โธตกปัญหาที่ ๕ ว่าด้วยธรรมดับกิเลส
โดย บ้านธัมมะ  14 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40230

[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 912

สุตตนิบาต

ปารายนวรรคที่ ๕

โธตกปัญหาที่ ๕

ว่าด้วยธรรมดับกิเลส


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 47]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 912

โธตกปัญหาที่ ๕

ว่าด้วยธรรมดับกิเลส

[๔๒๙] โธตกมาณพได้ทูลถามปัญหาว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ ขอพระองคึจงตรัสบอกข้อความนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด ข้าแต่พระองค์ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ ข้าพระองค์ปรารถนาอย่างยิ่ง ซึ่งพระวาจาของพระองค์ บุคคลได้ฟังพระสุรเสียงของพระองค์แล้ว พึงศึกษาธรรมเป็นเครื่องดับกิเลสเพื่อตนเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า ดูก่อนโธตกะ

ถ้าเช่นนั้น ท่านจงมีปัญญารักษาตน มีสติกระทำความเพียรในศาสนานี้เถิด บุคคลฟังเสียงจากปากของเรานี้แล้ว พึงศึกษาธรรมเป็นเครื่องดับกิเลสเพื่อตนเถิด.

ธ. ข้าพระองค์เห็นพระองค์ผู้เป็นพราหมณ์ หากังวลมิได้ ทรงยังพระกายให้ เป็นไปอยู่ในเทวโลกและมนุษยโลก ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุรอบคอบเพราะเหตุนั้น


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 913

ข้าพระองค์ขอถวายบังคมพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้ศากยะ ขอพระองค์จงทรงปลดเปลื้องข้าพระองค์เสียจากความสงสัยเถิด.

พ. ดูก่อนโธตกะ เราจักไม่อาจเพื่อจะปลดเปลื้องใครๆ ผู้ยังมีความสงสัยในโลกให้พ้นไปได้ ก็เมื่อท่านรู้ทั่วถึงธรรมอันประเสริฐ จะข้ามโอฆะนี้ได้ ด้วยอาการ อย่างนี้.

ธ. ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นพรหม ขอพระองค์จงทรงพระกรุณาสั่งสอนธรรมเป็นที่สงัดกิเลส ที่ข้าพระองค์ควรจะรู้แจ้ง และขอพระองค์ทรงพระกรุณาสั่งสอน ไม่ให้ ข้าพระองค์ขัดข้องอยู่เหมือนอากาศเถิด ข้าพระองค์อยู่ในที่นี้นี่แหละ จะพึงเป็นผู้ไม่อาศัยแอบอิงเที่ยวไป.

พ. ดูก่อนโธตกะ เราจักแสดงธรรม เครื่องระงับกิเลสแก่ท่าน ในธรรมที่เราได้เห็นแล้ว เป็นธรรมประจักษ์แก่ตน ที่บุคคลได้รู้แจ้งแล้วเป็นผู้มีสติพึงดำเนินข้ามตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลกเสียได้.

ธ. ข้าแต่พระองค์ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ ก็ข้าพระองค์ยินดีอย่างยิ่ง ซึ่งธรรม


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 914

เป็นเครื่องระงับกิเลสอันสูงสุดที่บุคคลได้รู้แจ้งแล้ว เป็นผู้มีสติ พึงดำเนินข้ามตัณหา อันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลกเสียได้.

พ. ดูก่อนโธตกะ ท่านรู้ชัดซึ่งส่วนอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งในส่วนเบื้องบน ทั้งในส่วนเบื้องต่ำ แม้ในส่วนเบื้องขวางคือ ท่ามกลาง ท่านรู้แจ้งสิ่งนั้นว่า เป็นเครื่องข้องอยู่ในโลกอย่างนี้แล้ว อย่าได้ทำตัณหาเพื่อภพน้อยและภพใหญ่เลย.

