[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 140
ประวัตินางสุปปิยาอุบาสิกา
ในสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.ด้วยบทว่า คิลานุปฏฺฐากานํ ท่านแสดงว่า นางสุปปิยาอุบาสิกา
เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้อุปัฏฐากภิกษุไข้.
ดังได้สดับมา นางสุปปิยาอุบาสิกานี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า
ปทุมุตตระ. บังเกิดในเรือนสกุล กรุงหังสวดี ต่อมากำลังฟังพระธรรม
เทศนาของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาอุบาสิกาผู้หนึ่งไว้ใน
ตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้อุปัฏฐากภิกษุไข้ จึงทำ
กุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น. นางเวียนว่ายอยู่ในเทวดา
และมนุษย์ถึงแสนกัป ในพุทธุปบาทกาลนี้บังเกิดในเรือนสกุล กรุงพารา-
ณสี. บิดามารดาจึงตั้งชื่อนางว่าสุปปิยา. ต่อมาพระศาสดามีภิกษุสงฆ์
เป็นบริวารได้เสด็จไปกรุงพาราณสี. ด้วยการเฝ้าครั้งแรกเท่านั้น นางฟัง
ธรรมแล้วดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. อยู่มาวันหนึ่ง นางไปพระวิหาร
เพื่อฟังธรรมเที่ยวจาริกไปในพระวิหาร พบภิกษุไข้รูปหนึ่งไหว้แล้ว ทำ
การต้อนรับ ถามว่าพระผู้เป็นเจ้าควรจะได้อะไร ภิกษุไข้ตอบว่า ท่าน
อุบาสิกา ควรได้อาหารมีรส [เนื้อ] จ้ะ. นางกล่าวว่า เอาเถิด เจ้าข้า
ดิฉันจักส่งไปถวายไหว้พระเถระแล้ว เข้าไปในเมือง วันรุ่งขึ้น ก็ส่งทาสี
ไปตลาดเพื่อต้องการปวัตตมังสะ [เนื้อที่ขายกันในตลาด]. ทาสีนั้นหา
ปวัตตสะทั่วเมืองก็ไม่ได้ ก็บอกนางว่าไม่ได้เสียแล้ว. อุบาสิกาคิดว่า เรา
บอกแก่พระผู้เป็นเจ้าไว้ว่า จักส่งเนื้อไปถวาย ถ้าเราไม่ส่งไป พระผู้
เป็นเจ้าเมื่อไม่ได้จากที่อื่นก็จะลำบาก ควรที่เราจะทำเนื้ออย่างใดอย่าง
หนึ่งส่งไปถวาย แล้วก็เข้าห้อง เฉือนเนื้อขาให้แก่ทาสี สั่งว่า เจ้าจง
เอาเนื้อนี้ปรุงด้วยเครื่องปรุง นำไปวิหารถวายพระผู้เป็นเจ้า ถ้าท่านถาม
ถึงเรา ก็จงแจ้งว่าเป็นไข้. ทาสีนั้นก็ได้กระทำอย่างนั้น พระศาสดาทรงทราบเหตุนั้น วันรุ่งขึ้น เวลาแสวงหาอาหาร ก็มี
ภิกษุสงฆ์เป็นบริวาร เสด็จไปเรือนของอุบาสิกา. นางทราบว่าพระ
ตถาคตเสด็จมาจึงปรึกษาสามีว่า ลูกเจ้า ดิฉันไม่อาจไปเฝ้าพระศาสดา
ได้พี่ท่านจงไปกราบทูลเชิญพระศาสดาให้เสด็จเข้าเรือน แล้วให้ประทับ
นั่งเถิด. สามีนั้นก็ได้กระทำอย่างนั้น. พระศาสดาตรัสถามว่า สุปปิยาไป
ไหนเสียเล่า. สามีกราบทูลว่า นางเป็นไข้ พระเจ้าข้า. ตรัสสั่งว่า จง
เรียกนางมาเถิด. นางคิดว่า พระศาสดาทรงสงเคราะห์เกื้อกูลแก่ชาว
โลกทั้งปวงทรงทราบเหตุของเรา จึงให้เรียกหา ก็ลุกขึ้นจากเตียงอย่าง
ฉับพลัน. ครั้งนั้น ด้วยพุทธานุภาพ แผล [ที่เฉือนเนื้อขา] ของนางก็งอกขึ้น
ทันทีทันใด ผิวก็เรียบ ผิวพรรณผ่องใสยิ่งกว่าเดิม. ขณะนั้นอุบาสิกา
ก็ยิ้มได้ ถวายบังคมพระทศพลด้วยเบญจางคประดิษฐ์ นั่ง ณ ที่ส่วน
ข้างหนึ่ง. พระศาสดาทรงดำริว่าอุบาสิกาผู้นี้ไม่สบายเพราะเหตุ
ไร จึงตรัสถาม นางจึงเล่าเรื่องที่คนทำทุกอย่างถวาย.พระศาสดาเสวย
เสร็จแล้วเสด็จไปพระวิหาร ทรงประชุมภิกษุสงฆ์ แล้วทรงตำหนิภิกษุ
นั้นเป็นอย่างมาก ทรงบัญญัติสิกขาบท. เรื่องนี้เกิดขึ้นอย่างนี้. กำลัง
พระศาสดาประทับนั่ง ณ พระเชตวันวิหาร เมื่อทรงสถาปนาพวก
อุบาสิกาไว้ในตำแหน่งต่างๆ ตามลำดับ จึงทรงสถาปนานางสุปปิยา
อุบาสิกาไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกา ผู้อุปัฏฐาก
ภิกษุไข้ แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๗