาศัยความชำนาญใดเป็นพิเศษ นั่นก็คงหมายความว่าผู้นั้นตั้งใจที่จะผิดคำพูด กรณีนี้จะเป็นการล่วงศีลข้อมุสาวาทาหรือไม่ ผู้รู้ช่วยวิเคราะห์และให้ความ กระจ่างด้วย
การไม่ทำตามคำพูดในด้านสิ่งที่ดีคือ กุศลธรรมทั้งหลาย ชื่อว่า ขาดสัจจะ การไม่ ทำตามคำพูดในสิ่งที่ไม่ดี ด้วยเหตุผลบางประการ ไม่ชื่อว่า ผิดสัจจะการที่จะล่วงศีล ข้อมุสาวาทหรือไม่ ขึ้นอยู่ที่เจตนาเป็นสำคัญ ถ้ามีเจตนาให้ผู้อื่นรับรู้ในสิ่งที่ไม่จริง ตั้งแต่แรกแกล้งรับปากไปอย่างนั้นเอง ตั้งใจจะไม่ทำ ก็ชื่อว่าล่วงศีลได้เช่นกัน ทั้งหมดนี้อยู่ที่เจตนาของผู้นั้นเป็นสำคัญ
สมมติเพื่อนชวนไปปล้น นัดกันแล้ว ภายหลังคิดได้ว่าไม่ดีบาปกรรมแล้วเปลี่ยนใจ ไม่เป็นการผิดสัจจะ เพราะสัจจะต้องเป็นไปในทางกุศลเท่านั้น แต่ถ้านัดกันจะไปฟังธรรมแล้วเปลี่ยนใจไม่ไปแล้วไม่ได้บอกยกเลิก นี้เป็นการผิดคำพูดคือไม่รักษาสัจจะ แต่ถ้าโทรไปยกเลิกก่อนก็ไม่ผิดคำพูดค่ะ
ขออนุโมทนาครับ