จบโธตกมาณวกปัญหาที่ ๕

อรรถกถาโธตกสูตร (๑) ที่ ๕

โธตกสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ปุจฺฉามิ ตํ โธตกมาณพได้ทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า วาจาภิกงฺขามิ คือข้าพระองค์ปรารถนาอย่าง ยิ่งซึ่งพระวาจาของพระองค์. บทว่า สิกฺเข นิพฺพานมตฺตโน พึงศึกษาธรรมเป็นเครื่องดับกิเลสเพื่อตน คือพึงศึกษาอธิศีลเป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่การดับกิเลสมีราคะเป็นต้นเพื่อตน. บทว่า อิโต คือจากปากของเรา.


๑. บาลีเป็น โธตกปัญหา.


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 915

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว โธตกมาณพมีความดีใจสรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทูลขอให้ปลดเปลื้องข้อสงสัย จึงกล่าวคาถา นี้ว่า ปสฺสามหํ ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปสฺสามหํ เทวมนุสฺสโลเก คือ ข้าพระองค์ เห็นพระองค์ผู้เป็นพราหมณ์หากังวลมิได้ ทรงยังพระวรกายให้เป็นไปอยู่ในเทวโลก และมนุษยโลก. บทว่า ตนฺตํ นมสฺสามิ คือ ข้าพระองค์ขอถวายนมัสการพระองค์. บทว่า ปมุญฺจ คือ ขอพระองค์จงทรงปลดเปลื้อง.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงการปลดเปลื้องความสงสัยอันเนื่องด้วยพระองค์ จึงตรัสพระคาถาว่า นาหํ ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า นาหํ คมิสฺสามิ คือเราจักไม่มาถึง คือไม่ศึกษา อธิบายว่า จักไม่พยายาม. บทว่า ปโมจนาย แปลว่าเพื่อปลดเปลื้อง. บทว่า กกํกถึ คือความสงสัย. บทว่า ตเรสิ คือพึงข้าม.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว โธตกมาณพยิ่งดีใจหนักขึ้น สรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้ายิ่งขึ้น เมื่อจะทูลขอให้สั่งสอน จึงกล่าวคาถาว่า อนุสาส พฺรหฺเม ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นพรหม ขอพระองค์ทรงสั่งสอนเถิด ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า พฺรหฺเม นี้เป็นคำพูดที่ประเสริฐที่สุด. ด้วยเหตุนั้น โธตกมาณพจึงทูลเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อนุสาส พฺรหฺเม ดังนี้. บทว่า วิเวกธมฺมํ ธรรมเป็นเครื่องสงัดกิเลส ได้แก่ธรรมคือนิพพาน เป็นเครื่องสงัดสังขารทั้งปวง. บทว่า อพฺยาปชฺชมาโน ไม่ขัดข้องอยู่ คือ ไม่ขัดข้องมีประการต่างๆ. บทว่า อิเธว สนฺโต คืออยู่ในที่นี้แหละ. บทว่า


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 916

อสิโต แปลว่าไม่อาศัย. สองคาถาจากนี้ไปมีนัยดังกล่าวแล้วในเมตตคูสูตร นั่นแล. มีต่างกันอย่างเดียวคือในเมตตคูสูตรนั้นเป็น ธมฺมํ ในสูตรนี้เป็น สนฺติ. กึ่งคาถาก่อนในคาถาที่สาม มีนัยดังกล่าวแล้วในเมตตคูสูตรนั้นเหมือนกัน. ในส่วนที่ผิดกันคือบทว่า สงฺโค คือเป็นฐานะที่ข้องอยู่. อธิบายว่า เป็นเครื่องข้อง. บทที่เหลือในที่ทั้งปวงชัดดีแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาแม้นี้ด้วยธรรมเป็นยอด คือพระอรหัต ด้วยประการฉะนี้แล.

เมื่อจบเทศนาได้มีผู้บรรลุพระอรหัตเช่นเดียวกับที่กล่าวมาเเล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาโธตกสูตรที่ ๕ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา